ReadyPlanet.com


ทำงานไม้ประณีต จะเริ่มอย่างไร?
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร


 

ผมชอบงานไม้มาตั้งแต่เด็กและโชคดีมากที่มีคุณพ่อซึ่งก็รักงานไม้เหมือนกันเป็นผู้สอน แนะนำ สนับสนุน และที่สำคัญที่สุดคือ เคี่ยวเข็นให้ผมทำงานอย่างประณีตซึ่งกว่าผมจะซึมซับความประณีตจนเป็นนิสัยได้ก็ใช้เวลานานเป็นปีครับ ผมจำได้ว่าช่วงแรกที่หัดงานไม้มีหลายครั้งที่คุณพ่อจะวิจารณ์ผลงานของผมว่าไม่ถึงขนาดทำทั้งทีแล้ว ต้องดีกว่านี้หรือ ต้องทำให้สุดฝีมือของเรา เวลานั้นผมซึ่งยังเด็กอยู่ก็จะเสียใจ ร้องไห้ จนบางครั้งพาลโกรธคุณพ่อก็มี โชคดีที่คุณแม่ไม่เคยโอ๋หรือถือหางข้างผม หากแต่คอยให้กำลังใจให้ทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม
เหตุที่ผมไม่เคยคิดท้อหรือเลิกงานไม้เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากคุณพ่อและคุณแม่นั่นเอง คุณแม่ซึ่งเป็นแม่บ้านเต็มตัวและอยู่บ้านเกือบทุกวันจะแวะมาดูการทำงานไม้ของผมในช่วงปิดเทอมวันละหลายครั้งด้วยความสนใจ ช่วงเย็นหรือค่ำหลังเลิกงานคุณพ่อก็จะมาตรวจความคืบหน้าของงานที่ผมทำ ออกความเห็นว่าควรปรับปรุงอะไรและให้คำชมในเรื่องที่ทำได้ดี ถ้ามีเวลาคุณพ่อก็จะลงมือทำด้วยกันกับผม หลังเลิกงานไม้ในแต่ละวันผมก็จะไปเล่าให้คุณพ่อฟังว่าจะทำอะไรต่อ และทำอย่างไรในวันถัดๆไป การฝึกงานไม้ของผมจะเป็นอย่างนี้ไปจนกระทั่งเปิดเทอม ระหว่างนั้นการติลดลงในขณะที่คำชมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมจึงสนุกกับงานไม้และมีความมั่นใจที่จะทำงานไม้ที่ยากและซับซ้อนขึ้นเป็นลำดับ ถึงจุดหนึ่งคุณพ่อก็เปลี่ยนบทบาทจากครูเป็นโค้ชและหาหนังสืองานไม้มาให้ผมศึกษาเองเพราะผมเริ่มจะหัดงานที่คุณพ่อเองก็ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การใช้เดือยกลม (Dowel) เพลาะไม้ การเข้าเดือยเหลี่ยม (Mortise and Tenon) การเข้าหางเหยี่ยว (Dovetail) เป็นต้น
เวลาผ่านไป 3 ปีผมได้สร้างงานไม้ขึ้นหลายชิ้นที่จำได้ก็เริ่มด้วย ร้านกล้วยไม้ของคุณแม่ที่ทำร่วมกับพี่ชาย ม้าไสไม้ ตู้หนังสือของพี่สาว กรงนกของเพื่อนคุณแม่ โต๊ะช่างไม้ตัวแรกของผม ตู้หนังสือของเพื่อนคุณแม่ 2 ใบ ตู้หนังสือของคุณพ่อ ส่วนงานที่ตั้งใจจะทำและได้เตรียมไม้ไว้แล้วแต่ทำไม่เสร็จก็มีครับ คือ ตู้หนังสืออีก 2 ใบของคุณพ่อ กับ ชุดรับแขกของที่บ้าน พอเข้าเรียนชั้นมัธยมผมก็ไปมุ่งเน้นเรื่องการเตรียมตัวเข้าเรียนมหาวิทยาลัยจึงไม่ได้ทำงานไม้ที่ค้างไว้ให้เสร็จ ครั้นเข้าเรียนวิศวกรรมศาสตร์ความสนใจของผมก็เบนไปทางงานโลหะ ส่งผลให้ผมห่างงานไม้ประณีตไปสิบกว่าปีจึงได้กลับมาสนใจศึกษาเรื่องงานไม้อีกครั้ง และเพิ่งจะมีโอกาสได้ลงมือทำงานไม้ประณีตอย่างจริงจังอีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง
เมื่อนึกถึงเส้นทางงานไม้ของตัวเองแล้วผมคิดต่อไปว่าคงจะมีผู้สนใจงานไม้ประณีตในบ้านเราน้อยคนที่จะมีโชคดีอย่างผมที่ได้รับการสนับสนุนและกำลังใจอย่างใกล้ชิด หลายท่านคงอยากเริ่มทำแต่ไม่ทราบจะเริ่มอย่างไร บางท่านอาจจะเริ่มแล้วแต่พบเจออุปสรรคจนท้อและเลิกไปในที่สุด สำหรับท่านที่หัดเองจนมีฝีมือผมชื่นชมในความมานะของท่านครับ
ผมคิดว่าได้เวลาของผมแล้วที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างและสนับสนุนช่างไม้ประณีตในบ้านเรา ผมจึงเริ่มต้นโดยการเขียนเรื่อง"ทำงานไม้ประณีต  จะเริ่มอย่างไร?”  นี้ขึ้นมาครับ


ผู้ตั้งกระทู้ เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-07 00:24:43


1 2 3 4 5 »

ความคิดเห็นที่ 1 (1531372)
avatar
ณัฐ

 ขอติดตามไปด้วยคนครับพี่

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐ วันที่ตอบ 2012-10-07 00:58:01


ความคิดเห็นที่ 2 (1531374)
avatar
pop

    ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ของครูเขมด้วยคนนะครับ ผมเป็นแฟนคลับของครูเขมคอยดูและติดตามผลงานมาตลอด ผลงานของครูบางอย่างผมลองทำตามเพื่อปรับปรุงและแก้ไขงานไม้ของผมให้ดียิ่งขึ้น  ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pop (poppop297-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-07 01:41:53


ความคิดเห็นที่ 3 (1531389)
avatar
ตาโล

 ตามมาติดๆ แล้วครับพี่ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาโล (paisaan-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-07 08:47:11


ความคิดเห็นที่ 4 (1531399)
avatar
เปี๊ยก พิดโลก

ดีใจครับที่ อ.เขมทัต เขียนเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องยากมากที่สุด สำหรับคนรุ่นใหม่รวมทั้งผมด้วย ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมากกว่าจะได้ผลงานดีๆออกมาสักชิ้น ร่วมติดตามด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เปี๊ยก พิดโลก (peak-dot-electone-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 09:37:00


ความคิดเห็นที่ 5 (1531401)
avatar
Kit

ด้วยจิตคารวะในการถ่ายทอดความรู้ ขอติดตามผลงาน ด้วยคนครับ ขอขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Kit วันที่ตอบ 2012-10-07 10:00:18


ความคิดเห็นที่ 6 (1531402)
avatar
เสริฐ

 น่าสนใจมาครับ  ขอติดตามชม

ผู้แสดงความคิดเห็น เสริฐ วันที่ตอบ 2012-10-07 10:05:55


ความคิดเห็นที่ 7 (1531403)
avatar
เสริฐ

 น่าสนใจมาครับ  ขอติดตามชม

ผู้แสดงความคิดเห็น เสริฐ วันที่ตอบ 2012-10-07 10:06:05


ความคิดเห็นที่ 8 (1531442)
avatar
ปัน เก็บเกี่ยววิชา

สวัสดี A ไหว้ครับ อาจารย์เสริฐ เทพงานเจาะ แสดงความคิดเห็น ย้ำ2ช่องเลย 

สวัสดี อาจารย์ทุกท่านครับ 

ผมปันขอก็ตามติดทริปทัวร์ด้วยคนนะครับ

 

ด้วยใจ งานที่ดีเริ่ม มาจากจิตรใจครับ มุ่งมั่นที่จะให้มันดี ให้คุ้มค่าที่จะทำมัน 

ก่อนจะมีแต่ไม้ เชอร์ร่า สมาทบอร์ด ไม้สำเร็จ ไม้เทียมจากใยและผงยิบซั้ม

 

ผมเคยดูโฆษณา ดีๆ ถ้าเคยดูคงยังจำกันได้เริ่มจากตัดไม้  มาเป็น ไม้ซุง เป็นเรือ

และก็เป็นไม้จิ้มฟันในที่สุดมันก็น่าเสียดาย ไม้จริง ดีๆ แต่ได้ประโยชน์จากไม้ ไม่เต็มที่

เหมือนเหนื่อยเสียแรง เพื่อทำขี้เลื่อย เป็นกอง

ผมมักบ่นกับตัวเองแบบขำๆ เวลาตัดไม้เสีย ว่าไม้ดีๆ ตรู ดันมาทำให้ได้กองฝุ่นขี้เลื่อยไว้ เตะอีกแล้ว

การออกแบบและขั้นตอน กับการตะหนักถึงการทำชิ้นงาน ก็มีส่วนดีมากๆครับ ทำแล้วได้ ไม่เสียของ

ตัวผม ทำเกี่ยวกับงานไม้บ้าง คือตู้ลำโพงกลางแจ้ง ก็จะใช้ไม้อัดส่วนใหญ่ ผมก็เสียดาย เศษไม้อัดผมก็มักเอามาประกบ

ทำไม้ดามโครงกระดูกตู้ลำโพง เพื่อใช้ไม้แผ่นบางลงเพื่อลดน้ำหนัก แต่ยังคงความแข็งแรง

บางครั้งไม้อัด มือ2 แต่อัดด้วยกาวภายนอกดีๆผมก็ใช้ได้ครับ อยู่ที่เทคนิคเพาะต่อไม้ ส่วนนี้ ต้องปราณีต

อาจออกแรงขัดเยอะ ผมทำงานอาศัยเพาเวอร์ทรูล งานตำปูผมยังใช้ปืนยิงตำปู ยิงไปไม้ยังไม่รู้สึกตัว กับ ขันสกู

ด้วยสว่าน ฝีมือ การใช้ค้อนตอกตำปูผมยังตอกงอ ตอกเพ้ล ลงเฉียง และ ไม้แตกเละอยู่เลยครับ ผมคงต้องพัฒนา

งานแฮนทรูลผมคงยังมือใหม่ อย่างการทำกรงนก ใช้ไม้เล็กๆเยอะไปหมด คนทำต้องทักษะชำนานการและฝีมือเทพจริงๆ

เคยพบการทำเห็นชิ้นงานไม้สมัยก่อน เข้าไม้ รอยชน  รอยต่อ งานกรอบ เขาใช้สลักไม้ แล้วใช้กบมือ ไสเก็บ สัมผัสแล้ว

เนียนแท้ และเปล่งความเป็น ปรมัสต์ ("-")   <^_^>  ถือว่ามีความปราณีตอย่างมากครับ

เทคนิคและการพิถีถันนี้ควรสืบต่อกันต่อไปครับ ยิ้มนะครับทุกท่าน สู้ๆครับ

ต้องรอการเรียนรู้จาก  อาจารย์ เขมทัต กรัยวิเชียร ผมชื่อปันขอ สมัครเป็นศิษ ด้วยคนนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปัน เก็บเกี่ยววิชา วันที่ตอบ 2012-10-07 14:44:42


ความคิดเห็นที่ 9 (1531473)
avatar
แมวภูธร

เป็นหัวข้อความรู้ที่ผมเฝ้ารอ  แมวภูธรขอติดตามให้ถึงที่สุดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น แมวภูธร (mysunzero-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-07 21:02:07


