เดือยเหลี่ยม
เป็นตัวที่ทำให้การเข้าไม้สมบูรณ์ โครงสร้างเกิดความแข็งแรง มีหลายชนิด เช่นเดือยกลม เดือยเหลี่ยม เดือยหางเหยี่ยว ฯลฯ
ที่จะแนะนำในที่นี้เป็น "เดือยเหลี่ยม" เพราะทำง่าย แข็งแรง และไม่ต้องการเทคนิคและความแม่นยำสูงมากนัก
หน้าที่หลัก : เป็นตัวทำหน้าที่ ทำให้เกิดวามแข็งแรงในจุดต่อเชื่อมชองโครงสร้างไม้
เดือยเหลี่ยม สำหรับช่างไม้แล้ว เป็นที่นิยมมากที่สุด การทำตัวเดือยง่าย แต่การทำร่องเดือยยากกว่า แต่ถึงอย่างไร การใช้เครื่องมือพื้นฐาน ก็สามารถสร้างเดือยและร่องเดือยเหลี่ยม ได้เช่นกัน
ลำดับ |
ชื่องาน |
เครื่องมือ&
อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง
|
ภาพประกอบ |
รายละเอียด การทำงาน |
1. |
ทำการกำหนดตำแหน่งความสูงของตัวเดือย
|
-ดินสอ
-ฉากตาย
|
|
ถ้าเราจะทำเดือยในตัวก่อนตัด อย่าลืมบวกเผื่อความยาวของเดือยทั้ง 2 ข้าง ทุกครั้ง
|
|
การทำเดือยเหลี่ยมนั้น สิ่งที่ควรรู้คือ ควรมีความลึกของเดือยสัก 2 ใน 3 ของความกว้างหน้าไม้ที่เราเข้าเดือย อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า ครึ่งหนึ่ง เพื่อความแข็งแรง กันโยกคลอนง่าย
เมื่อได้ความยาวเดือยที่ต้องการ ใช้ฉากตายจับ แล้วลากเบาๆด้วยดินสอ
|
|
ใช้ฉากตายจับไปรอบๆตัวเดือย แล้วขีดด้วยดินสอ ในส่วนมี้เราจะได้เส้นที่บอกตำแหน่งที่ปลายตัวเดือย หรือเราใช้คำว่า "บ่าเดือย"นั่นเอง
ถ่ายเส้นไปยังด้านถัดไปจนรอบ
|
|
สุดท้าย เราจะได้ระยะบ่าเดือย ตามรอยดินสอโดยรอบตามต้องการ
* หมายเหตุ ถ้าฉากตายที่ใช้ มีมุม90องศาดีแล้ว เมื่อทำการขีด-วนต่อเส้นไปจนครบ4ด้านแล้วเส้นสุดท้ายจะต้องวนมาบรรจบพอดี แต่ถ้าไม่พอดีแสดงว่าไม้ไม่ได้ฉาก หรือระยะที่เราขีดเส้นถ่ายไปอีกเส้นยังไม่ต่อกันตรง จึงถ่ายขนาดผิดเพี้ยนไป
|
2. |
กำหนดตำแหน่ง ความหนาเดือย |
-ดินสอ
-ฉาก/ตลับเมตร/ไม้บรรทัด
-ขอขีด(ขอลาก)ไม้
|
|
จากนั้นนำมากำหนดว่าความหนาเดือยที่เราต้องการควรเป็นเท่าไร อาจแบ่งความหนาไม้เป็น 3 ส่วน แล้วแบ่งเป็นเดือย 1 ส่วน ก็ได้ |
|
แล้วใช้ขอขีดจับลากขนานไปกับความหนาของไม้
โดยทำให้ครบทั้ง3ด้าน ทั้ง 2 ฝั่ง
