For ... The Beginner
งานไม้ มีแนวโน้มว่าจะหาคนทำยาก และราคาแพงขึ้น เพราะไม้มีคุณค่าในตัวหายากขึ้น วัสดุทดแทนมากขึ้นทำให้ช่างไม้กำลังจะหมดไป หลายท่านจึงเริ่มสนใจที่จะมาทดลองทำด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากงานง่ายๆก่อน เช่น ชั้นวางรองเท้า เก้าอี้-โต๊ะง่ายๆ แต่ก็คงมีคำถามต่อว่า จะเริ่มอย่างไร เครื่องมือมีอะไรย้าง และควรมีจะอะไรก่อน สำหรับมือใหม่อย่างเรา ราคาจะแพงไหม??? ต่างๆ เหล่านี้ วันนี้มีคำแนะนำเบื้องต้นมาบอกกัน ว่าจริงๆแล้วเครื่องมือควรมีอะไรบ้าง
สิ่งที่จำเป็นในการใช้เครื่องมือมักจะต้องควบคู่ไปกับทักษะ และประสบการณ์ ถ้าเป็นระดับเริ่มต้นนี้เครื่องมือที่ใช้จะเน้นไปที่กลุ่ม เครื่องมือเบื้องต้นที่ไม่อันตราย ได้แก่ Basic Hand tools และ มีกลุ่ม Power tools พื้นฐาน ที่ความเร็วรอบไม่สูง ผนวกเข้าไป ทำให้ทำงานได้ง่าย และเร็วขึ้น มีคุณภาพด้วย
เครื่องมือ
|
หน้าที่หลัก
|
ราคากลางโดยประมาณ*
|
ความจำเป็น
(จริงๆแล้วต้องใช้ทั้งหมด แต่จะพิจารณาตามความบ่อย)
|
หมายเหตุ
|
กบล้าง
|
ไสปรับผิว ปรับความเรียบไม้ยาว |
1100.-
|
น้อย
|
แนะนำให้ใช้ไม้ขนาดสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด |
กบผิว
|
ไสเก็บลบขอบ ปรับแต่ง |
850.-
|
ปานกลาง
|
นิยมเก็บงาน ไสปรับร่วม ลบขอบ มุม บางทีก็ใช้กระดาษทรายแทนได้ เพราะการใช้กบต้องมีทักษะงานไม้บ้างแล้ว |
เลื่อยลันดา |
ตัดความยาว ซอยไม้อัด |
500.-
|
มาก
|
|
ตลับเมตร |
วัดขนาด ยาว-กว้าง |
200.-
|
มาก
|
|
ดินสอ |
ขีดเส้น บอกตำแหน่ง |
5.-
|
มาก
|
|
เวอร์เนียร์ |
วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง วัดลึก ความหนา(ละเอียด) |
300.-
|
ปานกลาง
|
มักใช้ตลับเมตรแทนได้ |
ขอขีด (ขอลาก) |
ขีดเส้นที่ต้องการให้ขนาน หรือถ่ายระยะ จากขอบไม้ |
150.-
|
ปานกลาง
|
ถ้าดูที่ราคา ก็น่าจะเก็บเอาไว้สักอัน แต่ต่อไปชำนาญก็อาจไม่ค่อยได้ใช้ |
ฉากตาย |
จับฉาก วัดมุมฉาก |
60.-
|
มาก
|
|
ฉากเป็น |
ใช้กับถ่ายมุมเอียง |
80.-
|
ปานกลาง
|
มีไว้ก็ดี ราคาไม่แพง อาจใช้ไม่บ่อย แต่ถึงตอนใช้ก็อดคิดถึงไม่ได้ |
เลื่อยลอ |
ตัด บาก |
70.-
|
มาก
|
|
เลื่อยญี่ปุ่น |
ตัด บาก |
500.-
|
ปานกลาง
|
ปกติช่างบิลด์อินไม่ค่อยมีใช้กัน ใช้แต่เลื่อยลอ |
สิ่ว 3/8" - 3/4" - 1" |
เจาะ เซาะ |
@ 200.-
|
ปานกลาง
|
|
ค้อนเหล็ก |
ตอก เคาะ |
150.-
|
มาก
|
|
ไขควง / หัวไขควง |
ไขตะปูเกลียว |
80.-
|
มาก
|
บ้างใช้ไขควงไร้สาย ก็ได้เช่นกัน ราคาอาจแพงสักหน่อย |
สว่าน 3/8" 1/2" |
เจาะรู เจาะนำ-คว้าน