ความคิดเห็นที่ 10 (1531480)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ในความเห็นของผมการทำงานไม้ประณีตเป็นวงจรที่ต่อเนื่อง ตามภาพที่ 1 ครับ วงจรงานไม้ประณีตประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ  

การตั้งเป้าหมาย การหาความรู้ การหาเครื่องมือ การฝึกทำงานไม้ประณีต และ การใช้งานหรือการขาย

วงจรนี้นี้เป็นวงจรต่อเนื่องที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเองในเรื่อง ความรู้ ทักษะ และขีดความสามารถ ให้แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อเราบรรลุเป้าหมายแรกแล้วเราก็ควรตั้งเป้าหมายถัดไปให้เหนือเป้าหมายแรกแล้วดำเนินการจนแล้วเสร็จ หมุนเวียนตามลำดับนี้ไปอย่างไม่สิ้นสุด

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 21:39:06


ความคิดเห็นที่ 11 (1531484)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

วงจรงานไม้ประณีตเริ่มต้นด้วย การตั้งเป้าหมาย ว่าเราอยากทำงานไม้ประเภทไหน ประณีตขนาดไหนในความรู้สึกของเราเอง เช่นเราไปเห็นตู้หนังสือใบหนึ่งสวยประณีตถูกใจแล้วเกิดความรู้สึกอยากจะต่อตู้ลักษณะเดียวกันด้วยตัวเอง เป้าหมายของเราก็คือต่อตู้หนึ่งใบให้มีความประณีตเรียบร้อยระดับเดียวกับตู้ที่ชอบด้วยตัวเอง เมื่อต่อเสร็จแล้วเราจะใช้งานเอง จะให้คนที่รัก หรือจะขายก็ได้ทั้งนั้น

เมื่อเป้าหมายชัดเจนแล้วเราก็ควร ศึกษาหาความรู้ จากแบบที่ชอบว่า มีส่วนประกอบอะไร ทำด้วยวัสดุอะไรบ้าง มีรายละเอียดในการต่อไม้ เข้าไม้ เพลาะไม้ อย่างไร ทำสีหรือชักเงาแบบไหน ถ้าโชคดีได้พบช่างผู้สร้างงานชิ้นนั้นก็ควรขอความรู้เหล่านี้จากเขา แต่ในกรณีที่เราได้เห็นแต่ผลงานหรือเพียงรูปของผลงานที่เราชอบเราก็ต้องมาสานต่อเป็นแผนงานเองว่าเราจะทำตู้อย่างที่ชอบขึ้นมาด้วยวิธีอะไร

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 21:46:18


ความคิดเห็นที่ 12 (1531485)
avatar
pakae

ยากตรงประณึตนี้แระ แต่ก็อยากทำเพราะประณึตนี้แระ

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 21:48:06


ความคิดเห็นที่ 13 (1531488)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

การหาความรู้ด้วยตัวเองในยุคนี้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดกว่าสมัยก่อนมากเพราะมีอินเทอร์เน็ตที่เป็นเหมือนห้องสมุดและโรงภาพยนต์สารคดีตั้งอยู่ใกล้ตัว การค้นหา (search) เรื่องที่สนใจก็ทำได้ง่ายโดยการใช้เวปอย่าง Google ผมชอบการค้นหาด้วยวิธี ค้นรูป ครับ เพราะช่วยให้เข้าถึงเรื่องที่สนใจได้รวดเร็วกว่าค้นหาแบบปกติ เมื่อได้รูปที่เข้าข่ายเรื่องที่สนใจผมจึงจะเข้าไปอ่านในรายละเอียด บ่อยครั้งระหว่างการค้นหาผมก็จะพบวีดีโอเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ซึ่งถือว่าเป็นโชคเพราะการดูวีดีโอนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับการชมช่างทำงานจริง

ผู้ที่สนใจงานไม้ประณีตควรหาความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องครับเพื่อจะได้ทราบความเป็นไปในวงการงานไม้ประณีต ตัวอย่างเว็ปที่ผมติดตามอ่านประจำคือ 

 

 และสุดท้าย http://www.youtube.com คือแหล่งความรู้ใหญ่ที่ผมเข้าไปหาความรู้ สำหรับYouTube ผมจะเป็นแฟนประจำของช่องเหล่านี้ครับ:

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 21:50:24


ความคิดเห็นที่ 14 (1531514)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กระบวนการต่อไป คือ การหาเครื่องมือ ซึ่งจะเริ่มจากซื้อ แลก ยืม ขอ เครื่องมือสำเร็จรูปมาใช้งานในช่วงแรกที่หัดงานไม้ จนถึงทำเครื่องมือหรือจิ๊กขึ้นเองเพื่อใช้งานเฉพาะทาง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือเพื่อความภูมิใจ

เครื่องมือที่เราใช้ทำงานไม้ประณีตเป็นได้ทั้งเครื่องมือแรงคน (hand tools) และเครื่องมือไฟฟ้า (power tools) ในความเห็นของผมผู้สนใจงานไม้ประณีตควรที่จะหัดงานด้วย เครื่องมือแรงคนชุดพื้นฐาน (basic hand tool set) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือแรงคนเป็นหลักด้วยเหตุผลต่อไปนี้ครับ:

ปลอดภัย
เงียบ ฝุ่นน้อย
ประหยัด
ใช้เนื้อที่ทำงานไม่มาก
เก็บรายละเอียดและ สร้างทักษะการทำงานประณีตได้ดีกว่า และ
เหตุผลข้อสุดท้ายคือ ไม่ว่าจะฝึกงานไม้ประณีตด้วยเครื่องมือแบบไหนถึงจุดหนึ่งช่างไม้ประณีตก็ต้องหาเครื่องมือพื้นฐานชุดนี้อยู่นั่นเอง
ผมใช้เวลาคิดอยู่นานเพื่อตอบตัวเองว่ารายการเครื่องมือพื้นฐานของผู้ที่สนใจเริ่มหัดช่างไม้ประณีตควรจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ในการพิจารณาเลือกเครื่องมือแต่ละชิ้น ผมคำนึงถึงประโยชน์การใช้งาน งบประมาณ และความปลอดภัย จากมุมมองของมือใหม่เป็นหลักครับ รายการนี้เป็นเพียงความเห็นของผมที่มาจากประสบการณ์ของตัวเองครับ
เมื่อเทียบเครื่องมือช่างไม้ทั้งที่ใช้แรงคนและเครื่องมือไฟฟ้าที่ผมมีอยู่ในวันนี้กับเครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่เมื่อฝึกทำงานไม้ประณีตจนมีผลงานเป็นที่น่าพอใจเมื่อหลายสิบปีก่อน วันนี้ผมมีเครื่องมือมากกว่าเดิมเกือบสิบเท่า แต่เมื่อเทียบฝีมือแล้วผมคิดว่าพัฒนาจากเดิมไม่เกิน 50% และที่มาของพัฒนาการนี้มาจากความรู้และการฝึกหัดเป็นหลักครับ
ถ้าผมกลับไปเริ่มงานไม้ประณีตใหม่ในวันนี้ด้วยงบประมาณที่จำกัด สถานที่จำกัด ผมจะลงทุนซื้อเครื่องมือช่างไม้ตามลำดับและงบประมาณต่อไปนี้ครับ:
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 22:48:29


ความคิดเห็นที่ 15 (1531527)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เป็นความโชคดีของอนุชนโดยแท้ครับ  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้สนใจ-ชอบ-รัก งานไม้แบบ"ประณีต" เป็นแรงบันดาลใจ เป็นต้นแบบให้แก่ผู้ที่มีใจด้านนี้  เป็นจุดเริ่มต้น  และที่สุด  กระทู้นี้ควรรักษาไว้อย่างดีครับ  ขออนุโมทนาครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 23:33:40


ความคิดเห็นที่ 16 (1531530)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กราบขอบคุณท่านวิชาญฯ ในคำนิยมครับ

ขอบคุณ คุณณัฐ คุณตาโล คุณPop คุณเปี๊ยก คุณKit คุณเสิรฐ คุณปัน คุณแมงภูธร และคุณpakae ที่ติดตามครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 23:37:51


ความคิดเห็นที่ 17 (1531531)
avatar
banjo

เจอกระทู้ดีน่าติดตามอีกแล้ว  ขอบคุณครับพี่เขม

ผู้แสดงความคิดเห็น banjo (banjongwbumrung-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-07 23:48:09


ความคิดเห็นที่ 18 (1531534)
avatar
ณัฐ

พี่เขมครับ ผมเคยเข้าใจผิด คิดว่าเพียงเครื่องมือดีๆ (แพง) ก็สามารถทำให้เราเก่งได้

แต่มันไม่ใช่เลยครับ ตอนนี้ผมคิดจะเริ่มใหม่ ได้มาเจอกระทู้ของพี่ ดีใจมากครับ

ขอตามติดแบบหายใจรดต้นคอเลยนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐ วันที่ตอบ 2012-10-07 23:56:49


ความคิดเห็นที่ 19 (1531536)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

รายการเครื่องมือช่างไม้พื้นฐานสำหรับงานไม้ประณีต
ลำดับที่ เครื่องมือ  ประมาณราคา  ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ซื้อได้ที่
1 เลื่อยลันดา 7 ฟันต่อนิ้ว ยาว 24 นิ้ว                        700 Bahco ร้านเสถียรกิจ คลองถม
2 ตลับเมตร 3 เมตร                        100 KDS ทั่วไป
3  ค้อนหงอน                        300 Stanley ทั่วไป
4  กบล้าง 14 นิ้ว                     1,700 ธรรมศักดิ์ ธรรมศักดิ์การช่าง เพชรเกม 39/4
5 ฉาก 10/12 นิ้ว                        500 Shinwa ร้าน จ. ศรีรุ่งเรือง คลองถม
6 ฉากเป็น                        200 Stanley Thai Carpenter
7 ขอขีด                        200 อาจารย์ประพัฒน์ ไหมศรี อาจารย์ประพัฒน์ ไหมศรี
8 สิ่ว ¼ นิ้ว, 3/8 นิ้ว, ½ นิ้ว, ¾ นิ้ว และ 1 นิ้ว                     2,000 Stanley, Irwin, Marples คลองถม, บางโพธิ์
9 หินลับมีดสองหน้ายาว 200 มม.                        200 คนป่า, ห้าเสือ ทั่วไป
10 บุ้ง + ตะไบ 10 - 12 นิ้ว                        800 Topman ทั่วไป
11 สว่านไฟฟ้า 3/8 นิ้ว                     1,800 Makita, Hitachi ทั่วไป
12 ดอกสว่าน เจาะเหล็ก 3, 4, 5, 6, 8, 10 มม. + ดอกใบพายเจาะไม้ 1/2, 3/4, 1, 1 1/4 นิ้ว                        500 Makita, Hitachi ทั่วไป
13 ไขควงปากแบนและสี่แฉก 1 ชุด 6 ตัว                        900 Koken ร้านแอบปอน คลองถม
14 F-Clamp 200 มม. 2 ตัว, 450 มม. 2 ตัว                     1,000 Okura บี.เจ. แมชชีนทูลส์
15 ม้าเลื่อยไม้                      1,000 ตามแบบที่จะแสดง สร้างเอง
16 เลื่อยญี่ปุ่นแบบมีฟันละเอียดและหยาบ หรือ เลื่อยปังตอแบบมีสัน                        500 ปังตอ Irwin/Jack เลื่อยปังตอ Thai Carpenter     เลื่อยญี่ปุ่นรองานรวมพลฯ
17 บรรทัดเหล็กสเตนเลส 36 นิ้ว (เวลาเลือกให้สันนำบรรทัด 2 อันมาประกบกันแล้วกลับสัน ถ้าไม่มีช่องว่างก็ใช้ได้)                        300 ไม่ระบุยี่ห้อ ร้านอุปกรณ์ช่างทั่วไป
18 กบผิว 9 นิ้ว                     1,300 ธรรมศักดิ์ ธรรมศักดิ์การช่าง เพชรเกม 39/4
19 เลื่อยฉลุ                        200 Stanley ทั่วไป
รวมราคาโดยประมาณ                    14,200

