ReadyPlanet.com


โต๊ะเลื่อยวงเดือน (แบบตุ๊ๆ)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน


          หลังจากวางโครงการมาเป็นเวลานานพอสมควร  เรื่องที่จะทำโต๊ะผ่าไม้ (วงเดือน) เอาไว้ใช้งานที่วัด ช่วงนี้พอมีเวลาบ้างประมาณวันละ ๑ ชั่วโมง ก็เลยตกลงใจลงมือทำมาได้หลายวันแล้ว (เริ่มเมื่อวันที่ ๒๔ พ.ค.๕๕) จากวันนั้นถึงวันนี้ผลที่ได้เป็นรูปธรรมคือได้ตัวโครงของโต๊ะที่ประกอบด้วย ขาและคานเท่านั้นเอง  ทีแรกคิดว่ารอให้ทำเสร็จแล้วค่อยนำมาให้ชมกัน แต่คิดไปคิดมาแล้วนำมาให้ชมพร้อมๆ กับที่ทำไปด้วยก็น่าจะดีกว่า เพราะหากติดขัดหรือมีปัญหาตรงไหนจะได้ขอคำปรึกษาไปด้วยในตัว  กว่าจะเสร็จอาจจะต้องใช้เวลามากพอสมควร   เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้เวลายามว่างจากงานอื่นแล้วค่อยมาทำ  ดูแล้วก็น่าน้อยใจ  ทั้งที่เป็นงานที่ชอบกว่างานอื่น ๆ เสียอีก แต่กลับให้เวลาน้อยกว่างานอื่นๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง หวังว่าคงไม่รอจนเบื่อกันก่อนนะครับ  ยินดีที่ได้แบ่งปันกันครับ
พระมหาวิชาญ  สุขวฑฺฒโน


ปล.แบบตุ๊ๆ แปลว่า"แบบพระๆ" เป็นภาษาเหนือครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2012-06-06 21:36:38


« 1 2 3 »

ความคิดเห็นที่ 101 (1502302)
avatar
ไพบูลย์

 สวัสดีครับ หลวงพี่วิชาญ

saw line อ่านว่า ซอไลน์ ครับ แปลว่า แนวเส้นสำหรับเลื่อยตัดไม้ครับ 

ส่วนไม้รั้ว หลวงพี่ทราบอยู่แล้ว ภาษาอังกฤษ fence ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไพบูลย์ วันที่ตอบ 2012-06-24 08:47:52


ความคิดเห็นที่ 102 (1502433)
avatar
เซี่ยง ช่างไม้หน้าโหด

หลวงพี่ เรียกว่า รั้ว หรือ Fence ครับ

จาก ความเห็น ที่ 78 - 79

ไม่ ทราบ ... ผม จะ มา ห้าม ไว้ ทัน หรือ ไม่ ... ! 

เหมือนพี่สุทินละครับว่า

ร่องที่ท่านจะเซาะทั้งสองข้างของตัวเลื่อยเห็นท่านเขียนแบบไว้ร่องกว้างถึง 4 cm.

ผมว่ามันกว้างไปครับ ปกติร่องนี้จะกว้าง 3/4" ลึก 3/8"  เป็นร่องมาตรฐาน

เพื่อให้ใช้ได้กับ Slider slots  ได้ครับ

เพราะต่อไปอาจทำ jig พวก Crosscut sled ได้อย่างสะดวกนะครับ

ผมลงรูปไม่ได้ ถ้าสงสัยผมจะส่ง Mail ให้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เซี่ยง ช่างไม้หน้าโหด วันที่ตอบ 2012-06-24 20:33:29


ความคิดเห็นที่ 103 (1503011)
avatar
peter o-ver

นมัสการพระคุณเจ้า

                    กราบขออภัยที่มาช้าขอรับ(ดีกว่าไม่มา) คำตอบของคุณไพบูลย์ถูกต้องแล้วขอรับ

ตามรูปที่กระผมโพสท์ในกระทู้นี้ เป็นแนวที่ใบเลื่อยของวงเดือนจะโผล่พ้นหน้าโต๊ะขอรับ

พระคุณเจ้าต้องระวังหน้าแปลนของเครื่องเลื่อยวงเดือนบางเครื่องจะไม่ขนานกับใบเลื่อยด้วยนะขอรับ

กระผมเคยเจอปัญหานี้เมื่อ 30 ปีก่อนนู้น กระผมสร้างโต๊ะวงเดือนขึ้นมาตัวหนึ่ง ตัดชิ้นงานฝืดมาก

หนักและไหม้ด้วย ก็คิดว่ากระผมคงวางแนวเครื่องวงเดือนไม่ได้ฉากกับโต๊ะ จึงลองวางใหม่

ผลก็ยังคงเหมือนเดิมผมใช้หน้าแปลนของเครื่องเป็นตัวตั้งให้ได้ฉากกับโต๊ะ ขอรับ

ซึ่งนั่นคือข้อผิดพลาดขอรับ ภายหลังกระผมจึงติดตั้งใหม่ด้วยการใช้เร้าท์เตอร์เดินร่องใบ

ให้ได้ฉากกับโต๊ะก่อน พอวางใบเครื่องวงเดือนลงถึงได้รู้ว่า

"ตัวหน้าแปลนของเครื่องวงเดือนไม่ขนานกับใบเลื่อย"

ไม่ทราบว่าจะเป็นการสอนสมภารอ่านหนังสือหรือไม่ ผิดถูกประการใดกราบขออภัยพระคุณเจ้ามาณ.ที่ด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น peter o-ver ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-26 10:08:34


ความคิดเห็นที่ 104 (1503063)
avatar
yunlefty

นมัสการครับพระอาจารย์วิชาญ

ผมติดตามผลงานของท่านมาโดยตลอดครับ งานโต๊ะเลื่อยนี้เมื่อเสร็จสิ้นลงน่าจะเป็นโต๊ะเลื่อยที่ทรงคุณค่ามากอีกชิ้นหนึ่ง และถ้าไม่ดูเป็นการสอนหนังสือพระสังฆราช (งานไม้กับผมยังต้องศึกษากันอีกมากครับ) เห็นว่าท่านยังไม่ตัดสินใจเรื่องรางสไลด์ หากท่านยังพอมีไม้เหลือ อาจทำ sled ใช้ไปพลางๆก่อนก็ได้ครับ 

ขออนุญาติทำลิงค์เผื่อคนอื่นได้ศึกษานะครับ

http://theapprenticeandthejourneyman.com/2010/08/14/13-lets-build-a-dedicated-dado-sled-for-the-table-saw/

( ถ้าเป็นไม้สักน่าละก็ )

ผู้แสดงความคิดเห็น yunlefty (yunlefty-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-26 11:41:47


ความคิดเห็นที่ 105 (1504009)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

โยมไพบูลย์,โยมเซี่ยง ขอบคุณมากนะครับสำหรับ "รั้ว" ที่เป็นภาษาอังกฤษ  ที่อยากจะทราบเพราะจะได้เก็บเป็นข้อมูลเพื่อค้นหาแบบหรือแนวคิดอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อไปครับ

ขอบคุณโยมปีเตอร์มากๆ เลยนะครับ ที่แนะนำเรื่องหน้าแปลนของเครื่องเลื่อยวงเดือนให้เป็นประโชน์มากเลยครับ  ปัญหาที่โยมเจอเมื่อ ๓๐ ปีก่อนเป็นปีที่อาตมาเกิดพอดีครับ  เป็นความโชคดีของอาตมาครับที่ได้รับคำแนะนำดีๆ จากผู้อาวุโสหลายๆ ท่าน  อาตมายินดีรับฟังคำแนะนำของทุกๆ ท่านด้วยความเต็มใจครับ  เพราะคิดว่านั่นคือความรู้ ที่ผู้ให้ตั้งใจให้ด้วยความยินดี ทุกคำแนะนำสามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมดครับ  เพียงแต่ว่าเราจะนำไปใช้ให้ถูกที่ถูกงาน  บางอย่างไม่เหมาะกับงานนี้ แต่ดียิ่งสำหรับงานอื่น  จึงใช้ได้ทั้งหมดครับ  เพราะฉะนั้นประโยคที่ว่า "ไม่ทราบว่าจะเป็นการสอนสมภารอ่านหนังสือหรือไม่" และรวมประโยคของโยม yunlefty ที่ว่า "และถ้าไม่ดูเป็นการสอนหนังสือพระสังฆราช" นั้นมิได้เป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอนสบายใจได้ครับ 

สาูธุครับโยม yunlefty ที่นำลิ้งค์มาให้  โต๊ะตัวนี้อาตมาตกลงใจแล้วว่าจะใช้วิธีการ Sled ตามแบบตัวอย่างในลิ้งค์ที่แนะนำ ที่จริงวิธีนี้เป็นแบบสำรองที่คิดไว้ พร้อมๆ กับแบบแรก และในที่สุดก็ตกลงเลือกใช้แบบสำรองนี้  เพราะเป็นวิธีที่เหมาะและสะดวกที่สุดครับ ขอบคุณนะครับที่ติดตามผลงาน  อาตมาก็เช่นกันครับ

ส่วนเรื่องของการติดตั้งเครื่องเลื่อยวงเดือนอยู่ในตำแหน่งไหนนั้นอาตมาได้ข้อสรุปแล้วว่าเลือกติดตั้งตรงกลางโต๊ะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-28 20:31:11


ความคิดเห็นที่ 106 (1504175)
avatar
SANYA

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

งามแต้ๆ ครับ ตุ๊ เข้ามาแอ๋ว ผ่อหลายเตื่อล่ะครับ ตุ๊เก่งขนาด สักวันคงได๋ไปแอ๋วผ่อโต๊ะ ครัับ ผมอยู่ แพร่ครับ ไปๆมาๆ เชียงใหม่-แพร่  แพร่-เชียงใหม่ นะครับ

 อยากลองทำดูสักเตื่อครับ ถ้าไม้บ่ หมดป่าก่อนนะครับ ต๋อนนี้ใจและ กายผมยังบ่ นิ่งครับ

ก๋ายไปสักวันผมคงได้ไปกราบขอพรเน๋อครับ

     ผมรอผ่อโต๊ะอยู่นะครับ

                     สาตุ๊ ....สาตุ๊....สาตุ๊

ผู้แสดงความคิดเห็น SANYA วันที่ตอบ 2012-06-28 23:09:03


ความคิดเห็นที่ 107 (1504305)
avatar
Solar
image

เสนอครับ
เมื่อเราตั้ง saw line (เส้นแดงในรูปแนบ) แล้ว

อยากให้ตั้งระยะ miter guage (เส้นสีน้ำเงินในรูปแนบ) ไม่ไกลกว่าเส้นสีแดงมากๆครับ

เพราะ...ถ้าตั้งไว้ห่างกันมาก พอตอนใช้ miter guage เวลาส่งไม้เข้าตัด ตัวไม้ชิ้นงาน จะไม่มีอะไรมารองรับด้านหลัง ดังลูกศรสีเขียว

ไม้บางอาจจะดีดตัวออกนิดๆ แล้วมุมจะเพี้ยนครับ

หากแต่ว่าทำไปแล้ว ระยะ miter guage ไกลมากๆ ก็คงต้องใช้ไม้มาเสริมรั้ว เพื่อให้รักษามุมที่เข้าตัดให้ได้มุมใกล้เคียงที่สุดเท่าที่ทำได้

ส่วน รางอีกข้าง (เส้นสีส้มในรูปแนบ) เราเอาไว้ใส่รางเลื่อน เพื่อทำ table sled ซึ่งแน่นอนว่า ต้องขนานเป๊ะๆ กับเส้นสี้น้ำเงินและสีแดง

ส่วนระยะนั้น สามารถห่างจากเส้นแดงได้มากกว่าเส้นน้ำเงินครับ

 

สังเกตเส้นสีเหลืองว่า miter guage รุ่นนี้ เขามีความกว้างเท่านี้ ซึ่งเหมาะสมกับระยะเส้นสีน้ำเงินห่างกับเส้นแดงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Solar ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-29 06:56:22


ความคิดเห็นที่ 108 (1504865)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับโยม SANYA

สาธุครับที่เข้ามาแอ๋วผ่อ.....อาตมานั่งอ่านอยู่สองสามเที่ยวเหมือนกันครับ ภาษาเมือง (ภาษาเหนือ) ปรกติอาตมาจะได้ยินเป็นสำเนียงคือเสียงพูดมากกว่าที่เขียนด้วยอักษร ก็เลยต้องอ่านหลายเที่ยวครับ  ณ ปีนี้ พ.ศ.๒๕๕๕ ถือว่าเป็นความโชคดีของอาตมาครับที่อ่านแล้วไม่ต้องจดไปถามคนอื่นว่าแปลว่าอะไรเพราะพอจะเข้าใจภาษาเมืองบ้าง  นี่หากเป็นเมื่อ ๑๔ ปีที่แล้ว (พ.ศ.๔๑) อาตมาคงต้องจดหรือไม่ก็วานคนเมืองมาช่วยแปลให้เป็นแน่ พูดกันเล่นๆ นะครับไม่มีอระไร  คือกำลังจะบอกว่าอาตมาไม่ใช่คน"เมือง" ครับ  แต่มาอยู่ "เมือง" และวัดที่อยู่ก็ไม่ใช้ว้ัดเมืองอีกต่างหาก ก็เลยไม่สันทัดภาษาเมืองครับพอฟังได้บ้างเป็นบางคำเท่านั้นเอง  หากมีโอกาสผ่านมาแวะเยี่ยมทักทายได้นะครับ  ยินดีต้อนรับครับ