สารพัดประโยชน์งานเจาะขุด
|
1500.-
|
มาก
|
คงต้องมีก่อนเครื่องมือใดๆ เพราะทุ่นแรงได้มาก ปกติก็เป็นเครื่องมือประจำบ้านกันอยู่แล้ว แต่มีตัวจับสว่านใหญ่เพิ่มเข้ามาได้อีกก็ดี |
เครื่องเลื่อยจิ๊กซอว์ |
เลื่อย ตัด ซอยงานโค้ง
สารพัดงานตัดซอย
|
2000.-
|
มาก
|
แนะนำว่าควรมี ช่วยงานตัดซอยให้เร็วขึ้น แทนเลื่อยลันดาได้สำหรับงานไม่หนามาก |
F แคลมป์
(มีหลายขนาด)
|
ยึดชิ้นงาน-เอนกประสงค์ |
300.-
|
มาก
|
จำเป็นมากเริ่มต้นควรมีขนาด 8-10นิ้วก่อน อย่างน้อย1คู่ แล้วค่อยๆเพิ่มตามความจำเป็น |
C แคลมป์ |
ยึดชิ้นงาน |
150.-
|
ปานกลาง
|
เดี๋ยวนี้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากความสะดวกในการใช้น้อย |
คีมปากนกแก้ว
|
ตัดหัวตะปู ถอนตะปู |
180.-
|
มาก
|
เป็นคีมเอนกประสงค์ |
เครื่องขัด สั่นไฟฟ้า
|
|
1500.-
|
ปานกลาง
|
ช่วยผ่อนแรงงานขัดได้มาก เลือกแบบขนาดเล็ก จับง่าย ถนัดมือ |
เครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน (รถถัง) |
ขัดผิวหน้าเรียบกว้างๆได้ดี เรียบเป็นหน้ากลอง กระดาษทรายมีให้เลือก หยาบ-ละเอียด |
4000.-
|
มีก็ดี ไม่มีก็ได้ แล้วแต่กำลังทรัพย์
|
เป็นเครื่องที่ไม่อันตราย แต่ราคาสูง นำมาขัดปรับผิวได้เร็วดี ขัดร่วมให้เสมอ เอนกประสงค์ |
|
|
|
|
|
* ราคานี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามระยะเวลาปัจจุบัน
เท่าที่กล่าวมา For ... The Beginner เครื่องมือค่อนข้างครบ ยกตัวอย่างงาน DIY สักงาน งานที่ทำก็คงหนีไม่พ้น ตัดๆ เจาะๆ บาก ตอกตะปู ขันสกรู ตกแต่ง ซอยโค้ง+ขัดๆ ประกอบ ขัด ทำสี
ฟังดูอาจง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป ในที่นี้ อยากให้มีโต๊ะงานสักตัว ปากกาหนีบไม้ อย่างน้อยควรมีสัก1ด้าน แล้วแต่ว่ากำลังทุนทรัพย์ของแต่ละคนไป แต่ถ้าเครื่องมือดี มีมาตรฐานตั้งแต่แรกแล้ว งานก็จะได้มาตรฐานตามไปด้วย
สำหรับผู้เริ่มต้นเมื่อได้ทดลองลงมือทำงานไม้ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆดูบ้างแล้ว ลำดับต่อไปก็เริ่มศึกษาที่จะพัฒนาทักษะตัวเอง ไปสู่ระดับ Advance ต่อไป โดยเลือกเครื่องมือที่ยากขึ้น แต่ได้งานเร็วขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้นต่อไป
-กลุ่มงานวัดขนาดและกำหนดตำแหน่ง
1. ดินสอไม้
ดินสอเขียนไม้ ใช้สำหรับขีดเขียนบอกระยะ ให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดส่วนต่างๆ ที่ต้องตัด หรือเลื่อยทิ้ง เป็นต้น ตัวไส้ดินสอจะมีขนาดที่ใหญ่ ไม่หักง่าย เหมาะที่จะขีดเขียนลงบนวัสดุที่แข็งได้
2. ฉาก