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 00:14:29


ความคิดเห็นที่ 20 (1531539)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ขอบคุณคุณ Banjo ครับ

เรียนคุณณัฐ

ประเด็นที่ผมพยามจะสื่อคือเราต้องการเครื่องมือคุณภาพจำนวนหนึ่งตามรายการเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้นในการเริ่มทำงานไม้ประณีตครับ แต่ขอเน้นว่าเครื่องมือทุกชิ้นตามรายการนี้ต้องเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพดีพอที่จะทำงานให้เราได้เรียบร้อย สม่ำเสมอ คงทน และปลอดภัยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 00:33:29


ความคิดเห็นที่ 21 (1531542)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผมระบุไว้เป็นความเห็นของผมจากการชั่งน้ำหนักเรื่องคุณภาพและราคานะครับ เครื่องมือช่างไม้ที่มีคุณภาพดีกว่านี้มีมากมายแต่ผมไม่ประสงค์จะแนะนำในที่นี้เพราะไม่ผ่านการคัดกรองเรื่องงบประมาณซึ่งน่าจะเป็นข้อจำกัดของคนส่วนใหญ่ เครื่องมือยี่ห้ออื่นๆที่มีคุณภาพและราคาใกล้เคียงกันก็คงจะมีนะครับเพียงแต่ผมนึกไม่ออกหรือยังไม่เคยเห็นไม่เคยใช้ครับ ถ้าพบจะพามาแนะนำตัวครับ

การซื้อเครื่องมือคุณภาพต่ำราคาถูกเป็นการสิ้นเปลืองกว่าการซื้อเครื่องมือคุณภาพดีที่ราคาพอสมควร เพราะเครื่องมือไม่ดีจะทำงานได้ไม่เรียบร้อยและ/หรือใช้เวลามากกว่าครับ
การมีเครื่องมือดีๆแพงๆอย่างเดียวไม่ช่วยให้ฝีมือเราดีขึ้นได้ครับถ้าเราไม่ฝึกใช้ และการมีเครื่องมือดีๆที่ทำหน้าที่เดียวกันหลายชิ้นเป็นเพียงความสุขของนักสะสม (อย่างผม) แต่จะไม่ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากชิ้นแรกที่มีครับ ส่วนเรื่องผลตอบแทนจากการขายต่อเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ
โดยสรุปแล้วถ้าอยากซื้อเครื่องมือให้ทำงานได้ดีๆใช้ได้นานๆให้ซื้อเครื่องมือคุณภาพดีที่สุดที่เราซื้อได้ครับ เครื่องมือดีๆซื้อครั้งเดียวใช้ไปจนเป็นมรดกครับ เครื่องมือไม่ดีถูกเฉพาะเวลาซื้อครั้งแรกแต่ภายหลังจะแพงเพราะเสียงาน เสียเวลาเสียอารมณ์ จนทำให้เราต้องไปซื้อของดีมาใช้ ในที่สุดรวมแล้วก็จะแพงกว่าซื้อของดีตั้งแต่แรก
บางท่านอาจจะแย้งว่างบมีจำกัดก็ต้องซื้อพอใช้ได้ไปก่อน ผมจะถามกลับว่าแน่ใจหรือไม่ครับว่าเครื่องมือ (นอกรายการแนะนำ) ที่ท่านซื้อไว้หรืออยากจะซื้อเป็นของจำเป็นต้องมีทุกตัว
จากรายการข้างต้นท่านจะไม่เห็น เลื่อยวงเดือน เราเตอร์ จิ๊กซอว์ เครื่องขัดกระดาษทราย เลื่อยองศา ซึ่งล้วนเป็นเครื่องมือยอดนิยมในใจผู้เริ่มสนใจงานไม้เลยนะครับ เครืองมือเหล่านี่ล้วนมีราคาแพง ถ้าซื้อของที่คุณภาพดีเพียง 2 ตัวก็จะดูดเงินไปไม่ต่ำกว่าหมื่นบาทแล้วครับ
รายการเครื่องมือพื้นฐานที่ผมแนะนำนั้นใช้เงินลงทุนประมาณ 14,000 บาทครับ ถ้างบไม่พอก็แนะนำให้ซื้อรายการต้นๆก่อน จากนั้นฝึกใช้เครื่องมือที่มีสร้างผลงานคุณภาพออกมาขาย นำกำไรไปเป็นทุนซื้อเครื่องมือที่เหลือ
สำหรับเลื่อยวงเดือนและรายการอื่นๆที่กล่าวถึงก็มีประโยชน์ในการทำงานไม้ประณีตนะครับเพราะล้วนแต่เป็นเครื่องทุ่นแรงทุ่นเวลา เพียงแต่ไม่ใช่เครื่องมือสำหรับมือใหม่งบประมาณจำกัดครับ
สำหรับผู้ที่คิดว่าใช้เครื่องมือตามรายการแนะนำแล้วจะทำงานได้ "ไม่ทันกิน" ผมอยากมองจากอีกมุมหนึ่งว่าถ้าท่านไม่มีเครื่องมือพื้นฐานเหล่านี้แล้วท่านจะทำงานประณีตออกมาใช้หรือมาขายได้ไหม ถ้าขายได้จะได้ราคาขนาดไหน
ผมเชื่อว่าผู้ที่มีความชำนาญในการประดิษฐ์งานประณีตจะสามารถสร้างงานคุณภาพที่ได้ราคาสูง การแข่งขันก็น้อยกว่างานที่ทำด้วยเครื่องจักรหรืองานที่เน้นปริมาณ งานฝีมือเหล่านี้ผู้ทำจะเป็นผู้กำหนดราคาครับ ในขณะที่งานคุณภาพต่ำนั้นจะถูกกำหนดราคาโดยการแข่งขัน ถ้าความเชื่อของผมเป็นจริงช่างไม้ประณีตน่ามีโอกาสที่จะ "กินไม่ทัน" มากกว่า "ไม่ทันกิน" นะครับ
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 01:06:47


ความคิดเห็นที่ 22 (1531550)
avatar
ณัฐ

 แจ๋ว ครับพี่ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐ วันที่ตอบ 2012-10-08 07:09:15


ความคิดเห็นที่ 23 (1531551)
avatar
ตัง LincolnWoodcraft

ผมเห็นด้วยกับพี่เขมทัตอย่างยิ่งครับ...
การทำงานไม้ประณีต เป็นเรื่องของอุดมการณ์ และทัศนคติ
เข้าใจว่าหลายๆท่านมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่สามารถเลือกทำงานไม้ประณีตได้เต็มตัว
แต่...
ความอดทน เป็นคุณสมบัติข้อต้นๆของงานไม้ประณีตครับ
ถ้าชอบ และเลือกจะทำ แต่ละท่านก็ต้องอดทน เพียรพยายามต่อสู้กับข้อจำกัดของแต่ละท่าน (บางท่านเรื่องเงิน บางท่านเรื่องเวลา)
ต่อสู้กับคุณภาพผลงานที่ตนเองสร้างขึ้นมา (จะปล่อยไปแบบนี้ หรือจะทำใหม่ให้ดีกว่านี้)

ผมเองคิดว่า ถ้าสะสมทักษะไม้ประณีตไปทีละเล็กละน้อย (ตัวผมเองตั้งไว้ว่า อาทิตย์นึง เลือกทำงานไม้ประณีตอย่างน้อย 1 วัน หรือใน 1 ปี เลือกทำชิ้นงานไม้ประณีตให้เสร็จสัก 2-3 ชิ้น) ในระยะยาวเราก็สามารถสะสมประสบการณ์ได้ ผ่านไป 10 ปี ยังไงก็ต้องมีฝีมือติดตัวมาบ้าง และเมื่อตอนนั้น ความเพียร ความอดทน ออกดอกออกผลแน่นอนครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ตัง LincolnWoodcraft ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 07:26:59


ความคิดเห็นที่ 24 (1531592)
avatar
พิพัฒน์

 เข้ามาติดตาม เป็นประโยชน์ต่อมือใหม่มากครับ 

ตอนนี้สะสมเครื่องมือได้เกือบครบตามรายการข้างต้นแล้ว

ขาดเพียงดอกใบพายกับม้าเลื่อยไม้ครับ

รอดูแบบม้าเลื่อยไม้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พิพัฒน์ วันที่ตอบ 2012-10-08 10:49:07


ความคิดเห็นที่ 25 (1531602)
avatar
i3ird

เป็นสุดยอดกระทู้อีกเรื่องที่ผมเชื่อว่าทุกๆท่านแม้ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ก็อยากจะอ่านเพื่อเป็นแนวทางต่อไปขอบคุณพี่เขมทัตที่อุตส่าห์สละเวลาอันมีค่ามาเรียบเรียงให้พวกเราได้ศึกษากัน....ขอบคุณครับพี่

ผู้แสดงความคิดเห็น i3ird (bird-togo-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 11:20:49


ความคิดเห็นที่ 26 (1531637)
avatar
เสริฐ

 หวัดดีครับ คุณปัน  แหม! เรียกอาจารย์เสริฐ ผมก็เลยงงไม่กล้าตอบนึกว่าคุยกับใครคนอื่น 555   เอาผลงานมาโชว์บ้างสิครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เสริฐ วันที่ตอบ 2012-10-08 13:20:44


ความคิดเห็นที่ 27 (1531640)
avatar
ศรวิทย์

 ให้แนวคิดและคติที่ยอดเยี่ยมมากครับ.

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรวิทย์ วันที่ตอบ 2012-10-08 14:04:18


ความคิดเห็นที่ 28 (1531641)
avatar
เสริฐ

่ขอบคุณพี่เขมทัตครับ

ผมชอบ "รายการเครื่องมือช่างไม้พื้นฐานสำหรับงานไม้ประณีต" ในความเห็นที่ 19 ครับ

ผมใช้เป็นเช็คลิสต์เลยว่า  อะไรทีมีแล้วและยังขาดอะไรอีก  เวลาไปเดินดูเครื่องมือมักจะนึกไม่ออกว่าจะซื้ออะไร  ยี่ห้อไหนดี  ไม่รู้ราคาตลาดก็เลยไม่ค่อยกล้าซื้อ ไม่กล้าถาม   พอได้รายการเครื่องมือนี้มาซึ่งมีตัวอย่างยี่ห้อ  ราคาโดยประมาณและแหล่งช็อปปิ้งมาเสร็จสรรพ์  ถูกใจมือสมัครเล่นจริงๆครับ

ขอบคุณครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น เสริฐ วันที่ตอบ 2012-10-08 14:07:53


ความคิดเห็นที่ 29 (1531692)
avatar
ting33

ขออณุญาติติดตามด้วยคนครับไม่ทราบว่าในงานรวมพลฯจะมีอุปกรณ์ตามรายการจำหน่ายหรือไม่ครับ คือว่าผมอยู่จ.ศรีสะเกษถ้ามีจะสะดวกมากเลย สงสัยผมต้องเสียเงิน(แต่คุ้ม)แน่ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น ting33 (ting33-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-08 17:44:47


ความคิดเห็นที่ 30 (1531693)
avatar
ตาโล

 

ผมว่า กระทู้นี้ ดูท่าจะยาว ไม่น่าจะน้อยหน้าโต๊ะในฝันอ่ะครับ

รายละเอียดของเครื่องมือ อาจจะมีในรายละเอียดอีกเยอะ  

อาทิเช่น กบไม้ เอาแค่ว่า การดูมุมของใบกบ  การตั้งใบกบ การกำหนดระยะห่างของใบกับปากกบ