สิบกว่าวันที่ผ่านมาอาตมาทำได้แค่เพียงเข้ามาทักทายเป็นครั้งคราวเท่านั้น  ความคืบหน้าของการสร้างโต๊ะฯ ตัวนี้ก็ยังคงที่เท่าเดิม  หลายๆ ท่านคงสงสัยว่าทำไม่ทำต่อสักทีได้แต่บอกว่ายังไม่ได้ทำต่อๆ อยู่อย่างนั้น  ความจริงมีอยู่ว่าเมื่อวันที่ ๑๗ ที่ผ่านมาหลวงพ่อท่านอาพาธ(ป่วย)หนักต้องเข้าพักรักษาตัวในห้อง ICU อยู่หนึ่งอาทิตย์เต็มหลังจากนั้นก็พักฟื้นต่อที่ตึกสงฆ์ รพ.มหาราชเชียงใหม่ต่อจนถึงวันนี้ (๓๐ มิ.ย.) คุณหมอจึงอนุญาตให้กลับมาพักฟื้นต่อที่วัดเพื่อเตรียมตัวผ่าตัดต่อไปในเร็วๆ นี้  ช่วงระยะเวลาดังกล่าวอาตมาพักอยู่ที่ รพ.กับท่านเกือบตลอด มีบ้างครั้งที่่ท่านให้กลับมาทำธุระแทนท่านที่วัดเป็นครั้งคราว  แม้ถึงจะพอมีเวลาบ้างแต่ใจอาตมาไม่พร้อม  อาตมาจึงขอนุญาตนำมาแจ้งไว้เพื่อทราบ  จะควรหรือมิควรประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับที่นำเรื่องส่วนตัวมาเล่า  อาตมาคิดว่าหลายท่านหากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น  ก็คงมีความรู้สึกไม่ต่างจากอาตมานัก  "ความไม่มีโรค  เป็นลาภอันประเสริฐ"  ขอให้ทุกท่านปราศจากโรคภัยทั้งกายและใจทุกท่านครับ  สาธุ  สาธุ  สาธุ

ขอบคุณโยม ตัง มากนะครับสำหรับข้อเสนอแนะ  สาธุครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-30 20:18:19


ความคิดเห็นที่ 109 (1504871)
avatar
ไพบูลย์

 หลวงพี่ตุ๋ย อาพาธหรือครับ ภาวนาให้ท่านหายอาพาธในเร็ววันด้วยครับ สาธุ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไพบูลย์ วันที่ตอบ 2012-06-30 21:15:18


ความคิดเห็นที่ 110 (1505032)
avatar
ไพบูลย์ ตันเจริญ

 เรียน ท่านมหาวิชาญ

หลวงพี่ตุ๋ย ที่ท่านเรียกว่า หลวงพ่อ เคยมาฉันเพล ที่บ้านผมหลายครั้งเมื่อนานมาแล้ว ผมรบกวนหลวงพี่วิชาญ กราบเรียนหลวงพีุ่ตุ๋ยว่า ไพบูลย์ น้องพระไพโรจน์ โยมแม่ รัตนา (เสียชีวิตแล้ว) โยมพ่อ ชัย ยังสบายดีอยู่ครับ ยังระลึกถึงหลวงพี่ตุ๋ยอยู่เสมอนะครับ ขอให้หลวงพี่ตุ๋ย หายอาพาธในเร็ว ๆ วันนี้ด้วย ถ้าหลวงพ่อมาอะไรจะฝากถึง พี่ไพโรจน์ หรือ คุณพ่อ เมลมาให้ผมก็ได้ครับ Email : homefashion.decor@gmail.com ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไพบูลย์ ตันเจริญ (homefashion-dot-decor-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-07-01 09:15:13


ความคิดเห็นที่ 111 (1506530)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพแสดงการยึดในตำแหน่งต่างๆ

วันนี้นำตัวอย่างแบบการยึดพื้นเข้ากับโครงโต๊ะมาให้ชมพลางๆ ไปก่อน  ส่วนคำอธิบายหรือรายละเดียดเพิ่มเติมหากมีจะมาขยายให้ในวันต่อไปครับ  ต้องขออนุโมทนาขอบคุณโยมเขมทัตมากครับที่ให้คำแนะนำและช่วยออกแบบให้  ขนาดของสัดส่วนต่างๆ มีรายละเอียดตามในภาพครับ 

ตามที่เห็นในแบบ (แบบเดิม) จะเป็นการยึดทั้งหมด ๘ จุด  แต่เนื่องงจากมีการเปลี่ยนแบบใหม่จึงได้เพิ่มตรงกลางอีก ๒ จุดเพื่อให้แข็งแรงขึ้นรวมเป็น ๑๐ จุด

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-05 23:02:58


ความคิดเห็นที่ 112 (1506533)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพด้านข้าง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-05 23:04:29


ความคิดเห็นที่ 113 (1506535)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพด้านบน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-05 23:06:44


ความคิดเห็นที่ 114 (1506537)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมไม้ให้มีขนาดต่างๆ ตามแบบ  และนี่ก็คือไม้ที่จัดเตรียมไว้ครับ มีทั้งหมด ๒๐ ชิ้น

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-05 23:09:51


ความคิดเห็นที่ 115 (1506540)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ทดลองวางดูเวลานำไปใช้ก็อยู่ในรูปลักษณะนี้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-05 23:11:10


ความคิดเห็นที่ 116 (1506786)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

ขอแจมนิดนึงครับหลวงพี่เรื่องตั้งเลื่อยตําแหน่งไหน
จริงๆแล้วตรงไหนก็ได้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน
ส่วนผมตั้งไว้ทางซ้าย....เหตุผลคือ

1.ในกรณีที่ใช้แผ่นไม้สไลด์เช่นการตัดไม้โครง ผมไม่ต้องการให้ไม้ที่ถูกตัด พักอยู่บนโต๊ะ
มือซ้ายจะจับไม้แยกออกไปจากตัวโต๊ะได้ง่ายและถนัดกว่า
ในทางตรงกันข้ามถ้ามีพื้นที่พักไม้อยู่บนโต๊ะมาก
โอกาสที่ไม้ที่ถูกตัดจะเบนเข้าหาใบเลื่อยก็มีเปอร์เซนต์สูง

2.ในการซอยไม้อัดแผ่นเต็ม (ซอยคนเดียว)ไม้ด้านซ้ายและมือซ้ายจะ
จับและดันเพื่อให้ชิดรั้วได้ง่ายและถนัดกว่า เพราะมันจะอิสระ
ลอยอยู่นอกโต๊ะมือไม่โดนพื้นโต๊ะด้านซ้าย

จริงแล้วมีเยอะ แต่ผมค่อนข้างจะอธิบายยากไปหน่อยไม่มีภาพประกอบครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-06 20:11:04


ความคิดเห็นที่ 117 (1508066)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

นำรูปมาให้ชมต่อครับ  รูปนี้เป็นแป้นรองเดือยหนีบขณะที่ยึดติดกับพื้นโต๊ะด้านล่าง

หลังจากที่เตรียมทุกอย่างสำหรับยึดฯ พร้อมแล้ว  ต่อไปก็จัดการประกอบทุกส่วนให้อยู่ในตำแหน่งต่ามแบบครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 23:10:57


ความคิดเห็นที่ 118 (1508068)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

แป้นรองเดือยหนีบ  และเดือยหนีบประจำที่เรียบร้อยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 23:12:38


ความคิดเห็นที่ 119 (1508069)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

อีกมุมหนึ่ง

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 23:13:36


ความคิดเห็นที่ 120 (1508070)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ต่อครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 23:14:46


ความคิดเห็นที่ 121 (1508071)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากประกอบเสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้ครับ  ทุกส่่วนถูกยึดติดด้วยกันเรียบร้อย  ต่อไปจะเป็นขั้นตอนของการใสปรับพื้นโต๊ะให้เรียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 23:17:15


ความคิดเห็นที่ 122 (1508074)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

ขอบคุณโยมเอ๋มากนะครับสำหรับความเห็น  จริงอย่างว่าแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน  เรื่ิองนี้ทีแรกก็หนักใจอยู่เหมือนกัน  แต่ในที่สุดแล้วอาตมาเลือกติดตั้งเลี่อยตรงกลางแป๊ะเป็นการถนัดที่สุดแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-11 23:31:30


ความคิดเห็นที่ 123 (1508080)
avatar
banjo

ติดตามครับ ทีแรกยังงงๆกับวิธีล็อกพื้นโต๊ะ

พอเห็นภาพแล้ว ชัดเจนแน่นหนา และเรียบง่ายดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น banjo (banjongwbumrung-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 00:03:35


ความคิดเห็นที่ 124 (1508130)
avatar
เซี่ยง ช่างไม้หน้าโหด

 นมัสการหลวงพี่

ถ้าเป็นคนนิสัยเสียอย่างผมใช้ Kreg jig เจาะยึดคงจะเรียบร้อยไปแย้ววว

แต่ใช้วิธีของพี่เขมทัต เจาะยึดแบบนี้ผมว่า Classic และดูขลังดี

ใช้เวลาทำนาน แต่ผลออกมาคุ้าค่าครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เซี่ยง ช่างไม้หน้าโหด วันที่ตอบ 2012-07-12 09:29:47


ความคิดเห็นที่ 125 (1508173)
avatar
paisal

กราบเรียนท่านมหาวิชาญ

ผมเพิ่งเคยเห็นการยึดพื้นโต๊ะแบบนี้ครับ ถ้าเห็นก่อนหน้านี้พื้นโต๊ะตัวแรกๆของผมคงจะไม่แตกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น paisal (paisalsung-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 12:26:48


ความคิดเห็นที่ 126 (1508266)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

วันนี้ผมมีโอกาสได้สนทนากับท่านวิชาญฯทางโทรศัพท์ครับ

ท่านวิชาญฯถามผมว่าการยึดฝาโต๊ะแบบที่เห็นในรูปนี้เรียกว่าอะไร ผมก็เรียนท่านไปตามตรงว่าผมไม่มีชื่อเรียกนอกจากคำอธิบายว่าเป็นวิธีการยึดฝาโต๊ะ (กระดาน) แบบหนีบโดยยอมให้ฝาขยับลอยตัวได้เมื่อเกิดการหดตัวและยืดตัวของไม้กระดาน ถ้าจะเรียกให้กระชับก็น่าจะเรียกว่า "การยึดกระดานไม้แบบลอยตัว" ครับ

ผมได้รู้จักกับการยึดกระดานแบบลอยตัว ครั้งแรกทางโทรทัศน์ในรายการช่างไม้ The New Yankee Workshop ขณะกำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ก่อนหน้านั้นไม่เคยทราบเลยว่าการยึดฝาโต๊ะเข้ากับคานขวางไม่ว่าด้วยตะปูควง เกลียวปล่อย หรือกาวนั้น มีความเสี่ยงที่ตัวเนื้อไม้ฝาโต๊ะ (หรือผนัง/ประตูตู้/ข้างกล่อง) จะแตกร้าวค่อนข้างสูง การแตกร้าวนั้นจะเกิดได้ทั้งที่รอยเพลาะและกลางแผ่นไม้

เหตุที่เกิดการแตกร้าวนั้นมาจากการยืดหดที่ไม่เท่ากันของไม้ฝาโต๊ะและไม้คาน ตามธรรมชาติไม้จะยืดและหดน้อยมากตามแนวแกนลำต้นซึ่งก็คือตามแนวยาวของคาน แต่ไม้จะยืดและหดมากกว่าในแนวรัศมีและเส้นสัมผัสวงปีซึ่งก็คือตามแนวด้านกว้างและด้านหนาของกระดานฝาโต๊ะนั่นเอง ผมจะขยายความเรื่องอัตราการยืดและหดของไม้ในแนวทั้งสามนี้ในความเห็นถัดไปนะครับ

ถ้าเรายึดกระดานฝาโต๊ะกับคานอย่างตายตัวแล้วมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพความชื้นรอบๆตัวโต๊ะ เช่นเข้าสู่หน้าแล้ง ความชื้นในไม้กระดานฝาโต๊ะและไม้คานจะลดลงเนื่องจากไม้จะจากคายความชื้นภายในให้อากาศรอบข้าง แต่การหดตัวจะไม่เท่ากันโดยที่ด้านกว้างของโต๊ะจะ (พยาม) หดตัวมากกว่าคานที่ยึดอยู่ด้านใต้ มีผลคล้ายกับว่าคานจะพยามถ่างไม้กระดานแต่ละชิ้นไว้ในที่เดิม แต่กระดานก็พยามที่จะขัดขืน

ระหว่างการต่อสู้กันก็จะเกิดแรงกดดันและความเครียดในเนื้อไม้ ถ้าเนื้อไม้กระดานและรอยต่อรับความเครียดนี้ได้เราก็จะไม่เห็นรอยแยกแตก แต่ถ้ารับไม่ไหวเราก็จะเห็นอาการไม้ร้าว แตก แยก ในเนื้อกระดานหรือรอยต่อ ผมเพิ่งได้ยินมาจากอาจารย์ชัชวาล ลางดี ว่าอาการแยกตัวของไม้ที่กล่าวถึงนี้ช่างบ้านเราเขาเรียกว่า “ไม้หาว” ครับ

