ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
dot
ค้นหารายการสินค้า


  [Help]
dot
bulletโปรโมชั่น ราคาพิเศษ
bulletเครื่องมือไร้สาย BOSCH
bulletเครื่องมือไร้สาย JEMAR
bulletโต๊ะเลื่อย Thaicarpenter
bulletโต๊ะปฏิบัติงานไม้ Work Bench
bulletโต๊ะเลื่อยสำเร็จรูป
bulletแคลมป์และปากกา
bulletโต๊ะเราเตอร์ Router Table
bulletเครื่องมือกลุ่มงานหนัก
bulletJig จิ๊กช่วยทำงานให้ไม้ง่ายขึ้น
bulletใบกบ และใบเครื่องไสไม้
bulletรวมใบเลื่อยวงเดือน
bulletรางอลูมิเนียม รั้วตัด-รั้วซอย
bulletงานตัด
bulletงานเจาะทั้งหมด
bulletงานไสไม้
bulletงานขัด
bulletงานกลึง
bulletงานวัด
bulletงานลับคม
bulletอุปกรณ์งานลม
bulletเครื่องเราเตอร์
bulletเครื่องทริมเมอร์
bulletเครื่องตัดเหล็ก ตัดสแตนเลส
bulletเครื่องดูดฝุ่น
bulletอุปกรณ์ติดตั้งด้วยตัวเอง
bulletจิ๊กทำหางเหยี่ยว Dovetail Jig
bulletแท่นวางเอนกประสงค์
bulletดอกเราเตอร์
bulletดอกทริมเมอร์
bulletสินค้า thaicarpenter
bulletสินค้า JEMAR
bulletสินค้า Makita - Maktec
bulletสินค้า DEWALT
bulletสินค้า JET
bulletสินค้า PUMPKIN
bulletสินค้า Freud
bulletสินค้า FESTOOL
bulletสินค้า LUXTER
bulletสินค้า CROSSMAN
bulletสินค้า RYOBI
bulletสินค้า SKIL
bulletสินค้า RONIX
bulletสินค้า IRWIN
bulletสินค้า BESSEY
bulletสินค้า VOREX
bulletสินค้า BOYE
bulletสินค้า BIGWOOD
bulletสินค้า POLO
bulletสินค้า MKT
bulletKreg Jig
bulletสินค้า A-380
bulletชุดแบตเตอรี่ และ แท่นชาร์จ
bulletรวมอุปกรณ์ทำโต๊ะงานไม้
bulletสินค้าสำหรับงานโต๊ะ ตู้ เตียง
bulletรวม เลื่อยญี่ปุ่น
bulletปั้มลม
bulletตัวล็อคดอกจอก ลูกบิดหัวทะลุ
bulletเครื่องเลื่อยวงเดือน
bulletเครื่องเราเตอร์ makita
bulletรวมใบเลื่อยสายพาน
bulletแหวนลดรูเพลา
bulletลูกปืนดอกเราเตอร์
bulletอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย
bulletเครื่องเจียร
bulletหินเจียร - ใบตัด
bulletกุญแจ - ตัวล็อค
bulletรางลิ้นชัก
bulletบานพับขาโต๊ะ
bulletจานหมุนฐานทีวี
bulletเดือยไม้
bulletหูแขวนแบบต่างๆ
bulletแขนพับ
bulletฉากยึดมุม
bulletน็อตและสกูร
bulletอุปกรณ์ทำเตียง
bullet อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ (Fitting)
bulletวิดีโอ งานไม้
bulletวัสดุปิดขอบ
bulletรวมอะไหล่
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อ
bulletประวัติการสั่งซื้อ
bulletขั้นตอนการสั่งซื้อ
bulletขั้นตอนการโอนเงิน
dot
ระบบสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน   bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
บทความสีงานไม้
dot
bulletแม่สีผสมพิเศษ ทีโอเอ คัลเลอร์อิ้ง
bulletทีโอเอ แลคเกอร์
bulletทีโอเอ แลคเกอร์ แซนดิ้งซิลเลอร์
bulletสีสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์
dot
D.I.Y (Do it yourself)
