ReadyPlanet.com


ทำกล่องครอบเลื่อยวงเดือน ขอคำแนะนำเรื่องออกแบบครับ
avatar
Solar


ผมจะใช้ cyclone dust collector ต่อกับโต๊ะเลื่อยวงเดือน

เลื่อยวงเดือน 9" มาหงายท้อง ส่วนหน้าโต๊ะเป็นไม้อัด 15mm

(ผมเคยเห็นทั่วๆไป คือ ใต้โต๊ะตีฝาปิดทุกด้าน ฝุ่นไม้ก็จะอยู่ด้านใต้โต๊ะ)

แต่ที่ผมกำลังออกแบบ จะเอาไม้อัด ตัดทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ครอบตัวเลื่อยวงเดือนจากด้านใต้โต๊ะ

ต่อท่อดูดขี้เลื่อยและสายไฟ ออกจากกล่องด้านล่าง (ครอบตัวเลื่อยแบบพอดีๆนะครับ ไม่ใช่ตีฝาปิดทั้งแผ่น)

 

ตัวกล่องสามารถเปิดปิดได้ เพื่อที่จะสามารถปรับระดับ หรือปรับองศาใบเลื่อย

ที่ไม่แน่ใจคือ เวลาใช้งาน ผมปิดกล่องใช้ตลอดเวลาและให้ท่อดูดขี้เลื่อยออกมา

ตัวมอเตอร์ของเครื่อง อยู่ในกล่องทึบๆซีลแน่นๆแบบนั้น จะมีปัญหาเรื่องความร้อนหรือไม่ครับ

ลมที่เข้ากล่อง มาจากร่องใบเลื่อยที่หน้าโต๊ะเท่านั้น และลมที่ออกจากกล่องก็จะเข้าไซโคลนทั้งหมด

 

เผื่อพี่ๆมีคอมเม้นท์ ผมจะได้นำไปร่วมพิจารณาครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ Solar กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-28 06:56:08


1

ความคิดเห็นที่ 1 (1467528)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณ Solar

ผมแนะนำให้ศึกษา VDO ที่เกี่ยวกับการจัดการฝุ่นที่เกิดจากเครื่องมือช่างไม้ใน Youtube ของ Ronaldwalters47 ที่ผมแนบลิงค์มาด้านล่างครับ

คุณ Ronaldwalter47 เป็นยอดนักคิดนักดัดแปลงอีกท่านหนึ่งที่ผมติดตามผลงานอย่างต่อเนื่องครับ เขาเป็นหนึ่งในต้นแบบไซโคลนทำเองที่แพร่หลายในเว็ปช่างไม้ครับ

โต๊ะเลื่อยวงเดือน:  http://www.youtube.com/watch?v=XudIfD3z9pM&feature=mfu_in_order&list=UL

โต๊ะขัดกระดาษทราย: http://www.youtube.com/watch?v=3UNQ9kBE_Bw&feature=related

เลื่อยฉลุ: http://www.youtube.com/watch?v=weRyswSKJ84&feature=mfu_in_order&list=UL

ตามความเข้าใจของผม หลักคิดในการจัดการฝุ่นของเขาก็คือการควบคุมการไหลของลมที่ดูดเข้าเครื่องดูดฝุ่นและการจัดการรูรั่วครับ ทุกแบบที่เขาทำจะเน้นการอุดช่องทางเข้าของลมใต้ผิวทำงานให้เหลือทางลมเข้าเพียงสองทางคือ 1)  จากช่องระบายความร้อน และ 2) จากช่องระบายฝุ่นไม้บนผิวที่มีการตัด นอกจากนี้ก็พยามใช้ประโยชน์จากแรงดึงดูดของโลกโดยการต่อท่อดูดที่จุดต่ำที่สุด รวมถึงลดแง่มุมต่างๆที่ฝุ่นจะไปกองสะสมกัน

