ReadyPlanet.com


หลักการพื้นฐานของปริมาณการใช้ไม้ในงานบิลท์อินและข้อมูลการทำสีเพื่อเป็นวิทยาทาน
avatar
ชัย


 

ผมได้จ้างช่างที่มีผู้แนะนำมาเพื่อทำงานบิลท์อิน โดยที่ไม่มีข้อมูลความรู้อะไรเลยในห้วงเวลาที่จะจ้าง อาศัยการแนะนำกัน และการพูดคุย ช่างก็คิดค่าแรงในราคา 3500 บาทต่อเมตร ผมก็ไม่ทราบว่าถูกหรือแพง จึงพยายาม search หาข้อมูล และหาช่างอีกรายให้เสนอราคาด้วย เนื่องจากจะต้องทำหลายห้อง

ขณะเดียวกัน ก็ดูข้อมูลในเน็ต และได้รับข้อมูลจาก thai carpenter รวมทั้งได้มีโอกาสโทรหาพี่เอ๋ ตอนนั้นโทรปรึกษาเรื่องสีพ่นอุตสกรรมของไทยวาชินเพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน ว่าเป็นอย่างไรในการจะใช้กับงานบิลท์อิน ได้ออกปากเชิญพี่เอ๋มาดูหน่วยงานที่จะทำงานบิลท์ ผมเล่าว่าพยายามสร้างบ้านนี้ให้มีศิลปะ ซึ่งเป็นศิลปะตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจะได้ไม่จับฉ่าย ที่บ้านบางหลังไม่รู้ข้อเท็จจริง เอามาผสมกันมั่วไปหน่อย กลายเป็นหัวมังกุท้ายมังกร พี่เอ๋ว่าจะหาเวลามาดู และอาจจะชวนพี่เบิร์ดมาด้วยเพราะแกน่าจะสนใจโปรโมท แต่ตอนนั้นพี่เอ๋งานยุ่ง จึงไม่ได้มีโอกาสมาตามที่นัดกัน (จริงๆ อยากให้พี่่เอ๋ทำ แต่ไม่กล้า)

เข้าเรื่องเลยดีกว่า มี 2 เรื่องที่อยากถาม เรืื่องที่ 1 คือ การจ้างทำงานบิลท์ตามที่บอกข้างต้น ในห้วงเวลานั้น ผมเลยต้องตัดสินใจจ้างช่างที่คิดเมตรละ 3500 เพราะดูเหมือนราคาอยู่ระดับที่ไม่ได้เว่อร์ไป แต่พี่เอ๋บอกราคานี้ต้องเป็นช่างฝีมือเลยนะ ซึ่งก็ได้ลงมือทำมาพักใหญ่แล้ว ก็คุยกันง่าย ฝีมือน่าจะโอมั้ง เพราะผมวัดไม่เป็น แต่พุดคุยกันในการปรับแบบ หรือขอทำอะไรพิเศษก็ไม่ค่อยมีปัญหา มีหน่อยนึงคือเบิกเงินบ่อย แต่ไม่ได้หนีงาน

ที่่เป็นคำถามของผมคือ ปริมาณไม้ต่างๆ ที่ใช้ ที่ผ่านมา ก็ซื้อไปเยอะมากพอสมควร วัดจากความรู้สึกแบบบ้านๆ ของผมที่ไม่รู้ข้อเท็จ ว่าจะต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ แค่รู้สึกว่าเยอะ คราวนี้เราก็ต้องอาศัยความเชื่อใจกัน เพราะไม่สามารถจะไปนั่งเฝ้าว่าใช้มากใช้น้อย หรือใช้จริงเท่าไหร่ เพราะเชื่อในจรรยาบรรณของช่าง ที่ต้องคิดถึงทั้งภาพพจน์และความรู้สึกของตนเอง ช่างไม้เป็นอาชีพที่ผมรู้สึกว่ามีเกียรติ มีภูมิ ผมได้เจอตำราช่างไม้ของฝรั่งแบบฉบับสมบูรณ์(มั๊ง) ยังเคยคิดว่า ถ้ามีโอกาสจะหัดลองเป็นช่างไม้ดู โดยเฉพาะการทำงานไม้ในเชิงเทคนิค พับซ่อน ที่ฝรั่งมาขายแพงๆ มันน่าสนุกดี (นอกเรื่องอีกแล้ว)

ดังนั้น จึงอยากให้พี่ๆ ช่าง ช่วยให้ความรู้เป็นวิทยาทานว่า การทำงานบิลท์อินนั้น วิธีการคิดปริมาณไม้อัด ไม้โครง ไม้ปิดขอบ ไม้อื่นๆ อุปกรณ์ฟิตติ้ง และวัสดุอื่นๆ มีหลักการพื้นฐานอย่างไร ผมเข้าใจดีครับว่างานแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ต้องดูที่แบบ บางทีมีลิ้นชักมากน้อย มีบานเปิด ไม่มีบานเปิด มีช่องกระจก บานเปิดแบบเลื่อน แบบบานเฟี้ยม  แต่ผมคิดว่าช่างน่าจะพอให้ความรู้ที่เป็นพื้นฐานได้บ้าง อาจจะยกตัวอย่างตู้ หรืองานบิลท์อินติดตรึง สัก 2-3 แบบ แล้วมาวิเคราะห์ว่าตู้หรืองานบิลท์อย่างนั้นอย่างนี้ใช้ปริมาณเท่าไหร่ เป็น case study