dot
bulletD.I.Y # 1กรอบรูป type c
bulletD.I.Y # 2 กรงกระต่าย rb01
bulletD.I.Y # 3 การทำแผ่นป้ายไม้
bulletD.I.Y # 4 การทำกล่องไม้
dot
คำถามจากทางบ้าน
dot
bulletปืนลมยิงแล้วหัวตะปูจมลึกมาก ปรับยังไง?
bulletกระทู้น่าสนใจ
bulletรวมผลงานจากทางบ้าน
dot
Woodworking Tools
dot
bulletเครื่องมือทั่วไป Hand tools
bulletเครื่องมือกล Power tools
bulletเครื่องมือที่ใช้ลม Air tools
dot
วัสดุ-อุปกรณ์ งานไม้
dot
bulletกลุ่มไม้แปรรูป
bulletกลุ่มไม้อัดชนิดต่างๆ
bulletกลุ่มไม้โครงและไม้ประสาน
bulletกลุ่มไม้บัวและไม้คิ้ว
bulletกลุ่มแผ่นไม้สับอัด-แผ่นไยอัด
bulletกาวที่นิยมใช้ในงานไม้
dot
วัสดุ-อุปกรณ์ งานสี
dot
bulletเครื่องมือ-อุปกรณ์ที่ใช้ในงานสี
bulletแนะนำวัสดุสิ้นเปลืองในงานสี
bulletกระดาษทรายกับงานไม้
dot
Tips & เทคนิค
dot
bulletเทคนิคงานตัด
bulletเทคนิคงานเจาะ
bulletเทคนิคงานขึ้นรูป
bulletเทคนิคงานขัด & งานทำสี
dot
ความรู้และเทคนิคงานไม้
dot
bulletFor... the Beginners
bulletWorkbench กับการทำงานไม้
bulletการทำจิ๊กปาดเอียงอย่างง่าย
bulletความรู้เกี่ยวกับ "ไม้โครง"
bulletความปลอดภัย กับงานไม้
bulletจะทำงานไม้เริ่มต้นอย่างไรดี?
bulletเขาคิดหาปริมาตรไม้กันอย่างไร
bulletบิลท์อิน(Built in)คืออะไร
bulletไม้ยางพาราแผ่น
dot
การทำเดือยและร่องเดือย
dot
bulletการเข้าเดือยกลม(Dowel Pin)
bulletเดือยเหลี่ยมจาก Hand tools
bulletร่องเดือยจากHand tools
bulletการทำเดือยและร่องเดือย จากเครื่องเร้าเตอร์แนวนอน
dot
การติดตั้งบาน แบบต่างๆ
dot
bulletการติดตั้งบานพับถ้วย
bulletบานเลื่อน สำหรับพื้นที่แคบๆ
dot
ช่างไม้สัญจร
dot
bulletพาชม Shopช่างตกแต่งภายใน
bulletงานแกะสลัก Hand Crafting
bulletพาไปดูโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์
bulletเที่ยวงาน สถาปนิก'52
dot
ลองทำดู คุณทำได้(D.I.Y)
dot
bulletติดตั้ง Router ด้วยตัวคุณเอง
bulletติดตั้งแท่นเลื่อยด้วยตัวคุณเอง
bulletขั้นตอนการทำโต๊ะปฎิบัติงานไม้แบบง่าย
bulletการทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้โครง
bulletการทำเครื่องดูดฝุ่นแบบง่าย
bulletการติดแผ่นลามิเนท
dot
ทิปแอนด์เทคนิค
dot
bulletยึดไม้ให้แนบสนิทด้วยสกรู
bulletการปรับผิวให้เรียบด้วยกบไสไม้
bulletตัดไม้หลายๆชิ้น ให้เท่ากัน
bulletตัดไม้ด้วยจิ๊กซอว์ให้ตรง
dot
ชมรมคนรักงานไม้ฯ
dot
bulletรวมพลคนรักงานไม้ ครั้งที่ 2
bulletทำไม?จึงอยากแนะนำให้มาร่วมงาน "รวมพลคนรักงานไม้ # 4"
bulletรวมบรรยากาศงานThailand Woodworking Fair2018
dot
กิจกรรมกับงานไม้
dot
bulletภาพการทำโต๊ะงานไม้(Work Bench)ที่ศูนย์พัฒฯนครปฐม
bulletภาพบรรยากาศงานคุยจ้อ คองานไม้ ครั้งที่ 1
bulletภาพจากงาน รวมพลคนรักงานไม้ ครั้งที่ 7
สมาชิกที่ออนไลน์ ขณะนี้
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 28 คน
dot





