ReadyPlanet.com


เพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของกาวยาง ด้วยกฎทอง 3 ข้อง่ายๆ
avatar
ดิว


 กาวยาง เป็นกาวสีเหลืองทอง ที่มีเนื้อสัมผัสค่อนข้างเหลวใส  ปัจจุบันกาวยางในท้องตลาดมีให้เลือกทั้งแบบทา แบบพ่น แบบกลิ้ง โดยการใช้งานกาวยางให้ถูกวิธี ถือว่าสำคัญมาก โดยปริมาณการทากาวที่เหมาะสม, ระยะเวลาการรอแห้ง และการใช้แรงกดทับที่เหมาะสม ถือเป็นกฎทอง 3 ข้อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของกาว

กฎทอง #1 ทากาวในปริมาณที่เหมาะสม

 

ปริมาณการใช้งานกาวยางบนพื้นผิว ควรอยู่ที่ 2.0-3.0 กรัมแห้งของกาวยางต่อหนึ่งตารางฟุตของวัสดุ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการยึดเกาะสูงสุด โดยเน้นทาซ้ำบริเวณขอบมุมของชิ้นงาน ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงต่อการเผยอของชิ้นงานมากที่สุด (อยากรู้ปริมาณการใช้งานกาวยางแบบละเอียด ทั้งกาวพ่นและกาวทา คลิ๊กเลย!)

กฎทอง #2 ให้เวลาแห้งตัวที่เหมาะสม

กาวยางจำเป็นต้องรอแห้งก่อนการยึดติด โดยระยะเวลาการรอแห้งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเภทของกาวยาง, ปริมาณกาวยางบนพื้นผิว รวมไปถึงสภาพแวดล้อมพื้นที่ทากาว โดยเฉพาะความร้อนและความชื้นในอากาศจะมีผลต่อเวลาแห้งตัวของกาวยางอย่างมาก

วิธีที่เหมาะสมในการตรวจสอบว่าหน้าสัมผัสแห้งหรือไม่ คือ ให้คว่ำมือลง แล้วใช้หลังข้อนิ้วกดลงบนพื้นผิวที่ทากาวยางไว้ จากนั้นให้หมุนข้อนิ้ว 90 องศา ถ้ามีกาวยางติดหลังข้อนิ้วมา แปลว่าต้องใช้เวลาเพิ่มในการรอให้กาวยางแห้ง ทั้งนี้ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือสัมผัส ไปที่บริเวณที่ทากาวยางเอาไว้เนื่องจากเป็นบริเวณผิวหนังที่มีน้ำมัน ที่สามารถถ่ายโอนไปยังพื้นผิว ทำให้การยึดเกาะด้อยลง

ปกติแล้ว หลังการทากาวยางลงบนพื้นผิว จะใช้เวลาประมาณ 7-15 นาทีในการรอให้กาวยางแห้งตัว ก่อนนำมาประกบติดกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรอให้กาวยางแห้งตัวบนผิววัสดุนานจนเกินไป เพื่อประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ดี โดยไม่ควรรอเกิน 60 นาทีหลังการทากาวยางลงบนพื้นผิววัสดุ แต่หากรอนานเกิน 60 นาที แนะนำให้ทากาวยางบางๆอีกครั้งลงบนพื้นผิววัสดุด้านหนึ่ง เพื่อให้กาวกลับมามีความเหนียวอีกครั้ง หรือใช้ความร้อนเป็นตัวช่วย

Pro tip : หากเป็นงานเร่งด่วน ที่ไม่สามารถใช้เวลารอกาวยางแห้งตัวนานได้ แนะนำให้ใช้กาวยางที่มีคุณสมบัติแห้งตัวไว เช่น กาวยาง SB สูตรไร้กลิ่นฉุน ซึ่งเป็นกาวสูตรกลิ่นเบาพิเศษ แห้งตัวไวกว่ากาวยางทั่วไป

กฎทอง #3 ใช้แรงกดให้เหมาะสม

เมื่อรอกาวยางแห้งตัวเรียบร้อยแล้ว ให้ค่อยๆวางประกบวัสดุลงบนวัสดุอีกชิ้น จากนั้นค่อยๆรีดไล่อากาศออก เริ่มจากตรงกลางชิ้นงานมาข้างๆ

โดยการไล่อากาศถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะหากไล่อากาศออกไม่หมด จะทำให้งานพองบวมได้ จากนั้นเมื่อชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นประกบติดกันแล้ว ให้ใช้ลูกกลิ้ง หรือผ้าแห้ง กดรีดให้ทั่วชิ้นงานอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะบริเวณขอบชิ้นงาน โดยให้ใช้แรงอย่างต่ำ 30 psi

ที่มา : sbadhesive.com/blog/golden-rule-for-adhesive/



ผู้ตั้งกระทู้ ดิว :: วันที่ลงประกาศ 2021-04-06 17:05:17


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.