ผมคิดว่าข้อมูลอย่างนี้เป็นวิทยาทานที่มีประโยชน์ แม้แต่ช่างด้วยกันเอง ในการตีราคาไม่ให้เข้าเนื้อ ถ้าหากไม่ได้เป็นข้อมูลความลับที่ไม่อยากเปิดเผย เพราะกลัวว่าลูกค้ารู้แล้ว จะหาว่าเอากำไรมาก แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นมาตราฐานสากล ที่จะทำให้สามารถอ้างอิงกันได้อย่างเป็นเหตเป็นผล

เรื่องที่ 2 คือเรื่องการคิดค่าจ้างการทำสี จริงๆ ขั้นตอนการทำสีใน thaicarpenter มีอยู่พอสมควร แต่บางทีไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่ค่าจ้างการทำสีไม่ค่อยมีคนพูดถึง เพราะมักจะรวมไปกับค่าจ้างทำบิลท์อินไปเลย เช่นค่าทำบิลท์อิน เมตรละ 15,000-18,000 รวมของรวมแรง รวมทำสี ทำ finishing จนเสร็จ 

จริงๆ แบบนี้มันก็ง่ายดี ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่องค่าวัดสุที่ต้องซื้อ ว่าซื้อมากไปหรือเปล่า แต่ในความเป็นจริง เวลาคนจะจ้างช่างมาทำ มันมีหลายสถานการณ์ คือช่างจะทำแต่ค่าแรงอย่างเดียว เพราะไม่มีเงินลงทุนซื้อวัสดุ หรือช่างบิลท์ไม่รู้จักช่างสี (อาจจะทะเลาะกับเพื่อนช่างสีพอดี) เราต้องหาช่างสีเอง หรือเป็นการงานคนละห้วงเวลา เช่นทำงานบิลท์เสร็จแล้ว แต่ยังทำงานสีต่อไม่ได้ 

อย่างกรณีของผม จ้างช่างบิลท์เฉพาะค่าแรงไปแล้ว ตอนนี้จึงต้องจ้างช่างสี ซึ่งไม่รู้ว่าราคาจ้างทำสีคิดกันอย่างไร หาช่างก็ไม่ง่าย ถ้าได้ช่างมาตีราคาแล้วเขาบอกราคามา เราควรจะรับหรือเปล่า การที่เราไม่มีข้อเท็จจริง แล้วไปโวยวายว่าคิดราคาสูง ทั้งที่เป็นราคามาตราฐาน เราอาจจะเสียช่างฝีมือดีไป

แต่คราวนี้ถ้าจะจ้างช่างสี ผมคงต้องจ้างเหมาทั้งของทั้งแรงเพราะไม่สามารถรู้ปริมาณวัสดุที่ต้องใช้เลยว่า ต้องใช้อะไรบ้าง ใช้มากใช้น้อย ยิ่งยากในการควบคุม แต่ก็น่าหวั่นอยู่ว่า ถ้าช่างไม่สุจริต อาจจะไม่ทำงานตามแบบการทำงานสีที่ควรทำ หรือตัดบางขั้นตอนไป หรือใช้วัสดุน้อยกว่าที่ควรจะทำ เช่นรองพื้นน้อยรอบ จะได้กำไรมากขึ้น 

ถ้าเป็นไปด้วยรบกวนท่านผู้รู้ช่วยสรุปขั้นตอนการทำสี โดยเป็นสีพ่นอุสหากรรมให้เป็นสวิทยาทานด้วยนะครับ


ชัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ชัย :: วันที่ลงประกาศ 2014-05-29 07:39:26


1

ความคิดเห็นที่ 1 (3003380)
avatar
ชัย

 

อนึ่ง มีช่างไหนที่รับทำงานสีอย่างเดียวหรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชัย (victorsmk-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-05-29 10:17:47


ความคิดเห็นที่ 2 (3003385)
avatar
จอมโกง ( ยังไม่หายโกงเลย ผม )

 ไม้นับง่ายครับ

 

แต่สีนี่ต้องอาศัยประสพการณ์

ผู้แสดงความคิดเห็น จอมโกง ( ยังไม่หายโกงเลย ผม ) วันที่ตอบ 2014-05-29 12:31:17


ความคิดเห็นที่ 3 (3003418)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง
image

โห...ยาวจริงๆ555   ผมว่าคุุณชัยคิดถูกแล้วครับเรื่องให้เหมาทั้งของทั้งแรงสี
เพราะสิ่งที่เป็นของเหลวจะควบคุมยาก ทินเนอร์นี่ตัวแพงและเปลืองเลย
อีกเรื่องกระดาษทรายนี่ก็เป็นวัสดุสิ้นเปลือง ประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมไม่เคยเห็นช่างเหมาแรงคนไหน
ประหยัดค่าของให้เลย ทินเนอร์ถ้าอาบได้ผมว่าพี่แกคงเอาไปอาบด้วยแน่ๆ