ในบ้านเราความเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศระหว่างฤดูนั้นน้อยกว่าในเขตหนาวมากเราจึงอาจไม่ได้ตระหนักถึงเรื่อง “ไม้หาว” กันนัก และมักจะไปโทษว่า ไม้ไม่แห้งบ้าง ไม้ไม่ได้อบมาบ้าง และเมื่อขาดความเข้าใจในสาเหตุเราจึงไม้ได้ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการขยับตัวของไม้ตามสมควร จะว่าไปแล้วไม้ที่ผ่านกระบวนการอบมาแล้วก็ยังยืดได้อีกนะครับถ้ามาอยู่ในสภาพอากาศที่ชื้น และก็หดได้อีกถ้าความชื้นรอบข้างลดลงอีกครั้ง

เมื่อสองสามเดือนก่อนผมได้ยินเพื่อนเล่าให้ฟังว่าเพื่อนฝรั่งของเขานำเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงที่ซื้อและใช้ระหว่างอยู่ที่เมืองไทยมาหลายปีกลับไปที่บ้านเกิดที่รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนฝรั่งตกใจและผิดหวังมากที่เนื้อไม้บนเครื่องเรือนที่ใช้มานานหลายชิ้นเกิดอาการแตกร้าวหลังจากกลับไปได้เพียงสามเดือน นี่คือเรื่องจริงที่เป็นข้อควรระวังที่ผู้ที่ส่งออกเครื่องเรือนควรตระหนักและออกแบบการยึดไม้ที่คงทนต่อสภาพอากาศที่ปลายทาง

เท่าที่ผมสังเกตเครื่องเรือนในบ้านเรามาผมเคยเห็นการยึดฝาโต๊ะแบบลอยตัวนี้ที่แผนกงานไม้ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเพียงแห่งเดียวครับ ที่อื่นอาจจะทำกันนะครับเพียงแต่ผมไม่เคยเห็นครับ เชื่อว่าลูกศิษย์ของอาจารย์ชัชวาลฯก็น่าจะใช้วิธีนี้กันบ้างนะครับ

การยึดแบบลอยตัวทำได้หลายแบบครับ แบบที่ท่านวิชาญฯเลือกทำเป็นการใช้การหนีบด้วยเดือยตามรูปใน ความเห็นที่ 111 ถึง 121ครับ เราจะยึดเดือยหนีบกับฝาโต๊ะอย่างตายตัวแต่จะสอดเดือยหนีบเข้าไปในตัวพนัง (คานรองฝาโต๊ะ) และหนีบพนังผ่านช่องสี่เหลี่ยมที่บากไว้
เมื่อความชื้นในตัวไม้เปลี่ยนและไม้พยามที่จะขยายหรือหดตัวก็จะเกิดแรงดัน/ดึงขึ้นโดยมีแรงหนีบจากเดือยเป็นตัวต้าน แรงที่ต่อสู้กันจะเพิ่มขึ้นถึงจุดที่แรงหนีบจากเดือยสู้ไม่ไหว ที่จุดนั้นไม้จะขยับตัว ท่านที่เคยอยู่บ้านไม้คงจะเคยได้ยินเสียง "ไม้ลั่น” กันบ้างใช่ไหมครับ ไม้ลั่นก็เกิดจากการขยับของไม้นี่แหละครับ

วิธียึดแบบลอยตัวแบบอื่นที่ทำได้ก็มีเช่นเจาะรูยึดคานกับฝาโต๊ะด้วยเกลียวปล่อยโดยให้รูที่คานใหญ่กว่าตัวเกลียวปล่อย เมื่อไม้ยืดหดตัวเกลียวปล่อยก็จะไม่สัมผัสขอบรูจึงไม้มีแรงถ่างหรือกดไม้กระดานฝาโต๊ะ

อีกวิธีหนึ่งคือการเซาะร่องหางเหยี่ยวใต้ฝาโต๊ะแล้วสอดคานที่มีเดือยหางเหยี่ยวเข้าไปในร่อง เมื่อไม้ฝาโต๊ะจะขยายหรือหดตัวก็จะเคลื่อนที่ในร่องหางเหยี่ยวได้สะดวก

ทุกวิธีที่กล่าวมาจะไม่ใช้กาวทาตลอดแนวนะครับ ถ้าจะทาก็จะทาเฉพาะจุดเพียงส่วนน้อยเพื่อคุมส่วนใดส่วนหนึ่งให้อยู่กับที่ในขณะที่ส่วนอื่นเคลื่อนไหวครับ

ทั้งหมดที่เล่ามาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับไม้จริงเท่านั้นนะครับ ไม้อัดจะเคลื่อนตัวน้อยมากเพราะมีลายไม้ที่ขัดขวางกันอยู่แล้วครับดังนั้นก็ยึดด้วยสกรูหรือกาวได้เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 20:23:30


ความคิดเห็นที่ 127 (1508283)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ผมลองหาตัวเลขการยืดหดตามแนวรัศมี (Radial) แนวสัมผัส (Tangential) และตามแนวแกนลำต้น (Longitudinal) จากเว็ปต่างๆ และได้พบข้อเขียนที่น่าสนใจของท่าน ผศ.ทรงกลด จารุสมบัติ แห่งคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เรื่อง คุณสมบัติของไม้ทางฟิสิกส์ ในเว็ป  http://www.baannatura.com/th/mat/content/detail/111.html

ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งในหัวเรื่องการการคำนวณหาการหดตัวและพองตัว ของไม้ ว่า

การหดตัว,การพองตัว (%) = ขนาด/ปริมาตรที่เปลี่ยนแปลง   x  100
                                             ขนาด/ปริมาตรที่เริ่มต้น

 
การหดตัว และการพองตัวของไม้จะขึ้นอยู่กับทิศทางตามลักษณะโครงสร้างของเนื้อไม้ (แนวรัศมี , แนวสัมผัส และตามยาว

โดยปกติ   การหดตัวทางด้านความยาวจะมีค่าน้อยที่สุด คือ 0.1 – 0.3%
               ทางด้านรัศมี 3-6% และ
               ทางด้านสัมผัสสูงสุดคือ
6-12%

ภาพที่เห็น แสดงการหดตัวและพองตัวของไม้ในด้านต่างๆ

ประเด็นสำคัญคงไม่ใช่เรื่องตัวเลขการหด ขยาย เป็นเท่าไหร่ แต่เป็นเรื่องที่ การหดขยายตามแนวรัศมีและตามแนวสัมผัสนั้นสูงกว่าตามแนวยาว (แนวแกนลำต้น) เป็นสิบเท่าครับ หรือจะพูดอย่างง่ายๆก็ได้ว่าไม้ในแนวกว้างและหนาจะ หดและยืด มากกว่า ไม้ในแนวยาว เป็นอย่างมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 21:36:26


ความคิดเห็นที่ 128 (1508294)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

 

ผมได้คัดลอกอัตราการหดตัวของไม้ชนิดที่เราคุ้นเคยกันจากเว็ป http://www.woodbin.com/ref/wood/shrink_table.htm

มาให้พิจารณากันเล่นๆในรูปด้านล่างครับ 

ตัวเลขเหล่านี้เป็นของหน่วยงานด้านป่าไม้ของสหรัฐ (U.S. Forest Products Laboratory) ซึ่งเขาเปรียบเทียบการหดตัวระหว่างไม้สดกับไม้อบแล้ว ครับ

จากตารางการหดตัวของไม้เราจะเห็นว่าไม้สักมีอัตราการหดน้อยกว่าไม้นำเข้าที่เราคุ้นเคย จึงไม่น่าแปลกใจที่ไม้สักเป็นไม้ที่ช่างเลือกทำประตูหน้าต่างกันมาตั้งแต่โบราณ

สิ่งที่ตารางไม่ได้บอกคืออัตราการหดตัวของไม้ที่ตากไว้โดยไม่ได้อบ หรืออบแล้วเจอความชื้นใหม่ครับ ถ้าอัตราการหดตัวคือ 1% ก็หมายความว่าหน้าโต๊ะที่กว้าง 1 เมตรสามารถหดไดถึง 1 ซม. ครับ ในความเป็นจริงการคำนวณคงซับซ้อนกว่านี้มาก

แต่ที่แน่ๆที่เปียกและชื้นก็จะยืด แห้งก็จะหดครับ จะเป็นเท่าไหร่ก็ต้องสังเกตด้วยตัวเองครับ

จากประสบการณ์ของผม ที่ได้สร้าง "โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม" กับพี่เติม ฝาโต๊ะซึ่งทำจากไม้ประดู่แดงได้หดตัวจากความกว้างแรกเริ่ม 715 มม. เมื่อหน้าฝน.ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว (2554) ลงประมาณ 2 มม. เหลือ 713 มม.ระหว่างหน้าแล้งเดือนเมษายน ปีนี้ (2555) ครับ ถ้าจะคำนวณเป็นอัตราการหดตัวก็จะได้ดังนี้ครับ:

อัตราการหดตัว = 2 / 715 x 100 %=  0.28 %

ซึ่งน้อยมาก อาจเป็นเพราะอยู่ใต้ร่มในห้องที่มีหน้าต่างปิดมิดชิดจึงทำให้หดตัวน้อยก็เป็นได้ครับ

ช่วงนี้เข้าหน้าฝนอีกแล้ว ผมก็สังเกตว่าฝาโต๊ะเริ่มยืดออกอีกแล้วแต่ก็ยังห่างจุดเริ่มต้นครับ

การเตรียมการรับมือการเคลื่อนตัวของไม้นี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการยึดกระดานหน้ากว้าง ยิ่งกว้างไม้ก็ยิ่งขยับตัวมาก ผมเคยอ่านคำแนะนำของช่างฝรั่งว่าการยึดไม้กระดานความหนาปกติที่กว้างตั้งแต่ 6 นิ้วชึ้นไปควรใช้การยึดแบบลอยตัว กระดานที่แคบกว่านั้นจะมีปัญหาน้อยเพราะเนื้อไม้ยังแข็งแรงพอที่จะรับแรงเครียดจากการยืดหดได้อยู่ คำแนะนำนี้มาจากฝรั่งที่ใช้ไม้บ้านเขาในสภาพความชื้นของเขานะครับ สำหรับบ้านเราจะให้ดีก็ต้องทดลองด้วยตัวเองครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 21:52:42


ความคิดเห็นที่ 129 (1508320)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

อาตมาก็เช่นกันครับโยม banjo และโยม paisal

ขณะที่ได้รับคำแนะนำจากโยมเขมทัต  ซึ่่งตอนนั้นได้สทนาทางโทรศัพท์ อาตมาก็พอเข้าใจหลักการยึดพื้นโต๊ะแบบนี้  แต่ยังไม่แจ่มแจ้งนัก  จนกระทั่งได้รับแบบตามภาพในความเห็นที่ ๑๑๑-๑๑๓ จึงได้เข้าใจและได้ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่างๆ จนครบตามแบบ  และได้ทำาการยึดทั้งสองส่วน (พื้นและโครง) เข้าด้วยกัน แต่ด้วยความที่อาตมาก็เพิ่งรู้จักวิธียึดแบบนี้เป็นครั้งแรกจึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในบางส่วน  แต่ก็ยังพอแก้ไขได้  ข้อผิดพลาดดังกล่าว (ดูความเห็นที่ ๑๑๘ ประกอบนะครับ) จะเห็นว่าร่องสอดเดือยหนีบกับเดือยหนีบมีขนาดที่เท่ากันพอดี  นั้นก็หมายความว่าจะเป็นอุปสรรค์ต่อการยืด-หดของไม้ได้ 

การแก้ไขให้ถูกต้องคืออาตมาจะต้องทำการขยายร่องสอดเดือยให้มีขนาดใหญ่กว่าเดือยหนียทุกด้าน ๆ ละประมาณ ๒ มม.เพื่อให้การยืด-หดของไม้เป็นไปได้อย่างอิสระยิ่งขึ้น  ก็ยังสามารแก้ไขได้ทันการอยู่  และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งข้อดีของการยึดพื้นฯแบบนี้ครับ

เจริญพรครับโยมเซี่ยง

ไม่ต่างกันเลยครับ  ก่อนๆ อาตมาก็เป็นเหมือนกัน  ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเริ่มปรับปรุงนิสัยตัวเองครับ  ต้องหัดทำให้หนักๆ ไว้ก่อน  จะได้ไม่เบา.......จะได้ทำเป็นกับเขาบ้างครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 23:32:07


ความคิดเห็นที่ 130 (1508321)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับคุณโยมเขมทัต

อาตมาขออนุโมทนาขอบคุณมากๆ เลยครับที่ช่วยขยายความถึงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งความรู้และแหล่งที่มาของความรู้นั้นๆ  ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มความเข้าใจได้ยิ่งขึ้น  เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ  อนุโมทนาสาธุครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (vichan02-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-12 23:43:40


ความคิดเห็นที่ 131 (1508588)
avatar
เปี๊ยก พิดโลก

ต้องขอขอบคุณพระคุณเจ้ามากๆครับที่กรุณาตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ผมได้รับความรู้หลายแง่หลายมุม ทั้งความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป จัดว่าเป็นกระทู้ที่มีความคิดเห็นหลากหลาย  ได้ประโยชน์จริงๆ ขออนุโมทนาด้วยครับ อยากให้มีกระทู้แนวนี้จากพี่ๆอีกนะครับจะรอชม

ผู้แสดงความคิดเห็น เปี๊ยก พิดโลก (peak-dot-electone-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-07-13 19:51:10


