ไม้โครง สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน ก็คือไม้ที่นำมาใช้เป็นโครงสร้างหลัก ของแผ่นพื้น แผงตู้ หรือบาน ที่ต้องนำไม้อัดมาประกบจะ1ด้าน หรือ2ด้าน ก็ตาม ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน เกิดความแข็งแรง หรือเรียกง่ายๆว่าเป็น "กระดูก" ที่นิยมจะเป็นโครงไม้จริง บางทีก็มีบ้างที่ใช้ไม้อัด MDF ปาร์ติเกิล หรือพวกบล็อคบอร์ด มาทำเป็นตัวโครง เพื่อลดการบิดตัวและลดต้นทุน แต่จะแข็งแรงสู้ไม้จริงไม่ได้ แต่ในที่นี้ จะขอกล่าวเฉพาะในส่วนของไม้จริง
หน้าที่หลัก : ใช้เป็นตัวโครงสร้างหลัก(ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้านก็คืองานโครงสร้าง พวก เสา คาน นั่นเอง) หรือเป็นการขึ้นตู้ ก่อนที่จะนำไม้อัดมาประกบ และเป็นตัวที่ใช้ในการนำไปจับยึด จากตะปูเกลียวหรือตะปูให้เกิดความแข็งแรง ของตู้หรือตัวเฟอร์นิเจอร์นั่นเอง
รูปแบบไม้โครง มีทั้งแบบเป็นเส้นไม้ท่อนเดียว(ไม้เนื้อ) หรือนำมาต่อๆกันด้วยเศษไม้ (ไม้จ๊อย) แต่ไม้เนื้อจะราคาแพงกว่า หายากกว่า และมีโอกาสบิดเบี้ยวได้มากกว่า ไม่ค่อยนิยม และในที่นี้จะกล่าวถึง ไม้โครงแบบต่อ(จ๊อย) ซึ่งนิยมกว่าและทำงานง่ายกว่า นอกจากนี่ยังเป็นการนำไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
รูปแบบการต่อ
ชื่อเรียก |
ภาพ |
อธิบาย |
Fingger-Joint (แบบนิ้วประสาน) |
 |
แนวคัตเตอร์จะเห็นเป็นรอยฟันปลาอยู่ที่ด้านความกว้างไม้ ส่วนที่ด้านความหนา จะเห็นเป็นเส้นตรง |
Butt-Joint |
 |
แนวคัตเตอร์จะเห็นเป็นรอยฟันปลาอยู่ที่ด้านความหนาไม้ ส่วนที่ด้านความกว้างจะเห็นเป็นเส้นตรง |
ขนาด : ที่นิยมมาจำหน่ายในท้องตลาด (เป็นขนาดโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต) และจะมัดรวมกันมา มัดละ 10ท่อน
หนา(มม.) |
กว้าง(มม.) |
ยาว(ม.) นิยมให้เท่ากับขนาดความยามไม้อัด |
หมายเหตุ |
17.5 |
35
แบบหน้าแคบ
|
2.4-2.5 |
ประกบไม้อัด4(3.2) มม.หน้า-หลัง จะรวมความหนาโดยประมาณที่ 22-23 มม. นิยมใช้เป็นโครงตัวในเพราะหน้าแคบ |
17.5 |
42-45
แบบหน้าปกติ
|
2.4-2.5 |
นิยมใช้กันมากที่สุด ติดบานพับถ้วย-ปุ่มรับชั้นฯไม่หลุดขนาด |
20-22 |
42-45 |
2.4-2.5 |
ประกบไม้อัด4 (3.2)มม.หน้า-หลัง จะรวมความหนาโดยประมาณที่ 26-28มม. ขึ้นอยู่กับไม้อัดที่นำมาประกบ |
|
|
|
|
ไม้โครง มีด้วยกันหลายชนิด ในที่นี้จะนำมาเปรียบเทียบแบบที่มีจำหน่าย ทั่วไป
ชื่อไม้ |
ภาพประกอบ |
ข้อเด่น |
ข้อด้อย |
กลุ่มราคา(10เส้น) |
สัก สวนป่า |
 |
ชื่อไม้สัก ไม้มีสกุลกว่า เนื้อนิ่ม ทำงานง่าย ตรง ไม่บิดตัว |
อายุที่นำมาใช้ยังน้อย มีกระพี้ติดมาก(ที่เห็นสีขาวๆ) และยางไม้ไม่ค่อยมากพอที่จะทำให้ปลวกกลัว ในส่วนกระพี้ |
ปานกลาง
420-450
|
สัก เนื้อ |
 |
ชื่อไม้สัก ไม้มีสกุลกว่า เนื้อนิ่ม ทำงานง่าย ตรงไม่บิดตัว ปลวกไม่กิน บางทีสามารถนำไปแทนกรอบบานได้ |
ราคาแพง |
แพง
600-800
แล้วแต่เนื้อกี่%ด้วย
|
เบญจพรรณ
(ไม้รวม)
|
.jpg) |
ตรง ไม่บิดตัว รับแรงได้ดี หนักแน่น มั่นคง |
เนื้อแข็งแต่ไม่เหนียว ทำงานยาก ตอกตะปูยาก |
ถูก
250-260
|
ทุเรียน |
.jpg) |
ทำงานง่าย ตรง ไม่บิดตัว คงรูป เมื่อทิ้งไว้อย่างอิสระ |
เนื้ออ่อน เบา การยึดเกาะพวกเกลียวปล่อย ตะปู ไม่ดี ปลวกมอดชอบ |
ถูก
250-260
|
ยางพารา |
 |
มีมาก หาซื้อง่าย แข็งเหนียว เนื้อไม้ขึ้นรูปง่าย ยึดเกลียวปล่อย ตะปูดี |
การบิดตัวง่าย มีขนพองขึ้นเป็นบางชิ้น มอดชอบ |
ถูก
230-260
|
ตะแบก |
 |
ตรง ไม่บิดตัว แข็งเหนียว ลักษณะจะลื่นมัน ทำงานง่าย บ้างว่าปลวกไม่ชอบ |
ราคาอยู่ในกลุ่มไม้สัก แต่ชื่อไม้ด้อยชั้นกว่า |
420-480 |
สยา |
 |
ตรง ไม่บิดตัวง่าย เนื้ออ่อนแต่ไม่เปราะ ทำงานง่าย |
เนื้ออ่อน เบา การยึดเกาะเกลียวปล่อยไม่ดี (แต่มากกว่าทุเรียน) ปัจจุบันเริ่มมีน้อย |
ปานกลาง
300-350
|
ตะเคียน |
ยังไม่มีรูป(สีออกเหลืองอ่อน เนื้อละเอียด หนัก) |
แข็งเหนียว ไม่บิดงอง่าย การยึดเกาะเกลียวปล่อยดี หนึบกว่าหนักแน่นดี |
อาจทำงานยากเพราะจะแข็ง แต่ดีกว่าพวกไม้รวม(เบญจพรรณ) |
ปานกลาง
300-350
|