
ไม้แปรรูป (Lumber) ได้มาจากต้นไม้ โดยการ ตัดต้นไม้แล้วนำมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้งาน ภายใต้เปลือกของต้นไม้มีส่วนประกอบของไม้ผ่านไมโครสโคป (Microscope) ซึ่งประกอบไปด้วยหลอดแคบๆ ยาวๆ มากมาย แต่ละหลอดมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม ปกติหลอดนี้จะโตและขยายตัวในแนวดิ่ง ตั้งตรง ถ้าตัดต้นไม้ทางขวางลายเนื้อไม้จะตัดผ่านสายใยเหล่านี้
แผ่นไม้แปรรูป คือส่วนที่ตัดจากไม้ซุงตามยาวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เมื่อต้นไม้ถูกตัด เนื้อไม้จะเต็มไปด้วยความชื้น จะต้องทำการตากจนแห้งเสียก่อน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าไม้แปรรูปตากแห้ง (Air-Dried :AD) การจำหน่ายไม้แปรรูป ส่วนใหญ่จะต้องมีค่าความชื้นของไม้ไม่เกิน 19% ถ้าเกิน 19% ต้องถูกทำให้แห้งด้วยการอบแบบพิเศษ เรียกว่า คินน์ (Kilns) ไม้แปรรูปโดยทั่วไปจะต้องแห้งก่อนนำไปใช้
ขนาดของไม้แปรรูปเมื่ออยู่ในโรงเก็บไม้ก่อนนำไปใช้งาน จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อยกับที่ระบุไว้ เนื่องจากไม้จะมีการหดตัวเมื่อเวลาไสผิวหน้าไม้ ยกตัวอย่างเช่น ไม้ขนาด 2 นิ้ว x 4 นิ้วขนาดของไม้แปรรูปที่ใช้งานจริงจะมีขนาดเพียง 1 ½ นิ้วx 3 ½ นิ้ว ส่วนความหนาของไม้ 1 นิ้ว ถ้าไส 2 หน้าแล้วจะเหลือเพียง 13/16 นิ้ว การคัดเกรดของไม้แปรรูป จะแบ่งเป็นเกรดเอและเกรดบี แต่ทั่วไปนิยมใช้เกรดบี ซึ่งมักจะใช้กับงานตกแต่งภายใน หรืองานโรงฝึกงานในโรงเรียน เป็นต้น ส่วนเกรดซี และเกรดดีจะแพงกว่าเล็กน้อย ในการคัดเกรดของไม้เนื้อแข็งที่ดีที่สุดคือแบบ FAS (First and seconds) เหมาะสำหรับการทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนแบบหมายเลข 1 หมายเลข 2 จะมีข้อบกพร่องบ้างและราคาถูกกกว่าแบบ FAS
การซื้อขายไม้แปรรูป(ไม้สัก) จะขายในลักษณะเป็นลูกบาศก์ฟุต
= หนา (นิ้ว) x กว้าง (นิ้ว)x ยาว (ฟุต) หาร 144
ตัวอย่าง ไม้ขนาด กว้าง2 นิ้ว ยาว 10 ฟุต หนา 1นิ้ว คิดเป็นปริมาตรไม้เท่าไร
ปริมาตรไม้ = 2 x 10 x 1 = 20 หาร 144
= 0.1389 ลูกบาศก์ฟุต
การเปรียบเทียบขนาดไม้แปรรูปเป็นนิ้วและมิลลิเมตร
Nominal size (in.)
|
Actual dry size (in.)
|
Dry size (mm)
|
1 x 2
1 x 4
1 x 6
1 x 10
1 x 12
2 x 4
2 x 6
2 x 10
2 x 12
3 x 6
4 x 4
4 x 6
|
¾ x 1 ½
¾ x 3 ½
¾ x 5 ½
¾ x 9 ¼
¾ x 11 ¼
1 ½ x 3 ½
1 ½ x 5 ½
1 ½ x 9 ¼
11 ½ x 11 ¼
2 ½ x 5 ½
3 ½ x 3 ½
3 ½ x 5 ½
|
19 x 38
19 x 89
19 x 140
19 x 235
19 x 285
19 x 89
19 x 140
19 x 235
19 x 285
19 x 140
19 x 89
19 x 140
|
ประเทศไทยเคยคิดปริมาณของไม้เป็นยก โดยไม้ 1 ยกมีขนาดกว้าง 24 นิ้ว ยาว 16 วา และหนา 1 นิ้ว (ไม้ 1 ยกจะมีปริมาตรเท่ากับ 17.78 ฟุต3 )
ดังนั้นการซื้อขายไม้ในปัจจุบัน จะขายหน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร สำหรับไม้ทั่ว ๆ ไป และหน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นฟุต สำหรับไม้สัก
วิธีการสั่งไม้แปรรูปให้ได้ตามที่ต้องการ ควรปฏิบัติดังนี้
- จำนวนชิ้นงานที่ต้องการ
- ชั้นคุณภาพของไม้แปรรูป
- ขนาดของชิ้นงาน
- ผิวไม้ที่ต้องการ (มีการไสไม้จากโรงงานที่ด้าน)
- ชนิดของไม้ที่ต้องการ
- การตากแห้ง (โดยธรรมชาติหรือเข้าห้องอบพิเศษ)
วัตถุดิบงานไม้ ที่นำมาแนะนำ ส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกไม้อัดกรุโครง ส่วนวัตถุดิบจำพวกไม้จริงนั้น จะเป็นงานที่ไม่ต้องการเตรียมวัตถุดิบมาก แต่ก็อยากให้ได้ทราบถึงการนำไปใช้ เพื่ออย่างน้อยก็เป็นข้อมูลในการทำงานไม้สักชิ้น
ไม้อัดสัก ลายภูเขา มีหลายเกรด หลายราคา ตั้งแต่ 300กว่า ถึง500 กว่า นิยมมาปิดทับโครงไม้ โชว์ลวดลายทำสีธรรมชาติ สีโอ๊คดำ-แดง กึ่งเปิดลายไม้ จำพวกแชลค แลกเกอร์ ไม้อักสัก พวกนี้ส่วนใหญ่ใช้ 4มม.มาปิดโครงเสียมากกว่า(แต่จริงๆแล้วมาไม่เต็ม4มม.)
