ReadyPlanet.com


ถ้าเรื่อง Hi gloss - ทำ Hi gloss ด้วยสีไม่ใช่ Hi gloss
avatar
เอ


ตามหัวข้อกระทู้นะครับ อยากรบกวนถามท่านผู้รู้หน่อยครับ

1 ถ้าผมทำสีชิ้นงานไม้ด้วยสีขาว แล้วพ่นทับด้วยเลคเกอร์หรือยูรีเทนจนเงามากๆ 95 % ขึ้นไป แบบนี้จะเรียกว่า Hi gloss ใหมครับ

2 สี Hi gloss ที่เนื้อสีใสเงาจนไม่ไม่ต้องพ่อทับด้วย เลคเกอร์หรือยูรีเทน เรียกว่าสี Hi gloss

ดังนั้น 1 และ 2 จะเรียกว่างาน Hi gloss ได้เหมือนกันใช่ใหมครับ และจะสวยเหมือนกันไกล้เคียงกันหรือเปล่า (ถ้าไม่คิดเรื่องความแข็งแรงทนและอื่นๆ เอาแค่ เงา มันวาว)

..... แค่อยากจะรู้ว่า จุดประสงค์การพัฒนาของสีที่ใช้กันนี่จริงๆ แล้วเพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนยุ่งใช่มั้ยครับ

..... ข้อสุดท้าย สีน้ำมัน ที่เห็นขายตามห้างที่เขียนว่า Super Hi gloss มันใช้ได้พ่นแล้วสวย มันวาว เหมือน ไฮกรอสมั้ย? เพราะเห็นการทำ Hi gloss สำหรับช่างสีเฟอร์นิเจอร์ เหมือนจะยุ่งยากซับซ้อน ซ่อนเงื่อนกันเหลือเกิน หรือมันเป็นแค่เรื่อง การสร้างภาพของเรื่องการตลาด มาร์เก็ตติ้ง ในการทำให้มันดูมีราคาอลังการ ..... ผมหมายถึงงาน Hi gloss ทั่วๆ ที่ไม่ใช่ระดับ Hi end ที่เอาบุหรี่จี้แล้วไม่เป็นไร ที่เห็นบิ๊วอินครัวมาติดตั้งบ้านผม ผมว่ามันก็ไม่ได้เงาสวยมากเท่าแผ่น hi gloss สำเร็จที่ผลิดจากโรงงานด้วยซ้ำ ผมคิดว่าถ้าแค่นี้ผมซื้อสี Super Hi gloss มาพ่นเองนน่าจะสวยกว่าด้วยซ้ำ (เคยลองพ่นโต๊ะเก้าอี้เล่นๆ)

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ เอ :: วันที่ลงประกาศ 2014-10-28 10:11:18


1

ความคิดเห็นที่ 1 (3010576)
avatar
คุณเอ

ขอโทษนะครับ พิมพ์ผิดเยอะเลยว่าจะแก้เหมือนกันแต่มันไม่มีให้แก้คำผิดเหมือนพันทิพ

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเอ วันที่ตอบ 2014-10-28 14:34:15


ความคิดเห็นที่ 2 (3010602)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

ผมให้เปรียบเทียบไว้ข้อนึงซึ่งมีอีกหลายข้อที่แตกต่างกัน
คือ ที่เราเรียกว่าสีเปียก นั่นคือความรู้สึกที่เรามองสีนํ้ามัน
จะรู้สึกว่าสีมันเงาจริง แต่เหมือนเงาที่เราเอานํ้าไปราด

แต่ระบบไฮกรอสที่ช่างเฟอร์ใช้ ผลออกมาจะคล้ายสีของรถยนต์
ลองสังเกตุง่ายๆ รถยนต์ที่เปียกนํ้า กับรถยนต์ที่ไม่เปียกนํ้าครับ

อีกข้อ พื้นผิวสัมผัสต่างกันมากครับ หมายถึงความเนียนเมื่อมือเราได้สัมผัส
จะรับรู้ได้ทันทีในอณูของเม็ดสีที่รวมตัวกันอยู่ใต้ผิวหนังมือเรา