dot
สี สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ article

สี สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์

     ในหลายๆปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสี ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการปกป้องพื้นผิว และเพิ่มรูปแบบสีสัน เพื่อช่วยแสดงออกถึงความรู้สึกทางอารมณ์ ทำให้มีการพัฒนาสีประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาสีที่ใช้สำหรับการให้สีวัสดุต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เดิมสีที่ใช้จะอิงสีย้อมสีทอเป็นหลัก ต่อมา จึงได้มีการพัฒนาสีกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม สำหรับการให้สีวัสดุเฉพาะอย่างขึ้น ทำให้ขอบข่ายของสีมีให้เลือกขยายกว้างขวางออกไปมาก และสีที่ใช้มีสมบัติตรงกับความต้องการมากขึ้น ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพสูงตามไปด้วย กล่าวได้ว่าปัจจุบัน เรามีสีที่มีคุณภาพ และมีความคงทนดีกว่าสีที่ใช้ในสมัยก่อนมาก รวมถึงมีการพัฒนาสี ให้ใส่ใจด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยลดสารตั้งต้นที่เป็นพิษ (Toxic) ในเนื้อสีลดลง เพื่อให้มีสารระเหยที่จะส่งผลกระทบที่เป็นอันตราย ต่อร่างกายมนุษย์ลงด้วย ในอนาคตอันใกล้ เป็นที่เชื่อถือได้ว่า น่าจะมีการพัฒนาสีรุ่นใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูง และไม่มีสารพิษประกอบ ให้ใช้เพิ่มมากขึ้นอีกต่อไป

     วัตถุประสงค์ของการเคลือบสีผิว คือ การเพิ่มความสวยงามตามธรรมชาติของไม้ให้ดูดีขึ้น กระบวนการนี้ทำให้ได้ไม้ที่มีสีตามต้องการ และช่วยป้องกันเนื้อไม้จากการใช้งานประจำวัน ตลอดจนสารละลายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้กันทั่วไป กระบวนการเคลือบสีผิวนี้ จะเน้นที่ลักษณะของแบบ เทคนิคการเคลือบสีผิวสมัยใหม่ ที่ช่วยทำให้ความงามที่แท้จริงของเนื้อไม้ปรากฏชัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้งานแบบเดียวกัน แต่มีสีต่าง ๆ กันอีกด้วย 

      
นอกจากนี้ การเคลือบสีผิว ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ไม้ที่มีราคาถูก โดยเคลือบสีผิว ให้ดูคล้ายไม้ที่มีราคาแพง สารที่ใช้ในการเคลือบสีผิว จะต้องทนทานต่อรอยขีดข่วน การขัดถู และสารปกป้องเนื้อไม้จากการเปลี่ยนแปลงความชื้นอย่างรวดเร็ว  

องค์ประกอบของสี

สี คือ สารเคมีผสม (Mixture) สำหรับนำมาใช้เคลือบ (ด้วยกรรมวิธีหนึ่งวิธีใด) เพื่อประโยชน์ในการตกแต่ง หรือคุ้มครองป้องกัน หรือเพื่อทั้งตกแต่งและป้องกันวัตถุ หรือพื้นผิวที่ถูกเคลือบ โดยปกติแล้ว จะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และจะเกิดฟิล์มที่ผิวหน้า เมื่อแห้งโดยสัมผัสกับอากาศ หรือโดยการอบ

