เดี๋ยวนี้ผู้หญิงหันมาทำงานไม้กันมากขึ้น แล้วงานไม้ที่เธอทำออกมาฝีมือปราณีตกว่าผู้ชายเสียด้วยซ้ำไปไม่ว่าจะเป็น การเข้าเดือยไม้ การเข้ามุมลบเหลี่ยม เธอทำได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้ผู้ชาย คงจะเป็นเพราะ "ช่างไม้" ถือว่าเป็นศิลปะกระมัง ไม่ใช่ช่างสาขาอื่นๆ ที่มองเป็นตรรกศาสตร์เสียมากกว่า ความละเอียดอ่อนที่ถูกใส่เข้าไป ทำให้งานไม้ที่ได้ดูจะออกมาแตกต่างกว่า อย่างเหลือเชื่อ
ในวันงานพบปะสังสรรค์ชาวชมรมคนรักงานไม้ ได้มีโอกาสพบกับผู้หญิงหลายๆท่านที่มาในงาน ได้ฟังการแนะนำตัวของทุกท่านก็รูสึกว่าผู้หญิงกับงานไม้ไม่ใช่เรื่องแปลก เธอทำได้ไม่แพ้ผู้ชาย สังเกตจากกิจกรรมในวันงาน ผู้หญิงมีส่วนร่วมมากเลยทีไม่แปลกเลยที่มีผู้หญิงหลายๆท่าน ที่อยากจะทำงานไม้ด้วยตัวเอง ขนาดสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน "ช่างไม้เครื่องเรือน" เขาก็เปิดรับผู้หญิงด้วยเช่นกัน นั่นแสดงว่าช่างแขนงนี้ไม่ใช่มีแต่เพศชายเพียงเท่านั้นที่จะผลิตงานไม้ออกมาได้เพียงอย่างเดียว ลองมาฟังเหตุผลของคนรักงานไม้ในแง่มุมของสุภาพสตรีดูกันบ้างครับ
บทความจาก : คุณหนิง เย็นจิต
ผลงานบางส่วน ►  .jpg)
|
งานไม้กะผู้หญิงวันนี้ หัวข้อที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นเกียรติอย่างยิ่งจากพี่ ๆ ชมรมคนรักงานไม้ (พี่เซี่ยง และ พี่อนุชิต)จะเริ่มยังงั้ยดีน้า เป็นว่าขอคุยเหมือนการเล่าเรื่องหรือพูดคุยกันธรรมดาหล่ะกันนะคะ ภาษาที่ใช้อาจจะไม่สวยงามถูกต้องก็ต้องขออภัยผู้อ่านทุกคนก่อนนะคะ
เราลองเริ่มตรงคำถามยอดฮิตตตตต... ดีมี้ยคะ ทำมั้ย ทำไม งานไม้ เป็นผู้หญิงทำไมเลือกงานไม้ อยากจะตอบสั้น ๆ ว่า อ้าว ก็แค่ชอบนะคะ ช่วยคิดเป็นเสียงใหญ่ ๆ แบบ โฆษณาบอยไม่ดื่มนะคะ ตอบแค่นี้ไม่ด้าย ไม่ได้ ใช่มั้ยคะ งั้นขอพูดย้าว ยาว อีกนิดหล่ะกันนะ หลังจากลองพยายามระลึกชาติดู มันเป็นความชอบส่วนตั้ว ส่วนตัว ตั้งแต่เล็ก ๆ นะคะ เล็ก ๆ ก็อยู่บ้านตึกแถวนี้หล่ะคะ มีคนชอบบอกว่าอยู่บ้านตึกดีกว่าบ้านไม้ ก้อไม่เคยคิดเหมือนคนอื่นสักกะที ยังคงมองบ้านไม้เล็ก ๆ ของร้านขายขนม ร้านกาแฟ หรือ บ้านคนอยู่อาศัยธรรมด๊า ธรรมดา ว่ามันน่าอยู่เนอะ ประตูไม้ หน้าต่างไม้ พื้นไม้ ดูอบอุ่นดีจัง อ๊ะ ๆ อ่านแล้ว เหมือนเด็กมีปัญหา ขอบอกก่อนนะคะ ว่าพ่อแม่ยังอยู่ด้วยกันดีคะ นอกจากนั้นก็สังเกตตัวเองว่าชอบงานไม้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกาไม้โบราณ ( นาฬิกาลูกตุ้ม ติ๊ก ต๊อก ๆ หรือ นาฬิกาลูกตุ้มที่มีนกร้อง ) เฟอร์นิเจอร์ไม้ โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ ไม้รูปทรงสวยงาม แม้กระทั่งถังเบียร์ยังชอบเลยนะเนี้ยะ เคยไปเจอถังเบียร์ประยุกต์เป็นเก้าอี้ก็สวยเริดคะ ล่าสุดเจอที่พักเป็นบ้านบนต้นไม้ที่ปาย กิ๊บเก๋ ดิบ ๆ สวย ๆ มันส์ ๆ แบบสวนสนุก ก็ชอบอีกแล้น ไม่ว่าจะขยายความยังงั้ยมันก็คงมีคำตอบเดียว คือ ชอบนั้นแหละคะ นี้แหละน้าเสน่ห์ของไม้ ธรรมชาติกะความงดงาม ที่บอกไม่ถูกว่าทำไมถึงชอบ
