ReadyPlanet.com


Know How กับ Know Who มันอาจจะคู่กัน..
avatar
lava69


 

Know How กับ Know Who มันอาจจะคู่กัน..

โดยรวมแล้วผลประโยชน์ในหลายด้านเราอาจกล่าวได้ว่ามันคือ “สิทธิ์” หนึ่งที่พึงได้มาของแต่ละคน เหมือนที่กล่าวไปว่าการประเมินสอบแข่งขันไม่มีวันที่คนที่สอบได้คะแนนที่ 1 หรืออันดับต้น ๆ จะถูกคัดออกเป็นแน่ ก็ถ้าไม่เอาที่ 1 หรืออันดับดี ๆ เข้าไป ก็แสดงว่า สิทธิ์ อันนั้นไม่ได้สำคัญอันใดเลย (ไม่น่าเสียดาย) หลายคนอ่านแล้วอาจยังสงสัย สรุปอีกทีก็คือ ถ้าสอบแล้วไม่เอาคะแนน ก็แสดงว่าสอบไปงั้น ๆ ที่จริงเอาใครไปก็ได้ เลยเลือกเอาคนรู้จักไปแทน และมันสะท้อนว่าตำแหน่ง หรือสิทธิ์ตรงนั้นคงไม่สำคัญอะไร ถ้าสำคัญก็คงอยากได้คนดี ๆ คนเก่ง ๆ ไปอยู่ตรงนั้น

แต่ปัญหาอีกแบบของการ “ได้สิทธิ์” ก็เช่น มีโค้วต้า 10 คน แต่กลายเป็นว่าได้เพราะสอบ 7 และอีก 3 มาจาก “คนอื่น” แบบนี้คนที่ 8-9-10 ตัวจริงย่อมรู้สึกไม่ยุติธรรม

แต่เชื่อไหมว่า 3 คนนั้นมีแนวโน้มจะอยู่ไม่นาน เพราะไม่ถนัด, ไม่ได้ต้องการจริง, บ้างก็ไม่ได้เห็นคุณค่าตรงนั้น หรือ อยู่ไม่มีความสุข ไม่ใช่เพราะคนรังเกียจแต่ไม่เก่งย่อมไม่ก้าวหน้า และก็ไม่ได้มีคุณค่าอะไร นอกจาก.. เขาจะมี Know How ที่ดีขึ้นมา ณ ตรงนั้น

จะ Know How หรือ Know Who ดูเป็นเพียงจุดเริ่มต้น

ในขณะที่คนเก่งแบบอันดับ 1-2 หากไปอยู่ ณ จุดใด แต่ถ้าไม่เอาใครเลย ไม่รู้จักใครเขาเลยแบบนี้ก็ลำบาก เพราะส่วนใหญ่การร่วมงานมันก็สำคัญ เข้ามาเป็นที่หนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่หนึ่งเดียว มันต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น ส่วนอื่นอยู่ดี ทั้งสองมุมที่กล่าวมานี้บางที จะ Know How หรือ Know Who ดูเป็นเพียงจุดเริ่มต้น จะอยู่ดี อยู่ได้ ก้าวหน้าหรือไม่มันก็ต้องไปได้ดีด้วยกันทั้งคู่ ทั้งรู้คนและรู้ความ (ความรู้)

มองลึกไปอีก Know How อาจสำคัญกว่า เพราะเส้นสายก็ใช้ได้แค่ระดับหนึ่งถ้าไม่มีความสามารถเลยมันไปไม่ได้ ลองคิดดูว่า เจ้าของบริษัทใหญ่หลายแห่งที่มีอำนาจเต็มจะเอาใครมาทำงานก็ได้ ทำไมไม่เลือกแค่ทายาท ลูกหลานมาบริหาร จ้างคนอื่นมาทำไม? เพราะแค่สายสัมพันธ์มันไม่พอไงล่ะ
(แต่ก็มีนะที่พยายามเอาลูกหลานเข้ามา “ลอง” จนมากไป ดูแล้วอาจกลายเป็นพังคามือ ถ้าเราอยู่ร่วมตรงนี้ดูแลแค่ตัวเองแล้วกัน อย่าลืมว่านี่มันไม่ใช่กิจการคุณ…)