ความคิดเห็นที่ 132 (1512167)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

มาต่อเรื่องการยึดพื้นอีกนิดนะครับ  ตามความเห็นที่ ๑๒๙ ที่ว่าจะทำการแก้ไขให้ถูกต้องนั้น  ตอนนี้ได้ทำการการแก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ  แต่วิธีการได้เปลี่ยนจากเดิมไป  คือแทนที่จะเจาะขยายร่องเดือยให้กว้างขึ้นก็ให้คงที่อย่างเดิม  แต่มาเหลาเดือยแทน  โดยเหลาเฉพาะส่วนตรงที่อยู่ในร่องเดือยออกด้านละประมาณ ๑.๕ มม. เพื่อให้เล็กกว่าร่องเดือย  งายๆ ก็คือทำให้หลวมนั่นเอง เป็นการเผื่อพื้นที่ให้ไม้ขยายตัวได้อย่างอิสระ  ดูตัวอย่างตามรูปครับ 

ขั้นตอนของการยึดพื้นติดกับโครงโต๊ะจบแล้วนะครับ  ต่อไปจะเป็นการใสปรับหน้าโต๊ะให้เรียบ  วิธีการใสปรับจะใช้วิธีเดียวกับโยมเขมทัต ที่ได้เขียนไว้ในกระทู้ "โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม" ตามความเห็นที่ ๑๗๐-๑๗๖ อาตมาจะนำบทเรียนนั้นมาฝึกใช้ครับ แต่ต้องทำ"ไม้เล็งระนาบ"เสียก่อนจึงจะเริ่มลงมือในขั้นต่อไปได้ครับ

อนุโมทนาสาธุครับโยม เปี๊ยก พิดโลก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-29 09:24:43


ความคิดเห็นที่ 133 (1512306)
avatar
paisal

รอชมไม้เล็งระนาบที่ทำด้วยไม้สักครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น paisal (paisalsung-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-29 23:36:44


ความคิดเห็นที่ 134 (1524648)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

วันนี้มาเริ่มกันต่อด้วยเรื่องของการใสปรับหน้าโต๊ะให้เสมอเรียบครับ

ในภาพเป็นการเล็งระนาบเพื่อตรวจวัดความเสมอของพื้นโต๊ะครับ  อาตมาตั้งใจว่าจะทำไม้เล็งระนาบด้วยไม้สักใช้สักคู่  แต่ก็ยังไม่ได้ทำ  เลยต้องพึ่งอลูมิเนียมไปก่อน  ที่อาตมานำมาใช้ถ้าจำไม่ิผิดเขาเรียกว่า"จมูกบันใด" ครับ

ท่านที่สนใจเรื่อง"ไม้เล็งระนาบ" สามารถไปอ่านรายละเอียดได้ที่กระทู้"โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม" ได้นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 22:17:58


ความคิดเห็นที่ 135 (1524650)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ต่อด้วยภาพของการใสปรับในแนวต่างๆ ครับ  การปรับหน้าโต๊ะอาตมาใช้กบมือทั้งหมด ค่อยๆ ใสไปทีละน้อย ระหว่างที่ใสก็หมั่นตรวจดูความเรียบบ่อยๆ ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 22:25:28


ความคิดเห็นที่ 136 (1524651)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

อาตมาใช้สามเหลี่ยมที่ช่างปูนใช้จับเซี้ยมมาใช้เพื่อตรวจวัดความเรียบครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 22:29:04


ความคิดเห็นที่ 137 (1524652)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

เสร็จแล้วก็ลองใช้ขี้กบขัดดู  ผลที่ได้คือพอใจมากครับ

เมื่อครั้งแรกที่อ่านเรื่องการใช้ขี้กบขัดไม้ในกระทู้"โต๊ะช่่างไม้ในฝันของผม"โดยโยมเขมทัต ความคิดตอนนั้นคือ  ถ้ามีโอกาสได้ทำงานไม้ครั้งต่อไปจะต้องลองใช้วิธีนี้ดู  และครั้งนี้ได้ลองสมใจคิด  อย่างที่บอกครับเป็นความรู้สึกที่สุดบรรยาย  ยิ่งขัดนานๆ ผิวไม้ก็ยิ่งเงามัน  ในภาพที่เห็นอาตมาขัดไม่นานเท่าไหร่  แค่ทดลองดู  แต่หลังจากนั้น( ตอนมืดๆ) ก็ได้ไปขัดอีกเป็นจริงเป็นจัง คราวนี้ยิ่งยอดกว่าครับ  ต่อไปกระดาษทรายคงเก็บจนลืมแน่ 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 22:32:39


ความคิดเห็นที่ 138 (1524656)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

พื้นที่ใสเสร็จแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 22:50:12


ความคิดเห็นที่ 139 (1524659)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ขออนุญาตแก้ไขภาพครับ(ภาพเดิมไม่ค่อยชัด)

กบที่ใช้้คือ

กบ"ธรรมศัดดิ์" ทั้งหมด หลักๆ เลยสามตัวที่เห็นในภาพครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 22:56:01


ความคิดเห็นที่ 140 (1524664)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กราบเรียนท่านวิชาญฯ

สวยงาม ประณีต และน่าชมจริงๆครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 23:26:40


ความคิดเห็นที่ 141 (1524667)
avatar
paisal

นมัสการพระคุณเจ้า

 

งานออกมาดูดีมากครับ อยากจะเรียนถามเกี่ยวกับการใช้กบไม้สักนิดครับ ผมสังเกตุกบ(เทพ)ธรรมศักดิ์ กบล้างกับกบผิวใบจะต่างขนาดกัน ในรูปกบผิวใบขนาด2นิ้ว กบล้างใบขนาด1 3/4  มีหลักในการเลือกอย่างไรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น paisal (paisalsung-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-11 00:13:32


ความคิดเห็นที่ 142 (1524670)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับ

ถ้าดูจากภาพที่เห็น กบ "ครู" หรือชาว thaicarpenter.com เรียกกันว่า กบ "เทพ" นั้นดูเหมือจะมีขนาดต่างกันจริงๆ ด้วย  ความจริงแล้วกบทั้งคู่มีขนาดเดียวกันครับคือ ๒ นิ้ว เ่ท่ากัน แต่ที่เห็นต่างอาจเป็นเพราะมุมของภาพถ่ายครับ กบผิวอยู่ใกล้กว่าเลยดูเหมือนใหญ่กว่า

ส่วนหลักในการเลือกใช้งานกบทั้งสองขนาด  ส่วนตัวอาตมาคิดว่าอยู่ที่ความสะดวกและความถนัดของแต่ละคนครับ  งานที่มีพื้นผิวกว้างๆ ต้องการความเรียบเสมอเท่ากัน ๒ นิ้วเหมาะครับ  ส่วนงานหน้าแคบๆ เช่นใสสันไม้ เป็นต้นก็ใช้หน้า ๑ ๓/๔ ก็พอ  แต่ถ้าจะกล่่าวโดยรวมแล้วสามารถใช้แทนกันได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-11 00:33:07


ความคิดเห็นที่ 143 (1525004)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากที่ใสเสร็จแล้วก็ตัดหัวท้ายทิ้งตามขนาด  อาตมาใช้เครื่องเลื่อยวงเืดือนตัด และใช้จมูกบันใดอลูมีิเนียมทำเป็นรั้วบังคับแนวตามภาพครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-12 12:01:05


ความคิดเห็นที่ 144 (1525014)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ตัดเสร็จแล้วใสปรับให้ตรงและได้ฉากทั้งสองด้าน  ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนของการปรับพื้นครับ หน้าตาออกมาเป็นที่น่าพอใจตามภาพครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-12 12:06:48


ความคิดเห็นที่ 145 (1525020)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

อีกมุม

ต่อไปจะเป็นเรื่องของการติดตั้งเครื่องเลื่อยวงเดือนเข้ากับโต๊ะตัวนี้ครับ

*หมายเหตุ* วัน-เดือน-ปี ที่เห็นในภาพมุขวาล่างไม่ถูกต้องนะครับ พอดีไม่ได้ตั้งค่าของกล้องไว้  ยืมกล้องเขามาถ่ายครับ อาตมาเองก็เพิ่งสังเกตเห็นเหมือนกัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-12 12:13:16


ความคิดเห็นที่ 146 (1525186)
avatar
prescott

อย่างสวย  หน้าโต๊ะเรียบเนียนมากครับ ใช้แค่กบมือทำได้ขนาดนี้ต้องมีประสบการณ์ขั้นเทพ

จอมยุทธ แม้นมีแค่กิ่งไม้ก็เป็นอาวุธได้

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-13 00:01:24


ความคิดเห็นที่ 147 (1525737)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

เดินหน้าต่อครับ

หลังจากปรับพื้นโต๊ะเสร็จแล้วก็ไปเริ่มเตรียมเลื่อยวงเดือนที่จะนำมาติดตั้งกับโต๊ะตัวนี้  โดยเริ่มจากการถอดแผ่นพี้นของเลื่อยออกก่อน  เพื่อนำไปเจาะรูึยึดน๊อตติดกับแผ่นอลูมิเนียมที่เตรียมไว้  ใช้ปากกาตัวซีหนีบติดกับแผ่นอลูมิเนียมแล้ววัดระยะทั้งสี่ด้านให้ตรงตามต้องการ  จากนั้นนำทั้งชุดไปเจาำะรู  เนื่องจากตัวเลื่อยหนักพอสมควร  อาตมาจึงเจาะรูทั้งหมด ๗ ตำแหน่ง  เพื่อยึดเลื่อยให้แข็งแรง  ปลอดภัยไว้ก่อนครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 21:57:57


ความคิดเห็นที่ 148 (1525740)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากเจาะครบทุกตำแหน่งแล้ว  ก็ถอดแยกชิ้น  แล้วนำแผ่นเลื่อยมาเจาะขยายรูที่เจาะไปแล้ว  เพื่อให้ขยับซ้าย-ขวาได้  เผื่อมีปัญหาใบเลื่อยไม่ได้ฉากกับโต๊ะครับ 

ภาพที่ ๑ และ ๒ เป็นการใช้ตะใบขัดแต่งรูที่เจาะ

ภาพที่ ๓ และ ๔ จะเห็นรูที่เจาะและแต่งแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 22:20:31


ความคิดเห็นที่ 149 (1525742)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากเตรียมแผ่นเลื่อยเสร็จ  ต่อไปก็มาเริ่มต๊าปเกลียวแผ่นอลูมิเนียม  ดอกสว่านที่ใช้มีขนาด ๔ มม.

๑.ใช้ปากกาหนีบยึดแผ่นฯ ให้มั่นคง  ๒., ๓. เริ่มต๊าป ๔.รูที่ต๊าปแล้ว

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 22:22:36


ความคิดเห็นที่ 150 (1525746)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ต๊าปแล้วนำมาทดลองยึดติดกับแผ่นเลื่อยตามรูปบนครับ  จะสังเกตุเห็นว่าน๊อตที่ใช้ยึดทั้งหมดมี ๗ ตัว เป็นน๊อตหกเหลื่อมขนาด ๕ มม. ยาววัดรวมหัว ๑๗ มม.ใช้แหวนอีแปะ (ไม่ทราบว่าจะเรียกชื่อถูกหรือเปล่า ปกติจะเรียกแค่แหวนเฉยๆ ) และแหวนสปิงรองทุกตัวครับ  ตัวที่อยู่มุมขวาบนมองไม่เห็นอาจจะเป็นเพราะมุมกล้องไม่ดี  (จะมาแก้ไขเพิ่มเติมครับ)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 22:42:39


ความคิดเห็นที่ 151 (1525750)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ทั้งแผ่นเลื่อยฯ และอลูมิเนียมเสร็จแล้ว กลับไปที่โต๊ะครับ เตรียมเจาะพี้นโตีะเพื่อติดตั้งเลื่อย

๑.ใช้จมูกบันใดทำเป็นตัวบังคับแนว

๒.ใช้เร้าเตอร์แจาะ โดยค่อยๆ ให้ดอกกินลึกครั้งละ ๒-๓ มม. กำลังดี หากมากกว่านั้นเครื่องทำงานหนัก,ความเที่ยงตรงน้อยลง,อันตราายมากขึ้น

๓.เจาะทะลุแล้วแต่อย่าเพิ่งให้ขาดจากกันทีเดียว เก็บไว้เป็นตัวรองรับเร้าเตอร์ก่อน เพราะจะต้อง เจาะบากเส้นนอกรอบเส้นทะลุอีกที

๔.นำแผ่นเลื่อยฯ มาวางทดลองตรวจดูให้แน่ใจ.