จะไปที่คำถามต่อไปดีมั้ยคะ เริ่มทำงานไม้ชิ้นแรกเมื่อไร คิด ๆ แล้วก็ต้องย้อนไปไกลโขอยู่ (ว้าย เริ่มเกี่ยวข้องกะอายุของผู้หญิง ไม่ควรพูดนะจ้า ลืม ๆ ไปนะคะ เริ่มประมาณ ม.ต้นหล่ะมั้งคะ ได้ทำงานไม้ชิ้นแรกเป็นไม้ปิงปองจากไม้อัดคะ ใช้เลื่อยฉลุ ใบเลื่อยขาดง่าย ๆ นี้แหละคะ ตัดไม้สามฃิ้น (ด้าม 2 ฃิ้น ตัวรูปทรงไม้ปิงปอง 1 ชิ้น) กว่าจะตัดได้เสียใบเลื่อยไป Twelve ๆ (โหล ๆ) นะคะ ก็เบี้ยว ๆ ปูด ๆ ตามภาษาเด็ก ๆ นะคะ ตอกตะปูด้ามจับเล็กน้อย แล้น ทาสี ต่อโลด ง่ายมาก สำเร็จแล้ว เห็นมั้ยคะ เด็ก ๆ ยังทำได้เลย โตมาแล้วเพศหญิงคงไม่ใช่อุปสรรคสำหรับงานไม้เล็ก ๆ มั้งคะ
แต่ถ้าจะถามว่า เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมชมรมคนรักงานไม้ได้ยังงั้ย คงต้องย้อนไปที่ปลายปี นะคะ เริ่มกิจกรรมจากการ Search Net หากิจกรรมงานไม้ทำนั้นแหละคะ เจอ www.thaiwoodworking.com เปิดอบรมการเรียนออกแบบเครื่องเรือนเบื้องต้น ลงสมัครเรียนไปหลายเดือน แล้ว อ. ศิระ อ. ศานิต อ. สุพัตร์ อ.สุรเชษฐ์ ก็เป็น Hero ในการเปิดการสอนต้นปี51 ส.-อา. ~2 เดือนเต็ม ๆ ได้ความรู้ในการเขียนและอ่านแบบ 2-3 มิติ (งานมือล้วน ๆ ใช้ไม้ทีขีด ๆ เขียน ๆ มิได้เกี่ยวข้องกะคอมคะ) ความรู้ด้านสีกับความรู้สึก (ระบายสีไม่ทันต้องกลับไปทำที่บ้านด้วยนะคะ ความรู้อ.เยอะ แค่ในเวลาเรียนไม่พอนะคะ) และความรู้เรื่องโครงสร้างขนาดสัมพันธ์กับเครื่องเรือน ยิ่งไปกว่านั้นยังได้เพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่น่ารักตรึม รู้สึกดีใจที่ได้เรียน หลังจากจบการเรียนครั้งนั้น อ.ศิระ อ.ศานิต อ.สุพัตร พี่ไพศาล พี่บัง wood พี่โกวิท พี่ต้อม พี่ไพลิน และ พี่ๆ อีกหลายคนซึ่งขอโทษที่มิได้เอยชื่อทุกคน ร่วมกันจัดกิจกรรมน่าประทับใจอีกหลายอย่าง เช่น งาน meeting (ที่มีเครื่องไม้เครื่องมือราคาถูกตรึม จาก Irwin, Black & Decker, Makita, JET เลื่อยญี่ปุ่น-Razorsaw และ อื่น ๆ อีกมากมายคะ) การเรียนเทคนิคงานสีเครื่องเรือนสนับสนุนจาก TOA, Daimyo และ Endura การเยี่ยมชมบริษัท Furniline และ Hafele การเรียนงาน DIY (ทำกล่องทิชชู่ กล่องใส่เครื่องมือ เก้าอี้เด็ก) การทำโต๊ะที่คุณแอน-ทุ่งสงบริจาคไม้ให้พวกเราลงแรงทำเพื่อถวายพระและสามเณร รวมทั้งการทำงานโคมไฟไม้ไผ่ งานพื้นบ้านที่สนับสนุนโดยพี่เซี่ยง พี่อนุชิต พี่หนุ่ย พี่สุทิน และป้ามาลี ต้องขอขอบพระคุณ อ. พี่ ๆ เพื่อน ๆ มา ณ โอกาสนี้อีกครั้ง
ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาความรู้น้อยนิดให้เพิ่มขึ้น ณ วันนี้ เริ่มคล่องในการจับเครื่องไม้ เครื่องมือ และคงต้องตอบว่ายังคงคลานกระดึ๊บ ๆ ก้าวน้อย ๆ เรียนรู้มากขึ้น และก็คงไม่ถอยหลัง คิดว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มาก ก็น้อย กะผู้อ่าน ซึ่งจะทำให้ได้ย้อนคิดถึงความชอบส่วนตัวที่ลืม ๆ กันไป เพราะความวุ่นวายในสังคมวันนี้นะคะ รวมถึงบรรลุเจตนารมณ์ของพี่ ๆ ที่อยากสนับสนุนให้งานไม้ขยายตัวโดยไม่จำกัดเพศ ลองตามล่าความชอบมาเป็นงานอดิเรกก็ดีนะคะ ขอให้สนุกกะทุก ๆ วัน นะคะ