อีกด้านของการรู้จัก (Khow Who)

ผมไม่ได้กำลังเขียนให้ยอมรับระบบอะไร แต่ให้ทำความเข้าใจในบางมุม การได้ประโยชน์จากการรู้จัก (Khow Who) ก็ไม่ง่าย เพราะเขาที่เรารู้จักนั้น ย่อมต้องรู้จักคนอื่นอีกหลายคน เช่น การจะเป็นเด็กฝาก ก็ใช่ว่าจะไม่มีการแข่งขัน เด็กฝากย่อมมีมากกว่า 1 คน ทีนี้ก็ขึ้นกับว่าฝากใครอีก ฝากหัวหน้ามา 5 คน ฝากรองมา 8 คน ฝากเลขามา 10 คน แล้วสุดท้ายฝากได้คนเดียว (เอาคนเดียว) มันก็ไม่ง่ายเหมือนกัน…

อีกด้านหนึ่งถ้าเราไม่มองคำว่า “รู้จักใคร” แค่ในแง่แค่คนมีเงิน มีอำนาจ จะเห็นว่าที่จริงมันสำคัญ เพราะมันคือการสร้างสิ่งแวดล้อม คล้ายประโยคที่ว่า “เราจะเป็นคนเหมือนคนที่เราสนิทสนมด้วย 5 คนรวมกัน”* ลองคิดตามดูก็คงจริงไม่น้อย ถ้าเราสนิทกับนักแข่งรถตั้ง 5 คน เราก็คงพอมีความรู้พอเป็นนักแข่งได้บ้างแหละ…
(*“You’re The Average Of The Five People You Spend The Most Time With” : Jim Rohn แปลตรงตัวกว่าก็คือ เราจะเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คนที่เราใช้เวลาด้วยมากที่สุด)แต่ก็ใช่แง่ว่าเราต้องเป็นแบบเขาเท่านั้นนะ เช่น ถ้าคุณเป็นนักวาดภาพ ที่สนิทกับนักขาย 5 คน ย่อมมีใครสักคนเอาภาพคุณไปขายให้ได้ราคาแน่นอน ในอีกด้าน คุณเป็นนักวาดภาพไส้แห้ง(ขายไม่ออก) ที่สนิทกับนักวาดภาพไส้แห้งเช่นกันอีก 5 คน คุณอาจพูดคุยกันถูกคอเรื่องรสนิยม วิจารณ์งานศิลป์ แต่มันจะยากที่ใครสักคนจะแนะนำใครให้รุ่งเรืองได้ด้วยการวาดภาพ เพราะไม่เช่นนั้นคนนั้นคงไม่ไส้แห้งเหมือนกันกับเรา..

อีกด้านหนึ่ง ถ้าเราใช้เวลาไปกับคนที่ชอบทำเรื่องใดในทางที่ไม่ค่อยดี มันก็เป็นไปได้ 2 ทางคือ เราเลิกสนิทห่างจากคนนั้น กับลองตามเขาไป เช่น คลุกคลีกับคนเล่นพนันออนไลน์ เราอาจเล่นด้วย หรือไม่ก็รู้สึกว่าห่างเขาไปดีกว่าสุดท้ายก็ไม่นับว่า “เราสนิทด้วยแล้ว” เขาก็ไม่กลายเป็น 1 ใน 5

นี่คืออีกด้านของ Know Who การรู้จักใครมันก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน ใช่เพียงแง่ความเหลื่อมล้ำ หากไม่มองแค่แง่ อคติ ความไม่ยุติธรรม มันก็ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดทุกอย่าง เพราะที่สุดแล้ว “เราเลือกได้” ว่าจะเรียนรู้ หรืออยู่อย่างไร…

เพราะส่วนตัวแล้วนิสัยผมก็สอนใจแต่ความรู้ (Know How) ไม่ค่อยชอบไปรู้จักใครเขา (Know Who) เลยอยู่แบบคนธรรมด๊า ธรรมดาเช่นนี้เรื่อยมาเหมือนกัน บาคาร่า



ผู้ตั้งกระทู้ lava69 :: วันที่ลงประกาศ 2021-06-21 14:52:23


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.