การแก้ปัญหาของขี้กบ  โอ๊ย  อีกจิปาถะครับ  

หากไม่มีใครช่วย ผมว่าน่าเห็นใจคุณเขมทัตครับ  และคนที่อยากถามในรายละเอียดก็จะยังคาใจอยู่อ่ะครับ

ส่วนคุณเขมทัต ก็จะเสียเวลากับการตอบปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แต่ยิ่งใหญ่สำหรับคนอยากรู้

( โห  ชักยาวแฺฮะ  พอก่อนดีกว่า )  

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาโล (paisaan-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-08 18:22:20


ความคิดเห็นที่ 31 (1531719)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

พี่เขม....วันนี้ผมว่าพี่สุทินดีใจแน่ๆเลยที่พี่ไปหา(ขอนอกเรื่องหน่อย)

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 20:04:08


ความคิดเห็นที่ 32 (1531724)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณเอ๋

ผมอ่านความรู้สึกคุณสุทินไม่ออกครับ เท่าที่เห็นคุณสุทินดูจะหลับสบายสีหน้าไม่ได้แสดงอาการทุกข์หรือเจ็บปวด

ที่แน่ๆผมดีใจมากครับที่ได้ทีมีโอกาสไปเยี่ยมคุณสุทิน ผมเบาใจที่ทราบว่าลูกชายคุณสุทินเรียนจบและทำงานแล้ว ส่วนลูกสาวก็เรียนอยู่ปีสุดท้ายที่วิศวะจุฬา คุณสุทินมีลูกที่มีคุณภาพอย่างนี้ก็ไม่ต้องมีห่วงอยู่ทางนี้ ผมประทับใจที่คุณสุทัศน์น้องชายให้การดูแลเอาใจใส่คุณสุทินเป็นอย่างดี

อีกเรื่องที่ดีใจคือเห็นพวกเราไปเยี่ยมกันพร้อมหน้าพร้อมตาครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 20:30:33


ความคิดเห็นที่ 33 (1531730)
avatar
ไผ่ตง

 ขอบคุณครับพี่เขมทัต สำหรับเรื่องราวดีๆที่พี่สละเวลามาถ่ายทอดแก่ผู้ที่รักงานไม้ โดยเฉพาะพวกมือไหม่อย่างผม มีบางอย่างยังไม่เข้าใจมากนัก เช่น วิธีการตั้งใบกบ วิธีการไสที่ถูกต้อง เทคนิิคในการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด เช่นสิ่ว ก็จะติดตามเรื่องราวดีๆของพี่ตลอดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไผ่ตง (konbapa-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-08 20:57:57


ความคิดเห็นที่ 34 (1531734)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ขอบคุณคุณตังมากครับที่ช่วยเสริมเรื่อง ทัศนคติ ความมุ่งมั่น และความอดทน เขียนได้ตรงใจผมมากครับ

ขอบคุณ คุณพิพัฒน์ คุณอนุรักษ์ คุณศรวิทย์ คุณเสริฐ คุณting33 คุณตาโล และคุณคุณไผ่ตง ที่ติดตามอ่านครับ

ผมจะพยามคุมเรื่องให้กระชับชวนติดตามโดยมุ่งเน้นสร้างแรงจูงใจให้ช่างไม้มือใหม่ ช่างไม้วันหยุด และนักอ่านเรื่องช่างไม้ ลงมือฝึกงานประณีตอย่างเป็นเรื่องเป็นราวครับ

ตามโครงเรื่องที่วางไว้ ผมจะแสดงวิธีสร้างอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์สองอย่างที่ช่างไม้มือใหม่ทุกคนทำได้เองคือ ม้าเลื่อยไม้ และ ตู้ใส่เครื่องมือช่างไม้  โดยตู้ที่ว่านี้จะบรรจุเครื่องมือช่างไม้พื้นฐานทั้ง 19 รายการด้วย ผมตั้งใจไว้ว่าจะนำต้นแบบไปแสดงในงานรวมพลฯครั้งที่ 7 ในวันอาทิตย์ที่ 28 ต.ค. นี้

เพื่อให้ผู้ที่ไปร่วมงานได้เห็นและสัมผัสการใช้เครื่องมือช่างไม้พื้นฐานในการทำงานไม้ประณีต ผมจะนำไม้ไปสาธิตการทำม้าเลื่อยและตู้ที่งานด้วยครับ

สำหรับประเด็นเรื่องการถามในรายละเอียดนั้นผมยินดีตอบเสมอครับ ถ้าอยากเข้าใจจริงๆผมแนะนำให้ไปร่วมงานรวมพลฯ และส่งคำถามมาให้ผมล่วงหน้าเพื่อที่จะได้เรียบเรียงคำตอบให้เข้าใจง่ายที่สุดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-08 21:18:30


ความคิดเห็นที่ 35 (1531755)
avatar
คม สามโคก

 ผมขอขอบคุณคุณเขมทัต และเว็บ thaicarpenter.com เป็นอย่างมาก ผมได้ความรู้มากๆที่นี่ ผมเรียนทางไฟฟ้าอิเล็กฯมา เรื่องงานไม้แทบไม่รู้เรื่องเลย เคยเห็นแต่เครื่องมือช่างไม้ของพ่อ แต่ก็ไม่เคยสนใจไยดีอะไรกับมันนัก แต่ตอนนี้ผมกลับมาได้ความรู้เรื่องงานไม้จากที่นี่ จนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในระดับหนึ่ง ผมขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกท่านที่นำเสนอความรู้มาให้ และขอบคุณคุณเขมทัตที่ช่วยเติมเต็มช่องว่างที่หายไปให้กับชีวิตผมอีกครั้ง

ผู้แสดงความคิดเห็น คม สามโคก วันที่ตอบ 2012-10-08 22:35:10


ความคิดเห็นที่ 36 (1531877)
avatar
pakae

พี่เขม

"การซื้อเครื่องมือคุณภาพต่ำราคาถูกเป็นการสิ้นเปลืองกว่าการซื้อเครื่องมือ คุณภาพดีที่ราคาพอสมควร เพราะเครื่องมือไม่ดีจะทำงานได้ไม่เรียบร้อยและ/หรือใช้เวลามากกว่าครับ
การ มีเครื่องมือดีๆแพงๆอย่างเดียวไม่ช่วยให้ฝีมือเราดีขึ้นได้ครับถ้าเราไม่ฝึก ใช้ และการมีเครื่องมือดีๆที่ทำหน้าที่เดียวกันหลายชิ้นเป็นเพียงความสุขของนัก สะสม (อย่างผม) แต่จะไม่ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากชิ้นแรกที่มีครับ ส่วนเรื่องผลตอบแทนจากการขายต่อเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ

โดยสรุปแล้วถ้าอยากซื้อเครื่องมือให้ทำงานได้ดีๆใช้ได้นานๆให้ซื้อเครื่องมือคุณภาพดีที่สุดที่เราซื้อได้ครับ"

 

ตรงกับใจผมมากเลย ผมอายุ 37 เริ่มซื้อเครื่องมือชิ้นแรกน่าจะตอน ม.ต้น เป็นฉากคับ

และในชีวิตผม ผมว่าผมซื้อเครื่องมือเยอะมาก รวมถึงที่ใช้ในโรงพิมพ์ และใช้ในงานอดิเรกด้วย

จากวันนี้นถึงวันนี้ ผมว่าน่าจะเกินหลายแสนแล้ว แต่ 2 ปีที่แล้ว โดนโจรขึ้นบ้าน หมดเกลี้ยง

ต้องกลับมานับ 1 ใหม่ เหลือฉากอันแรกที่ซื้ออันเดียว มันคงเห็นว่าเก่าเลยไม่เอา

 

แบบที่พี่ว่าไว้  "เครื่องมือดีๆซื้อครั้งเดียวใช้ไปจนเป็นมรดกครับ "

ผมคิดแบบนั้นมาตลอดจน โดนปล้นนี้นแหละ

แต่ตอนนี้ผมคิดใหม่แล้ว " เครื่องมือดีๆซื้อครั้งเดียวใช้ไปจนเป็นมรดก ถ้าไม่หายซะก่อน"

 

ปล ตอนนี้หาตู้ใส่มิดชิดแล้ว

 

สุดท้าย มีคำถามถึงพี่เขม หรือท่านอื่นๆๆ ที่พอจะตอบแทนได้บ้าง

คำถามที่1 คือ เลื่อยลันดา 7 ฟันต่อนิ้ว ยาว 22 นิ้ว มันดียังไง

เวลาผมซื้อเลื่อย ไม่เคยดูเลยว่า มันมีกี่ฟัน เพราะมันเขียนว่าเลื่อยลันดาหมด

แล้วมันมีฟันอื่นๆๆ อีกมัยครับ

คำถามที่ 2 คือ เลื่อยแทบทุกชนิดเลย ผมไม่เคยเลื่อยมันตรงสักที

แบบว่าถ้าไม่จำเป็น ผมไม่อยากใช้เลย แต่เวลาเห็นช่างไม้เขาใช้

แกเลื่อยพับเส้นเลย ส่วนของผม ไม่ซ้ายก้อขวา หรือ ข้างบนตรง ข้างล่างเอียง

แม้แต่ไม้จ้อย แค่ 4 ซม ผมยังเลื่อยไม่ได้เลย เกริ่นนานไปขอโทษที

มีวิธีเลื่อย มัยครับ วิธีชัก ออกแรง หรือบิดซ้าย ขวา ไรทำนองเนี่ย

หรือขอดู ขอจริงวันงานก็ได้ครับ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆๆ คับพี่เขม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 10:50:57


ความคิดเห็นที่ 37 (1531902)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณ pakae

ผมตั้งใจจะอธิบายเหตุผลที่แนะนำเครื่องมือทั้ง 19 รายการเป็นเครื่องมือพื้นฐานอยู่แล้วครับ ขอให้ใจเย็นๆค่อยๆซึมซับเรื่องราวที่ผมจะถ่ายทอดให้นะครับ ตัวผมเองก็ใช้เวลาเป็นสิบๆปีหาความรู้และพัฒนาทักษะงานไม้ของตัวเอง ความชำนาญด้านงานไม้ไม่ต่างจากงานฝีมือด้านอื่นๆครับ คือ ไม่มีทางลัด เราต้องเริ่มด้วยการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนแล้วเสริมด้วยการฝึกฝนอย่างมุ่งมั่นครับ 

เรื่อง "งานไม้ประณีต จะเริ่มอย่างไร?" ที่ผมเขียนนี้เป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านงานไม้และเครื่องมือช่างไม้ที่ผมตั้งใจให้ตอบคำถามของมือใหม่ให้ได้มากที่สุดครับ

ผมขอให้รออ่านเรื่องที่ผมจะเขียนก่อนดีไหมครับว่าตอบคำถามที่อยู่ในใจหรือไม่ ถ้าผมต้องตอบคำถามในเรื่องที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก็จะทำให้การเดินเรื่องสะดุด สะเปะสะปะ ขาดความต่อเนื่อง และไม่น่าอ่านสำหรับท่านอื่นๆ

คำถามเรื่องเลื่อยลันดาของคุณpakaeเป็นเรื่องที่ผมตั้งใจจะอธิบายอยู่แล้วครับ และเรื่องการสาธิตการเลื่อยนั้นรอชมได้ที่งานรวมพลฯในวันที่ 28 ต.ค. 55 ครับ