|
|
เน้นเส้นขอขีด ด้วยดินสอ เพื่อให้เห็นได้ชัดขึ้น |
|
และอาจใช้ดินสอทำสัญลักษณ์ว่าส่วนใดที่จะเอาไว้ และส่วนใดที่จะเอาออก (ที่เห็นขีดด้วยดินสอคือส่วนที่เราจะต้องบากออกด้วยเลื่อยลอ) |
3. |
เลื่อยบ่าเดือย |
-แคลมป์
-เลื่อยลอ
-ไม้ที่ตรงและได้ฉาก
|
|
การเลื่อยเส้น ให้ตรงและได้ฉากในแนวดิ่ง เราควรหาจิ๊กมาช่วย โดยใช้ไม้ที่ตรงและได้ฉาก มาเป็นแนวบีบด้วยแคลมป์ เผื่อไว้เส้นเล็กน้อย
Tips:อาจบีบแคลมป์พอตึงมือ แล้วใช้ค้อนเคาะปรับแต่งเบาๆขนานกับแนวเส้น จะทำได้ง่ายและเร็วกว่า
|
|
แล้วใช้เลื่อยลอแนบไปกับแนวไม้เลื่อยลึกลงไปตามเส้นที่กำหนด อาจให้ลึกกว่าเส้นเล็กน้อย |
|
รูปแสดงเมื่อเลื่อยบ่าเดือยเสร็จ |
4. |
ผ่าตัวเดือย และแต่งเดือย |
-เลื่อยลอ
- สิ่ว |
|
มาถึงขั้นตอนที่ต้องใช้ทักษะการเลื่อยสักหน่อย โดยจะเลื่อยแบ่งความหนาตัวเดือยแต่ก็มีเส้นบอกตำแหน่งช่วยตรวจสอบไปจนสุดระยะ จนไปตัดกับด้านที่เป็นบ่าเดือย ที่เลื่อยเอาไว้แล้ว
|
|
การวางตำแหน่งเลื่อย ควรอยู่ในตำแหน่งที่ได้ฉาก เลี่อยอย่าทิ้งน้ำหนักลงมากเกินไปนัก เพราะอาจหนีบคลองเลื่อย
Tips : จุดเริ่มต้นเลื่อยควรอยู่ที่หัวมุม เพราะจะเลื่อยได้ตำแหน่งได้เร็วและแม่นยำกว่าที่จะเลื่อยลงบนแนวราบ เพราะอาจหนีเส้นได้
|
|
แต่งตัวเดือยด้วยสิ่วให้เรียบร้อยสวยงาม (โดยเฉพาะช่วงมุมอย่าให้เกิดคลีบ เพราะจะทำให้เมื่อประกอบแล้วไม่สนิท)
|
5. |
ผลงานของเดือยสำเร็จแล้ว |
|
|
เพียงเท่านี้ก็จะได้เดือยที่ต้องการ โดยมีบ่าเดือยแล้ว 2ด้าน
|
|
** หากต้องการทำบ่าเดือยรอบตัว ก็สามารถผ่าเพิ่มโดยใช้ขั้นตอนข้างต้นก็ได้
|
6. |
ลบมุมที่ห้วเดือย |
-กบผิว
หรือ บุ้ง |
|
เพื่อ ป้องกัน การเข้าเดือยไม่สนิทเมื่อตอนประกอบ อันเนื่องมาจากร่องเดือยนั้นอาจมีสิ่งสกปรกหรือมีเศษไม้ค้างอยู่ที่มุมด้านใน หรืออาจทำร่องเดือยไม่ดีพอ โดยการใช้กบผิวแต่งลบมุมที่เดือยทั้ง4มุม เล็กน้อย |
|
หรือจะใช้บุ้งตะไบลบมุมก็ได้ |
7. |
ตบแต่ง ดามมุม ให้เรียบร้อย |
|
|
จะได้เดือยที่ลบมุมแล้วทั้ง 4 ด้าน
เป็นเดือยไม้โดยใช้ เครื่องมือจาก Hand tools ทำทั้งหมด ตามต้องการ
|