.jpg)
สำหรับงานไม้แล้วโดยทั่วไปเครื่องมือ(tools)ที่ใช้กันเรามักจะเห็นผ่านๆตากันมาบ้างแล้ว ในที่นี้เราอยากจะแนะนำให้ผู้สนใจได้ทราบถึงเครื่องมือชนิดต่างๆและการนำไปใช้กับงานไม้ เครื่องมือพื้นฐานทั่วไปอยู่ในจำพวกที่ไม่ใช้ไฟฟ้า หรือเรียกว่า Hand tools นั่นเอง จะแบ่งเป็นกลุ่มตามขั้นตอนของงานได้4กลุ่ม
1.กลุ่มงานวัดขนาดและกำหนดตำแหน่ง
- ดินสอไม้
สำหรับขีดเส้นบอกตำแหน่ง มีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกใช้ส่วนใหญ่นิยมใช้ดินสอกดเพราะใช้ง่าย สะดวกไม่ต้องคอยเหลา ส่วนดินสอช่างไม้นั้น ช่างไม้สมัยเก่าบางคนก็ยังนิยมใช้อยู่เพราะทนทานกว่า
- ฉาก

ฉาก เป็นเครื่องมือทีใช้ได้หลากหลาย ปกติที่นิยมใช้คือฉากตาย (มุม90 องศา ปรับมุมไม่ได้)ใบฉากทำด้วยโลหะ มีเส้นบอกขนาด เป็นนิ้วและเซ็นติเมตร ใช้สำหรับงานตรวจสอบ-ตรวจเช็คมุมฉาก หรือมุม 45องศา ขีดเส้นตรง วัดละเอียด หรือใช้สันฉากเช็คความเรียบของพื้นผิวก็ได้ ส่วนฉากอีกชนิดหนึ่งก็คือ ฉากเป็น มีใบเป็นโลหะและสามารถปรับมุมได้ นิยมนำมาใช้กับการถ่ายมุมที่ไม่เป็นมุมฉาก จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่นถ่ายจากแบบไปยังชิ้นงานจริง หรือตรวจสอบก็ได้เช่นกัน
- ตลับเมตร


เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากสำหรับช่างทุกสาขา ใช้วัดขนาด กำหนดระยะ ตรวจสอบขนาด ตลับเมตรโดยทั่วไปสายวัดทำด้วยโลหะปลายสุดจะมีตะขอเกี่ยว เอาไว้เป็นตัวเกี่ยว (สำหรับการวัดแบบภายนอก) และเป็นตัวชน (สำหรับงานวัดภายใน) ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าตัวเกี่ยวนี้จะขยับไปมาได้ก็เพื่อจะได้ค่าเริ่มต้นจากค่า 0 (ศูนย์)โดยค่าที่ขยับไปมาที่ตัวเกี่ยวก็จะเท่ากับความหนาของตัวเกี่ยวที่ต้องทดคืนให้นั่นเอง
- ขอขีด
อาจจะไม่คุ้นหูนักกับหลายๆคน แต่ถ้าช่างไม้แล้วก็ถือเป็นเครื่องมือกำหนดตำแหน่ง ที่จำเป็นชิ้นหนึ่ง สามารถลอกแบบหรือถ่ายแบบจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งได้ โดยการใช้งานจะเป็นในลักษณะบอกเส้นคู่ขนานไปกับแนวอ้างอิง โดยลากผ่านให้ส่วนที่เป็นโลหะแหลมกดจิกลงบนเนื้อไม้ จนเป็นรอยลึกพอจะสังเกตเห็นได้ แขนปรับเลื่อนเข้าออกได้ล็อกให้แน่นด้วยสลักลิ่ม ส่วนใหญ่ทำจากไม้เนื้อแข็ง สนใจดูรายละเอียดการใช้งาน คลิ๊ก
2.กลุ่มงานขึ้นรูป( ตัด-ไส-ซอย)
- เลื่อย

เลื่อยชนิดต่างๆ เช่น เลื่อยลันดา เลื่อย-อก เลื่อยลอ เลื่อยฉลุ การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและทักษะของแต่ละบุคคล เช่น เลื่อยลันดาจะใช้กับการตัด ซอย ไม้แผ่น ที่ตัดเป็นระยะยาวๆ แนวตรงตลอดแนว คล้ายกับเลื่อย-อก แต่ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการบังคับ เหมาะกับงานผ่า ตัด ชิ้นงานที่ไม่กว้างมากนัก(ไม่เกินระยะของใบเลื่อยกับด้าม)ส่วนงานที่มีลักษณะคดหรือโค้งก็เลือกใช้เลื่อยฉลุ ถ้างานตัดละเอียดก็เลือกใช้เลื่อยลอเพราะจะให้ฟันถี่ละเอียดกว่า
- กบไสไม้
ทำจากไม้เนื้อแข็ง ต่างประเทศนิยมทำด้วยเหล็ก มีหน้าที่หลักในการปรับผิวไม้ให้เรียบ ตั้งแต่ผิวดิบจนไปถึงผิวงานขั้นสุดท้าย เพียงแต่ผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะกับงานในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสมกับกบแต่ละประเภท เช่น
กบล้าง เหมาะกับงานที่ปรับพื้นผิวให้เรียบ ลักษณะตัวกบผิวจะยาว และใบกบจะมีมุมประมาณ45องศา เพื่อให้จิกเนื้อไม้ง่ายขึ้น กบล้างมีทั้ง ล้างสั้น กลาง ยาว ยิ่งยาวก็ยิ่งทำให้พื้นผิวงานมีความเที่ยงตรงขึ้น แต่ก็ขึ้นกับความยาวของชิ้นงานด้วย

