การให้นิยามนี้ อาจไม่ตรงกับในคำศัพท์ทางวิชาการมากนัก แต่ผู้เขียนเองพยายามที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากที่สุด หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์หรือต้องแก้ไขอย่างไร เพื่อการพัฒนางานไม้บ้านเราก็ยินดีนะครับ
- รั้วโกรก รั้วซอย
การโกรกไม้ การซอยไม้ ถ้าจะอธิบายง่ายๆก็คือการแบ่ง หรือเลื่อยไม้ออกจากกัน ไปในแนวยาว ทางยาวในแนวเกรนไม้ ขนานไปกับลำต้นไม้ หรือถ้าใช้กับไม้อัดก็คือซอยแบ่งออกตามแนวยาวนั่นเอง เวลาที่จะแบ่งออก เขามักจะต้องมีรั้ว คือตัวไกด์ที่ใช้ประคองไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการ ในที่นี้รั้วโกรก(ซอย)จะวางขนานไปกับแนวเลื่อย

รั้วโกรกไม้ แบบง่ายยึด F- clamp หัว-ท้าย
- รั้วตัด
เมื่อซอยจนได้ความกว้างแล้ว ก็นำไม้มาตัดตามความยาวที่ต้องการ เวลาที่เราตัด ในกรณีแท่นเลื่อยเราเรียกตัวพาหรือไม้ประคองตัดความยาวนี้ว่า "รั้วตัด"

- การบังใบ
คือการบากไม้ให้เป็นรูปตัวแอล L หรือทำให้เกิดช่องว่างเป็นมุม 90องศา 1ด้าน เช่น บังใบใส่กระจก เป็นต้น



- การเซาะร่อง
เรียกคู่มากับบังใบ การเซาะร่องคือการทำให้เกิดร่องที่ตรงกลาง มีเนื้อไม้เหลือที่ขอบ2ข้าง เช่น การเซาะร่องใส่ไม้อัด การเซาะร่องรางลิ้นไม้ เป็นต้น



-ลูกฟัก
ใช้กับบานตู้ ที่มีลูกบานอยู่ในกรอบ เราเรียกว่า ลูกฟัก การทำมีได้หลายอย่าง สามารถตีขึ้นมาเอง จากเร้าเตอร์ หรือใช้คิ้วลูกฟักสำเร็จ ก็ทำได้เช่นกัน


*** รอติดตามการทำบานลูกฟัก กับ thaicarpenter.com เร็วๆนี้
- การไสเพล่
- การ ไสชิด (ไสเพลาะ) และการไสขนาด
 |
การไสชิด(ไสเพลาะ)
เป็นการปรับหน้าไม้ให้เรียบและได้ฉากก่อน 1คู่ ตัวเครื่องไสจะมีลักษณะพื้นราบ ยาว การไสให้เอาด้านที่เว้าลงด้านล่าง ไสทีแรกๆจะกิน หัว-ท้าย และไล่มากินตลอดทั้งแผ่น สังเกตจากเสียงที่กินจะดังต่อเนื่อง การไสตรงนี้ต้องการแค่ปรับหน้าไม้ให้ตรงและได้ฉากเท่านั้น
|
 |
การไสขนาด
เมื่อไสชิดมาแล้วก็มาไสตั้งขนาด(บางที่เรียกว่าเครื่องรีด) ด้านที่เรียบและฉากมาแล้วก็จะใช้เป็นด้านอ้างอิง ในการตั้งขนาด ทั้งความกว้างและความหนาต่อไป
|
- การเพลาะไม้
คือการนำไม้แผ่น มาต่อกันที่ด้านข้าง การเพลาะไม้มีหลายวิธี เช่น แบบต่อชนธรรมดา แบบเข้าลิ้นในตัว-ลิ้นไม้อัด แบบบังใบ แบบเข้าเดือยกลม เป็นต้น
 |
ก่อนเพลาะไม้เราควรมาเลือกก่อนว่าจะให้ไม้ที่ได้ออกมาในลักษณะที่สวยงามและไม่บิดงอ เช่น การให้แนววงปีที่หัวไม้วางสลับไปมา(เพื่อลดการหดตัวไปในทางเดียวกัน เป็นเหตุให้เกิดการโก่งงอ) สีของแต่ละแผ่น ให้กลมกลืน ลายให้ต่อเนื่องกัน แล้วทำเครื่องหมายเมื่อมาประกอบจะได้ไม่ผิดพลาด |
 |
รูปแผ่นไม้ที่เพลาะเสร็จแล้ว ในรูปใช้ลิ้นไม้อัด เวลาเพลาะมีกาวที่นิยมใฃ้กันเช่น ลาเท็กซ์ กาวผง การยูเรียฟอร์มัลดิไฮด์ เป็นต้น |
- การลอไม้ (เลื่อยลอ)
คือการตกแต่งไม้ให้มีการเข้ามุมได้สนิทขึ้น โดยการลอส่วนที่เกินออกให้เป็นช่องขนานกัน แล้วดันให้ชิดกัน อีกครั้ง