|
บทความจาก : คุณแอน ทุ่งสง
|
ชีวิตเริ่มสัมผัสงานไม้อย่างจริงจังเมื่อ กันยายน 2548 ได้สมัครเข้าเรียนวิชาช่างเครื่องเรือนไม้ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร คอร์สพื้นฐานงานไม้ 6 เดือน วันแรกที่เข้ารายงานตัวได้รับความกรุณาจาก อาจารย์ชัชวาล ลางดี อาจารย์จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯพระนครเหนือ มาช่วยสอน แต่เราก็ต้องถูกเริ่มด้วยคำถามว่า “งานหนักมาก...จะไหวหรือ?..” “เปลี่ยนใจได้นะ ไปเรียนงานประดิษฐ์ หรือเป่าแก้วซิ...” อาจารย์เหมือนรู้สึกว่าฝ่ายรับสมัคร รับเข้ามาได้อย่างไร ผู้หญิง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อดูใบสมัครต่อไปอีกก็พบว่า ยังจบปริญญาตรีแล้ว แล้วยังมาสมัครเรียนอย่างนี้ทำไมอีก เราก็เลยตอบอาจารย์ไปตรงๆว่า “อยากเรียนงานไม้มากเลยค่ะ และไม่เห็นที่ไหนมีสอน ก็เลยไปลองสมัครที่ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม แขวงกล้วยน้ำไท เขตคลองเตย ทางศูนย์ศิลปาชีพก็เรียกตัวให้มาเรียน เราก็เลยรีบมาเลย ” อาจารย์ชัชวาลยังไม่สนิทใจ ให้เราตัดสินใจใหม่ว่า “ เดี๋ยวเรียนไปซักอาทิตย์ค่อยมาคุยกันใหม่ ” แต่เราก็ยังแน่วแน่ว่า “ เรียนได้ค่ะ ”
ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่อยู่ในฐานะนักเรียนศูนย์ศิลปาชีพฯ กินอยู่ที่นั่น รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 40 บาท เหมือนนักเรียนทุกคน ตั้งใจฝึกปรือวิชาที่อาจารย์สั่งสอน ไม่ว่าจะเลื่อย ไส เจาะ หรือบาก เรียนวิชาใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools)ต่างๆ ต้องไสไม้ทุกวันด้วยกบผิว, กบล้าง ไม้ทุกชิ้นที่จะนำไปทำชิ้นงานต้องได้ขนาด ฉาก เรียบและเสมอ อยู่ในช็อปไม้ 8 ชั่วโมงต่อวัน ห้ามนักเรียนนั่ง เพราะต้องทำงานแสดงให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวศูนย์ศิลปาชีพฯเข้ามาชมตลอดวัน ยกเว้นวันจันทร์เป็นวันหยุดได้พักผ่อนบ้าง อาจารย์เริ่มมองเห็นเราทำได้เท่านักเรียนผู้ชายคนอื่นในรุ่น มีความตั้งใจ อาจารย์จึงถ่ายทอดให้เรามากขึ้น เราได้ฝึกฝนมากขึ้น และถูกยอมรับมากขึ้น
พอจบคอร์สเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2549 ก็คะแนนดีที่สุดในรุ่น และยังได้เสนอชื่อเป็นนักเรียนดีเด่น แผนกช่างเครื่องเรือนไม้ รุ่นที่ 63 อีกด้วย http://www.bangsaiarts.com/student63.xls เป็นความภาคภูมิใจที่ได้รับเกรียติจากศูนย์ศิลปาชีพฯ ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จริงๆ
นี่แหละด้วยความรักที่จะทำ จะทำสำเร็จและดีที่สุดเสมอ...!