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 22:55:43


ความคิดเห็นที่ 152 (1525754)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

๑.และ ๒. เป็นการเจาะทำเป็นบ่าความลึก ๑๐ มม. เสร็จแล้วใช้เลื่อยตัดส่วนตรงกลางออก (ตรงเส้นทะแยงที่เขียนว่า"เจาะทะลุ") ออกแต่งให้เรียบร้อย และ

๓.นำแผ่นอลูมิเนียมมาวางลองดู และทำาการมาร์คตำแหน่งของแต่ละรูไว้

๔.จะเป็นเป็นเส้นกลมๆ ๖ จุด ตรงนี้จะใช้เป็นตัวยึดทั้งหมดติดกับโต๊ะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 23:09:50


ความคิดเห็นที่ 153 (1525760)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

(ดูรายละเอียดได้ในความเห็นที่ ๑๖๔ นะครับ)

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 23:29:26


ความคิดเห็นที่ 154 (1525761)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพบน เป็นการทดลองวางแผ่นฯเข้าตำแหน่ง เพื่อให้แน่ใจอีกครั้งก่อนที่จะนำตัวแผ่นฯไปประกอบกับตัวเลื่อย

และภาพล่าง  นำเครื่องเลื่อยที่ประกอบกับแผ่นแล้วมาเข้าที่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 23:32:19


ความคิดเห็นที่ 155 (1525763)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพรวม

 ความเห็นทั้งหมดที่อาตมาได้โพสในวันนี้ยังไม่สมบูรณ์ อาจมีการแก้ไขเพิ่ิมเติมได้ในภายหลัง หวังว่าคงไม่ว่ากัน  วันนี้ืถือเสียว่าเป็นการชมภาพเล่นๆ ไปก่อนนะครับ  ต้องขออภัยด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-15 23:38:50


ความคิดเห็นที่ 156 (1525890)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กราบเรียนท่านวิชาญฯ

ท่านเรียบเรียงเรื่องราวได้เรียบง่ายน่าอ่านมากครับ

โต๊ะเลื่อยวงเดือนของท่านก็งามน่าชมขึ้นเรื่อยๆ ภาพทั้งสองในความเห็นที่ 155 เป็นงานฝีมือที่มาจากความอุตสาหะและความพิถีพิถันอย่างโดยแท้ครับ

 

เรียนท่านผู้อ่านทุกท่าน

หลายท่านคงจำกันได้นะครับว่าเลื่อยวงเดือนมากิต้าที่เห็นคือเลื่อยที่ผู้ร่วมงาน "คุยจ้อคองานไม้" ถวายวัดสวนลำไยที่ท่านวิชาญฯจำพรรษานั่นเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-16 11:08:39


ความคิดเห็นที่ 157 (1525953)
avatar
ไผ่ตง

กราบมนัสการ หลวงพี่ครับ นี่ยังไม่เสร็จยังงามขนาด ถ้้าเสร็จแล้วคงงามน่าดู และเป็นโต๊ะอีกตัวที่เป็นต้นแบบที่ดีสำหรับช่างไม้มีอใหม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ไผ่ตง (konbapa-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-09-16 17:50:10


ความคิดเห็นที่ 158 (1525985)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากทดลองประกอบเลื่อยแล้วนำไปติดตั้งกับโต๊ะแล้ว  วันนี้พอมีเวลานิดหน่อยก่อนมืด  เลยจัดการเซาะร่องทำเป็นรางสไลด์ทั้งสองด้านของโต๊ะ  ตำแหน่งที่เซาะคือตรงกลางไม้ประดู่ที่ได้เพลาะไว้แต่ต้นตามรูปครับ  ก่อนเซาะเราต้องวัดระยะต่างๆ ให้ถูกต้อง วัดอย่างน้อยสองครั้งจึงค่อยลงมือ เพื่อกันความผิดพลาด  อาตมาจะยึดแนวของใบเลื่อยเป็นหลัก คือก่อนอื่นเราต้องปรับเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งกลางพอดี  ตั้งใบให้ได้ฉากแล้วขันน๊อตให้แน่น และวัดซ้ำอีกสองครั้งจนแน่ใจ พอเลื่อยอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว  ก็มาวัดหาจุดศูนย์กลางของไม้ประดู่ ง่ายๆ ก็คือแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน  แล้ววัดจากจุดศูนย์กลางออกด้านละ ๑๐ มม. เราก็ได้ร่องที่มีความกว้าง ๒๐ มม.พอดี  หลังจากนั้นก็วัดจากจุดอ้างอิงคือใบเลื่อยแล้วดึงมาหาเส้นที่มาร์คไว้ในตำแหน่งที่จะเซาะร่อง (เส้นทีใกล้ใบเลื่อย) ทำแบบนี้ทั้งหน้าและหลังใบเลื่อย ให้ระยะเท่าๆ กัน จนแน่ใจแล้วค่อยลงมือเดินเครื่องได้เลย  ส่วนอีกด้านก็ทำแบบเดียวกันนี้ แต่ต้องวัดจากระยะร่องแรกไปด้วย  ทุกระยะทีวัดต้องเป๊ะนะครับ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง ดูภาพประกอบครับ

ภาพที่ ๑.เตรียมวัดจัดตำแหน่งของเราเตอร์ให้ตรงตามที่วัดไว้ 

ภาพที่ ๒.ภาพแสดงการเซาะร่องแล้วบางส่วน

ภาพที่ ๓.คือร่องที่เซาะเสร็จสมบูรณ์ และ

ภาพที่ ๔.แสดงขนาดของร่องที่เซาะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-16 20:00:15


ความคิดเห็นที่ 159 (1525999)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพพื้นโตีะที่เสร็จแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องรออุดตำหนิต่างๆ ให้เรียบร้อยอีกที่ อย่างเพิ่งเบื่อกันซะก่อนนะครับ

วันนี้อาตมาได้เปลี่ยนใบเลื่อยใหม่ ทีเห็นเป็นใบของมากิต้าที่ติดมากับเครื่อง เป็นใบชนิดโกรก หรือเอาไว้ผ่าครับ  ส่วนภาพที่ผ่านๆ มาเป็นใบสำหรับตัดฟันเลื่อยจะถี่กว่าใบโกรกครับ

ใกล้จะเป็นความจริงแ้ล้วครับ  รายการต่อไปคือปรับแต่งที่ยึดเครื่องให้มั่นคง  รั้วตัด, รั้วโกรก, และลิ้นชักเก็บของไต้โต๊ะ ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-16 20:45:59


ความคิดเห็นที่ 160 (1526003)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

สาธุครับโยม  prescott

อนุโมทนาขอบคุณครับ โยมเขมทัต ทุกอย่างได้แรงบันดาลใจจาก "โต๊ะช่างไม้ในฝนของผม"  ครับ แต่คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสอบผ่านบทเรียนอันทรงคุณค่านั้นๆ ได้ครับ

ครับ เลี่อยมาิกิต้าตัวนี้เป็นเลื่อยที่ผู้ไปร่วมงาน"คุยจ้อคองานไม้" ครั้งที่ผ่านมาถวายไว้ครับ  อาตมาเลยตั้งใจสร้างทีอยู่ให้เขาให้สมกับศรัทธาที่มีให้ครับ ขอให้ทุกท่านร่วมอนุโมทนาด้วยนะครับ

เจริญพรครับ โยมไผ่ตง สาูธุครับ

ดูเป็นแนวทางพอได้ครับ  ดูภาพและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละท่านตามต้องการ  ส่วนเรื่องของรายละเอียดนั้นไม่ครบเท่าที่ควร  หมายถึงลักษณะของการให้ข้อมูลหรือการเล่าเรื่อง  จะสังเกตได้ในบางความเห็นแทบจะไม่ได้กล่าวถึงวิธีการทำเลย ส่วนนี้เป็นข้อด้อยของอาตมาครับ ซึ่งต้องฝึกฝนต่อไป  แต่หวังว่าด้วยรูปภาพทั้งหมดคงจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-16 21:48:04


ความคิดเห็นที่ 161 (1526492)
avatar
ชวัลรักษ์

เป็นบุญตาจริง ๆ ครับที่ได้เห็น...

ผู้แสดงความคิดเห็น ชวัลรักษ์ วันที่ตอบ 2012-09-18 09:52:37


ความคิดเห็นที่ 162 (1527086)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

  วันนี้มีภาพไต้โต๊ะมาให้ชมครับ

หลังจากติดตั้งเลื่อยเข้ากับโต๊ะแล้ว  อาตมาได้ทดลองปรับใบเลื่อยขึ้นขึ้น-ลง เพื่อหาระยะตัด ที่ใบเลื่อยขึ้นได้สูงสุด  ผลคือใบเลื่อยปรับขึ้นสูงสุดได้ ๖ ซม.โดยปกติ (ไม่ดัดแปลงใดๆ) เลื่อยรุ่นนี้ระยะตัด  ใบจะอยู่ที่ประมาณ ๙ ซม. ๖ ซม.ที่ได้ยังรู้สึกไม่ค่อยพอใจครับ  เลยต้องจัดการแก้ไขอีกนิดหน่อย  โดยบากส่วนที่ทำให้ใบเลื่อยขึ้นไม่สุดนั้นคือ  พื้นไต้โต๊ะตรงมอเตอร์ของเลื่อย  ดูภาพที่ ๓ ประกอบนะครับ  จะเห็นว่าขณะทีี่ปรับใบเลื่อยขึ้นสุดแล้ว  แต่ยังติดตรงนี้อยู่  ก็ทำการบากให้เป็นคล้ายๆ รูปของเครื่องตามภาพครับ

ภาพที่ ๑. ไต้โต๊ะ  เพื่อให้ทำงานได้สะดวกเลยจับหงายท้องซะเลย

ภาพที่ ๒. ปรับใบลงสุด (กลับกันนะครับเพราะโต๊ะหงายท้อง)

ภาพที่ ๓. ปรับใบขึ้นสุด ตรงนี้ที่ติดครับ

ภาพที่ ๔. ทำเครื่องหมายไว้เตรียมบากครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-19 20:50:46


ความคิดเห็นที่ 163 (1527098)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

พอบากเสร็จก็ประกบอเครื่องทั้งหมดเข้าที่แล้วนำมาติดตั้งตามเดิม  หลังจากนั้นก็ปรับใบให้ขึ้นสูงสุดแล้ววัดดู  ระยะตัดที่ได้คือ ๗.๐๗ ซม.หรือ ๓" ตัดไม้หน้าสามขาดพอดีครับ  พอใจที่ระยะนี้ครับ  เพราะขึ้นมากกว่านี้ไม่ไ้ด้แล้ว  ส่วนอีก ๑.๐๓ ซม.โดยประมาณ ต้องยอมเสียครับ เพราะนั่นคือที่อยู่ของเลื่อย ซึ่ีงก็มีแผ่นอลูมิเนียม+ระยะที่เอาไว้ปรับให้เสมอกับพื้นโต๊ะครับ

ภาพที่ ๑. ตำแหน่องที่บากเสร็จแล้ว

ภาพที่ ๒. ปรับใบลง

ภาพที่ ๓. ปรับใบขึ้นสูงสุด ได้ระยะตัดที่ ๗.๐๗ ซม.

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-19 21:10:42


ความคิดเห็นที่ 164 (1527103)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลายท่่านอาจจะสงสัยว่าทำไมน๊อตเยอะจัง  (ดูภาพในความเห็นที่ ๑๕๓ ประกอบด้วยนะครับ และจะืถือโอกาสขยายความในส่วนนั้นไว้ที่นี่ก็แล้วกัน เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน ) แค่หกตัวก็น่าจะเกินพอ  ครับ น๊อตที่ใช้ยึดเลื่อยติดกับโต๊ะทั้งหมดมี ๖ ตัว เป็นน๊อตหกเหลี่ยมขนาด ๘ มม. ความยาววัดรวมหัว ๓๘ มม.  โดยเจาะรูให้ทะลุแผ่นไม้  เพื่อไปยึดกับแผ่นอลูมิเนียมที่ต๊าปเกลียวไว้แล้ว   ใช้แหวนรอง  แล้วสอดจากไต้โต๊ะขึ้นไปหาแผนฯ ขันให้ปลายน๊อตเสมอกับหน้าแผ่นฯ หรือให้ต่ำกว่าสัก ๑ มม.ก็ได้ครับ

ส่วนน๊อตเล็กๆ อีกหกตัวที่เห็นอยู่ข้างๆ หน้าที่ของเขาคือเอาไว้ตั้งปรับหน้าแผ่นอลูมิเนียมกับพื้นโต๊ะให้เสมอกัน  โดยเจาะทะลุเฉพาะไม้เท่านั้น  เพื่อให้ไปชนรับแผ่นอลูมิเนียมพอดี  การบากบ่าให้พอดีกับแผ่นเลยทีเดียวนั้นก็อาจทำได้  แต่ไม่สามารถปรับแต่งได้หากมีปัญหาภายหลัง  การใช้น็อตดังกล่าวเพื่อเอาไว้ปรับระดับก็ย่อมจะดีกว่า เราสามารถปรับระดับได้ตามต้องการ  น๊อตนี้อาตมาไม่แน่ใจว่า เรียกว่าอะไร  ลักษณะคือเป็นน็อตคู่ตัวผู้หกเหลี่ยม  ตัวมีมีสี่เคี้ยวเอาไว้ยึดกับไม้ คล้ายๆ ดาวครับ

ภาพที่ ๑. ภาพจากไต้โต๊ะทุกอย่างประจำตำแหน่ง

ภาพที่ ๒. น็อตที่ใช้ยึด  ๒ ก. ทำหน้าที่ยึดตัวเลือย+อลูมิเนียมติดกับโต๊ะ  ๒ ข. น๊อตปรัประดับแผ่นอลูมิเนียมหน้าเลื่อยขึ้น-ลงให้ได้ระดับกับพื้นโต๊ะ

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-19 21:26:49


ความคิดเห็นที่ 165 (1531492)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