ถ้าผมเขียนเรื่องที่ท่านอยากทราบจบไปแล้วโดยที่ขาดความชัดเจน เข้าใจยาก ไม่ตอบคำถามในใจของท่าน หรือท่านไม่เห็นด้วยกับความเห็นผม ก็ขอให้แจ้งผมมาทันทีเลยนะครับ ผมยินดีเสมอที่จะให้ความกระจ่างเท่าที่ความรู้และประสบการณ์ผมจะให้ได้ และอยากที่จะฟังมุมมองที่แตกต่างด้วยเพื่อที่ตัวผมเองจะได้มีพัฒนาการ

ถ้าท่านสะดวกกว่าที่จะคุยกันก็โทรศัพท์หาผมได้ที่เบอร์ 081 8241784 หรืออีเมล์มาคุยกันที kematat_k@yahoo.com ครับ

ผมดีใจทุกครั้งที่ได้คุยเรื่องงานไม้และเครื่องมือช่างไม้กับทุกท่านที่โทรมาหาผมครับ

มีเรื่องหนึ่งที่เจ้าของคำถามทุกท่านจะช่วยผมได้เป็นอย่างมากคือ เรื่องการตั้งคำถามให้ชัดเจนตรงประเด็น และจะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าได้ลองอ่านคำถามของท่านโดยใส่ความรู้สึกของผู้ที่ไม่เคยได้ทราบเรื่องราวของท่านมาก่อนว่าอ่านคำถามแล้วจะเข้าใจอย่างไร ถ้ายังไม่ชัดเจนก็ช่วยแก้ไขให้กระชับตรงประเด็นด้วยนะครับ ถ้าถ่ายภาพมาประกอบคำถามก็จะช่วยได้อีกแรงหนึ่งครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-09 12:53:41


ความคิดเห็นที่ 38 (1531977)
avatar
ตาโล

 ผมอยากเสนอคุณเขมทัต และทีมงานเวป ครับคือว่า

1.ถ้ามีการตั้งหัวข้อให้สามารถลิงค์ไปได้ในรายละเอียดแต่ละเรื่องน่าจะเป็นการจัดหมวดหมู่ของความรุ้ที่ดีครับ

แต่ละคนจะสามารถเจาะเข้าประเด็นที่ตัวเองสนใจได้เลย โดยไม่ต้องไปไล่อ่านตาม  มันยาวครับ  ติดตามยากครับ

2.บางส่วนที่สามารถจัดทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ ก็จะยิ่งดี มีบรรยายพร้อมย่ิงเคลียร์ ครับ

3.ท่านผู้่รุ้และชำนาญ ท่านอื่นช่วยแชร์ได้ (คล้ายๆกับเป็นการช่วยรับผิดชอบด้านนี้ ๆ น่ะครับ)

4.ประโยชน์จากการจัดรวมพลฯ น่าจะเกิดประโยชน์ได้มากขึ้น หากมีการเก็บภาพ เสียงไว้ แล้วจัดใส่ในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

เอาเข้ามาเก็บไว้เป็นคลังกระทู้ครับ  

ผมขอขอบคุณ คุณเขมทัต ทีมงานเวป และทุกๆท่านที่ช่วยแต่งเติมความรุ้งานไม้ให้กับวงการ ให้กับคนไทย 

ผมและหลายๆคน ทราบซึ้ง แต่ความรู้ ทักษะยังไม่พอจะแบ่งปัน ยังขอเป็นผู้รับไปก่อนอ่ะครับ

แต่ความคิดที่จะช่วยเสนอแนะ ก็พอจะทำไปครับ     

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาโล (paisaan-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-09 18:57:21


ความคิดเห็นที่ 39 (1532498)
avatar
ปัน

สวัสดีครับ พี่เสริฐ ผมยังไม่มีกล้องชัดเลย ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเว็บเลย เขามาเก็บเกี่ยววิชาจาก อาจารย์เอ๋ อาจารย์เขมทัต อาจารย์ต้อม และพี่ทุกท่าน การกระตุ้น ของอาจารย์เขมทัต ครั้งนี้ืถือเป็นการ ปลุกใจเราทุกคน ให้มุ่งมั่นครับ ยิ้มนะครับ ทำงานสบายๆและรับผิดชอบงานที่ดี แจ่มแน่นอนครับเจ้านาย...

         Like เลย

ผู้แสดงความคิดเห็น ปัน วันที่ตอบ 2012-10-11 10:33:08


ความคิดเห็นที่ 40 (1533151)
avatar
pakae

ขอบคุณมากคับพี่เขม

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-13 11:39:05


ความคิดเห็นที่ 41 (1533389)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

วันนี้อากาศปลอดโปร่ง ผมจึงได้โอกาสถ่ายภาพเครื่องมือช่างไม้พื้นฐานสำหรับการทำงานไม้ประณีต ตามรายการข้างต้นมาให้ชมกันครับ

เครื่องมือที่ไม่ตรงกับรายการคือ

ตลับเมตร:          ที่เห็นในภาพเป็นตลับเมตรสแตนลีย์ขนาด 7.5 เมตร

บุ้ง:                    ที่เห็นในภาพเป็นบุ้งของ Oberg ขนาด 16 นิ้วและตะไบท้องปลิงของตะไบไขว้

ไม้บรรทัด:         ที่เห็นในภาพเป็นไม้บรรทัดของ KDS ขนาด 24 นิ้ว

สว่าน:               ที่เห็นในภาพเป็นสว่านมากิต้าขนาด  1/4 นิ้ว

ดอกสว่าน:         ที่เห็นในภาพเป็นชุดดอกสว่าน 1/16 - 1/4 นิ้วของ Evacut

แว่นตานิรภัย:     ที่เห็นในภาพเป็นแว่นตานิรภัยซึ่งเป็นรายการเพิ่มเติมจากรายการแรก

สิ่ว:                    ที่เห็นในภาพเป็นชุดสิ่วสแตนลีย์ขนาด 6, 8, 13, 19, 25 มม.

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-14 17:32:28


ความคิดเห็นที่ 42 (1533392)
avatar
พงษ์(บ้านงานไม้)

 ..ตามไปติด ๆ..

ผู้แสดงความคิดเห็น พงษ์(บ้านงานไม้) (bangranmai_k-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-14 18:02:44


ความคิดเห็นที่ 43 (1533415)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ขอบคุณครับคุณพงษ์

เสร็จงานในห้องช่างไม้คืนนี้แล้วจะเขียนต่อครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-14 20:43:25


ความคิดเห็นที่ 44 (1533458)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ช่วงนี้ของเรื่องจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือช่างไม้พื้นฐานที่ผมแนะนำทั้ง 20 ประเภท (รวมถึงแว่นตานิรภัย) ครับ

รายการที่ 1: เลื่อยลันดา
เลื่อยของช่างไม้มีหลายประเภท ภาพที่ 4 เป็นตัวอย่างเลื่อยที่ผมใช้ทำงานไม้ครับ
ผมจะแยกประเภทของเลื่อยในภาพเป็น 4 ประเภทดังนี้ครับ:
เลื่อยอก คือเลื่อยที่เห็นวางอยู่ด้านบนสุดของภาพ เลื่อยอกเป็นเครื่องมือโบราณที่ช่างไม้จีน ช่างไม้ไทย และช่างไม้ยุโรปส่วนใหญ่นิยมใช้ (ช่างอังกฤษและช่างอเมริกันไม่ค่อยนิยมใช้เลื่อยอกครับ) เลื่อยอกในภาพเป็นเลื่อยอกจีนจากธรรมศักดิ์ มีส่วนประกอบหลักๆ 5 ส่วนคือ ใบเลื่อย, ขา 2 ข้าง, คาน, หางปลาเร่งแรงตึง และทับหลัง
เลื่อยอกเป็นเลื่อยที่เราออกแรงดันเพื่อตัดเฉือนเนื้อไม้ ใบของเลื่อยอกจะตึงอยู่ตลอดเวลาด้วยแรงดึงจากขอเกี่ยวที่ปลายขาเลื่อยทั้งสองข้าง ตามภาพจะเห็นหางปลาที่ใช้เร่งหรือลดแรงตึงของใบเลื่อย เราสามารถบิดใบของเลื่อยอกโดยหมุนแกนขอเกี่ยวให้ทำมุมตามที่ต้องการได้ เลื่อยอกมีใบหลายแบบตั้งแต่ใบแคบใช้เลื่อยขอบโค้ง ใบแบนฟันละเอียดใช้เข้าไม้ และฟันหยาบใช้ผ่าไม้
ผมไม่ค่อยชำนาญการใช้เลื่อยอกมากนักครับ
 
เลื่อยลันดา คือเลื่อยสองปื้นใต้เลื่อยอกในภาพ เป็นเลื่อยที่เราออกแรงดันเพื่อให้ฟันเลื่อยตัดเฉือนเนื้อไม้ ใบเลื่อยส่วนโคนที่ติดกับด้ามจะกว้าง ปลายใบแคบ ความหนาของใบจะหนาที่สุดในบรรดาเลื่อยที่เห็นเพราะต้องแข็งแรงพอที่จะกันการโก่งงอขณะเลื่อย
เลื่อยลันดาตัวบนคือเลื่อย Bahco ยาว 24 นิ้ว ขนาดฟัน 7 ฟันต่อนิ้ว ที่ผมแนะนำ ส่วนตัวล่างเป็นยี่ห้อ Disston ยาว 26 นิ้ว ขนาดฟัน 10 ฟันต่อนิ้ว
 
เลื่อยรอ เลื่อยปังตอ Back Saw  เลื่อย 6 ปื้นที่อยู่ใต้เลื่อยลันดาในภาพ จะสังเกตได้ว่าเลื่อยกลุ่มนี้ทุกปื้นจะมีสันครอบอยู่ตลอดแนวยาวเหนือใบเลื่อย สันที่เห็นเป็นโครงสร้างที่ช่วยประคองใบให้ตรงและช่วยลดการโก่ง งอ แอ่นตัวขณะที่เราออกแรงดันให้ฟันเลื่อยเฉือนผ่านเนื้อไม้ ใบของเลื่อยประเภทนี้จะบางกว่าเลื่อยลันดามากเพราะมีสันช่วยรับแรงโก่ง
เลื่อยรอหรือเลื่อยปังตอนี้เป็นเลื่อยที่ช่างไม้ฝรั่งในอังกฤษและอเมริกานิยมใช้กันมากครับ
เลื่อยปังตอด้ามพลาสติกสีเหลือง/ดำคือเลื่อยที่ผมแนะนำตามรายการที่ 16 ครับ
 
เลื่อยญี่ปุ่น คือเลื่อยสองตัวล่างสุดในภาพ เลื่อยแบบนี้จะตัดไม้ขณะที่เราดึงตัวเลื่อย ใบของเลื่อยญี่ปุ่นจะบางกว่าเลื่อยทั้งสามประเภทที่กล่าวมาแล้วเพราะไม่ต้องเผื่อความหนาเพื่อรับแรงโก่งเพราะขณะตัดไม้ใบเลื่อยจะตึงตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ
เลื่อยตัวขวาเป็นเลื่อยอีกแบบหนึ่งที่ผมแนะนำตามรายการที่16 เลื่อยที่เห็นนี้มีฟันสองแบบ ฟันหยาบใช้ผ่า โกรก ซอยไม้ตามแนวเสี้ยนไม้ ส่วนด้านที่เป็นฟันละเอียดใช้ตัดขวางเสี้ยนไม้ เลื่อยญี่ปุ่นตัวซ้ายที่มีสันหลังครอบใบมีฟันที่ละเอียดยิบและใบที่บางเฉียบ ตามแคตาล็อกเขาบอกว่าใช้เลื่อยไม้ไผ่ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-14 23:18:15