*** ติดตามได้ใน เทคนิคการเข้าปากไม้ให้สนิทด้วยเทคนิคการใช้เลื่อยลอ เร็วๆนี้
- กรุหลัง
คือแผ่นหลังตู้ที่เป็นไม้แผ่นบางๆ นิยมนำไม้อัดมาทำกรุหลัง
- เดือยหางเหยี่ยว
คือการเข้าเดือยชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างของเดือยคล้ายหางเหยี่ยว เพื่อให้มีการรับแรงดึงได้มากขึ้น และเมื่อโชว์ให้เห็นได้จากภายนอก ยังถือเป็นดีไซด์ของงานได้อีกด้วย
*** โปรดติดตาม เทคนิคการเข้าเดือยหางเหยี่ยวได้ที่ thaicarpenter.com เร็วๆนี้
- การเข้าลิ้น
(แบบลิ้นในตัว)




แบบลิ้นไม้อัด

-บานเกล็ด
คือบานชนิดหนึ่งที่เอียงมุมของแผ่นไม้ เพื่อไม่ให้สามารถมองผ่านทะลุได้ แต่มีช่องให้อากาศสามารถผ่านได้ จุดประสงค์หลักของบานประเภทนี้คือต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศได้ แต่ไม่สามารถมองทะลุผ่านได้

-จิ๊ก ถ้าเป็นงานไม้จะหมายถึงอะไร?
  |
จากภาพ จะสังเกตว่ามีไม้แผ่นล่างที่ยาว เรียบและตรงขนานยาวไปกับรั้วและใบเลื่อยวงเดือน ทำจากไม้อัด และมีไม้วางกำหนดตำแหน่งอยู่บนไม้อัด ทำมุมเอียง เพื่อวางไม้ที่เราจะตัด ให้เอียงและมีอุปกรณ์ช่วยยึดให่มั่นคง
ช่างไม้เราเรียกอุปกรณ์ช่วยนี้ว่า "จิ๊ก" หรือ jigs&Fixtureนั่นเอง
|
  |
จิ๊ก มักนิยมใช้กับการทำงานที่มีจำนวนมากกว่า1ชิ้นขึ้นไป เราควรปรับปรุงให้การทำงานรวดเร็วโดยดัดแปลงจิ๊ก ให้ใช้กับงานทุกงานไม่ว่าจะ เจาะ ขึ้นรูป หรือตัด ควรใช้จิ๊กมาช่วย เพราะจิ๊กคือตัวกำหนดคุณภาพงานด้วยเช่นกัน
จิ๊ก มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้กับงานใด ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์ ของแต่ละคนไป
|
อาจมีบางคำที่อธิบายไม่ชัดเจน หรือร่วมแนะนำ เพิ่มเติมคำอื่นๆ ยินดีร่วมกันแก้ไขปรับปรุงนะครับ
อนุชิต thaicarpenter.com เว็บไซต์ที่ทำให้งานไม้เป็นเรื่องง่าย
นิยามที่นำมาเรียกกัน ในงานเจาะ
1.เจาะนำ คือการเจาะให้ขนาดรูเจาะ เล็กกว่าหรือเท่ากับ ขนาดโคนเกลียว(เส้นผ่าศูนย์กลางที่ไม่รวมเกลียว) และถ้าเป็นงานไม้ เช่นไม้เนื้ออ่อน เหนียว อาจไม่ต้องการเจาะนำช่วยก็ได้ (นิยมเจาะไม้เนื้อแข็ง หรือใกล้หัวไม้ที่อาจแตกง่าย หรือ พวก MDF ปาร์ติเกิล พวกนี้เกลียวปล่อยอาจจะเบ่งจนไม้บวม แตกได้ ถ้าไม่ช่วยการเจาะนำ)
2.เจาะผ่าน คือการเจาะให้มีขนาดรูเจาะ ใหญ่กว่าเกลียวภายนอกของเกลียวปล่อยเล็กน้อย นิยมเจาะชิ้นงานที่อยู่ด้านบนของการเจาะยึด เพื่อให้เป็นตัวฟรีเมื่อเกิดการดูดของเกลียวปล่อย
3.เจาะผาย(เจาะคว้าน) คือการเจาะเพื่อฝังหัวเกลียวปล่อย ให้จมลึกลงไปในเนื้อไม้ บางทีเนื้อไม้อ่อน ก็จะดูดหัวจมไปเอง
สรุป การเจาะทั้งหมดต้องมี3ดอก คือ ดอกเจาะนำ ดอกเจาะผ่าน และดอกคว้านหัว การยกเลิกดอกเจาะนำ และเจาะคว้าน อาจทำได้ แล้วแต่กรณีไป แต่ดอกเจาะผ่านต้องคงไว้เสมอ
.jpg) |
อย่างที่เรากำลังจะยึดนี้ เป็นการเข้ามุม 90องศา โดยเราให้ชิ้น A เป็นชิ้นที่จะยึดเข้าหาชิ้น B
กรณีนี้ เราจะเจาะชิ้น A ให้เป็นตัวผ่าน พร้อมกับผายหัว เพื่อฝังเกลียวปล่อย อย่างนี้ เราจะต้องเจาะ ชิ้นงาน A ให้ใหญ่กว่าลำตัวเกลียวปล่อย
|