ไม้อัดสัก อิตาลี ลายเส้นตรง เป็นไม้อัดสักอีกประเภทหนึ่ง ที่นิยมกันมากเช่นกัน ราคาถูกกว่า มีให้เลือกหลายราคาเช่นกัน ใส้ที่อยู่ข้างในมีทั้งที่เป็นเนื้อไม้และ เป็น MDF มีให้เลือกกันตามราคาและการนำไปใช้งาน
โครงไม้จ๊อยไม้สักสวนป่า 400บาท/มัด(แบบมีกระพี้)ตรง เนื้อไม่แข็ง แต่อายุน้อย ไม่ค่อยมีเนื้อ
โครงไม้ นิยมนำมาใช้ทำเฟรม เพื่อยึดแผ่นไม้อัดที่ด้านหน้า-หลัง ทำมามีขนาดสำเร็จ ยาว 2.5ม หนา 17มม กว้าง 42มม มัดละ 10ท่อนทำมาขายเป็นมัดๆ มีหลายชนิดเนื้อไม้ให้เลือก (ตามรูปจะเป็นไม้ยางพารา ขายกันมัดละ 250บาท เฉลี่ยท่อนละ25บาท)ปัจจุบันจะต่อประสาน(ไม้จ๊อย)เสียส่วนใหญ่
เดือยไม้ 10มม เป็นเส้นมาตัดเอาตามใจชอบ มีทั้งตัดมาแล้ว 3-4 ซม และยังไม่ได้ตัด(ตามรูป)
ไม้คิ้ว สำหรับปะขอบ เมื่อปะไม้อัดเข้ากับเฟรมไม้แล้ว ก็ปิดทับด้วยคิ้วนี้ เพื่อปิดบังด้านหัวไม้ ที่จะเห็นข้างไม้อัดและเฟรม การติดก็ใช้กาวลาเท็กซ์ ยิงด้วยตะปูแม๊กเดี่ยว แล้วก็ใสปรับด้วยกบผิว
นี่เป็น บล็อกบอร์ด คือการนำไม้อัด4มม มาประกบหน้า-หลัง ลงบนไม้เส้นขนาดเท่าไม้อัด 1.22 x 2.44 ม ความหนามีหลายขนาดแต่นิยมใช้คือ 15 มม.
ไม้ยางพาราประสาน มีขายเป็นแผ่นสำเร็จรูป ขนาดเท่าไม้อัด มีให้เลือกหลายเกรด เป็นแบบที่ โฮมโปร - โฮมเวิร์ค นำมาทำงานไม้ขาย แต่ราคาถูกกว่าเพราะที่นั่นเขารวมค่าแรงงานเข้าไปด้วยแล้ว นิยมเอามาทำหน้าโต๊ะ ตู้โชว์ และทำตู้ลอย ก็สวยดีเพราะสีจะออกเป็นเหลืองอ่อนๆ
ไม้ชานอ้อยอัดแข็ง MDF (Medium Density fiber Board)นำมาทำงานประเภทที่ไม่รับแรง และไม่เปียกน้ำได้ดี
ไม้ยางพาราอัดประสาน คุณสมบัติเช่นเดียวไม้แผ่น แต่ทำมาเป็นท่อนเหมาะนำไปทำขาโต๊ะ
ไม้สัก เป็นไม้แปรรูป มีหลายขนาด ขายเป็นท่อน (คำนวณราคาเป็นลูกบาศก์ฟุต)
กาวลาเท็กซ์ เป็นวัสดุที่ช่างไม้นิยมใช้ ใช้ง่าย ราคาไม่แพง และประสิทธิภาพดี
ไม้เปอร์เซีย ไม้จะมีสีใกล้เคียงกับไม้สักมาก เนื้ออ่อน ขึ้นรูปง่าย ช่างชอบเอามาทดแทนไม้สัก แล้วทำสีให้ใกล้เคียง บางทีดูเป็นไม้สักได้เช่นกัน