ความคิดเห็นที่ 45 (1533473)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ผมเดาว่าที่มาของชื่อเลื่อย “ลันดา” คงมีความเกี่ยวข้องกับชาวฮอลันดาจากประเทศฮอลแลนด์ (ปัจจุบันเรียกชาวดัชจากประเทศเนเธอแลนด์) ผู้เข้ามาติดต่อคาขายกับเราในสมัยกรุงศรีอยุธยา น่าจะเป็นไปได้ว่าชาวฮอลันดานำเลื่อยของเขาติดมือมาใช้และจำหน่ายในบ้านเรา คนโบราณจึงเรียกเลื่อยฝรั่งแบบนี้ว่าเลื่อยลันดา

ผมสันนิษฐานว่าช่างไม้บ้านเราสมัยนั้นคงจะใช้เลื่อยอกเป็นหลัก ช่างบ้านเราคงชอบข้อดีของเลื่อยลันดาที่ใช้ง่ายกว่าเลื่อยอก และชอบข้อดีที่เลื่อยลันดาใช้เลื่อยไม้กว้างๆและผ่าไม้ยาวๆได้โดยไม่ติดคานเหมือนเวลาเลื่อยด้วยเลื่อยอก
แม้เลื่อยลันดาจะได้รับความนิยมจากช่างทั่วโลกแต่เลื่อยลันดาก็ไม่เคยเป็นเลื่อยที่ช่างไม้ใช้ทำงานละเอียดเหมื่อนเลื่อยอก เลื่อยรอ/เลื่อยปังตอ และเลื่อยญี่ปุ่น ในบ้านเราจะเห็นว่าช่างเครื่องเรือนและช่างทำวงกบรุ่นปู่และรุ่นพ่อก็ยังใช้เลื่อยอกกันอยู่ในการเข้าเข้าไม้ เลื่อยลันดาจะนิยมมากในหมู่ช่างก่อสร้าง
เลื่อยลันดามีข้อดีที่หัดใช้ง่าย ไม่มีข้อจำกัดเรื่องการผ่าและตัดไม้กว้างเพราะไม่มีคานไม่มีสัน แต่เลื่อยลันดาก็มีจุดอ่อนที่มีรอยผ่าหรือที่ช่างเรียกว่าคลองเลื่อยกว้างเกินที่จะทำงานละเอียด  
เนื่องจากเลื่อยลันดาเป็นเลื่อยที่ตัดไม้ในจังหวะดันใบเลื่อยลันดาจึงต้องหนาพอที่จะคงความเป็นระนาบโดยไม่โก่ง ไม่แอ่น และไม่งอระหว่างที่ฟันเลื่อยตัดเฉือนเนื้อไม้ ในกรณีของเลื่อยอกนั้นตัวใบจะตึงอยู่ตลอดเวลาเพราะมีแรงดึงจากขาทั้งสองข้างจึงไม่จำเป็นต้องสร้างใบให้หนา ส่วนเลื่อยญี่ปุ่นนั้นจะใช้ตัดไม้ในจังหวะดึงซึ่งจะก่อให้เกิดแรงดึงในใบเลื่อยโดยอัตโนมัติ ทำให้สร้างเลื่อยที่มีใบบางมากๆได้ เมื่อตัวใบเลื่อยของเลื่อยอกและเลื่อยญี่ปุ่นบางคลองเลื่อยก็จะแคบตามไปด้วยส่งผลให้ช่างไม้คุมรอยเลื่อยได้แม่นยำกว่าเลื่อยที่มีคลองกว้างอย่างเลื่อยลันดาจึและทำให้เลื่อยอกและเลื่อยญี่ปุ่นเหมาะกับงานละเอียด
เลื่อยที่ช่างฝรั่งใช้ทำงานละเอียดมีสองแบบครับ แบบแรกคือเลื่อยอกซึ่งมีหลักการทำงานไม่ต่างกับเลื่อยอกของจีนที่เห็น (เลื่อยอกฝรั่งไม่มีทับหลังแต่จะมีเกลียวเชือกที่ใช้เร่งใบให้ตึงแทน) ส่วนแบบที่สองคือเลื่อยปังตอ/เลื่อยรอที่เห็นในภาพที่ 4
ผมแนะนำให้เลื่อยลันดาเป็นเครื่องมือชิ้นแรกของช่างไม้ประณีตเพราะเป็นเลื่อยที่ใช้ง่าย แม้เลื่อยลันดาจะไม่เหมาะกับงานละเอียดอย่างการเข้าเดือยเลื่อยชนิดนี้ก็ช่วยเราจัดการงานตัดขวางไม้และงานผ่า โกรก ซอย ไม้ได้อย่างรวดเร็ว
เลื่อยลันดาจะมีฟันเป็นสามเหลี่ยม ยอดของฟันหรือคมเลื่อยจะเรียงแถวเป็นเส้นตรง มุมยอดของฟันเป็นมุม 60 องศา ซึ่งจะเป็นมุมเดียวกับมุมระหว่างฟัน และมุมทั้งสามของตะไบสามเหลี่ยม
ฝรั่งแบ่งเลื่อยลันดาออกเป็น 2 ประเภท คือ Rip Saw หรือเลื่อยผ่า และ Cross Cut Saw หรือ เลื่อยตัดขวาง
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-14 23:56:35


ความคิดเห็นที่ 46 (1533696)
avatar
ทศ

เป็นประโยชน์อย่างมากครับ ผมสนใจในงานไม้มากแต่ยังไม่เคยทำได้แต่เก็บเกี่ยวหาความรู้

หลังจากผมอ่านกระทู้นี้แล้ว จะไปซื้อเครื่องมือตามที่ คุณเขมทัต แนะนำครับ

และอยากให้คุณเขมทัต สอนทำงานไม้สักชิ้นสองชิ้น (ผ่านทางกระทู้นี้ครับ)

เพื่อให้พอมีความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆครับ

-ขอบพระคุณอย่างสูง-

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศ (manic_street7-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-15 13:42:51


ความคิดเห็นที่ 47 (1533709)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณทศ

ยินดีครับ ดีใจที่งานเขียนเรื่องนี้ได้ประโยชน์กับคุณ

เรื่องสอนทำงานไม้ ผมกำลังเตรียมงานอยู่ครับ อย่างที่แจ้งไปแล้วว่าจะสาธิตการทำม้าเลื่อยไม้และตู้เก็บเครื่องมือ

ม้าเลื่อยไม้คืบหน้าไปประมาณ 70% แล้วครับ ภายในสัปดาห์นี้ได้เห็นภาพม้าตัวนี้แน่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-15 14:45:37


ความคิดเห็นที่ 48 (1533724)
avatar
เอกครับ

ขอบคุณพี่เขมทัต ครับ ชอบตรงความคิดเห็นที่19 ครับ เก็บไว้อ้างอิง

พี่คนนี้มีแต่ให้

ผู้แสดงความคิดเห็น เอกครับ วันที่ตอบ 2012-10-15 16:20:27


ความคิดเห็นที่ 49 (1533773)
avatar
pop

           จะเก็บข้อสงสัยไว้สอบถามในวันงานรวมพลฯนะครับครูเขม

ผู้แสดงความคิดเห็น pop (poppop297-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-15 21:43:26


ความคิดเห็นที่ 50 (1533793)
avatar
ชำนาญ

 ไม่ทราบว่าใบเลื่อยอกในปัจจุบันนี้สามารถหาซื้อได้ที่ไหนครับ  เพราะมีตัวเลื่อยที่ได้รับตกทอดมาจากรุ่นคุณพ่อแต่ใบเลื่อยขึ้นสนิมจนยากแก่การแก้ไข  รบกวนทราบแหล่งซื้อหน่อยครับ  

                                                        ขอบคุณครับ

                                                           

ผู้แสดงความคิดเห็น ชำนาญ วันที่ตอบ 2012-10-15 23:26:38


ความคิดเห็นที่ 51 (1533798)
avatar
เขมทัต

ลองติดต่อธรรมศักดิ์การช่างครับ โทร 02 4130807

อีกที่คือwww.treking that.com เมื่อสองวันก่อนเห็นกระทู้ขายใบเลื่อยอกของฝรั่งเศสตามลิงค์นี้ครับ

http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=82&topic_no=373002&topic_id=378799

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต (Kematat_k-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-15 23:46:06


ความคิดเห็นที่ 52 (1533802)
avatar
patty

อยากเห็นม้าเลื่อยไม้ของครูเขมจัง  อยากมีมานานแล้วครับแต่ยังไม่มีแบบ ถ้าได้ครูเขมแนะนำคงจะดีทีเดียว แต่ผมขอแค่ลูกม้าก็พอตัวใหญ่ๆๆ คงเลี้ยงม่าย..ไหวครับ...      ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ครูเขมให้มาดีมากๆๆเลยครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีคำแนะนำเรื่องกบไสไม้ด้วยหรือเปล่าครับ ผมเห็นมีตั้งหลายแบบ และหลายๆแบบก็เลิกใช้กันไปแล้ว ถ้าพอค้นหาได้ จะดีทีเดียว  ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น patty ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-16 00:16:23


ความคิดเห็นที่ 53 (1533866)
avatar
i3ird

อ่านกระทู้พี่เขมนี้เสร็จตั้งเป้าไว้ว่าขอทำงานไม้ที่ปราณีตสักชิ้นพออ่านแล้วเริ่มมีแรงฮึดสู้ขอบคุณพี่เขมทัตที่สร้างแรงบันดาลใจให้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น i3ird (bird-togo-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-16 10:36:55


ความคิดเห็นที่ 54 (1533927)
avatar
paisal

การเลือกซื้อเครื่องมือพื้นฐานของผมในช่วงแรกนั้นไม่ค่อยมีหลักเกณฑ์ ส่วนช่วงหลังๆใช้วิธีดูพี่เขมทัตซื้อใน TkTครับ

บางยี่ห้อที่เราไม่รู้จัก ถ้าพี่เขมทัตเลือกซื้อคงต้องดีแน่ๆ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ) 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น paisal (paisalsung-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-16 14:00:39


ความคิดเห็นที่ 55 (1533981)
avatar
ชำนาญ

 ขอบคุณครับ  คุณเขมทัต  

ผมได้ติดต่อสั่งจองใบเลื่อยอกจาก  Traking that.com

ตามที่คุณเขมทัตให้คำแนะนำแล้วครับ  และยังได้พบกับเครื่องมืือแปลก ๆ อีกมากมาย

ขอบคุณมากมากครับ

                             ฃำนาญ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชำนาญ วันที่ตอบ 2012-10-16 16:37:11


ความคิดเห็นที่ 56 (1533989)
avatar
pakae

ละเอียดครบถ้วน ผมว่าเกินที่ผมอยากรู้ด้วย

ขอบคุณครับพี่เขม

 

รออ่านต่อครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-16 17:23:22


ความคิดเห็นที่ 57 (1534327)
avatar
กุญช์ภัสส์ นาคำ (เถียน)

 

ขอติดตามรายละเอียดด้วยคนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น กุญช์ภัสส์ นาคำ (เถียน) (noothong52-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-17 10:07:36


ความคิดเห็นที่ 58 (1534497)
avatar
ศุภมิต

 ขอเรียนถามคุณ เขมทัต ครับ

ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเลื่อยเท่าใดนัก เท่าที่รู้คือ เลื่อยลันดาจะมีคลองเลื่อยกว้างกว่าเลื่อยลอ

 

วันนี้ผมผ่านไปเห็นเลื่อยลันดาของ INDY ขนาด 22 นิ้ว  ใบเลื่อยเป็นสีดำทั้งหมด  ผมเล็งดูคลองเลื่อย

แล้วก็เห็นว่า คลองเลื่อยมันไม่ได้บิดซ้ายบิดขวาเลย คือคลองเลื่อยกว้างเท่ากับความหนาของใบเลื่อยน่ะครับ

แต่ลักษณะของใบเลื่อยจะเหมือนกับเลื่อยลันดาของ VOREX  คือน่าจะชุบแข็งมาแล้ว

 

 ผมเคยดูแนวคลองเลื่อยของ VOREX แล้วเห็นว่าคลองเลื่อยกว้างกว่าตัวใบเลื่อยประมาณ 1 มม.

