ก่อนอื่น ต้องขออธิบายเกี่ยวกับหลักการของเกลียวปล่อยที่เราใช้ยึดชิ้นงาน 2 ชิ้นให้สนิทกันก่อน ว่าจะต้องมีชิ้นงานหนึ่งเจาะรูให้หลวม เพื่อให้เกลียวปล่อย ผ่านเข้าไปจับยึดอีกชิ้นงาน แล้วเมื่อขันเกลียวปล่อยเข้าหากัน ชิ้นที่เป็นตัวผ่าน จะถูกดึงจากตัวนำที่เกลียวปล่อยแน่นนั้น ดูดเข้าหากันอย่างแน่นสนิท
*** ความเข้าใจที่ผิดคือ เรานิยมเจาะร่วมให้รูเท่ากันแบบคับๆ ทั้ง2ชิ้นงาน แล้วบีบงานให้สนิทกัน แล้วก็ขันเกลียวปล่อย ร่วมพร้อมกัน แกะออกมาก็ดูสนิทดีแล้ว แต่ไม้ทั้ง2ชิ้นนั้น จะไม่ได้ถูกเกลียวปล่อย ดูดเข้าหากันแต่อย่างใด ต่างก็เป็นอิสระต่อกัน มาดูเราทดลองยึดเกลียวปล่อยกัน
นิยามที่นำมาเรียกกัน ในงานเจาะ
1.เจาะนำ คือการเจาะให้ขนาดรูเจาะ เล็กกว่าหรือเท่ากับ ขนาดโคนเกลียว(เส้นผ่าศูนย์กลางที่ไม่รวมเกลียว) และถ้าเป็นงานไม้ เช่นไม้เนื้ออ่อน เหนียว อาจไม่ต้องการเจาะนำช่วยก็ได้ (นิยมเจาะไม้เนื้อแข็ง หรือใกล้หัวไม้ที่อาจแตกง่าย หรือ พวก MDF ปาร์ติเกิล พวกนี้เกลียวปล่อยอาจจะเบ่งจนไม้บวม แตกได้ ถ้าไม่ช่วยการเจาะนำ)
2.เจาะผ่าน คือการเจาะให้มีขนาดรูเจาะ ใหญ่กว่าเกลียวภายนอกของเกลียวปล่อยเล็กน้อย นิยมเจาะชิ้นงานที่อยู่ด้านบนของการเจาะยึด เพื่อให้เป็นตัวฟรีเมื่อเกิดการดูดของเกลียวปล่อย
3.เจาะผาย(เจาะคว้าน) คือการเจาะเพื่อฝังหัวเกลียวปล่อย ให้จมลึกลงไปในเนื้อไม้ บางทีเนื้อไม้อ่อน ก็จะดูดหัวจมไปเอง
สรุป การเจาะทั้งหมดต้องมี3ดอก คือ ดอกเจาะนำ ดอกเจาะผ่าน และดอกคว้านหัว การยกเลิกดอกเจาะนำ และเจาะคว้าน อาจทำได้ แล้วแต่กรณีไป แต่ดอกเจาะผ่านต้องคงไว้เสมอ
.jpg) |
อย่างที่เรากำลังจะยึดนี้ เป็นการเข้ามุม 90องศา โดยเราให้ชิ้น A เป็นชิ้นที่จะยึดเข้าหาชิ้น B
กรณีนี้ เราจะเจาะชิ้น A ให้เป็นตัวผ่าน พร้อมกับผายหัว เพื่อฝังเกลียวปล่อย อย่างนี้ เราจะต้องเจาะ ชิ้นงาน A ให้ใหญ่กว่าลำตัวเกลียวปล่อย
|
.jpg) |
ตามรูป
เราวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเกลียวนอก ของเกลียวปล่อยตัวนี้ได้ 3.8มม. เส้นผ่าศูนกลางภายใน(เป็นลำตัวเกลียวปล่อย ไม่รวมเกลียว) ได้ 2.8มม. ดังนั้น ดอกผ่าน ควรจะอย่างน้อย 4มม. และดอกนำ ไม่ควรเกิน 2.5มม.
|
In the shop...การทดลองจริง ยึดไม้2 ชิ้นเข้าด้วยกันด้วยเกลียวปล่อย
 |
เราจะยึดชิ้น A และชิ้น B เข้าด้วยกัน ด้วยเกลียวปล่อย # 7 x 1 1/4"
|
.jpg) |
เราวัดเกลียวนอกได้ 3.8มม. และโคนเกลียวได้ 2.8มม.
