นิยามที่นำมาเรียกกัน ในงานเจาะยึดเกลียวปล่อย ที่เคยกล่าวไว้แล้ว มี3ส่วนได้แก่
1.เจาะนำ คือการเจาะให้ขนาดรูเจาะ เล็กกว่าหรือเท่ากับ ขนาดโคนเกลียว(เส้นผ่าศูนย์กลางที่ไม่รวมเกลียว) และถ้าเป็นงานไม้ เช่นไม้เนื้ออ่อน เหนียว อาจไม่ต้องการเจาะนำช่วยก็ได้ (นิยมเจาะไม้เนื้อแข็ง หรือใกล้หัวไม้ที่อาจแตกง่าย หรือ พวก MDF ปาร์ติเกิล พวกนี้เกลียวปล่อยอาจจะเบ่งจนไม้บวม แตกได้ ถ้าไม่ช่วยการเจาะนำ)
2.เจาะผ่าน คือการเจาะให้มีขนาดรูเจาะ ใหญ่กว่าเกลียวภายนอกของเกลียวปล่อยเล็กน้อย นิยมเจาะชิ้นงานที่อยู่ด้านบนของการเจาะยึด เพื่อให้เป็นตัวฟรีเมื่อเกิดการดูดของเกลียวปล่อย
3.เจาะผาย(เจาะคว้าน) คือการเจาะเพื่อฝังหัวเกลียวปล่อย ให้จมลึกลงไปในเนื้อไม้ บางทีเนื้อไม้อ่อน ก็จะดูดหัวจม
ไปเอง ในบทความนี้ จะแสดงให้เห็นถึงการนำstepการเจาะทั้ง3มารวมเป็นการเจาะเพียงครั้งเดียว เขาทำได้อย่างไร?
 of IMG_2660.JPG)
|
เกลียวปล่อย ที่เห็นในรูปนั้น เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ โดยเฉพาะกับงานที่ต้องยึดวัสดุแผ่น เช่นวีว่าบอร์ด ลงบนเหล็กกล่อง ถ้าเป็นเกลียวปล่อยแบบเดิม จะยุ่งยากมากในการเปลี่ยนดอกไปมาหลายขั้นตอน
จึงมีผู้พัฒนาให้เกลียวปล่อยเอง มีหน้าที่ เจาะนำ เจาะผ่าน และผายฝังหัว ในตัวของเกลียวปล่อยเอง โดยเพิ่มคุณภาพความแข็งที่ส่วนหัวขึ้น
ในภาพจะแบ่งได้เป็น3ส่วน แยกกันทำหน้าที่
1. ส่วนหัวเกลียวปล่อย เป็นสว่าน เพื่อเจาะนำ
2.ถัดขึ้นมาอีกนิด จะเห็นเป็นปีกเล็กๆ มี ครีบออกมา2ข้าง เพื่อเจาะผ่าน
3.ตรงส่วนหัวเกลียวปล่อย มีรอยหยักๆรอบใต้ เพื่อเจาะคว้าน(ฝังหัว)
|
ทั้ง 3 ส่วน แบ่งทำงานกันอย่างไร (ขออภัยที่ไม่ได้ทำการยึดจริงให้ได้เห็น แต่เหมือนกับการยึดลงเนื้อไม้ทุกประการ เพียงแต่ตัวแผ่นล่างที่เจาะนำนั้น เป็นเหล็ก)
 |
ส่วนที่1.
ส่วนหัวเกลียวปล่อย เป็นสว่าน เพื่อเจาะนำ
ส่วนนี้ที่หัวจะเป็นดอกสว่านมาให้ในตัวเลย ขนาดดอกจะเท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในเกลียว จะชุบแข็งมาให้สามารถเจาะเหล็กได้ แต่การเจาะนั้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และนิยมที่ใช้กับการยึดแผ่นพวกซีเมนต์บอร์ด หรือวีว่าบอร์ด ลงบนเหล็กกล่อง หรือเหล็กตัวซี ที่ไม่หนามาก โดยขันเกลียวปล่อยลงบนแผ่นด้านบน ให้เจาะนำมาทั้งแผ่นบนและทะลุมานี่แผ่นเหล็กด้านล่าง
|
 |
ส่วนที่2.
ถัดขึ้นมาอีกนิด จะเห็นเป็นปีกเล็กๆ มี ครีบออกมา2ข้าง เพื่อเจาะผ่าน
ส่วนตรงนี้เมื่อส่วนหัวเจาะนำไปบนเนื้อซีเมนต์บอร์ดแล้ว ปีกที่เห็นจะขูดแผ่นซีเมนต์(วีว่า)บอร์ดที่มีลักษณะร่วนเหนียว เพื่อให้รูที่ได้หลวมเล็กน้อย (หลังจากเจาะนำไว้แต่แรก)และขยายออก มีหน้าที่เป็นดอกเจาะผ่านนั่นเอง
แต่เมื่อปีกนั้นถูกอัดมาถึงส่วนที่เป็นเหล็กแล้ว มันจะไม่สามารถทนการขัดสีและความร้อนได้ ก็จะแตกหักไป ปล่อยให้ส่วนที่เป็นเกลียวนอก ขันเบ่งเข้าไปในเหล็กแทน(ส่วนใหญ่เหล็กจะอยู่ในร่องเกลียวมากกว่าถ้าเหล็กบางๆไม่หนามากนัก)
|
 |
ส่วนที่3.
ตรงส่วนหัวเกลียวปล่อย มีรอยหยักๆรอบใต้ เพื่อเจาะคว้าน(ฝังหัว)
เมื่อช่วงแผ่นบนเป็นช่วงผ่าน เกลียวปล่อยเข้าไปดูดเนื้อเหล็กได้แล้ว ช่วงอัดหมุนเข้านี้ ที่หัวเขาเกลียวปล่อยด้านล่าง เขาจีมีรอยหยัก มีมุมจิก เพื่อคว้านหัวเกลียวปล่อย สามารถฝังลงบนไม้(ซีเมนต์บอร์ด)แผ่นบนได้อย่างสนิทพอดี
|
จะเห็นว่า เกลียวปล่อยนวัตกรรมใหม่นี้ เขาพัฒนามาให้มี3 หน้าที่ในตัวเกลียวปล่อยเอง ลดขั้นตอนลงไปได้มากทีเดียว บทความโดย : อนุชิต thaicarpenter.com เว็บไซต์ที่ทำให้งานไม้เป็นเรื่องง่าย