ผมใช้เพียงการกะประมาณด้วยสายตานะครับ ไม่ได้ใช้เวอร์เนีย

 

ครับ คำถามคือ เลื่อยลันดาของ INDY คือเลื่อยลันดาจริงหรือควรจัดเป็นเลื่อยลอครับ เลื่อยลันดาของใหม่เมื่อซื้อมาแล้วต้องมาคัดคลองอีก หรือว่านำไปใช้งานได้ทันทีครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-17 19:55:02


ความคิดเห็นที่ 59 (1534507)
avatar
art เพาะช่าง

ขอเป็นนักเรียนด้วยคนนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น art เพาะช่าง วันที่ตอบ 2012-10-17 20:48:12


ความคิดเห็นที่ 60 (1534534)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณเอก คุณไผ่ตง คุณคม สามโคง คุณpakae และคุณปัน

ผมดีใจที่เรื่องที่เขียนและรายการเครื่องมือที่ผมแนะนำเป็นประโยชน์ครับ รายการเครื่องมือนี้นี้คงจะเปลี่ยนแปลงบ้างในอนาคต ลองแวะเวียนมาดูเป็นครั้งคราวนะครับ

เรียนคุณตาโล

เรื่องการจัดหมวดหมู่ของกระทู้ผมขอให้เป็นการจัดการดูแลของทางทีม ThaiCarpenter.com นะครับ สำหรับมือใหม่และผู้มาใหม่ก็สามารถค้นหาเรื่องที่สนใจได้โดยการ กรอกคำที่เกี่ยวข้องแล้วกด Search ได้อยู่แล้วนะครับ

เรียนคุณ pop

เรื่องคำถาม ถ้าเกี่ยวกับเรื่องที่มเขียนไปแล้วถามมาได้เลยครับ อย่ารอให้ถึงวันงานรวมพลฯเลยครับ ถ้าเป็นคำถามเรื่องที่ยังไม่ได้เขียนถึงก็ขอให้รอหน่อยครับ

เรียนคุณ Patty

เรื่องแบบของม้าเลื่อยไม้จะลงภาพร่างให้ดูในความเห็นถัดไปครับ ส่วนของจริงน่าจะได้เป็นภายในวันศุกร์หรือเสาร์นี้ครับ

สำหรับเรื่องการใช้กบผมเขียนไปหลายครั้งแล้วนะครับ ลองค้นในกระทู้เก่าๆดูนะครับ

เรียนคุณ Bird

ผม (และอีกหลายท่าน) รอชมงานฝีมือคุณBird อยู่ครับ ถ้ามีอะไรให้ช่วยบอกมาเลยนะครับไม่ต้องเกรใจครับ

เรียนคุณ paisal

ของส่วนใหญ่ที่ผมซื้อในเว็ป Trekkingthai เป็นเครื่องมือช่างกลึงนะครับ ดังนั้นอาจไม่ได้ใช้กับงานไม้ครับ เพิ่งจะมีเมื่อสองวันก่อนที่ซื้อบุ้งของ Oberg สำหรับใช้กับไม้ไปครับ

เรียนคุณชำนาญ

เว็ป Trekkingthai มีของน่าสนใจเยอะครับ เท่าที่ติดตามพอจะสังเกตได้ว่าเราต้องเร็ว ต้องเข้าไปดูบ่อยๆ มิฉะนั้นไม่ทันขาประจำครับ

เรียนคุณ กุญช์ภัสส์  คุณ art เพาะช่าง

ยินดีต้อนรับทั้งสองท่านครับ คุณ art เป็นญาติกับคุณเอ๋ เพาะช่างหรือเปล่าครับ :)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-17 22:05:08


ความคิดเห็นที่ 61 (1534537)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

สำหรับเรื่องการค้นหาเรื่องที่เราสนใจในกระทู้ที่ยาวๆ ผมมีข้อแนะนำให้ใช้วิธีก๊อป***ทั้งหน้าจอและนำไปวาง (paste) ในไฟล์ MS Word ที่เปิดรอไว้ โดยทำตามขั้นตอนนี้ครับ:

1) คลิกลูกศรไปที่ส่วนใดของกระทู้ก็ได้

2) กด CTRL กับ A พร้อมกันเพื่อเลือกทุกข้อความที่อยูหน้าจอ (เทียบเท่าการ Select All)

3) เปิดไฟล็ MS Word แล้วกด CTRL กับ V พร้อมกัน เพื่อแปะข้อความ (Paste)  ที่เราลอกมาลงบพ MS Word

4) ตั้งชื่อและเซฟไฟล์ MS Word

5) ทำการค้นหาเรื่องที่อยากอ่านโดยการกด CTRL กับ F พร้อมกัน เราจะเห็นหน้าจอสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆโผล่ขึ้นมา

6) กรอกคำที่เกี่ยวข้องเช่น ถ้าอยากอ่านเรื่องกบไสไม้ก็ กรอกคำว่า กบไสไม้ลงไป ในช่องสี่เหลี่ยม

7) คอมพิวเตอร์จะค้นหาคำว่า กบไสไม้ และรายงานเราว่าพบกี่แห่ง พร้อมพาเราไปที่บรรทัดแรกที่มีคำนี้

8) เริ่มอ่านย่อหน้านั้น แล้วกดลูกศร ขึ้น หรือ ลง เพื่อหาคำถัดไปจนครบ

9) กรณีกระทู้ยาวๆที่มีมากกว่า 1 หน้า ก็ให้คลิกหน้าที่ 2 แล้วทำตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้วนำข้อความที่คัดลอกไปต่อท้ายข้อความที่ลอกมาจากหน้าแรก

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-17 22:20:40


ความคิดเห็นที่ 62 (1534538)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปม้าเลื่อยไม้ของผมที่คุณ patty อยากเห็นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-17 22:24:19


ความคิดเห็นที่ 63 (1534544)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรียนคุณศุภมิต

ผมไม่เคยเห็นเลื่อยลันดายี่ห้อ INDY ที่คุณกล่าวถึงเลยครับ ลองค้นหาในกูเกิลก็ได้ภาพที่ผมแนบมา ไม่ทราบว่าเป็นตัวเดียวกันหรือไม่

เลื่อยแทบทุกชนิดที่ผมรู้จักจะมีการดัดหรือคัดฟันเลื่อยให้เบนออกจากผืนใบเลื่อยครับ การดัดฟันเลื่อยจะทำให้เกิดรอยผ่าที่กว้างกว่าความหนาของใบซึ่งจะทำให้เราดันและชักเลื่อยผ่านร่องได้สะดวก ฟันยิ่งใหญ่คลองก็ยิ่งกว้างตาไปด้วยครับ

มีเลื่อยอยู่สองแบบที่ผมรู้จักที่เราจะไม่ดัดฟันคัดคลองเลย คือเลื่อยตัดแผ่นวีเนียร์ (Veneer Saw) และ เลื่อยปาดเดือย (Dowel Saw) ครับ เวลาใช้เลื่อยวีเนียร็เราจะเนบใบเลื่อยกับขอบเรียบที่กดทับแผ่นวีเนียร์แล้วลากฟันเลื่อยบนแผ่นวีเนียร์เพื่อกรีดตัด ส่วนเลื่อยปาดเดือยจะใช้ปาด/ตัดเดือยไม้ที่โผล่ขึ้นมาจากผิวไม้เพื่อตัดเดือยให้แนบกับผิวไม้

เลื่อยลันดาของ INDY คือเลื่อยลันดาจริงหรือควรจัดเป็นเลื่อยลอครับ?

 ถ้าเป็นเลื่อยตามรูปที่ผมลงก็เป็นเลื่อยลันดาครับ เลื่อยรอที่ผมรู้จักจะมีสันประคองด้านบนของใบครับ นอกจากนี้เลื่อยรอก็จะมีใบที่บางและฟันที่เล็กกว่าเลื่อยลันดามาก

เลื่อยลันดาของใหม่เมื่อซื้อมาแล้วต้องมาคัดคลองอีก หรือว่านำไปใช้งานได้ทันทีครับ?

เลื่อยทุกชนิดที่ผมรู้จักจะมีคลองเลื่อยที่คัดมาเรียบร้อยแล้ว (เล้นเลื่อยวีเนียร์กับเลื่อยปาดเดือย) และจะใช้งานได้ทันทีครับ

โดยสรุปผมไม่มีความรู้พอที่จะตอบคำถามเรื่องเลื่อย Indy ทีคุณพูดถึง ถ้ามีรูปถ่ายและรายละเอียดเพิ่มผมอาจช่วยได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-17 22:46:54


ความคิดเห็นที่ 64 (1534553)
avatar
ศุภมิต

 ตอบคุณ เขมทัต ครับ

เลื่อยลันดา INDY ที่ผมตั้งคำถามไว้ คือเลื่อยตัวเดียวกันกับรูปที่คุณ เขมทัต ลงไว้นี่แหละครับเรื่องรูปถ่ายนี้ผมได้เคยลองโพสท์ในกระทู้อื่นมาแล้ว แต่ทำไม่สำเร็จครับอาจเป็นเพราะผมไม่ได้ใช้เครื่อง PC  ก็เป็นได้ ซึ่งเรื่องนี้ผมต้องค้นหาวิธีต่อไปครับ

ขอบคุณครับที่ช่วยไขความกระจ่างในเรื่องของเลื่อยครับ

 

ตอนนี้เห็นกำลังกล่าวถึงเรื่องม้าเลื่อยไม้อยู่ จึงมีคำถามครับว่า ม้าเลื่อยไม้นี้มีหลักการกำหนดความสูงไว้อย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสรีระของแต่ละคนครับ เพราะความสูงของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน ความยาวของแขนและขาย่อมต้องแตกต่างกัน คนตัวใหญ่ไปใช้ม้าเลื่อยไม้้ของคนตัวเล็กก็คงจะทรมาณสังขารอยู่พอสมควร พอจะมีวิธีวัดแบบคร่าวๆใหมครับ

และขอโทษที่ต้องถามนอกเรื่องสักข้อหนึ่ง ผมกำลังคิดจะทำ WORKBENCH ไว้ใช้สักตัว ความสูงของโต๊ะงานไม้นี้มีวิธีดูอย่างไรว่าเหมาะกับเรา ผมเคยอ่านผ่านมาว่าให้สูงพอๆกับชายเสื้อหรือสูงกว่าข้อมือของเราเล็กน้อยในท่ายืน หลักการนี้เหมาะสมแล้วหรือไม่อย่างไรครับ

ถ้าคำถามของผมเป็นการถามกระโดดไปล่วงหน้าหรือไม่ตรงกับหัวข้อที่กำลังสนทนากันอยู่ ก็เก็บไว้ตอบอีกครั้งในโอกาสที่เหมาะสมได้นะครับ ผมไม่อยากแทรกให้เสียอรรถรส

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-17 23:30:41


ความคิดเห็นที่ 65 (1534568)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณศุภมิต

ผมชอบคำถามของคุณศุภมิตทั้งในกระทู้นี้และกระทู้อื่นครับและยินดีตอบทั้งสองคำถามซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังเขียนอยู่