|
.jpg) |
ในที่นี้เราเลือกใช้ดอกเจาะนำ 2.5มม. ซึ่งเล็กกว่าโคนเกลียวเล็กน้อย กับไม้ยางพาราที่เราเลือก ไม่มีผล ซึ่ง ถ้าการยึดไม่ใกล้หัวไม้นัก เราก็ไม่ต้องเจาะนำเลยก็ได้ เพราะเนื้อไม้ยางพาราแข็งเหนียว ไม่ร่วน |
 |
ดอกเจาผ่าน ในที่นี้ เราควรใช้ดอก 4มม. ขึ้นไป (ที่เห็นในภาพเป็นดอกด้านล่าง) แต่เราจะทดสอบ ใช้ดอกเจาะผ่าน ที่เล็กกว่าเกลียวนอกดู (ซึ่งก็จะคับ ก็กลายเป็นตัวมีส่วนกับเกลียวปล่อยด้วยนั่นเอง) |
 |
เริ่มต้น เจาะนำด้วยดอกสว่าน 2.5มม. ก่อน โดยการเจาะร่วม ทั้ง2ชิ้น โดยในขั้นตอนนี้ อาจใช้ แคลมป์ ช่วยในการจับยึด ไม้ทั้ง2ชิ้น ให้ตรงตำแหน่งที่ต้องการ เจาะให้ลึกเท่าความยาว ลำตัวเกลียวปล่อย |
 |
การเจาะดอกผ่าน เราจะเจาะเฉพาะที่ชิ้นงานแรกเท่านั้น และเมื่อตำแหน่งทุกอย่าง ถูกจับยึด ตรงตำแหน่งดีแล้ว ด้วยแคลมป์ เราก็ใช้วิธีปรับระยะดอกให้ถอยเข้า-ออก ตามความหนาไม้ โดยไม่ต้องแกะแคลม์ออก |
 |
ขั้นตอนนี้ เราทดลองใช้ดอกผ่าน ชุด 3.5มม. ซึ่งคับ และโดนเกลียวปล่อยขันตามไปด้วย |
 |
ชุดนี้ เราใช้ดอกไขควง แบบกระแทก ที่ให้น้ำหนักทอร์คที่สูง เมื่อไขแน่นแล้ว เรามาดูกัน
จะเห็นว่ายังเกิดช่องเล็กๆขึ้นระหว่างไม้ทั้ง2 ทั้งๆที่ไม้ชิน A นั้น เราอัดเกลียวปล่อยจนแน่นแล้วก็ตาม
|


|
เราทดลองเปลี่ยนมาใช้ดอกผ่าน พร้อมคว้าน ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า ลำตัวเกลียวนอกเล็กน้อย เป็นดอก 4.0มม. พร้อมปรับระยะตามความหนาไม้ ให้ลึกเกินเข้าไปได้สักเล็กน้อย |

|
เสร็จแล้ว ทดลองขันอัดเกลียวปล่อย ตัวเดิม เข้าไปใหม่อีกครั้ง
คราวนี้ เมื่อชิ้นงาน A ถูกเจาะให้หลวมเล็กน้อย ก็จะไม่มีส่วนกับเกลียวปล่อย เพียงแต่รอหัว เกลียวปล่อย จะโน้มดูด เข้าไปหาชิ้นงาน B ที่ตั้งท่ารออยู่แล้ว ผลปรากฎออกมาอย่างที่เห็น ก็คือ กาวปลิ้นทะลักออกมา แสดงว่า"แน่นจนกาวปลิ้น"ตามประสาที่ช่างเรียกกัน
|
.jpg) |
การเลือกดอกผ่านที่มีขนาดใหญ่กว่าเกลียวนอกของเกลียวปล่อย นั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าดอกผ่านใหญ่มาก อาจทำให้ หัวเกลียวปล่อยนั้น หลวมเกินไป ดูดจมลึกเข้ามาในดอกผ่านมาก การรับแรงอาจด้อยลง |
 |
ดังนั้น ควรเลือกดอกผ่าน ให้เหมาะสมกับขนาด ลำตัวของเกลียวปล่อย
จากการวัดลำตัวเกลียวนอกของ ตะปูเกลียวปล่อยนั้น ผู้เขียนพอจะแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่มขนาด
1. กลุ่มดอกผ่าน 3.5มม. พวกนี้เป็นกลียวปล่อยหัว #4 ,#6 ที่ตัวสั้นๆ
2.กลุ่มดอกผ่าน 4.0มม. พวกนี้เป็นกลุ่มหัว # 7,#8 ยาว ประมาณ ช่วง 1" - 1 1/2"
3.กลุ่มดอกผ่าน 4.5มม พวกนี้เป็น กลุ่มลำตัวยาว และหัวเบอร์ # 8 ขึ้นไป
|
.jpg)
.jpg)
.jpg)
|
*** สนใจสั่งซื้อ ดอกเจาะ2ชั้น คล๊กที่นี่ |
คงได้หลักคร่าวๆ ในการเลือกใช้ขนาด และหลักวิธี การยึดเกลียวปล่อยกันแล้วนะครับ อย่าใช้เกลียวปล่อยโดยไม่ได้ใช้หน้าที่ของมันอย่างเต็มที่กันนะครับ
อนุชิต thaicarpenter.com