ตย.นะครับ   ตู้เสื้อผ้า ทั้งของทั้งแรงสีพ่นเมตรละ4000-5000 ขั้นเนียน

 

จริงและมีศิษย์ที่มาอบรมศิษย์เอก ตอนนี้สีพ่นเข้าขั้นเนียนแล้ว
ซี่งตอนนี้ทํางานให้ผมอยู่ เขาเลยยังไม่ได้รับงานคนอื่นครับ

 

ุปล.คนในภาพคือแฟนศิษย์เอกที่พูดถึงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-05-29 21:54:05


ความคิดเห็นที่ 4 (3003425)
avatar
เก่ง Worarit Furniture

งานสี  แนะนำว่าให้เค้าเหมาทั้งของทั้งแรงไปเลยครับ  ราคาก็ตามที่ อ.เอ๋บอก 

แต่ถ้าเค้าจะเหมาค่าแรง ต้องถามช่างก่อนว่าขั้นตอนเค้ามีอะไรบ้าง  วิธีทำยังไง  ถ้าทำจริงต้องตอบได้ 

เท่าที่ผมทำอยู่  แบบเนี๊ยบ ๆ เลยนะครับ    ขั้นแรก  ขัดงานให้เนียนเรียบ  ลงแป้ง  ลงชะแล็ค 2 รอบ ลงรองพื้น โป๊เก็บรอยต่อ หัวตะปู  ลงรองพื้นอีกรอบ  ดป๊เก็บรอบสุดท้าย  ลงสีจริง 2 รอบ  จบ  หรือจะให้เป็นแบบเงาหรือด้านค่อยพ่นอีกรอบ  โดยรอบสุดท้ายใส่ทินเนอร์เยอะหน่อย  และอีกอย่าง  ทุกรอบในการพ่นสีแต่ละชั้น  ต้องลูบด้วยกระดาษทราย เบอร์ 3 หรือ 240 ขึ้นไปทุกรอบ  เพื่อเพื่อมการยึดเกาะของสี  เก็บเม็ดสี  เม็ดฝุ่นละออง  และเช็ครอยโป๊ไปในตัว 

ส่วน สี ทินเนอร์  ถ้าเราซื้อ  ให้ดูว่าเค้าสั่งทินเนอร์มาใช้กับสีรองพื้นเท่าไหร่  สีจริงจะใช้เยอะเกว่า 1.5 เท่า  ส่วนสีจริงกับรองพื้น  ก็ใช้พอ ๆ กัน เพราะสีจริงมันข้นกว่า  เพราะงานผม  รองพื้น 2 รอบ  สีจริงก็ 2-3 รอบ 

กระดาษทราย  เราก็ซื้อมาแล้วให้เค้าทีละนิด  เป็นรอบ ๆ   ไม่ต้องให้เบิกหมด  ถ้าจะเบิกใหม่  ก็ดูผลงาน  และดูกระดาษทรายเก่า  ว่าใช้จริงไหม  หรือไม่ก็บอกไปว่า  ขอให้เก็บกระดาษทรายเก่าไว้ให้ด้วย 

แต่ต้องดูปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย  งานสี  มันคุมยาก  ยกตัวอย่าง  ฝนตกอากาศชี้น  สีจะขึ้นฝ้า  โป๊ไม่เนียน  ขัดไม่เรียบ  ก็จะเปลืองกว่าปกติ  เพราะต้องเก็บงานเพิ่มหลายรอบ  

และแนะนำให้เค้าทำงานตัวอย่างให้ดูสัก 1 ห้อง เอาห้องที่ทำง่าย ๆ จำนวน น้อย ๆ  ถ้าโอเคก็ทำทั้งหมด  ถ้าไม่ผ่านก็ให้แก้ไข  เราจะได้รู้ปริมาณ  เพื่อทำห้องต่อไป  และขั้นตอนการทำงานของช่าง  และ ผลงาน  ว่าดี  สมราคาหรือไม่ 

งานสีเป็นงานศิลปะอย่างนึงนะครับ  คนทำต้องตั้งใจจริง  มีความรู้  ละเอียด  ใจเย็น   งานถึงจะสวย  การสร้างบ้านส่วนใหญ่  จะสวยหรือไม่ก็อยู่ที่ช่างสีนี่แหละครับ ช่างไม้ช่างปูน  ทำงานมาแย่  แต่ถ้าช่างสีมีฝีมือ  มันก็ออกมาดูดี  แต่ถ้า ช่างไม้ทำงานดี  แต่ช่างสีมือไม่ถึง  มันก็หมดราคาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เก่ง Worarit Furniture (worarit2529-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-05-30 00:44:18


ความคิดเห็นที่ 5 (3003432)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

เก่ง Worarit Furniture

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-05-30 06:48:18



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.