แถมอีกข้อ....ในการพ่นหัวกาพ่นถ้าเป็นไฮกรอสต้องละเอียดถึง1.0
แต่ถ้าสีนํ้ามันจะทําให้หัวตันได้ จึงต้องใช้หัวกาพ่นที่ใหญ่ขึ้น
ซึ่งแน่นอนนั่นคือความแตกต่างของพื้นผิวสัมผัสครับ

พอแค่นี้นะครับสําหรับผม  รอท่านอื่นมาตอบต่อไป เพื่อเป็นวิทยาทานครับ

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น...ไม่ว่าจะไฮกรอส หรือไม่ไฮกรอส หรือสีนํ้ามันไฮกรอส
ผมว่าไม่จําเป็น ขึ้นอยู่กับความพอใจของเราครับ ว่าเราพอใจในชิ้นงานของเราในระดับไหน
ถ้าเราพอใจในสีนํ้ามันไฮกรอส ดูแล้วสวยงาม เราฃื่นชม.....ผมก็ว่าแค่นี้เราก็สุขใจในผลงานเราแล้วครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-10-29 06:22:51


ความคิดเห็นที่ 3 (3010607)
avatar
คุณเอ

 ขอบคุณอาจารย์เอ์ มากครับ

 ตามความเข้าใจผมคำว่า Gloss มันแปลว่าเงา งามในภาษาไทย

- แต่เดิมมา การทำให้สีเงางาม ต้องพ่่นแลคเกอร์เงาหรือผสมสีกับแลคเกอร์เงาเพื่อให้มันเงา (หรือ Hi หรือ super gloss)  โดยตัวเนือสีเองมันไม่ได้เงา แต่ใช้แลคเกอร์หรืออย่างอื่นพ่นทับหรือผสมให้เงา

- ต่อมามีการคิดค้นพัฒนาให้ตัวเนื้อสีเมื่อทาแล้วมีความเงาในตัวเองเลยโดยไม่ต้องพ่นทับ 

 

ส่วนมองแล้วได้อารม เนียน ไม่เปียก นุ่ม หรืออื่นๆ ก็แล้วแต่ ซึ่งผมเข้าใจว่าถ้าเงาแบบแล็คเกอร์เงาทับก็เป็นเปียกๆ แบบอารมณ์หนึ่ง

ส่วนถ้าพ่นด้วยสีไฮกลอสจริงๆ ก็จะได้อารมณ์ เงาๆ แบบเนียนๆ ไม่เปียก อีกอารมหนึ่ง 

 

ซึ่งทั้งสองอย่างข้างบนก็แล้วแต่ชอบ แต่เผอิญไอ้เจ้าสีไอกลอสมันถูกผลิตแล้วส่งออกแล้วดันมาฮิต ช่วงหลังๆ นี่เอง

ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ ฃ

 

ยังงัยก็ขอบคุณอาจารย์เอ์อีกที

ปล  อาจารย์เอ๋ครับ  ผมดูกระทู้เก่าๆ ที่อาจารย์เอ๋เปิดสอนไม่จำกัดชั่่วโมง สอนจนเป็น กลายเป็นศิษย์เอก ....ไม่ทราบยังเปิดอยู่ใหมครับ สนใจมากๆ *_*

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเอ วันที่ตอบ 2014-10-29 11:13:45


ความคิดเห็นที่ 4 (3010644)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

จริงแล้วไฮกรอสเข้ามาเมืองไทยนานแล้วครับ
ถ้าระยะหลังจะเงียบๆด้วยซํ้าครับ
ช่วง2ปีนี้ที่มาแรงคือสีพ่นกระจกครับ เหมือนการเลียนแบบไฮกรอส
แต่สวยกว่าตรงที่เงา งาม ใส กว่ามีมิติกว่าครับ

หลักสูตรศิษย์เอก ไม่ได้หมายถึงให้กลายเป็นศิษย์เอก
แต่หมายถึงการถ่ายทอดวิชาที่ผมรู้ทั้งหมดให้ศิษย์
แต่จะเก่งไม่เก่งก็ขึ้นอยู่กับทักษะของแต่ละคนด้วย

ปีหน้าเปิดรุ่น2ครับ   ลงฃื่อ7มกรา  ปีนึงเปิดครั้งเดียวครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-10-29 21:11:59



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.