อาตมาเคยมีประสบการณ์การใช้งานเลื่อยวงเดือนแบบมือถือนำมาหงายท้องติดกับโต๊ะมาบ้าง  ปัญหาทีี่พบคือเวลาเราปรับใบเลื่อยเพื่อให้กินกับชิ้นงานได้หนาสุดหรือสุดความลึกของใบ  ชิ้นงานที่ได้มักจะไม่ค่อยตรงเท่าที่ควร  ถึงจะติดตั้งให้แ่น่นหนาอย่างไรก็ไม่ค่อยได้ผล  เพราะภาระในการรับน้ำหนักของเครื่องเืลื่อยอยู่ด้านเดียว  เป็นปัญหาที่อาตมาติดใจมาตลอด  คราวนี้มีโอกาสสร้างโต๊ะเลื่อยวงเดือนอีกครั้ง  ตั้งใจว่าจะพยายามแก้ไขจุดนี้ให้ดีทีุ่สุดเท่าที่จะทำได้  สองสามวันที่ผ่านมาอา่่ตมาได้สร้างชุดยึดตัวเลื่อยแบบปรับระยะขึ้นลงได้ตามใบเลื่อย (ตรงมอเตอร์) ขึ้นมา  เพื่อยึดไม่ให้ตัวเลื่อยขยับตัวได้ หรือขยับน้อยสุด ขณะเครื่องทำงาน   หลังจากสร้างเสร็จทดลองใช้งานดู  ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจมากครับ  อาตมามิได้เขียนแบบไว้ล่วงหน้า เพียงแต่กำหนดระยะต่างๆ คร่าวๆ แล้วลงมือทำไปคิดไป  ที่สุดก็ออกมาตามในภาพที่เห็นครับ  ส่วนวิธีการสร้างนั้น  คงไม่ต้องกล่าวถึงมากนะครับ  เชื่อว่าทุกท่านเห็นภาพแล้วก็นึกออกเองครับ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 21:56:14


ความคิดเห็นที่ 166 (1531497)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากนั้นก็นำเข้าประกอบ  ชุดนี้จะติดตั้งติดกับตัวเลื่อยใต้โต๊ะครับ  เวลาปรับใบเลื่อยขึ้น-ลง ก็ใช้ประแจขันเพื่อคลาย-รัดชั่วคราวไปก่อน  ต่อไปจะนำมือบิดมาใช้แทนประแจเวลาใช้งานจะสะดวกเร็วกว่า  ก็เป็นอันเสร็จจุดนี้  ชมภาพนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 22:01:04


ความคิดเห็นที่ 167 (1531508)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

พอทุกอย่างมั่นคงได้ที่  ต่อไปก็มาทำ "แคร่ัตัด" หรือ "รั้วตัด" แคร่ัตัดชุดนี้อาตมาได้ความคิดมาจากแหล่งข้อมูลนี้ครับ  www.eaglelakewoodworking.com/post/Super-Sled-Crosscut-and-Miter-Sled.aspx  ซึ่งมีทั้งรูปภาพ วิดีโอ และแบบให้เรีัยบร้อย  ทีแรกคิดว่าจะทำตามแบบนั้นเลย  แต่พอลงมือจริงๆ ก็ออกมาแบบประยุกต์ แบบง่ายๆ ที่เราทำเองได้ไม่ยากนัก  แบบและวิธีการทำดูได้จากลิงค์ครับ  ส่วนของอาตมาขออนุญาตนำภาพมาให้ชมก็พอนะครับ 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 22:24:38


ความคิดเห็นที่ 168 (1531509)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ก่อนจะถึงจุดนี้ทุกอย่างต้องแป๊ะนะครับ  หรือให้เสียน้อยที่สุด หากสุดวิสัย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 22:25:44


ความคิดเห็นที่ 169 (1531510)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพรวมๆ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 22:28:05


ความคิดเห็นที่ 170 (1531512)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

เสร็จแล้วทดลองตัดไม้ดู้ครับ  พอใจกับผลที่ได้มากครับ 

ก็เป็นอันใช้ได้แล้วนะครับสำหรับ "โต๊ะเลือยงวงเดือนแบบตุ๊ๆ"  แต่ยังไม่สมบูรณ์  ต่อไปก็มีการเพิ่มเติมเรื่องของแคร่ตัดโดยทำรั้วสำหรับตัด ๔๕ องศา และตัวปรับระยะัตัดไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการ   และสุดท้ายคือ  ลิ้นชักใต้ะโต๊ะ

เจริญพรแจ้งข่าวกับทุกท่านที่อดทนรอชมด้วยนะครับว่า  โต๊๊ะตัวนี้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วครับ  และเขาทำหน้าที่ได้ดีเป็นที่น่าพอใจมากครับ

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 22:41:57


ความคิดเห็นที่ 171 (1531523)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนท่านวิชาญฯ

ขอชมว่าท่านช่างคิดและพิถีพิถันจริงๆครับที่ทำชุดยึดตัวเลื่อยตามภาพนี้ขึ้นมา สุดยอดเลยครับ

แคร่เลื่อยที่ทำขึ้นก็ดูเรียบง่าย ประหยัดและน่าจะใช้งานได้ดีนะครับ ถ้าท่านจะกรุณาเล่าให้ฟังถึงวิธีการทำลิ้นทั้งสองให้พอดีกับรางรวมถึงการติดตั้งก็จะเป็นพระคุณยิ่งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 23:25:19


ความคิดเห็นที่ 172 (1531535)
avatar
banjo

สวยงามประณีต น่าชื่นชมครับหลวงพี่

 

ผมจำได้ว่าเห็นกระดานไสฉากของหลวงพี่แว้บๆ

จำไม่ได้ว่ากระทู้ไหน  เห็นขี้กบที่ท่านไสหัวไม้ออกมาเป็นเส้นยาว

บางเฉียบขนาดนั้น  ใบกบของท่านต้องคมมากๆ

ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ผมอยากจะ

ขอดูตัวกบที่ท่านใช้คู่กับกระดานไสฉาก

และจิ๊กลับใบกบของหลวงพี่ครับ

น่าจะไม่ธรรมดา  ขอบพระคุณท่านมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น banjo (banjongwbumrung-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 00:08:59


ความคิดเห็นที่ 173 (1531543)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

ขอบคุณครับ ด้วยความยินดีครับ

เดิมทีอาตมารู้สึกไม่มั่นใจสำหรับน๊อตที่เอาไว้ปรับระยะตามเครื่องเลื่อยขึ้น-ลง  ทีแรกคิดว่าจะใช้ ๒ ตัวคู่ เพราะเกรงว่าจะไม่ค่อยแน่น  แต่ได้ติดสินใจลองใช้ั้ตัวเดียวดูก่อน  ปรากฏว่าไม่ขยับเลยครับแน่นสนิทตัวเดียวก็อยู่  ผลออกมาดีมากครับ หดมปัญหาเรื่องการเคลื่อนตัวของตัวเลื่อยแล้วครับ

ส่่วนเรื่องของลิ้นทั้งสองขอโยงถึงรางนิดนึงนะครับ  รางมีขนาดความกว้าง ๒๐ มม. ลึก ๑๐ มม.  รางทั้งคู่สำคัญที่สุดคือต้องให้ขนานกันและขนานกับใบเลื่อยด้วย คือต้องแป๊ะที่สุดครับ  ลิ้นอาตมาใช้ไม้สักทั้งคู่  เิริ่มแรกนำไม้ไปผ่าให้ได้ขนาดความกว้างและความหน้า ๒๕ มม.x ๑๕ มม. ๑ อัน  และ  ๒๕ มม.x ๒๐ มม. ๑ อัน  ใหญ่กว่ารางด้านละ ๕ มม. หลังจากนั้นใช้กบล้าง ๒๒" ไส และสุดท้ายใช้กบผิว ๑๘" ไสปรับแต่งให้เล็กกว่ารางด้านละไม่เกินความหนาของกระดาษบางๆ ตรงนี้เป็นงานวัดใจครับ ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ ปรับกบผิวให้กินน้อยที่สุด แล้วทำาการไสจนได้ขนาดตามต้องการ 

พอรางทั้งคู่เสร็จ  ก็มาต่อที่แผ่นไม้อัดที่ใช้ทำแคร่  ตัดให้ได้ตามขาดแล้ววัดแบ่งกลางให้เรียบร้อย  เอาแผ่นไปวางทาบบนหน้าโต๊ะเพื่อหาตำแหน่งรางทั้งคู่  มารค์ให้ตรงกันทั้งคู่  เสร็จหงายแผ่นขีดเส้น  แล้วใช้เราเตอร์เซาะร่องแผ่นด้านหนึ่ง (ด้านขวามือขณะที่หันหน้าัตัดไม้) ความลึก ๕ มม.ส่่วนอีกด้านไม่ต้องเซาะครับ ขีีดเส้นไว้เฉยๆ   เซาะเสร็จนำเอารางที่ไสเตรียมไว้ตัวที่หนากว่า ( ตัว ๑๕ มม.)  มายึดติดเข้าร่องของแผ่นไม้อัดที่เซาะไว้ยึดตายเลยเครับ ไม่มีการถอด  แล้วนำลิ้นอีกอันที่ยังไม่ได้ติดกับแผ่นมาวางไว้ในรางที่ว่าง  จากนั้นก็พลิกแผ่นเข้าประจำที่ครับ  ใช้เกลียวปล่อย (จำเบอร์ไม่ได้ครับ) ยาวนิ้วครึ่ง ยิงจากด้านบนสามตัว หัว ท้าย กลาง  แล้วหงายแผ่นอีกที  ใช้เกลียวปล่อยยึดจากรางมาหาแผ่นให้แน่นตลอดแนวจนเสร้จ 

พลิกกลับเหมือนเดิมแล้วลองชักดึงดู  ครั้งแรกรู้สึกฝืดๆ นิดหน่อย  พอดึงไปดิงมาสักสองสามครั้งหงายท้องอีกทีเพื่อดูว่าติดตรงไหน  สักเกตได้จากรอยสึกที่เห็นเด่นชัด  แล้วใช้ใบกบค่อยๆ ขูดส่วนนั้นออกไป ใช้ขี้กบขัดอีกหน่อย  (เน้นว่าต้องค่อยๆ ขูดทีละน้อยๆ นะครับ  ไม่งั้นอาจต้องได้ทำใหม่) ลองสไลด์ดูอีกครั้ง  กำลังดีครับ  แต่อยากให้ลื่นกว่านี้อีกหน่อยเลยหงานท้องมาทาเทียนอีกนิด  คราวนี้ถูกใจเลยครับ  นี่ก็เป็นเรื่องของรางและลิ้นครับ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 01:09:54


ความคิดเห็นที่ 174 (1531694)
avatar
prescott

สุดยอดมากเลยครับ สวยจริงๆ  แถมเที่ยงตรงด้วย ผมก็กำลังปวดหัวกับโต๊ะเลื่อยผมอยู่เหมือนกัน ปรับยังไงก้ไม่ตรง สงสัยจะได้ทำโต๊ะใหม่

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 18:30:52


ความคิดเห็นที่ 175 (1531881)
avatar
pakae

ถ้ามีโอกาสไปแถวนั้น ผมจะแวะไปชมครับ พระคุณเจ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 10:57:13


ความคิดเห็นที่ 176 (1532006)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

 เจริญพรครับโยม banjo

 เรื่องของกระดานไสฉากที่กล่าวถึงสามารถชมได้ที่กระทู้ "กระดานไสฉาก: ประณีต รวดเร็ว ทุ่นแรง (Shooting Board)" คลิกที่นี่เลยครับ  วันนี้อาตมานำภาพกบที่ใข้่ร่วมกับกระดานไสฉาก,จิ๊กลับใบกบ และกระดาษทรายน้ำสำหรับลับใบกบมาให้ชมคร่าวๆ ก่อนนะครับ  ส่วนรายละเอียดจะมาเล่าให้ฟังในวันต่อๆ ไปครับ  เนื่องจากตั้งแต่เมื่อวานเช้า(วันที่ ๘) อินเทอร์เน็ตที่อาตมาใช้อยู่มีปัญหา ถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถใช้การได้  อาตมาจึงอาศัยใช้ของพระเพื่อนต่างวัดเพื่อมาส่งภาพให้ชมไปก่อนครับ  ต้องขอภัยด้วยนะครับที่ตอบช้า  ส่วนภาพอาตมาได้เตรียมไว้ตั้งแต่เช้าวันที่ ๘ แล้วครับ  กะว่าเสร็จจะรีบนำมาให้ชม  แต่มีปัญหาเสียก่อนครับ  หวังว่าคงไม่ว่าอะไรนะครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 20:33:16


ความคิดเห็นที่ 177 (1532008)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

 (แก้ไขข้อความเพิ่มเติมครับ)

กบไสไม้ขนาด ๑๔ นิ้ว เป็นกบชนิดไสล้าง หรือกบล้าง ของธรรมศักดิ์  เป็นกบที่อาตมาใช้ร่วมกับกระดานไสฉากครับ ก่อนจะนำกบมาไสร่วมกับกระดานเราควรตรวจเช็คความเที่ยงตรงของท้องกบ และด้านข้างกบที่ที่สัมผัสกับพื้นกระดานฯ ให้ตรงได้ฉากเสียก่อน  ถ้าทั้งสองด้านดังกล่าวไม่ได้ฉากจะมีผลต่อชิ้นงานได้ครับ

ส่วนการลับใบกบให้นั้นอาตมาใช้กระดาษทรายน้ำลับ  โดยไล่ลำดับจากเบอร์ต่ำไปหาสูง (ดูเบอร์กระดาษทรายได้ที่ความเห็น ๑๘๐)  ใบกบทุกตัวที่อาตมาใช้ จะปรับองศาของไบไปที่ ๒๕ องศา ทั้งหมดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 20:39:41


