ReadyPlanet.com


วีธีทากาวยาง…ให้ได้ผลงานสวย (เน้นการยึดเกาะ!)
avatar
ดิว


การทากาวที่ถูกวิธี ไม่ใช่แค่ทาๆๆปาดๆๆอย่างเดียว เพราะถ้าทำแบบนั้นก็มีสิทธิ์ที่จะทากาวยางหนาหรือบางจนเกินไป หรืออาจทำให้ชิ้นงานของคุณพองบวม เผยอได้ ซึ่งการทากาวยางนั้น ถือว่าเป็นสิ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ตั้งแต่อุปกรณ์ทากาว ขั้นตอนการเตรียมผิววัสดุ ไปจนถึงวิธีการทากาว ก็ล้วนแต่สำคัญเพื่อให้ได้ผลงานออกมาสวยเนี๊ยบ ติดแน่นยาวนาน

1. อุปกรณ์ในการทากาวยาง

 

ช่างมืออาชีพจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “หวี” หรือ “หวีปาดกาว” ซึ่งทำง่ายๆมาจากแผ่นลามิเนตชิ้นเล็กๆ มีขนาดกว้างประมาณ 4 นิ้ว สูงประมาณ 3 นิ้ว (ขนาดความกว้างและสูง อาจบวกลบเล็กน้อย แล้วแต่ความถนัดของผู้ปาดกาว) นำมาฟันเป็นซี่ๆ ให้มีลักษณะเหมือน หวี ที่ใช้หวีผม (อยากรู้วิธีการทำหวีปาดกาวแบบละเอียด คลิ๊กเลย!)

การใช้หวีปาดกาวในการทากาวยางสำคัญมาก เพราะเวลาปาดกาวยางจะใช้ด้านที่เซาะร่องปาด กาวก็จะไหลออกมาตามซี่ฟัน ทำให้มีเนื้อกาวบนหน้าชิ้นงานเพียงพอสำหรับการยึดเกาะ หากใช้เพียงลามิเนตเรียบๆในการปาดกาวยาง (ไม่ทำเป็นซี่ๆ) เวลาปาดกาวยาง กาวจะไม่เกาะบนผิวชิ้นงาน ทำให้แทบไม่มีเนื้อกาวอยู่บนชิ้นงานเลย และอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการยึดเกาะในระยะยาว เพราะฉะนั้นการทำหวีปาดกาว อาจใช้เวลา แต่รับรองว่าจะได้ผลงานที่ดีกว่าแน่นอน

2. พื้นที่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทากาวยาง

เนื่องจากขณะทากาวยาง จะมีกลิ่นค่อนข้างฉุน สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทากาวยางควรเป็นพื้นที่โล่งกว้างที่มีอากาศถ่ายเทสูง แต่หากทำงานภายในอาคารก็ควรเปิดประตู และหน้าต่างให้มากที่สุด รวมถึงเอาพัดลมช่วยเป่าเพื่อให้อากาศถ่ายเทดี รวมไปถึงเลือกใช้กาวยางกลิ่นบางเบา เพื่อให้การทำงานภายในสถานที่ปิดง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ขณะทากาวยาง ควรทาในสภาพอากาศที่แห้ง ไม่ชื้น เนื่องจากความชื้นในอากาศ นอกจากจะทำให้ตัวทำลายระเหยช้าลงแล้ว ความชื้นอาจเข้าไปในวัสดุที่เราจะปาดกาวก็เป็นได้ ซึ่งก็จะทำให้ชิ้นงานพองหรือบวมในภายหลัง หากความชื้นในอากาศสูงกว่า 90% (ขณะฝนตกหนัก) ก็ควรงดทากาวยางชั่วครู่

3. ขั้นตอนการเตรียมผิววัสดุก่อนทากาว

ไม่ว่ากาวของคุณจะดี หรือเหมาะกับวัสดุของคุณแค่ไหน หากเตรียมพื้นผิวก่อนการทากาวไม่ดี ก็สามารถลบล้างแม้กาวที่คุณภาพดีที่สุดได้ เพราะฉะนั้น การเตรียมพื้นผิวก่อนการทากาว ก็ถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญ เพื่อการยึดเกาะที่คงทน ยาวนาน

กำจัดฝุ่นละออง ด้วยการปัดกวาดหรือใช้ผ้าสะอาดเช็ดออกให้หมดจด หรือหากวัสดุไหนสามารถโดนน้ำให้ ให้ใช้น้ำล้างให้สะอาด แต่อย่าลืมตรวจสอบว่าพื้นผิววัสดุแห้งสนิทก่อนทากาว เมื่อพื้นผิวสะอาดแล้ว พยายามอย่าใช้มือสัมผัสมาก เนื่องจากน้ำมันบนฝ่ามือของเราจะไปติดบนผิววัสดุ

กำจัดคราบน้ำมันหนัก ด้วยน้ำยาขจัดคราบไขมัน

หากเป็นไปได้ ให้ขัดพื้นผิวให้หยาบขึ้น โดยใช้กระดาษทรายในการขัด ซึ่งก็จะช่วยให้กาวยึดเกาะบนพื้นผิวได้ดีขึ้น

4. เทคนิคการทากาวยาง (แถมทริคสุดปัง!)

1. หลังเตรียมผิวก่อนทากาวเรียบร้อยแล้ว ให้เทกาวยางพอประมาณลงบริเวณตรงกลางชิ้นงาน

2. ใช้หวีปาดกาว ค่อยๆลากกาวยางจากส่วนกลางของชิ้นงาน ออกมาบริเวณขอบชิ้นงาน (ปาดกาวจากตรงกลางออกมาข้างนอก) และปาดให้ขนานกับชิ้นงาน ที่สำคัญคือเวลาปาดกาว อย่าปาดทีเดียวเยอะ หากไม่พอค่อยเติม

3. เทคนิคสำคัญคือเมื่อปาดจนถึงขอบชิ้นงานแล้ว ให้ยกมือขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กาวหยดหรือหกออกนอกชิ้นงาน

4. หากรู้สึกว่าบริเวณไหนของชิ้นงาน มีปริมาณกาวมากเกินไป หรือมีหยดกาวนูน ให้ใช้หวีปาดกาว ปาดให้เรียบ เพื่อให้กาวยางทั้งชิ้นงานแห้งพร้อมกัน

 

5. ข้อผิดพลาดที่มักพบ คือมีกาวยางไม่เพียงพอบริเวณขอบชิ้นงาน เพราะฉะนั้นเมื่อทากาวยางเสร็จจนทั่วแผ่นชิ้นงานแล้ว ให้สังเกตดีๆว่า มีกาวยางบริเวณขอบมุมชิ้นงานเพียงพอหรือไม่ หรืออาจทากาวบริเวณนั้นซ้ำไปอีกรอบก็ยังได้

6. เมื่อทากาวรอบแรกแล้ว หากรู้สึกว่ามีกาวยางบนพื้นผิวไม่เพียงพอ ให้รอจนกาวที่ทารอบแรกแห้งสนิท แล้วจึงทากาวยางรอบที่สอง โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรีนเยอะ อย่างไม้MDF ก็ควรทากาวยาง 2 รอบ

ที่มา : sbadhesive.com/blog/how-to-properly-apply-adhesive/



ผู้ตั้งกระทู้ ดิว :: วันที่ลงประกาศ 2021-05-17 16:39:43


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.