กบผิว เหมาะกับการปรับผิวงานให้ละเอียด ต่อจากกบล้าง หรืองานตบแต่งเล็กๆน้อยๆ มุมใบกบจะมีลักษณะชันกว่า ประมาณ60องศา

กบขูด

ปัจจุบันไม่นิยมใช้ ส่วนใหญ่เหมาะกับงานที่ผิวโค้งไม่อยู่แนวราบ ตัวกบทำด้วยเหล็ก บางที่เรียกว่ากบหูกระต่ายหรือเขียด เพราะมีมือจับทั้ง 2 ข้างเหมือนกับหูกระต่าย การใช้งานจะขูดไปตามส่วนโค้งที่ต้องการ ปรับให้กินมากน้อยได้ตามต้องการ
กบกระดี่

ปัจจุบันกบชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากมีเครื่องมือไฟฟ้ามาทดแทน มีหน้าที่คือใช้บังใบโดยใช้ร่วมกับเลื่อย กล่าวคือจะเลื่อยแนวที่จะบังใบงานก่อน แล้วจึงใช้กบบังใบอีกครั้ง (เดี๋ยวนี้มี Router หรือเลื่อยวงเดือน มาทดแทนเร็ว และคุณภาพดีกว่า)
สนใจสั่งซื้อกบแบบต่างๆ คลิกที่นี่
- ค้อน

ที่นิยมก็จะเป็นแบบค้อนหงอน แต่ในค้อนหงอนเองก็มีหลายขนาดเช่นกัน ก็เลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ส่วนค้อนชนิดอื่นๆ ก็มีแบบค้อนไม้ ค้อนพลาสติกแข็ง หรือค้อนยาง ค้อนเหล็ก ฯ
- สิ่ว

เป็นเครื่องมือเจาะ เซาะ สิ่วที่นิยมได้แก่สิ่วปากบาง สิ่วมีขนาดตั้งแต่ 1/4นิ้ว จนถึง2นิ้ว เลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน สิ่วอีกชนิดหนึ่งที่ช่างไม้แกะสลักนิยมใช้ได้แก่สิ่วเล็บมือ ใบสิ่วจะโค้งคล้ายกับเล็บมือ มีโค้งรัศมีเล็กจนถึงโค้งใหญ่ หน้าแคบจนถึงกว้าง สิ่งใช้คู่กับฆ้อน แต่ควรเป็นฆ้อนไม้ ด้ามสิ่วจะได้ไม่สึกเร็วเกินไป และกะนำหนักได้ง่าย
-อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน

แคลมป์ ( F,C แคลมป์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงานมีขนาดต่างกันไป ระยะตั้งแต่3นิ้วจนมากกว่า12นิ้ว งานไม้มักใช้แคลมป์มาเป็นตัวช่วยยึดในระหว่างการตั้งเครื่อง การตั้งรั้ว เพื่อใช้ในการซอยไม้ เป็นต้น
C แคลมป์ใช้บีบอัดกรณีที่ต้องการความแน่นมาก

F แคลมป์ ใช้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ใช้บีบอัด จับยึด งานที่แน่นปานกลาง

แม่แรง(ปากกา)

เป็นอุปกรณ์อีกคัวหนึ่งที่ใช้กับงานที่มีระยะยาวมากๆ กับงานไม้นิยมมาเพลาะไม้ เป็นระยะกว้างกว่าปกติ(การนำไม้มาต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ด้วยกาว)
- คีมปากนกแก้ว เอาไว้ตัด หรือถอนตะปูเข็ม
.jpg)
- บักเต้า

เอาไว้สำหรับบอกแนวเส้นในแนวระนาบ หรือเส้นตรง ที่ยาวๆ เช่นต้องการเลื่อยไม้อัด 4 มม.ให้ตรงด้วยเลื่อยลันดา วิธีใช้งานก็คือกำหนดจุดหรือตำแหน่งที่เริ่มต้นและจุดปลาย ขึงเส้นด้ายที่มีผงฝุ่นสีติดอยู่ที่เส้นด้ายให้ตึง ดีดด้ายแรงๆให้ผงฝุ่นติดลงบนตำแหน่งที่เราต้องการ ก็จะได้แนวเส้นตรงตามต้องการ