ชนิดและคุณสมบัติของสีที่ใช้เคลือบผิว

1. ชแลค มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ 

                             

  • ชแลคผง  มีลักษณะเป็นผง เม็ดกลม สีเหลืองอ่อนๆ โดยทั่วไป นิยมเรียกว่า ชแลคขาว
  •  ชแลคเกล็ด  มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ คล้ายกระดาษแก้ว เป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1” บางทีเรียกว่า ชแลคสีส้ม เพราะเกล็ดมีสีออกแดงส้ม

 ชแลค ทั้ง 2 ชนิด จะนำมาหมักกับ เมทิลแอลกอฮอล์ 100% โดยแช่ชแลคกับแอลกอฮอล์

      ปัจจุบัน นิยมใช้ขวดไนล่อนแทน เพราะหาง่าย น้ำหนักเบา มีฝาปิดมิดชิด เคลื่อนย้ายไปมาสะดวก ผิวเรียบ ขนาดพอเหมาะ สามารถยกเทได้ (ห้ามใช้ภาชนะเป็นโลหะในการหมักชแลคกับแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ทำปฏิกิริยากับโลหะ ทำให้ชแลคเสียได้) 

      ปัจจุบัน ชแลค จะมีการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมน้อยมาก เนื่องจาก เม็ดสีขุ่น ไม่ใส แต่ยังพบได้บ่อย ในตลาดทั่วไป เนื่องจาก มีราคาถูก โดยใช้เป็นสีรองพื้นก่อน ทำสีจริง

 2. สารกันซึม (Sealer) 

                              
ใช้เคลือบผิวหน้าวัสดุที่มีรูพรุนสูง หรือใช้เคลือบวัสดุที่ปล่อยสารบางประเภทออกมา ซึ่งจะทำให้ฟิล์มของสีเสียหายได้ สารกันซึมมีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้ความชื้นซึมผ่านผิวไม้ เสริมการยึดเกาะระหว่างสีชั้นถัดไปกับพื้นผิววัสดุ ป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่าง หรือรอยตำหนิ ที่จะเกิดหลังจากเคลือบสีชั้นถัดไป ในโรงงานอุตสาหกรรม นิยมใช้ เป็นตัวรองพื้น ซึ่งสารกันซึมนี้ ต่อมาในภายหลัง เริ่มมีการพัฒนาควบคู่ไป กับสี ที่เราเรียกกันว่า ไฮกรอส ในลักษณะสีพ่น ผู้บริโภค หลายท่าน คงพอทราบปัญหากันอยู่ว่า เฟอร์นิเจอร์พ่นสีขาว เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดเปลี่ยนสี กลายเป็นสีเหลืองแทน จริงๆ แล้ว ไม่เฉพาะสีขาว สีทุกสี มีการเปลี่ยนสีตัวเองทั้งสิ้น เพียงแค่เราไม่ได้มีตัวอย่างสีต้นแบบ เปรียบเทียบภายหลัง ซึ่งถ้ามาเปรียบเทียบอีกที เราจะพบได้ว่า สีทุกสี มีการเปลี่ยนแปลง ปัญหานี้ สมัยก่อน ก่อให้เกิดปัญหากับโรงงาน ที่ต้องมีการรับประกันสินค้า เป็นระยะเวลามาก-น้อยแล้วแต่ตกลง แต่ทั่วไปอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งสินค้าสีพ่นเหล่านั้น เมื่อถูกจัดวางโชว์ ต้องมีการใช้ไฟช่วยให้โดดเด่น เจอความร้อนเร่งเร้านานๆ สีที่พ่นไว้ จะเริ่มมีรอยด่างเหลือง หรือไม่ก็สี จะเริ่มเพี้ยนจากตัวอย่างสีต้นแบบ ในเวลารวดเร็ว ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าแผ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น ไม้อัด, PB, MDF (ตอนนั้น แผ่น HDF ยังไม่ถูกผลิตออก จัดจำหน่าย) วัตถุดิบพื้นฐาน ที่ใช้ผลิตแผ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น มาจากไม้ทั้งสิ้น ซึ่งโดยธรรมชาติของไม้ จะมียางอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อนำแผ่นผลิตภัณฑ์ หรือว่าไม้จริง มาใช้งาน โดยปกติ จะมียางไม้ซึมขึ้นมา เมื่อนำสีไปพ่นทับไว้ ยางเหล่านั้น ก็จะทำปฏิกริยากับสี ทำให้เห็นเป็นรอยด่างเหลืองเป็นจุด หรือขึ้นทั่วทั้งแผ่น จนสีเพี้ยนไปจากเดิม ยิ่งโดนไฟ, ความร้อน หรือแสง ยิ่งเป็นตัวเร่ง ให้ยางไม้ซึมขึ้นมาได้เร็วขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการพัฒนาสารกันซึม ที่มีคุณสมบัติบล็อคยางไม้ ไม่ให้ซึมขึ้นมาได้ โดยส่วนใหญ่ จะเรียกว่า สารกันยาง ซึ่งสารตัวนี้ ภายหลังมีการพัฒนาปรับปรุง ให้กลายเป็น สีรองพื้นกันยาง โดยใส่เนื้อสีขาวลงไปด้วย เพื่อปรับสภาพสีแผ่นผลิตภัณฑ์ ให้กลายเป็นสีขาวก่อน ที่จะพ่นสีจริงลงไป เพื่อให้ได้โทนสี ที่แท้จริง หลังพ่นสีจริงเสร็จ  