การระบายความร้อนแบบที่คุณ Solar ตั้งใจจะทำน่าจะเสี่ยงกับเรื่องความร้อนขึ้นสูงนะครับ ช่องใบเลื่อยที่ผิวโต๊ะอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอเนื่องจาก ปริมาณลมที่ผ่านช่องนี้น้อยมากและที่สำคัญลมและฝุ่นไม้ที่ผ่านช่องนี้ไม่ใช่ลมเย็นแต่จะมีความร้อนสูงเพราะผ่านจุดที่ใบเลื่อยเสียดสีกับไม้ ถ้าสังเกตแท่นเลื่อยหรือเครื่องจักรที่มีมอเตอร์อยู่ด้านในจะเห็นผู้ผลิตทำช่องเหมือนบานเกล็ดเล็กๆไว้ให้ลมเย็นเข้าเสมอครับ ช่องนี้ถ้าใหญ่มากไปก็จะทำให้แรงดูดที่ผิวโต๊ะลดลง

ผมแนะนำว่าให้ทดลองใช้เลื่อยในที่เปิดแล้วใช้มือสัมผัสตัวเลื่อยเพื่อทดสอบอุณหภูมิปกติ จากนั้นติดตั้งเลื่อยในกล่องที่ทำแล้วใช้กระดาษแข็งหรือเศษไม้อัดทำผนังชั่วคราวก่อน แล้วเริ่มเจาะช่องให้ลมเย็นเข้าให้มีพื้นที่ใกล้เคียงกับหน้าตัดของท่อดูด จากนั้นค่อยๆลดขนาดช่องระบายลง พร้อมสังเกตอุณหภูมิและความสามารถในการดูดฝุ่นไม้ เมื่อช่องระบายเล็กลงการดูดควรจะดีขึ้นในขณะที่อุณหภูมิตัวเลื่อยสูงขึ้น เราก็เลือกขนาดของช่องระบายที่ใหญ่ที่สุดที่จะให้แรงดูดที่ต้องการ ลองเช็คอุณหภูมิดูอีกครั้ง ถ้าไม่ต่างจากใช้งานในที่เปิดมากนัก ก็น่าจะใช้ได้ ถ้าร้อนกว่ามากก็เป็นสัญญาณบอกเหตุว่าการระบายอากาศด้วยลมดูดอย่างเดียวไม่พอครับ อาจต้องมีพัดลมช่วยหรือเสี่ยงกับอายุใช้งานที่สั้นลงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-28 08:03:07


ความคิดเห็นที่ 2 (1467676)
avatar
Solar

ขอบคุณมากครับ พี่เขมทัต ทั้งคลิปและคำแนะนำ

เดี๋ยวจะได้ทดลอง และนำผลลัพธ์มาแบ่งปันกันในนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น Solar ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-28 19:50:17


ความคิดเห็นที่ 3 (1468307)
avatar
hama

เลื่อยวงเดือนปกติจะดูดลมเข้าทางตูด ลองเจาะรูที่แผ่นที่จะปิดแล้วใช้ท่ออ่อนขนาดพอดีกับตูดสวมต่อออกมารับลมจากข้างนอก

แต่ไม่แน่ใจเรื่องแรงดูดนะคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น hama (hama-bmm-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-31 21:11:41


ความคิดเห็นที่ 4 (1468511)
avatar
Solar

ขอบคุณครับ คุณ hama จะลองไปประยุกต์ดูครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Solar ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-01 19:38:08


ความคิดเห็นที่ 5 (1468512)
avatar
พงษ์(บ้านงานไม้)

 ..เลื่อยวงเดือน มากีต้า 7 นิ้ว (หงายท้องติดโต๊ะ) ที่ผมใข้อยู่ ดูดลมจากครอบใบเลื่อยออกไปทาท้ายเครื่อง ( ตูด)

..ส่วนโต๊ะเลื่อย JET 10 นิ้ว ที่ใช้อยู่ ดูดลม จากท้ายเครื่อง ( ตูด) มาออกที่ใบเลื่อย ครับ

..ดูดี ๆ นะครับ..

ผู้แสดงความคิดเห็น พงษ์(บ้านงานไม้) (bangranmai_k-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-01 19:46:24



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.