เริ่มต้นจากวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ทุกครั้งคือ
*** ตัวทำละลาย (Solvent) ไม่มีเนื้อสี แต่ทำให้ความเข้มข้น หรือความหนืด ลดลง ได้แก่
- ทินเนอร์ เป็นตัวทำละลายให้กับเนื้อสีในกลุ่ม แห้งเร็ว
แลคเกอร์ ด้าน-เงา (ทำสีธรรมชาติ) ,สีพ่นอุตสาหกรรม (ทำสีทึบ)
ทินเนอร์เป็นแบบ 3 A
- น้ำมันสน และ น้ำมันซักแห้ง เป็นตัวทำละลายให้กับเนื้อสีในกลุ่ม แห้งช้า เช่น สีน้ำมัน(สีทึบหรือปิดลายไม้) , เป็นตัวทำละลายให้กับวัสดุในกลุ่มย้อม เนื่องมาจากคุณสมบัติแห้งช้าได้แก่ หมึกพิมพ์- ฝุ่นสี เหลืองดำแดง , น้ำมันวานิช

- แอลกอฮอล์ เป็นตัวทำละลายให้กับแชลเลค

***แนะนำ ตัวรองพื้น ตัวที่ลงก่อนที่จะลงสีจริงทับ มีคุณสมบัติการจับยึดที่ดีกว่า
- เชลแลค มีเป็นเชลแลคผง และเชลแลคเกล็ด นิยมมาแช่ในแอลกอฮอล์ ทารองพื้นเพื่อช่วยในการกันการซึมผ่านของยางไม้ หรือเป็นฟิล์มกันระหว่าง สีย้อมที่ใช้ตัวทำละลายน้ำมันสน/น้ำมันซักแห้ง กับแลคเกอร์ที่ทาทับโดยผสมกับทินเนอร์
.jpg)
- ซีลเลอร์ เป็นตัวรองพื้นที่นิยมมากในการทำสีธรรมชาติ ให้คุณสมบัติเต็มเสี้ยนเร็วกว่า การยึดตัวเร็วกว่า ใช้กับตัวทำละลายทินเนอร์

***แนะนำ สีจริง (สีสุดท้ายบนเนื้อไม้)
- แลคเกอร์
- สีพ่นอุตสาหกรรม

- สีย้อม ได้แก่ หมึกพิมพ์ และ ฝุ่นสี เหลืองดำแดง

- น้ำมันวานิช ใช้ทาลงบนเนื้อไม้ โดยไม่ต้องรองพื้น ผสมกับน้ำมันสน มีทั้งแบบวานิชเงาและ วานิชดำ บางครั้งก็ผสมในดินสอพองเพื่อให้การยึดตัวของดินสอพองที่ใช้สำหรับอุดโป๊วดีขึ้น
