By : thaicarpenter.com
ที่มารูป : ร้านพี เค ไม้-ฟิตติ้ง
การจะเริ่มทำงานไม้ สักงานก็เหมือนการทำงานช่างที่อยู่ในกระบวนการผลิตทั่วไป อยากจะแนะนำทั้งวิชาการ และประสบการณ์ ผสมผสานเข้าด้วยกัน เริ่มด้วยนำหลักวิชาการเข้ามาช่วยที่จะบอกถึงปัจจัยในการผลิตหลักๆนั้น มีด้วยกัน 4M
- Man ก็คือผู้ที่จะทำการผลิต ซึ่งจะเป็นผู้จับทุกปัจจัยการผลิตมาผสมผสานเข้ากัน และเป็นคนที่ทำให้เกิดชิ้นงานนี้ขึ้น โดยชิ้นงานจะดีมากน้อยอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ปฎิบัติงานนั่นเอง ทักษะนั้นได้มาจากการหาความรู้จากแหล่งต่างๆ และทดลองมานำจริง อาจจะไปอบรมหรือดูช่างทำแล้วก็มาลองทำด้วยตัวเอง การได้รู้ได้เห็นและนำมาลองปฏิบัติก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีทักษะเพิ่มขึ้นตามลำดับ
- Machine เครื่องจักร งานไม้นั้นมีเครื่องมือ ที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก งานไม้ชิ้นใดจำเป็นต้องใช้เครื่องมือใดบ้าง ที่จะผลิตงานนั้นๆให้ได้ตามความต้องการ เครื่องมือทันสมัยก็สามารถทำงานได้เร็วกว่า คุณภาพดีกว่า แต่ก็ต้องควบคู่กับทักษะของเราด้วยเช่นกัน อาจจะใช้เครื่องมือขั้นพื้นฐาน แต่ก็จะเสียเวลามากขึ้น ก็ต้องพิจารณากันตามความเหมาะสม หากได้รู้จักเครื่องมือในงานไม้และรู้วิธีการทำงานของเครื่องมือนั้นๆ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะเลือกใช้ต่อไป
- Materail วัตถุดิบ ที่ต้องใช้เหมาะสมกับที่เราจะเสาะหามาได้เพียงใด เหมาะกับการใช้งานมากน้อยอย่างไร เช่นไม้ที่อยู่ Out Door ก็ควรอยู่ในตระกูลเนื้อแข็ง ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศ แดด ฝนได้ดี หรือการเลือกใช้อุปกรณ์ก็มีหลายแบบที่เราจะเลือกใช้ เช่นบานพับ ก็มีให้เลือกใช้ตั้งหลายแบบ มีทั้ง บานพับผีเสื้อ บานพับถ้วย บานพับซ่อน ฯ การใช้ติดตั้งกันต่างกันไป ถ้าเรารู้ถึงคุณสมบัติของวัสดุ-อุปกรณ์นั้นๆแล้ว เราก็สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับงานที่เราต้องการเช่นกัน
- Method วิธีการ เทียบกับศักยภาพที่เรามี ประสบการณ์ และการเลือกใช้ เช่นแค่รูปแบบการยึด จะเลือกเข้าเดือย จะอัดเกลียวปล่อย หรือแค่ตอกตะปู ก็ย่อมได้ทั้งนั้น วิธีการนั้นสามารถหาได้จากแหล่งความรู้ทั่วไป หนังสือ เว็บไซต์ ฯลฯ แต่ที่สำคัญคือจะต้องถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะที่สามารถนำไปทำงานได้จริง วิธีการควรเน้นให้เหมาะสมกับความต้องการและคำนึงถึงความเป็นไปได้ให้มากที่สุด
ต่อไปนี้เป็นการตั้งโจทย์แบบง่ายๆ ขอยกตัวอย่าง Model งานสักชิ้น เช่นโต๊ะไม้ ที่เห็นมาจากรูปในนิตยสารฉบับหนึ่ง ถูกใจเลยอยากจะเอามาทำใช้เองสักตัว ก่อนอื่น เราต้องถอดแบบง่ายๆด้วยลายเส้น เป็น Drawing ของเราเอง เป็นรูปง่ายๆที่เราเข้าใจ เสียก่อนกำหนดขนาด กว้างยาว และสูง ตามที่เราต้องการหรือให้เข้ากับพื้นที่ที่เรามีอยู่(แต่อย่างน้อยควรรู้หลักการออกแบบเครื่องเรือนเบื้องต้นเสียก่อน เช่น ความสูงโต๊ะโดยทั่วไปนั้น มาตรฐานอยู่ที่ 75 ซม. หรือถ้าเป็นพวกไม้อัด ตัดขนาดเท่าไรดีจึงไม่เหลือเศษ เป็นต้น) เมื่อได้รูปแบบและขนาดมาแล้ว จึงมาสู่ลำดับต่อไป