ฉาก เป็นเครื่องมือทีใช้ได้หลากหลาย ปกติที่นิยมใช้คือฉากตาย (มุม90 องศา ปรับมุมไม่ได้)ใบฉากทำด้วยโลหะ มีเส้นบอกขนาด เป็นนิ้วและเซ็นติเมตร ใช้สำหรับงานตรวจสอบ-ตรวจเช็คมุมฉาก หรือมุม 45องศา ขีดเส้นตรง วัดละเอียด หรือใช้สันฉากเช็คความเรียบของพื้นผิวก็ได้ ส่วนฉากอีกชนิดหนึ่งก็คือ ฉากเป็น มีใบเป็นโลหะและสามารถปรับมุมได้ นิยมนำมาใช้กับการถ่ายมุมที่ไม่เป็นมุมฉาก จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่นถ่ายจากแบบไปยังชิ้นงานจริง หรือตรวจสอบก็ได้เช่นกัน
3.ตลับเมตร และเวอร์เนียร์
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากสำหรับช่างทุกสาขา ใช้วัดขนาด กำหนดระยะ ตรวจสอบขนาด ตลับเมตรโดยทั่วไปสายวัดทำด้วยโลหะปลายสุดจะมีตะขอเกี่ยว เอาไว้เป็นตัวเกี่ยว (สำหรับการวัดแบบภายนอก) และเป็นตัวชน (สำหรับงานวัดภายใน) ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าตัวเกี่ยวนี้จะขยับไปมาได้ก็เพื่อจะได้ค่าเริ่มต้นจากค่า 0 (ศูนย์) โดยค่าที่ขยับไปมาที่ตัวเกี่ยวก็จะเท่ากับความหนาของตัวเกี่ยวที่ต้องทดคืนให้นั่นเอง
เวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ มีทั้งแบบธรรมดา และแบบดิจิตอล เวอร์เนียร์แบบธรรมดานั้น ผู้ใช้งานต้องมีทักษะในการใช้งานพอสมควรจึงจะอ่านค่าได้แม่นยำ ส่วนแบบดิจิตอล จะมีหน้าจอสำหรับโชว์ค่าตัวเลขให้อ่านได้เลย ก็จะสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยชำนาญในการอ่านค่าเอง หรือมีปัญหาเรื่องสายตาที่มองเส้นเล็กๆ ไม่ชัดเจน เวอร์เนียร์เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดค่าได้ละเอียดสูงกว่าตลับเมตร (สามารถอ่านค่าเป็นจุดทศนิยมได้) วัดขนาดวัตถุได้ทั้งภายนอก ,ภายใน และวัดระยะความลึกของชิ้นงานที่เครื่องมือวัดอย่างอื่นไม่สามารถวัดได้ โดยเฉพาะรูเล็กๆ แต่เครื่องมือตัวนี้ที่ด้านท้าย จะมีเดือยเหล็กแทงวัดระยะได้ ประโยชน์ในการใช้งาน เช่น วัดขนาดภายนอกของดอกเร้าเตอร์ ,ดอกสว่าน ฯลฯ วัดขนาดภายในของรูเพลาของใบเลื่อยวงเดือน หรือรูภายในของแหวนต่างๆ และวัดความลึกของร่องเดือย ความลึกรูน๊อตต่างๆ เป็นต้น
4.ขอขีด