3. น้ำมันวานิช (VANISH) 

                                            

เป็นเรซิ่นสังเคราะห์ ที่ใช้เคลือบไม้เพื่อรักษาเนื้อไม้ และป้องกันน้ำได้ วานิชชนิดนี้ ถูกเรียกว่า แอลกฮอล์วานิช หรือวานิชระเหย ซึ่งเป็นวัสดุเคลือบผิวราคาถูกที่ทำมาจากการละลายยางธรรมชาติ ปัจจุบันในวงการสีอุตสาหกรรม ไม่นิยมใช้ เนื่องจาก แห้งช้า, ไม่ทนต่อการขูดขีด, ไม่ทนต่อสารเคมี แต่ปัจจุบัน มีบริษัทสี หลายแห่ง นำน้ำมันวานิช มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผสมผงสีลง ปรับแต่งโทนเนื้อสี ให้เป็นโทนสี ที่นิยมใช้ในตลาดทั่วไป รวมถึงปรับปรุงสารละลาย และสารเคลือบผิว นำออกจำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และสะดวกต่อการใช้งาน


4.
สีอะมิโน

                          


ยูเรียเรซิน เป็นสารเคลือบผิว ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างกรดกับอมิโนอัลคิด ราคาไม่แพงนัก เมื่อเทียบกันค่า % Solid ที่สูง,ค่า Hardness การทนต่อการขูดขีด และทนต่อตัวทำละลาย แต่จะมีกลิ่นของ Formalin ค่อนข้างแรง และจะเกิดการกระเทาะ (รอยร้าว) ได้เมื่อนำมาอบหรือใส่ในตู้อบ ซึ่งสารเคลือบผิวชนิดนี้ ยังคงมีใช้กันอยู่ ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ด้านกรอบรูป  

5. ทีค ออยล์ (TEAK OIL)

                          