มาสู่ขั้นตอนการลงมือทำ
1.Break Down ชิ้นส่วนทั้งหมดเสียก่อน ว่ามีชี้นส่วนใด ขนาดเท่าใด ถ้าทำเป็นแบบที่เราเข้าใจได้ทุกชิ้นส่วนได้ยิ่งดี
2.ออกแบบโครงสร้าง ว่าเราจะประกอบอย่างไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร แน่นอนว่ามักจะต้องมีการประกอบย่อย จากชิ้นส่วน(Part)ข้างต้นทั้งหมดแล้วค่อยประกอบไล่ขึ้นมา จนกระทั่งไม่มีชิ้นส่วนใดจะประกอบได้แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการประกอบทั้วตัว (Assembly) อันนี้ก็แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละท่าน หรือช่างแต่ละคนก็มีวิธีการทำที่แตกต่างกันไป แต่ตอนจบก็ได้งานออกมาหน้าตาเหมือนกัน เช่น บางท่านก็ประกอบแผงขาซ้าย-ขวา ขึ้นมาก่อน แล้วจึงค่อยประกอบเป็นแผงยาว ต่อด้วยการประกอบหน้าโต๊ะ บางท่านเลือกที่จะประกอบพนังเข้ากับหน้าโต๊ะก่อน แล้วจึงเลือกประกอบขาในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งก็จะต้องมีการไล่ประกอบชิ้นส่วนเล็กขึ้นมาเช่นกัน ในหัวข้อนี่คือการกำหนดโครงส้างงานทั้งตัว เป็นหัวใจของงานทั้งชิ้น อยากจะแนะนำหลักการคิดก็คือ พยายามมองงานหรือชิ้นส่วนให้เป็นกลุ่มๆ ประกอบกันขึ้นมาเป็นแผงหรือชุดเล็กๆก่อนเสมอ

เมื่อสามารถเลือกวัตถุดิบ(Materail)ได้แล้ว ว่าจะใช้ไม้อะไร ที่ชิ้นส่วนไหน และการเลือกอุปกรณ์ตัวจับยึด(Fitting)อะไรได้แล้ว ก็จะมาสู่กระบวนการต่อไปคือ
3.การลงมือทำ คือการนำเอา 3M (Material - Machine&Method)มาผนวกเข้าด้วยกัน ตามประสบการณ์ ทักษะและเครื่องมือที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล(Man) จะเห็นว่าทุกอย่างจะสอดคล้อง และเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าคุณรู้ว่าคุณจะทำอย่างไรกับขั้นตอนนี้ คุณก็จะเลือกใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง ดังนั้น การมองภาพรวมๆตั้งแต่เริ่มตัดไม้ชิ้นแรก จนขึ้นรูปชิ้นส่วนทุกชิ้น มาประกอบย่อย(Semi Assembly) และประกอบสุดท้าย เป็นสิ่งที่คุณควรจะวางแผนในใจมาแล้ว ถ้าไม่มีตรงนี้งานไม้ที่หวังไว้อาจจไม่เสร็จ หรือถ้าเสร็จก็อาจจะไม่ได้คุณภาพตามความที่ต้องการ

ดังนั้น หากจะทำงานไม้สักชิ้น ถ้าเรามีความพร้อมทั้ง 4M กล่าวคือ รู้ศักยภาพตัวเรา (Man) รู้ว่าจะเลือกใช้ วัตถุดิบ(Materail) ไม้และอุปกรณ์ อะไร โดยศึกษา เห็นมามากพอ เพื่อที่จะนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกใช้ อุกรณ์แต่ละตัว เช่นอยากทำบานเลื่อน บานเลื่อนมีให้เลือกหลายชนิด ทั้ง แบบแขวน แบบตั้งกับพื้น การรับน้ำหนักบานมีหลากหลายแบบ รางที่ใช้หลากหลายแบบ ทั้งรางอลูมิเนียม เหล็ก และพลาสติก แม้ล้อที่รับน้ำหนักเท่ากัน ก็มีคุณภาพและราคาต่างกันไปอีก ล้อมีแบบมีลูกปืนและไม่มีลูกปืน ทั้งหมดนี้คือการเลือกใช้ชนิดของอุปกรณ์ที่แล้วแต่จะเลือกให้เหมาะสม รวมถึงการเลือกใช้2M(Method&Machine)อย่างไรให้สอดคล้องกัน ถ้าหากยี่งเราได้รู้ได้เห็นและได้ลงมือปฎิบัติงานไม้มากๆ ยิ่งทำให้มีประสบการณ์ และจะสามารถทำงานไม้ได้อย่างมั่นใจ และต้องเน้นความปลอดภัยก่อนเสมอ
.jpg)