ความคิดเห็นที่ 178 (1532009)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

 ใบกบครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 20:40:51


ความคิดเห็นที่ 179 (1532010)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

 จิ๊กที่ใช้ลับใบกบ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 20:42:40


ความคิดเห็นที่ 180 (1532016)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

 ตัวอย่างกระดาษทรายน้ำที่ใช้ลับใบกบ  อาตมานำภาพมาให้ชมเป็นตัวอย่างก่อนนะครับ  จริงๆ แล้วเวลาใช้ลับต้องมีมากกว่านี้ครับ  รอให้เน็ตฯ ของตัวเองใช้ได้ก่อนจะมาเล่าทั้งหมดให้ฟังครับ

 (เพิ่มเติมข้อความ)

การใช้กระดาษทราบลับใบกบอาตมาจะใช้อยู่สองชุด  ชุดแรกคือเบอร์ ๒๔๐, ๔๐๐, ๘๐๐, ๑,๒๐๐  ตามแบบของโยมเขมทัตแนะนำไว้เมื่องานคุยจ้อคองานไม้  อาตมาได้ถ่ายรูปตัวอย่างแผ่นที่ติดกระดาษทรายเรียงลำดับตามเบอร์ไว้เหมือนกัน  แต่โชคร้ายที่ข้อมูลในเครื่องคอมฯ ทั้งหมดเสียหาย เลยได้แต่อยู่ในความทรงจำครับ  สุดเสียดายครับ 

ส่วนชุดที่สองคือเบอร์ ๘๐, ๑๕๐, ๒๒๐, ๓๒๐, ๖๐๐, ๘๐๐, ๑,๐๐๐, ๑,๒๐๐, ๑,๕๐๐, ๒,๐๐๐ ตามแบบของโยมตังครับ  ขออนุญาตโยมตังนำลิงค์เรื่องนี้มาวางนะครับ สนใจลองเข้าชมได้ครับ คลิก  เลือกใช้ได้ตามถนัดครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 20:45:44


ความคิดเห็นที่ 181 (1532026)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

 สาธุครับโยม prescott  

พูดถึงการใช้เลื่อยวงเดือนเพื่อตัดชิ้นงานให้ตรงได้ฉากแป๊ะ่จริงๆ นั้น (แบบประณีต) เป็นเรื่องไม่ง่ายหรือเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ  หากจะให้แป๊ะจริงๆ ต้องกระดานไสฉากครับ (สำหรับงานที่เหมาะสม)  จากที่อาตมาได้ลองดัตดูกับโต๊ะตัวนี้ผลคือเป็นที่น่าพอใจมาก(พอใจในระดับการทำงานของเครื่้องทุ่นแรง) หมายความว่าอาจต้องมาไสแต่งเพิ่มเติมครับ (แล้วแต่ประเภทของงานครับ) ดังตัวอย่างที่อาตมาได้สร้างชุดยึดตัวเลื่อยที่อยู่ใต้โต๊ะ่ขึ้นมาเพื่อยึดให้แน่น  ชุดนี้ไว้ใจได้ครับแน่นตามที่ตั้งใจไว้  แต่ใบของเลื่อยเองเราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้  บางครั้งใบเลื่อยมีการแล่นไม่ได้ศูนย์  ซึ่งต้องยอมครับ  (ถ้าไม่มากพอรับได้) แต่ถ้ามากถือว่าผิดปกติแน่นอนครับ  เป็นเรื่องปกติของเลื่อยประเภทนี้ครับ  ลองค่อยๆ ปรับดูนะครับ

ยินดีต้อนรับด้วยความยินดีครับโยม pakae   

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 21:11:21


ความคิดเห็นที่ 182 (1532028)
avatar
banjo

ขอบพระคุณหลวงพี่มากๆเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น banjo (banjongwbumrung-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 21:22:53


ความคิดเห็นที่ 183 (1532327)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

ด้วยควมยินดีครับ 

วันนี้เน็ตฯใช้งานได้ตามปกติ  อาตมาได้เพิ่มเติมข้อความบางส่วนในความเห็นที่ ๑๗๗ และ ๑๘๐   ตามที่ได้บอกไว้แล้วนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-10 21:04:38


ความคิดเห็นที่ 184 (1533241)
avatar
banjo

เข้ามาเก็บตกอีกครั้ง ละเอียดดีจริงๆทั้งฝีมือช่าง และการบรรยายให้เข้าใจ

ผู้แสดงความคิดเห็น banjo (banjongwbumrung-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-13 22:45:04


ความคิดเห็นที่ 185 (1538357)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

รั้วโกรก,รั้วผ่า,หรือรั้วซอย

ตามแต่จะเรียกนะครับ อาตมาขอเรียกว่า"รั้วโกรก" ก็แล้วกัน  ในภาพที่เห็นเป็นรางไม้สีเข้มตลอดแนวของขอบโต๊ะเป็นไม้มะค่าขนาดกว้าง ๑๑ ซม.หนา ๓.๖ ซม. (หลังไสปรับแล้ว) ยาวเท่ากับโต๊ะ แล้วใช้เราเตอร์เซาำะร่องลึก ๑.๕ ซม. ยาวตลอดแนวเพื่อทำเป็นรางสำหรับรองรับและล็อครั้วโกรก ยึดติดกัับพื้นโต๊ะจากด้านล่างโดยใช้เกลียวปล่อยจำนวน ๘ ตัว การยึดใช้วิธียึดแบบกึ่งลอยตัว คือสองตัวกลาง(ดูภาพตามศรชี้ประบอกนะครับ) จะยึดแบบตายตัวแบบติดแน่นขยับซ้าย-ขวาไม่ได้เพื่อใช้เป็นตัวหลัก  ส่วนอีก ๖ ตัวที่เหลือจะยึดแบบขยับหรือให้ตัวได้  ตามภาพขยายคงมองไม่ค่อยชัดนะครับ ง่ายๆ คือเจาะรูที่ไม้มะค่าให้ใหญ่กว่าตัวเกลียวปล่อยทุกด้าน ๆ ละประมาณ ๒-๓ มม. แล้วใชแหวนรองก่อนจะยึดติิดกับพื้นโต๊ะ วิธีนี้จะช่วยให้พื้นโต๊ะยืด-หดได้อย่างอิสระ โดยไม่มีอะไรมาขวางหัวไม้ซึ่งอาจทำให้เกิดการฉีกได้ เหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะพื้นโต๊ะอาตมาใช้วิธียึดแบบยืด-หดได้ตามความเปลี่ยนแปลงของอากาศ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่มาติดเสริมโดยเฉพาะหัว-ท้ายของพื้นไม้จะต้องทำให้ขยับตัวได้่เช่นกันครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-31 21:07:32


ความคิดเห็นที่ 186 (1538363)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

หลังจากทำรางตามความเห็นข้างต้นแล้ว ก็ต่อด้วยการทำตัวล็อคน๊อตที่สำหรับขันยึดรั้วโกรก  ตัวนี้อาตมาคิดว่าเปรียบได้กับ T-Nut ครับ เพราะทำหน้าที่เหมือนกัน เหตุที่ต้องใช้ตัวนี้แทนเพราะหา T-Nun ไม่ได้ครับ ตัวทีมีอยู่ก็เล็กเกินไปเลยต้องมาเป็นช่างเหล็กจำเป็นนำชิ้นส่วนตามภาพมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ต้องการครับ เล่าตามภาพนะครับ

๑.หัวน๊อตัวเมียขนาด ๙.๑ มม.๑ ตัวนำไปเจียรรอบๆ ตามมุมเหลี่ยมเพื่อเพิ่มพื้นที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กขนาดกว้าง ๑๙ มม. ยาว ๗ ซม.(๗๐มม.) หนา ๓ มม.และเจาะรูสองข้างเพื่อยึดติดกับไม้ ภาพที่ ๑ เป็นการวางทดสองก่อนทำการเชื่อมจริง

๒.เชื่อมเสร็จแล้วครับ เอาแค่ให้อยู่อย่างเดียวเรื่องสวยงามค่อยว่ากันต่อไป

๓. เป็นอีกชิ้นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่รองรับน๊อตตัวผู้ที่ัขันทะลุผ่าน T-Nut มา เล่ายากครับภาพต่อๆไปจะเป็นคำตอบให้กระจ่างเองครับ  แผ่นเหล็กที่นำมาใช้เป็นรั้วของกบไฟฟ้าครับ  เขา.....เหลือแต่รั้วนี้ไว้ให้ ส่วนตัวกบไป.....แล้วครับเลยจับมาชำแหละได้มาเป็นรูปนี้ครับ ดูภาพหมายเลข ๓ ประกอบอาตมาว่าหลายๆ ท่านคงจะนึกออกครับ หากใครมีภาพนำมาวางให้ด้วยนะครับ เพื่อเป็นเรื่องประกอบ  ก่อนทำลืมเก็บภาพไว้เลยได้เห็นเท่านี้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-31 21:48:33


ความคิดเห็นที่ 187 (1538377)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

เสร็จงานเหล็กมางานไม้ต่อครับ ตัวนี้เป็นตัววิ่งบนรางที่ติดไว้แล้ว ใช้ไม้สักสองชิ้นมาประกอบกันขนาดโดยรวมกว้าง ๑๐ ซม. หนา ๕.๓ ซม. ยาว ๔๕ ซม. เล่าตามภาำพไปก่อนนะครับ

๑-๒ นำทั้งสองชิ้นมาประกอบเข้ากันโดยใช้กาวและเกลียวปล่อยเป็นตัวยึด

๓.จะเห็นหัวเกลียวปล่อยระยะติดๆ กัน อาตมาไม่อยากมาปิดตำหนิทีละหัวเลยจัดการเซาะร่องยาวตลอดแนวตามภาพแล้วยิง เลียวปล่อยไปตามแนวร่อง และแถมด้วยตะปูไม้อีกสามอัน หลังจากนั้นก็นำไม้มาปิดร่องที่เซาะไว้เพื่อปิดซ่อนหัวเกลียวปล่อย ดูภาำพหมายเลข ๔ ประกอบครับ

๔.เรียบร้อยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-31 22:23:35


ความคิดเห็นที่ 188 (1538379)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพนี้่น่าจะเป็นคำตอบตามความเห็นที่ ๑๘๖ ได้ดีครับ อาตมาพยายามจะอธิบายเรื่องเหล็กที่ทำนำมาใช้แทน T-Nut ในความเห็นนั้น แต่ภาพนั้นเจาะจงเฉพาะเกินไปเลยทำให้ดูประมาณว่าเห็นแต่ภาพไป  ความเห็นนี้หวังว่าคงจะช่วยให้กระจ่างได้นะครับ  เป็นภาพรวมๆ ลักษณะการใช้งานครับ

พรุ่งนี้มาจะมาเล่าต่อนะครับ

 

 สาธุครับโยม banjo

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-31 22:36:52


ความคิดเห็นที่ 189 (1538386)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กราบเรียนท่านวิชาญฯ

ผมเฝ้ารอมาตลอดว่าท่านจะทำรั้วโกรกออกมาในรูปแบบไหน เพราะส่วนนี้ของเลื่อยวงเดือนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลถึงความแม่นยำและความปลอดภัยในการผ่าไม้ รั้วอย่างดีราคาเหยียบหมื่นหรือกว่าหมื่นเลยครับ

สิ่งที่ท่านได้นำมาเล่าให้ฟังในความเห็นที่ 185 ถึง 188 นั้นเยี่ยมยอดจริงๆเพราะ ทั้งรอบคอบ ทั้งเรียบง่าย และประหยัด จริงๆครับ ให้ผมคิดเองก็ไม่น่าจะออกมาดีเท่านี้

ผมอยากเห็นโต๊ะเลื่อยฯของท่านมากขึ้นทุกวันแล้วครับ ขอใช้โอกาสนี้นิมนต์ท่าน (พร้อมโต๊ะเลื่อยฯ) มาร่วมงาน คุยจ้อ...คองานไม้ ครั้งที่ 2 ล่วงหน้าไว้เลยนะครับ

ด้วยความชื่นชมผลงานของท่าน เมื่อสักครู่ผมจึงชวนคุณโอ๊ตภรรยามานั่งดูภาพโต๊ะเลื่อยวงเดือนแบบตุ๊ๆ คุณโอ๊ตยิ้มอย่างถูกใจแล้วบอกว่า สวยมาาาาาาาาาก

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 00:25:00


ความคิดเห็นที่ 190 (1538479)
avatar
pakae

ผมชอบรั้วมากเลย

ถ้าทางจะแข็งแรงมากเลย

เหมือนพี่เขมว่าไว่สำคัญมาก

เพราะของผม มันมากับโต็ะ MLT100

สะดวกเร็ว แต่ไม่แข็งแรงเอาเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 11:56:36


ความคิดเห็นที่ 191 (1538566)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

อนุโมทนาขอบคุณโยมเขมทัตมากครับ และฝากขอบคุณโยมโอ๊ตด้วยนะครับที่แวะมาเยื่ยมชม  เรื่องของ"รั้วโกรก" ที่ทำแบบนี้ถือว่าเป็นตัวแรกที่อาตมาทำครับ ก่อนลงมือจริงก็ได้หาดูตัวอย่างต่างๆ ตามยูทูปเพื่อเป็นแนวทาง  บางแหล่งเกินกำลังของอาตมาที่จะทำตามได้ บวกกับการไม่สะดวกที่จะออกไปหาอุปกรณ์ข้างนอกด้วย ก็เลยต้องหาของที่มีอยู่ในวัดมาประกอบตามกำลัง   และนำตัวอย่างหลายๆ แบบมารวมกันจนกลายเป็นแบบ"ตุ๊ตุ๊" ตามที่เห็นครับ