เป็นน้ำมันที่ช่วยรักษาเนื้อไม้ ซึ่งซึมเข้าไปบนเนื้อไม้ได้ดี เพื่อช่วยให้สภาพผิวไม้สวยงามและ มีความคงทน จะไม่มีเนื้อฟิลม์ปิดผิว เหมือนสีประเภทอื่นๆ ปัจจุบัน นิยมใช้กับงานไม้สัก ที่ชอบเนื้องานแบบดิบๆ หลายๆ ท่าน ยังแนะนำให้ใช้สีประเภทนี้ สำหรับการรักษาเนื้อไม้อยู่ แต่ผมขอเตือนให้ระวังนิดนึง สำหรับการเลือกใช้ ต้องเลือกใช้ ให้ถูกลักษณะงานด้วย อย่างที่บอกไว้ว่า สารประเภทนี้ จะเป็นลักษณะน้ำยารักษาเนื้อไม้ ไม่ใช่สารเคลือบผิว เหมือนสีต่างๆ เพราะฉนั้น การที่จะใช้สารตัวนี้ ให้เกิดผลดีมากที่สุด ควรใช้กับชิ้นงาน ที่มีความหนาไม่มาก, ความชื้นในเนื้อไม้ไม่สูง หรือความชื้นคงที่แล้ว เวลาใช้งานอย่าเสียดาย เพราะสารตัวนี้ จะต้องซึมลงไปในชั้นไม้ ยิ่งซึมลงไปได้เยอะมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น ชิ้นงานหนา, ความชื้นมาก จะเป็นอุปสรรคของการซึมเข้าของสารชนิดนี้ครับ


6.
สีแลคเกอร์

                           


ทำจากไนโตรเซลลูโลส และ เรซิ่นสังเคราะห์ มีคุณสมบัติแห้งเร็ว วิธีการใช้งานง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ ทนต่อสารเคมีบางชนิด มีความแข็งแรงทนต่อการขีดข่วนได้พอสมควร ไม่เหมาะสำหรับใช้ภายนอก เพราะสีจะเหลืองง่าย และมักติดไฟได้ง่าย

       สีแลคเกอร์ เป็นสีที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในงานเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจาก เนื้อสีมีน้ำหนักเบา, หาซื้อได้ง่าย และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง


7.
สีอคิลิค แลคเกอร์

ทำจากอคิลิคเรซิ่น มีคุณสมบัติแห้งเร็ว ใช้ง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ กันขูดขีดได้ดีกว่าแลคเกอร์ นอกจากนี้ ยังทนต่อแสงแดดได้ดี ทำให้ฟิลม์ไม่เปลี่ยนสี หรือเหลืองขึ้น จึงนิยมใช้กับชิ้นงานพวกไม้มะปิน,ไม้ยางพารา หรือไม้เนื้อขาวทุกชนิด แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่าแลคเกอร์ จึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน จะหลีกเลี่ยง ไปใช้สีประเภท PU หรือ PE แทน  


8.
สีโพลียูรีเทน

                            

โพลียูเรเทน เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง โพลีไอโซไซยากับโพลีออล มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการขูดขีดทนต่อสารเคมีได้ดี และมีเนื้อมาก สามารถเคลือบได้ครั้งละหนา ๆ ฟิล์มที่ได้มีความแข็งและเหนียว,ทนต่อการขัดสีสูง มีการยึดเกาะผิวหน้าดี,ทนต่อตัวทำลาย และทนต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี มักนิยมใช้กับงานพื้นปาร์เก้, พื้นไม้จริง, ชิ้นส่วนงานเฟอร์นิเจอร์ส่งออกบางแห่ง ที่ต้องสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น พื้นโต๊ะทานข้าว, พื้นบนตู้วางทีวี  



9.
สีโพลีเอสเตอร์

                              