มิได้มองแบ่งแยกให้แปลกสี ชั่วหรือดีนี้ก็ของคู่เสมอ
หญิงหรือชายคล้ายกันดังกับเกลอ เขาหรือเธอก็ทำได้ใช่ธรรมดา
จุดสำคัญฉันทะว่ารักชอบ มุ่งเพียรมอบกายใจไม่หยุดหนา
มีจิตตะหนึ่งเดียวเชี่ยวชีวา วิมังสาพาสำเร็จเสร็จทุกงาน
ชุติญา เตติวงศ์ ผู้หญิงที่รักงานไม้
|
บทความจาก : คุณต้าร์ พิมพ์ชญา
 |
ก่อนหน้านี้ไม่มีเหตุที่ทำให้ชอบจนกระทั่งมาลองทำงานไม้ชิ้นเล็กๆชิ้นหนึ่ง เป็นปากกาที่ด้ามทำจากไม้เป็นครั้งแรกนึกทำให้กับแม่และเพีอนๆทีสนิทไม่กี่ด้าม แต่พอทำไป ทำ10กว่าด้าม พอนึกย้อนกลับ ผล" ของการทำงานไม้ทำให้เราชอบเพราะ เป็นงานที่ทำให้เรามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน้ำจนสุดปลายน้ำ เป็นงาน "ทำด้วยมือสำเร็จด้วยใจ" ตั้งแต่เลือกว่าเราอยากทำชิ้นงาน อะไร เลือกชนิดไม้ วัดขนาด ตัด ใช้เครื่องมือ จนกระทั่งเป็นชิ้นงาน ลงสี ขัด ตกแต่ง เราเป็นคนทำกับมือทั้งหมด ชิ้นงานจะสวยหรือสมบูรณ์ก็อยู่ที่ตัวเรา ถ้าไม่สวยหรือไม่สมบูรณ์ เราก็ยังพอใจ และภูมิใจกับงานของเราได้ งานทุกชิ้นมีคุณค่าในตัวเองแม้กับชิ้นงานที่มีตำหนิ
มีสมาธิ ไม่รู้ว่าจะเรียกสมาธิได้หรือไม่ อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัว เวลาวัดขนาด หรือใช้เครื่องมือ ต้องมีสมาธิมาก ไม่เช่นนั้นจะเกิด "กฎแห่งกรรม" คือวัดขนาดไม่เทียง ผลของงานคือไม่ดีเท่าที่ควร หรือใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องเจาะหรือเร้าเตอร์ ก็ค้องให้ความระมัดระวังมาก ถ้าประมาทอาจเกิดอุบัติเหตุได้ งานสอนให้เราใจเย็น นอกจากนี้งานสอนให้เรามีความสุข เช่นเวลาขัดชิ้นงานจะด้วยเครื่องขัด หรือใช้มือขัดก็ดี รู้สึกมีความสุข อยากขัดให้ชิ้นงานลื่นกว่าเดิม เรียบกว่าเดิม เวลาเอามือลูบชิ้นงานแล้วเนียน รู้สึกดีมาก
คนชอบงานไม้เป็นงานอดิเรก คงเหมือนกับคนที่ชอบถ่ายรูป วาดภาพ หรือทำอาหาร เพราะเป็นงานที่ทำให้เรามีความสุข ถึงแม้ไม่ได้ลงมือทำชิ้นงานเอง ถ่ายภาพเอง วาดภาพเองหรือ ทำอาหารเอง ก็ยังสามารถมองงานของคนอื่นและชื่นชมงานนั้นอย่างมีความสุขได้"
|