เนื่องจากเป็นตัวแรกก็เลยมีความคิดว่าลองทำแบบนี้ใช้งานดูก่อนหากใช้แล้วไม่ดี หรือไม่ถูกใจอย่างไรค่อยปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง  เพราะตัวรั้วแยกชิ้นกับตัวโต๊ะสามารถทำเพฉาะตัวรั้วอย่างเดียวได้  ก็เลยตกลงใจทำดูก่อนครับ หลังจากทำแล้วมีข้อที่ไม่ค่อยพอใจหลายจุดครับ เช่นการเข้าไม้ที่ไม่ค่อยดี, การใช้น๊อตยึดบางตัวที่ไม่ค่อยถูกใจเท่าที่ควร เรื่องนี้อาตมาให้คะแนนตัวเองจากเต็ม ๑๐ เพียงแค่ ๕ เท่านั้นครับ

เรื่องงานคุยจ้อ...ครั้งที่ ๒ ตัวอาตมาขอรับนิมนต์ไว้ก่อนด้วยความยินดีครับ ส่วนตัวโต๊ะฯ ขอพิจารณาดูก่อนครับว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หากเป็นไปได้คงได้ชมกันต้องดูใกล้ๆ งานอีกทีครับ

โยม pakae อนุโมทนาขอบคุณเช่นกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 20:38:27


ความคิดเห็นที่ 192 (1538567)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

มาเล่าต่อนะครับ  หลังจากทำชิ้นส่วนต่างๆ เสร็จดังความเห็นที่ ๑๘๘ แล้ว ก็ทำตัวไม้โกรก ขนาดความกว้าง ๗.๗ ซม. (เท่ากับใบเลื่อยขณะยกขึ้นสูงสุด) หนา ๓ ซม.ความยาวๆ กว่าตัวโต๊ะเล็กน้อย (ชมภาพได้ในความเห็นต่อๆ ไปครับ) พอเสร็จก็มาทำแผ่นไม้ขนาดกว้าง ๑๘.๕ ซม.หนา ๑.๗ ซม. ยาว ๕๐ ซม.(หลังไสปรับแล้ว) แล้วร่างแบบตามภาพหมายเลข ๑ ในภาพที่ ๕ นี้ การร่างแบบอาตมาร่างแบบสดๆ ครับ คือวาดแบบดิบๆ ลงไปเลยไม่ได้กำหนดระยะไว้ล่วงหน้า วาดไปตามแต่จะคิดได้ตอนนั้น หน้าตาก็เลยออกมาตามที่เห็นครับ ลายนี้ไม่มีอะไรพิเษศมากนักกับงานนี้ทำเพื่อให้ดูแปลกตาไม่เหมือนชาวบ้าน (เพราะเป็นของวัด..อิิอิ)  หลังจากร่างเสร็จก็ใช้เราเตอร์กัดตามลายที่ร่่างไว้ พอกัดแต่งให้เีรีัยบร้อยด้วยกระดาษทรายเสร็จ (ตามภาพหมายเลข ๒)  ออกมาไม่ค่อยเหมือนแบบที่ร่างไว้เลยแค่คล้ายๆ ก็พอใช้ได้ครับ เราเขียนเองทำเองแบบไหนก็ได้ตามใจชอบครับ

ไม้แผ่นนี้ไม่มีชื่อเรียกครับทำไว้เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของรั้วครับ ชมภาพรวมๆ ในความเห็นถัดไปนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 20:40:35


ความคิดเห็นที่ 193 (1538572)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพนี้จะเป็นมุมมองต่างๆ ของรั้วครับ จากภาพคิดว่าน่าจะเป็นคำตอบของทุกอย่างได้นะครับ ขยายความอีกนิดนึง หลังจากทำแผ่นไร้ชื่อเสร็จ ก็ถึงเวลานำทุกชิ้นส่วนที่ได้เตรียมไว้ตามที่เล่าผ่านๆ มาทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นรูปไม้ตัวที ใช้กาวและเกลียวปล่อยในการยึดชิ้นส่วนต่างๆทั้งหมด หลังจากนั้นก็นำไปประจะที่เพื่อทดลองใช้งานดูครับ

พิเศษ:  ภาพล่างซ้ายสุดของภาพที่ ๖ ที่มีศรเหลืองชี้ตรงหัวน๊อตที่วงกลมไว้และภาพขยายที่มีรูปมือ  น๊อตตัวนี้ครับที่ไม่ค่อยถูกใจ ตัวน๊อตดีครับ แต่การยึดน๊อตวิธีนี้ (หัวน๊อตโผล่เป็นสง่าเกินไป) เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขต่อไปครับ ทั้งที่รู้ว่าไม่ถูกใจแล้วทำทำไม ? ครับด้วยความจำเป็นยึดแบบนี้ไปก่อนให้อยู่ก่อน  ถ้าหาน๊อตหกเหลี่ยมยาว ๓ ๑/๒ - ๔ นิ้วได้มื่อไหร่จะรีบมาเปลี่ยนโดยทันทีและจะให้หัวน๊อตจมเสมอหลังไม้ครับ หรือถ้าหาไม่ได้ตามต้องการ ก็คงต้องนำ ๖ เหลี่ยมตัวสั้นที่มีอยู่ต่อให้ยาวแบบ "ตุ๊ตุ๊" แล้วมาเปลี่ยนทีหลัง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 21:05:01


ความคิดเห็นที่ 194 (1538578)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๗ นี้แสดงการวางอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะใช้งานครับ คือเวลาเราจะโกรก (ผ่า) ไม้ก็วางรั้วอยู่ในลักษณะนี้แล้วคลายน๊อต (ถ้าขันล็อคไว้) ตรงด้ามจับด้านท้ายสีเข้มๆ แล้วเลื่อนรั้วปรับระยะตามต้องการ พอได้ระยะแล้วก็ใช้มือบิิดขันให้แน่นแล้วเริ่มผ่าได้เลยครับ

เล่าเรื่องของด้ามจับด้านท้ายนิดนึงครับ ไม้กลีังชิ้นนี้เป็นชิ้นส่วนของตราปั๊มส่วนที่เป็นด้ามจับทำจากไม้มะค่า  ตัวตราเสียใช้การไม่ได้แล้วอาตมาเห็นว่าสวยดีเลยเก็บส่วนนี้ไว้เผื่อว่าวันหน้าจะใช้อะไรได้ แล้ววันนี้ก็ได้ใช้้จริงๆ ครับ ประหยัดเวลาและดูแปลกอีกแบบขนาดก็กำลังพอดีมือครับ

หลังจากทำเสร็จตามภาพนี้แล้ว ก็ลองใช้งานดูผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งครับ เพราะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ครับ ยังค้างส่วนล๊อคตรงปลายรั้วอีกที่ครับ ยังไม่ได้ทำ อีกสองสามวันคงเสร็จสมบูรณ์ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 21:24:05


ความคิดเห็นที่ 195 (1538605)
avatar
banjo

รั้วโกรกของหลวงพี่น่าชมมากครับ  ผมขออนุญาตเซฟงานชุดนี้ไว้ดูเป็นแนวทาง เผื่อผมทำโต๊ะเลื่อยขึ้นมาบ้างในวันข้างหน้า

ผู้แสดงความคิดเห็น banjo (banjongwbumrung-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 23:36:22


ความคิดเห็นที่ 196 (1538606)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ระหว่างรอให้เสร็จสมบูรณ์จะขอนำภาพที่เป็นต้นแบบของการยึดขัน-คลายรั้วโกรกหรือตรงด้ามจับด้านท้ายที่ทำหน้าทีขันล็อครั้วให้ติดแน่นกันโต๊ะมาให้ชมเล่นๆ ครับ ตามภาพบนครับเป็นขอขีดไม้ที่อาตมาทำไว้ใช้เมื่อหลายปีก่อน ทำด้วยมือจริงครับ เพราะตอนนั้นกบไฟฟ้าและเราเตอร์ยังไม่มีใช้ทีมีคือสว่านเก่าๆ ตัวนึง.......เข้าเรื่องนะครับ  กำลังจะบอกว่าให้สังเกตุตามศรเหลืองชี้นะครับ จะเห็นเป็นรอยยุบเกือบตลอดแนวของด้ามขอขีดที่เป็นอลูมิเนียมขาวๆ ตรงกลาง  เพราะถูกน๊อตหางปลาด้านบนกระทำใส่เวลาขันให้แน่น ทุกครั้งที่มีการใช้งานก็จะเกิดรอยยุบเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ใช้งาน และในที่สุดรอยยุบนี้เองอาจเป็นอุปสรรค์ต่อความเที่ยงตรงของการปรับระยะได้ 

หลายวันก่อน  ก่อนจะทำรั้วโกรกพอดีไปหาของในตู้เห็นขอขีดไม้ที่เก็บไว้ไม่ได้ใช้งานมานาน หยิบมาก็นึกได้ว่าจะทำที่ล็อครั้วโกรกแบบขอขีดนี่แหละ  แต่พอเห็นรอยยุบแล้วก็นึกถึงสภาพว่าถ้าเป็นไม้คงจะเละกว่านี้แน่เลย ขนาดเป็นอลูมิเนียมยังขนาดนี้ ก็เลยเก็บมาไว้ที่ห้องวางไว้หน้าคอมฯข้างๆ กับกับเวอร์เนียร์ที่เพิ่งซื้อมาเมื่อหลายเดือนก่อน  ก่อนปิดเครื่องจะหยิบทั้งคู่ไปเก็บเห็นเวอร์เนียร์มีตัวล็อคด้านบนสงสัยว่าทำไม่มีตัวล็อคเหมือนขอของเราแต่ไม่เห็นมีรอยยุบ  ก็เลยจัดการถอดเดี๋ยวนั้น น๊อตเล็กๆที่ทำหน้าที่ล็อคด้านบนของเวอร์เนียร์จะมีแผ่นทองเหลืองเล็กๆ ยาวๆ รองระหว่างตัวล็อคกับตัวก้านของเวอร์เนียร์เพื่อกันไม่ให้ก้านเวอร์เนียร์เป็นรอย  จึงได้คำตอบพร้อมกับได้ต้นแบบในการมาทำตัวล๊อครั้วตัวนี้ครับ  ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่ก็จริงอย่างนั้นครับ ดัดไปแปลงมาก็กลายมาเป็นแบบที่เห็นครับ เล่าให้อ่านเล่นๆ นะครับ

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 23:37:12


ความคิดเห็นที่ 197 (1538607)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

อินเตอร์ส่งออกจําหน่ายต่างประเทศได้เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-01 23:57:37


ความคิดเห็นที่ 198 (1538650)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

ด้วยความยินดีครับโยม banjo อาตมาดีใจที่งานชุดนี้เป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มทำเครื่องมือใช้เองครับ

โยมเอ๋มาก็ดีแล้วครับ  แต่ช้าไปนิดนึง  ตอนที่ทำแผ่นไ้ร้ชื่ออาตมานึกถึงโยมเอ๋เป็นคนแรกเลย  ถ้าอยู่ใกล้ๆ จะขอให้เีขียนลายให้หน่อยจริงๆ ครับ แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้วละอาตมามั่วเองไปเรียบร้อยแล้วครับ  ถ้าโยมเอ๋เขียนให้ได้ไปนอกของจริงเลยครับงานนี้ ..... ไปไกลเลย...ตามๆ กันไป  สนุกๆ ตอนเช้าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-02 07:32:29


ความคิดเห็นที่ 199 (1538667)
avatar
ตาโล

 กด ไลท์ ให้เลย 10,000 ไลท์

นมัสการครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาโล (paisaan-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-11-02 08:28:04


ความคิดเห็นที่ 200 (1538751)
avatar
yunlefty

ขออนุญาตแสดงความเห็นนิดนึงครับ ในคำบรรยาย ค.ห.193

" ภาพนี้จะเป็นมุมมองต่างๆ ของรั้วครับ จากภาพคิดว่าน่าจะเป็นคำตอบของทุกอย่างได้นะครับ ขยายความอีกนิดนึง หลังจากทำแผ่นไร้ชื่อเสร็จ ก็ถึงเวลานำทุกชิ้นส่วนที่ได้เตรียมไว้ตามที่เล่าผ่านๆ มาทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นรูปไม้ตัวที ใช้กาวและเกลียวปล่อยในการยึดชิ้นส่วนต่างๆทั้งหมด หลังจากนั้นก็นำไปประจะที่เพื่อทดลองใช้งานดูครับ "

ที่ผมทำสีแดงไว้ ผมอยากให้ช่วยๆกันตั้งชื่อ แผ่นนี้กันหน่อยอ่ะครับ ไม่งั้นเกิดใครอยากแปลเป็นภาษาอังกฤษ เค้าอาจแปลว่า " โนเนมเพลท " ไปเสีย  ชื่อที่น่าจะสละสลวยดูสมกับที่พระอาจารย์ท่านฝากฝีมือไว้ คงจะทำให้ผลงานของพระอาจารย์ต้องมัวหมองไปอ่ะครับ ^_^"

อ่าน ค.ห.ต่อไปคลิ๊กด้านซ้ายล่างครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น yunlefty (yunlefty-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-11-02 10:22:57



« 1 2 3 »


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.