เป็นสี ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสารโพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีความทนทานของพื้นผิว อยู่ในระดับสูง เนื้อสี มีความหนักมาก ขั้นตอนการพ่นแต่ละขั้น จะต้องทิ้งไว้ให้แห้ง อย่างน้อย 4 ชม. ถึงจะสามารถดำเนินการผลิต ในขั้นตอนต่อไปได้ แต่โดยส่วนใหญ่ จะถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก ภายในส่วนประกอบของเนื้อสี เมื่อสัมผัสกัน สามารถเกิดปฏิกริยาสันดาบความร้อน เกิดเป็นเพลิงลุกไหม้ได้ ยังมีสีอีกประเภท ยังไม่เคยได้ใช้งานมาก่อน นั่นคือ สี UV (แหะ...แหะ... ค่าเครื่องมันแพงง่ะ แถมกินไฟชมัด ) เท่าที่ทราบ จะต้องผ่านการพ่นสี ในแต่ละขั้นตอน จะต้องเข้าไปอบสี โดยผ่านเครื่องอบแสง UV ซึ่งกินค่าไฟฟ้ามาก ส่วนอีก 3 ประเภท ที่เหลือ จะเป็นสีไร้สารพิษ ที่มีกระแสนิยมเข้ามา บางประเภทมีการใช้งานมานานแล้ว แต่บางประเภท ก็เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมา ได้แก่  



10.
สีวอเตอร์เบส

สีชนิดนี้ จะถูกใช้งาน ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตของเล่นเด็ก ซึ่งเป็นสีที่ใช้น้ำ เป็นตัวทำละลายแทน สารเคมี กระบวนการขัด, ทำสี จะใช้เครื่องจักร แตกต่างจากการทำสีทั่วไป

 

11. สีแลคเกอร์ NTX และสีโพลียูรีเทน NTX

เป็นสีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา จากกระแส Think Earth ซึ่งจะลดสัดส่วนของส่วนผสมสารมีพิษต่างๆ ลง เพื่อให้เกิดสารระเหยน้อยที่สุด เช่น โทลูอีน, ฟอร์มาดีไฮด์, ตะกั่ว ฯลฯ

       ปัจจุบัน โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องส่งออกไปยังต่างประเทศ จะมีการใช้งานสีประเภทนี้ เกือบทั้งหมด ณ.ตอนนี้ ยังขาดเพียง สี PE ที่โรงงานต้องการ ซึ่งยังไม่สามารถพัฒนา เป็นสี ประเภท NTX ได้ เนื่องจาก คุณสมบัติบางตัว ของสารเคลือบแข็ง ยังต้องมีสารฟอร์มาดีไฮด์ผสมอยู่ สำหรับคำเรียกขาน สีอีกประเภท ที่ผู้บริโภค พูดถึงกันบ่อยๆ จนไม่อาจละเลย ที่จะเขียนถึงได้ ก็คือ ไฮกรอส จริงๆแล้ว คำว่า “ไฮกรอส” เป็นคำเรียกลักษณะสี ที่มีความเงา 100 % และเนื้อสีใสเหมือนกระจก เท่านั้น  เริ่มแรก มาจาก ในวงการโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว เริ่มมีต้องการสินค้า ที่มีความเงา 100% เนื้อสีใส และสามารถทนรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี (ความเงา 100 % สามารถทำได้นานแล้ว ติดแค่กระบวนการทำให้เนื้อสีใส) สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ ที่ใช้ภายในโรงแรมต่างประเทศ (ขณะนั้น เป็นพิมพ์นิยม) จึงเริ่มพัฒนา สี PE ที่มีคุณสมบัติปกป้องรอยขีดข่วน ปรับขั้นตอนแต่ละขบวนการ ให้เนื้อสี มีความใส (ไม่ขุ่น) จนได้มา เป็นสีไฮกรอส (ซึ่งต่อมาอีก 10 ปี ถ้าพูดถึงไฮกรอส ในโรงงานจะหมายถึงสี PE เท่านั้น) หลังจากนั้น ไม่นาน ก็มีผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์น็อคดาวน์ (โมเดิร์นฟอร์ม) ได้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ออฟฟิศ ระดับบริหาร โดยใช้ สี PE Hi Gloss เป็นวัสดุเคลือบผิว ออกวางจำหน่าย จึงทำให้กระแสความต้องการใช้งาน มีเพิ่มมากขึ้น จนกระจายไปในส่วนงานผู้รับเหมา แต่เนื่องจาก ขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน สีชนิดนี้ จึงควรจะผลิตออกมาจากโรงงาน โดยตรงมากกว่า  