อาจจะไม่คุ้นหูนักกับหลายๆคน แต่ถ้าช่างไม้แล้วก็ถือเป็นเครื่องมือกำหนดตำแหน่ง ที่จำเป็นชิ้นหนึ่ง สามารถลอกแบบหรือถ่ายแบบจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งได้ โดยการใช้งานจะเป็นในลักษณะบอกเส้นคู่ขนานไปกับแนวอ้างอิง โดยลากผ่านให้ส่วนที่เป็นโลหะแหลมกดจิกลงบนเนื้อไม้ จนเป็นรอยลึกพอจะสังเกตเห็นได้ แขนปรับเลื่อนเข้าออกได้ล็อกให้แน่นด้วยสลักลิ่ม ส่วนใหญ่ทำจากไม้เนื้อแข็ง
- กลุ่มงานขึ้นรูป( ตัด-ไส-ซอย)
5.เลื่อย

ชนิดต่างๆ เช่น เลื่อยลันดา เลื่อย-อก เลื่อยลอ เลื่อยฉลุ การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและทักษะของแต่ละบุคคล เช่น เลื่อยลันดาจะใช้กับการตัด ซอย ไม้แผ่น ที่ตัดเป็นระยะยาวๆ แนวตรงตลอดแนว คล้ายกับเลื่อย-อก แต่ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการบังคับ เหมาะกับงานผ่า ตัด ชิ้นงานที่ไม่กว้างมากนัก(ไม่เกินระยะของใบเลื่อยกับด้าม)ส่วนงานที่มีลักษณะคดหรือโค้งก็เลือกใช้เลื่อยฉลุ ถ้างานตัดละเอียดก็เลือกใช้เลื่อยลอเพราะจะให้ฟันถี่ละเอียดกว่า
6. กบไสไม้
ทำจากไม้เนื้อแข็ง ต่างประเทศนิยมทำด้วยเหล็ก มีหน้าที่หลักในการปรับผิวไม้ให้เรียบ ตั้งแต่ผิวดิบจนไปถึงผิวงานขั้นสุดท้าย เพียงแต่ผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะกับงานในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสมกับกบแต่ละประเภท เช่น
กบล้าง เหมาะกับงานที่ปรับพื้นผิวให้เรียบ ลักษณะตัวกบผิวจะยาว และใบกบจะมีมุมประมาณ45องศา เพื่อให้จิกเนื้อไม้ง่ายขึ้น กบล้างมีทั้ง ล้างสั้น กลาง ยาว ยิ่งยาวก็ยิ่งทำให้พื้นผิวงานมีความเที่ยงตรงขึ้น แต่ก็ขึ้นกับความยาวของชิ้นงานด้วย
กบผิว เหมาะกับการปรับผิวงานให้ละเอียด ต่อจากกบล้าง หรืองานตบแต่งเล็กๆน้อยๆ มุมใบกบจะมีลักษณะชันกว่า ประมาณ60องศา
7. ค้อน

ที่นิยมก็จะเป็นแบบฆ้อนหงอน แต่ในฆ้อนหงอนเองก็มีหลายขนาดเช่นกัน ก็เลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ส่วนฆ้อนชนิดอื่นๆก็มีแบบฆ้อนไม้ ฆ้อนพลาสติกแข็ง ฆ้อนเหล็ก ฯ
8. สิ่ว

เป็นเครื่องมือเจาะ เซาะ สิ่วที่นิยมได้แก่สิ่วปากบาง สิ่วมีขนาดตั้งแต่ 1/4 นิ้ว จนถึง 2 นิ้ว เลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน สิ่วอีกชนิดหนึ่งที่ช่างไม้แกะสลักนิยมใช้ได้แก่สิ่วเล็บมือ ใบสิ่วจะโค้งคล้ายกับเล็บมือ มีโค้งรัศมีเล็กจนถึงโค้งใหญ่ หน้าแคบจนถึงกว้าง สิ่งใช้คู่กับฆ้อน แต่ควรเป็นฆ้อนไม้ ด้ามสิ่วจะได้ไม่สึกเร็วเกินไป และกะนำหนักได้ง่าย
-อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน

ปากกาจับชิ้นงาน มีทั้งแบบเป็นโลหะและแบบไม้ (ที่ติดกับหัวโต๊ะงานไม้)
ปากกาจับชิ้นงานที่เป็นโลหะ เหมาะกับจับชิ้นงานที่เป็นโลหะ หากจะนำมาใช้กับชิ้นงานที่เป็นไม้ เวลาบีบอัดจับชิ้นงานควรจะหาไม้รอง หรือวัสดุอื่นๆ รอง ป้องกันการเกิดริ้วรอยบนชิ้นงานที่เป็นไม้
9. แคลมป์ ( F,C แคลมป์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงานมีขนาดต่างกันไป ระยะตั้งแต่3นิ้วจนมากกว่า12นิ้ว งานไม้มักใช้แคลมป์มาเป็นตัวช่วยยึดในระหว่างการตั้งเครื่อง การตั้งรั้ว เพื่อใช้ในการซอยไม้ เป็นต้น
C แคลมป์ใช้บีบอัดกรณีที่ต้องการความแน่นมาก

F แคลมป์ ใช้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ใช้บีบอัด จับยึด งานที่แน่นปานกลาง

แม่แรง(ปากกา) เป็นอุปกรณ์อีกคัวหนึ่งที่ใช้กับงานที่มีระยะยาวมากๆ กับงานไม้นิยมมาเพลาะไม้ เป็นระยะกว้างกว่าปกติ(การนำไม้มาต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ด้วยกาว)
10.เครื่องมือพื้นฐาน
- คีมปากนกแก้ว เอาไว้ตัด หรือถอนตะปูเข็ม