ReadyPlanet.com


สาเหตุ(หลัก) ทำให้กาวยางไม่ติด
avatar
ดิว


 ในบทความก่อนๆ เราได้มีเกริ่นไปบ้างแล้วว่า สาเหตุใดบ้างที่อาจทำให้วัสดุของคุณเผยอหลังทากาวยาง แต่ในบทความนี้ เรามารวบรวมทุกสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการยึดเกาะของกาว โดยเฉพาะกาวยาง

1. ทากาวบางไป (มีกาวไม่เพียงพอบนผิววัสดุ)

สำหรับกาวยางชนิดทา ปริมาณกาวยางที่อยู่บนชิ้นงาน ควรอยู่ที่ 3.0 กรัมแห้งของกาวยางต่อหนึ่งตารางฟุตของวัสดุ (กรัมแห้ง หมายถึง น้ำหนักชั่งเป็นกรัมของกาวยาง ที่เหลือแต่ส่วนของ “เนื้อกาว” โดยส่วนผสมทินเนอร์ระเหยไปหมดแล้ว) โดยจุดที่ควรเน้นทากาวคือ บริเวณขอบมุมของชิ้นงาน เนื่องจากเป็นจุดที่ง่ายต่อการ เผยอ วิธีสังเกตด้วยตาง่ายๆ คือบริเวณที่ทากาวจะดูเงาๆมีกาวเคลือบผิวอยู่ แต่หากเป็นวัสดุที่มีรูพรุน เช่น ไม้MDF จะดูดกาวเยอะกว่า จึงแนะนำให้ทากาว 2 รอบ โดยทากาวรอบแรก รอให้แห้ง แล้วค่อยทากาวรอบที่ 2 และรอแห้งอีกครั้ง เนื่องจากการทากาวบนชิ้นงานน้อยเกินไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชิ้นงานไม่ติด

2. ประกบชิ้นงานเร็วเกินไป

กาวยาง แตกต่างจากกาวชนิดอื่นตรงที่ จำเป็นต้องรอให้กาวยางที่ทาไปบนวัสดุแห้งก่อน ถึงจะประกบติดได้ ซึ่งการรอนั้น ก็เพื่อที่จะให้ตัวสารทำละลายในกาวยางนั้นระเหยไปหมดก่อน จนเหลือแต่เนื้อกาว เท่านั้น ในขณะที่กาวยางยังเปียกอยู่นั้น เรียกได้ว่าจะไม่มีแรงยึดเกาะเลย

เพราะฉะนั้น เมื่อทากาวยางไปแล้ว ควรรออย่างต่ำ 7-10 นาที เพื่อให้มั่นใจว่ากาวยางนั้นแห้งจริงๆ หรือให้ใช้ข้อนิ้ว แตะๆไปบนชิ้นงาน หากไม่มีกาวติดข้อนิ้วขึ้นมา แสดงว่ากาวแห้งแล้ว (ไม่แนะนำให้ใช้นิ้วมือในการแตะ เพราะน้ำมันในนิ้วมือของเรา อาจไปติดบนชิ้นงานได้)

ระยะเวลาการรอกาวแห้งนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นในอากาศด้วย เช่น หากทำงานในห้องเย็น จะต้องรอนานกว่า การทำงานในที่ร้อนโล่งแจ้ง หรือการทากาวยางขณะฝนตก ต้องรอกาวยางแห้งนานเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับการทากาวในช่วงฤดูร้อน


3. ใช้แรงกดหลังประกบชิ้นงานไม่เพียงพอ

หลังจากประกบชิ้นงานแล้ว ให้ใช้ผ้าแห้ง หรือลูกกลิ้ง รีดไปที่ชิ้นงานเพื่อให้ประกบแน่นขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณขอบมุมของชิ้นงาน เพื่อช่วยในขั้นตอนการยึดเกาะของกาวยาง

4. ระดับการยึดเกาะของกาวไม่พอ

นอกจากวิธีการใช้กาวยางแล้ว คุณภาพการยึดเกาะของตัวกาวยางเองก็ถือว่าสำคัญมาก กาวยางที่ดี จะต้องมีเนื้อกาวเยอะเพียงพอสำหรับการยึดเกาะ วิธีเบื้องต้นในการทดสอบคุณภาพกาว คือให้เอานิ้วชี้แตะไปที่กาว แล้วเอานิ้วโป้งกับนิ้วชี้แตะกันแล้วแยกออก ทำไปเรื่อยๆจะเริ่มเห็นใยกาว นั่นแหละคือเนื้อกาว

กาวยางSB แดง สูตรพรีเมี่ยม เนื้อกาวเยอะ ชิ้นงานไม่เผยอ หรือพองบวม แม้เป็นวัสดุที่มีลักษณะบางเฉียบ คุณสมบัติพิเศษในเรื่องความทนทานต่อความร้อน และแสงแดดได้เป็นอย่างดี


5. ไม่เตรียมผิวชิ้นงานก่อนทากาว

การเตรียมพื้นผิวก่อนการทากาว ก็ถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญ เพื่อการยึดเกาะที่คงทน ยาวนาน เพราะหากทากาวไปบนวัสดุที่เลอะไปด้วยคราบฝุ่น และคราบน้ำมัน รับรองว่าไม่ว่ากาวยางจะดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถยึดติดได้แน่

กำจัดฝุ่นละออง ด้วยการปัดกวาดหรือใช้ผ้าสะอาดเช็ดออกให้หมดจด หรือหากวัสดุไหนสามารถโดนน้ำให้ ให้ใช้น้ำล้างให้สะอาด แต่อย่าลืมตรวจสอบว่าพื้นผิววัสดุแห้งสนิทก่อนทากาว เมื่อพื้นผิวสะอาดแล้ว พยายามอย่าใช้มือสัมผัสมาก เนื่องจากน้ำมันบนฝ่ามือของเราจะไปติดบนผิววัสดุ

กำจัดคราบน้ำมันหนัก ด้วยน้ำยาขจัดคราบไขมัน

หากเป็นไปได้ ให้ขัดพื้นผิวให้หยาบขึ้น โดยใช้กระดาษทรายในการขัด ซึ่งก็จะช่วยให้กาวยึดเกาะบนพื้นผิวได้ดีขึ้น หรือบางคนอาจใช้น้ำยารอง

6. งานเจอความร้อนสูงมาก ภายใน 2 วันหลังประกบ

หลังจากประกบชิ้นงานที่ทากาวยางไปแล้ว สิ่งแรกที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ การแงะ แกะบริเวณขอบมุมของชิ้นงาน เพราะกาวยางจะใช้เวลาเซ็ตตัวถาวรอย่างต่ำ 24 ชั่วโมง หากแกะชิ้นงานก่อนเวลานั้น ก็จะทำให้กาวไม่ติด

นอกจากนี้ ขณะกาวกำลังเซ็ตตัว ไม่ควรนำชิ้นงานไปเจอความร้อนสูงมาก เพราะอาจทำให้กาวยางกลับสภาพเป็นของเหลวอีกครั้ง และทำให้กาวไม่ยึดติด

แต่หากไม่สามารถเลี่ยงได้ แนะนำให้ใช้กาวยางที่สามารถทนแสงแดด และอุณหภูมิสูงได้ อย่างกาวยาง SB แดง สูตรพรีเมี่ยม

ที่มา : sbadhesive.com/blog/reasons-for-bond-failure/



ผู้ตั้งกระทู้ ดิว :: วันที่ลงประกาศ 2021-05-25 11:36:36


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.