         ขั้นตอนการผลิตสีไฮกรอสทั่วไป ต้องมีการพ่นสีประเภทต่างๆ ทั้งหมดรวมแล้ว ไม่น่าต่ำกว่า 6 ขั้นตอน (ขั้นตอนงานที่ผลิตในต่างประเทศ จะต้องพ่นประมาณ 10-12 ขั้นตอน) ดังนั้น สีที่ใช้ในงานรับเหมาทั่วไป ส่วนใหญ่ จึงเป็นสีพ่นรถยนต์ ที่นำมาประยุกต์ใช้แทนสี PE Hi Gloss ซึ่งข้อแตกต่าง ที่น่าจะเห็นได้ชัดเจน คือ ในส่วนของสี PE Hi Gloss จะมีขั้นตอนการพ่นสีรองพื้นกันยาง และสี PE Hi Gloss เมื่อทำสีสำเร็จ จะมีคุณสมบัติปกป้องความร้อนได้ระดับที่ สามารถนำบุหรี่ หรือธูป ที่ติดไฟ มาดับบนพื้นผิว โดยไม่เกิดความเสียหายได้ สำหรับ ปัจจุบัน ด้วยเรื่องราคาต้นทุนต่างๆ ที่มีการแข่งขันกันอยู่รุนแรง จึงทำให้ได้มีการพัฒนา สีแลคเกอร์ และ สี PU ให้เป็นสีลักษณะ Hi Gioss เพื่อลดต้นทุนในการผลิตลง จะได้นำไปแข่งขันกับจีน และเวียดนามได้ 

 


บทความโดย คุณ ko7vasan

ที่มา https://www.thaicarpenter.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=thaicarpentercom&thispage=&No=341503&WBntype=1

 




บทความ

Thaicarpenter & งานแข่งขันทักษะฝีมืออาเซี่ยน#12 article
เยี่ยมชมศูนย์บริการ STANLEY-DEWALT article
เกี่ยวกับเรา-Thaicarpenter /about us article
วิธีการปรับรั้วตัดให้ระนาบกับหน้าโต๊ะเลื่อย10 นิ้ว 3 แรง WTS250LT Induction motor article
กิจกรรม STANLEY-DEWALT article
Brand สินค้า article
D.I.Yงานไม้ เริ่มง่ายๆจากตัวคุณเอง
เทคนิคการเก็บรายละเอียดเมื่อติดตั้งตู้ติดเพดานเขาเก็บงานกันอย่างไร
ยึดวัสดุแผ่นลงบนโครงเหล็ก ด้วยเกลียวปล่อยนวัตกรรมใหม่
คำศัพท์งานไม้ที่ช่างรุ่นเก่าๆเขาเรียกกัน หมายถึงอะไร อยากรู้จัง?
ส่วนหนึ่งที่ลูกค้ามาอุดหนุนสินค้าที่ร้าน article
ทำไม?จึงอยากแนะนำให้มาร่วมงาน "รวมพลคนรักงานไม้ " article
ผู้หญิง กับ งานไม้ ในวันนี้ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
https://www.thaicarpenter.com

หน้าแรก | วิธีการสั่งซื้อ | การโอนเงิน | แจ้งโอนเงิน | เกี่ยวกับเรา | แผนที่ | Webboard | ช่วยเหลือ

บจก.คาร์เพ็นเตอร์ทูลส์
147,149,151 ถ.ราชมรรคา ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
เปิดบริการ จันทร์ - เสาร์ (เฉพาะในเวลา 8.00-17.00 น.)
แจ้งการโอนเงิน สอบถามการใช้งานสินค้า โทร 096-594 4936 , 096-594 5539

Fax. 034-275228
Email : carpentertools.pk@gmail.com

CARPENTER TOOLS CO.,LTD.
147,149,151 RACHAMANKA RD., SANAMCHAN, MUANG, NAKORNPATHOM 73000