ความสูงของม้าเลื่อยไม้ที่ผมทำจะอยู่ประมาณ 60-61 ซม. ซึ่งเป็นความสูงพอเหมาะที่จะช่วยให้ผมยืนบนเท้าขวาแล้วใช้เข่าซ้ายกดแผ่นไม้ที่จะตัดลงบนหลัง(พื้น)ม้า ถ้าสูงกว่านี้ผมต้องเขย่ง ในทำนองกลับกันถ้าต่ำกว่านี้ผมต้องก้มตัวมากเกินไปและจะเมื่อยหลังครับ ผมถนัดขวาและสูง 174 ซม.ครับ ก่อนจะสร้างแนะนำให้หาความสูงที่พแเหมาะโดยการวางไม้บนแท่น/โต๊ะ/ลัง แล้วปรับหาความสูงที่เราถนัดครับ

ความหนาของไม้ก็มีส่วนดังนั้นขณะทดลองเลื่อยควรใช้ไม้ที่เราจะเลื่อยบ่อย สำหรับผมก็จะเป็นไม้กระดานหนา 1 นิ้วครับ

 

สำหรับความสูงของโต๊ะช่างไม้ (workbench) ผมได้เขียนไว้แล้วในเรื่อง "โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม" ครับ โต๊ะตัวแรกของผมสูงประมาณ 82.5 ซม. ส่วนโต๊ะของพี่เติมสูง 85.5 ซม. โต๊ะตัวต่อไปของผมก็ตั้งใจว่าจะทำให้สูง 85.5 ครับเพราะใช้แล้วถนัดกว่า

ผมก็เคยอ่านเรื่องการหาความสูงจากสรีระของเรา โรงเรียนหนึ่งว่าให้สูงเท่าปลายหมัดหรือประมาณข้อนิ้วทั้งสี่ขณะห้อยแขนตรง อีกโรงเรียนบอกว่าให้ต่ำกว่าท่อนแขนที่ยกขนานกับพื้นในท่าไสไม้อยู่ 4 นิ้ว สูตรสำเร็จของสองโรงเรียนนี้จะให้ความสูงของโต๊ะที่ต่างกันถึง 10 ซม.ในกรณีของผม

ดังนั้นผมจึงไม่อยากแนะนำให้ใช้สูตรอันใดอันหนึ่งแต่อยากให้คุณศุภมิตทดลองไสไม้กับกบที่จะใช้บ่อยที่สุด บนโต๊ะช่างไม้ที่พอจะขอลองใช้ได้ หรือสร้างแท่นชั่วคราวขึ้นมาเพื่อทดลองด้วยตัวเองครับ  ถ้าว่างไปร่วมงานรวมพลฯในวันที่ 28 นี้ก็เชิญทดลองกับ "โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม" ได้นะครับ ผมได้ขอยืมโต๊ะเพื่อนำไปใช้ในงานจากพี่เติมผู้เป็นเจ้าของโต๊ะไว้แล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-18 00:36:17


ความคิดเห็นที่ 66 (1534583)
avatar
ศุภมิต

ผมไม่มีโอกาสจะไปงานรมพลฯหรอกครับ ผมอยู่ต่างจังหวัด จะเข้ากรุงเทพฯแต่ละครั้งก็ต้องพ่วงธุระหลายอย่างจึงจะมีโอกาสได้ไปครับ  ดังนั้นทางเดียวที่ผมจะหาความรู้ได้คือการติดตามอ่านและตั้งกระทู้ถามผ่านทางเวปบอร์ดนี้ ผมเชื่อว่ายังมีผู้สนใจงานไม้อีกหลายคนที่อยู่ในสถานะแบบผมครับ

ผมคิดว่าในรายการอุปกรณ์พื้นฐานของงานไม้ประณีต น่าจะเพิ่มกระดานไสฉากหรือShooting Board เข้าไปด้วยนะครับ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่เครื่องมือโดยตรง แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรมีควรทำเป็นอันดับต้นๆเหมือนกับม้าเลื่อยไม้ ถ้าคิดจะทำงานไม้ประณีต แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณ เขมทัต ด้วยครับ

ที่ผมเสนอมานี้เพราะเห็นว่ากระทู้เดิมที่พูดถึงกระดานไสฉากเดิมนั้นขาดการอัพเดทและตกไปไกลแล้ว ดังนั้นถ้าเอามารวมไว้ในกระทู้นี้จะเป็นการง่ายแก่มือใหม่ที่จะเข้ามาศึกษาด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-18 08:21:43


ความคิดเห็นที่ 67 (1534630)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณ ศุภมิต

ใจเราตรงกันเรื่องกระดานไสฉากครับ ผมตั้งใจให้กระดานไสฉากเป็นหนึ่งในรายการเครื่องมือช่างไม้ประณีตครับ

เหตุผลที่ผมไม่ได้รวมกระดานไสฉากและเครื่องมืออีกหลายรายการไว้ในเครื่องมือฯ 19 รายการแรกก็เพราะผมอยากการฝึกงานไม้ประณีตเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ ค่อยเป็นค่อยไปในที่นี้มีความหมายทั้งทางด้านการฝึกความชำนาญและทุนทรัพย์ที่ต้องใช้ ผมเกรงว่าหากผมเร่งเรื่องการสรรหาเครื่องมือหรือระดับความยากของงานไม้แล้วมือใหม่ทั้งหลายอาจ ทุนไม่ถึง หรือ ตามไม่ทัน จนในที่สุดอาจท้อกับงานไม้ประณีต

ผมได้รับบทเรียนเรื่อง ตามไม่ทัน จากเรื่อง "โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม" มาแล้วดังนี้ครับ

นับตั้งแต่ผมได้เล่าเรื่องโต๊ะช่างไม้ในฝันเวลาได้ผ่านไปประมาณ 1 ปี แล้ว แม้มีผู้อ่านกระทู้นี้หลายหมื่นครั้งและมีผู้ชื่นชมกับผลงานชิ้นนี้มากมายแต่เท่าที่ผมทราบมีผู้ชื่นชมสร้างโต๊ะช่างไม้ขึ้นใช้เองไม่เกิน 5 ท่าน หนึ่งในนั้นคือ คุณ paisal (ตาทกระทู้เรื่อง "ครูพักลักจำ") ในความเห็นของผมผู้อ่านหลายท่านที่สนใจงานไม้คงอยากได้โต๊ะช่างไม้ของตัวเองแต่อาจจะขาดความมั่นใจในการสร้างและขาดความพร้อมเรื่องเครื่องมือ บางท่านโทรมาปรึกษา บางท่านติดต่อมาหาผมเพื่อจะว่าจ้างผมให้สร้างโต๊ะช่างไม้ให้ โดยรวมแล้วผมคิดว่าผู้อ่าน ตามไม่ทัน ดังนั้นผมประเมินตัวเองว่าผมสอบตกในเรื่องการจูงใจให้ผู้อ่านสร้างโต๊ะช่างไม้

สำหรับเรื่อง ทุนไม่ถึง นั้นผมถือเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะผมไม่เชื่อว่า การทำงานไม้ประณีตต้องใช้ทุนมหาศาลเพื่อซื้อเครื่องมือชั้นยอดมากชิ้น เพราะถ้าต้องใช้ทุนมากก็แปลว่ามีน้อยคนจะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ และตัวผมเองก็ฝึกงานไม้ประณีตมาด้วยเครื่องมือไม่กี่ชิ้น ผมจึงอยากพิสูจน์ว่าด้วยเครื่องมือพื้นฐานไม่กี่ชิ้นเราก็สามารถฝึกตัวเองให้ทำงานไม้ประณีตได้ถ้าเรามีความตั้งใจและมุ่งมั่นจริง

การหาเครื่องมือตามวงจรงานไม้ประณีตนั้นเริ่มจากการซื้อ ขอ ยืม ไปจนถึงการดัดแปลงและสร้างเครื่องมือด้วยตัวเอง เครื่องมือชิ้นแรกที่ผมคิดว่าจำเป็นสำหรับช่างไม้ทุกคนคือ ม้าเลื่อยไม้ ครับ จากนั้นก็จะเป็น ตู้เก็บเครื่องมือ ตามด้วย กระดานไสฉาก ไม้เล็งระนาบ จิ๊กลับใบกบ/สิ่ว ....... จนไปถึง โต๊ะช่างไม้ ซึ่งผมได้เขียนเรื่องแนวคิดในการออกแบบตลอดจนวิธีการสร้างอย่างละเอียดไว้ในเรื่อง "โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม"

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-18 09:41:49


ความคิดเห็นที่ 68 (1534635)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ผมอยากขยายความเรื่องพัฒนาการของช่างไม้ประณีตดังนี้ครับ

ถ้าเราเดินตามกระบวนการ ตั้งเป้า หาความรู้ หาเครื่องมือ ฝึกทำงานไม้ จนถึงใช้งาน/ขายผลงาน แล้ว ขยับตัวเองไปขั้นถัดไปโดยตั้งเป้าที่สูงขึ้น สรรหาเครื่องมือเพิ่มความพยายามในการทำงานสำหรับงานที่ยากขึ้นแล้ว ฝีมือของผู้ฝึกงานไม้ประณีตทุกคนก็จะพัฒนาขึ้นตามประสบการณ์และเวลาทีลงทุนกับงานไม้ เปรียบเหมือนรูปวงจรที่ใหญ่ขึ้น

ผมเชื่อต่อไปอีกว่าพัฒนาการด้านฝีมืองานไม้ประณีตที่อิงกับเวลาและประสบการณ์ล้วนๆจะมีจุดจำกัด ผมอยากเรียกจุดจำกัดนี้ว่า เส้นวัดใจ ตามภาพที่แนบครับ ผู้ที่มีทัศนคติเชิงบวกที่สามารถชนะใจตัวเองให้ฝ่าด่านของความเป็นเลิศเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาฝีมืองานไม้ประณีตของตนเองอย่างก้าวกระโดด เพื่อสร้างผลงานชิ้นเอก

งานชิ้นเอกเหล่านี้แหละครับที่จะสร้างความศรัทธาแก่ผู้ที่ได้สัมผัสพบเห็น สร้างความภูมิใจให้กับผู้สร้างและสร้างความมั่นใจให้ผลิตงานชั้นยอดเยี่ยมขึ้นไปอีก

ในกรณีที่ผู้สร้างเลือกที่จะขายผลงานชิ้นเอกเหล่านี้เขาก็จะเป็นผู้กำหนดราคาผลงานของเขา โดยที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายเพราะรู้ว่าซื้อไปก็คุ้ม ขายต่อก็ได้ราคา

ช่างไม้ประณีตอาชีพที่ผ่านเส้นวัดใจที่ว่านี้ไปได้ คือช่างชั้นครู ที่ผมเชื่อว่า จะมีรายได้จากงานที่ทำอย่าง กินไม่ทันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-18 10:02:58


ความคิดเห็นที่ 69 (1534658)
avatar
ศุภมิต

 คุณ เขมทัต ครับ

ผมเองนี้แหละครับที่ เป็นมือใหม่ ทุนไม่ถึงและเลือกที่จะทำงานไม้แบบประณีต เครื่องมือที่ผมมีอยู่มีเพียงสว่านและเลื่อยจิ๊กซอว์ที่เป็นเพาเวอร์ทูล นอกจากนั้นก็เป็นแฮนด์ทูลที่ไม่ครบ 19 อย่างด้วยซ้ำครับ

สำหรับกระทู้เรื่องโต๊ะงานไม้ในฝันที่คุณบอกว่าสอบตกในเรื่องการสร้างแรงจูงใจ แต่ผมไม่คิดเช่นนั้นครับ ผมกลับคิดว่าเป็นกระทู้ตัวอย่างที่ดีที่ช่วยให้เราสร้างโต๊ะงานไม้ขึ้นมาได้ด้วยฝีมือตัวเอง  เพียงแต่กระทู้นั้นเป็นการสร้างโต๊ะในฝันของคุณเขมและคุณเติม ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญมากพอที่จะสร้างโต๊ะในระดับนั้นได้

ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่เองที่มือใหม่จะทำไม่ได้ เช่น การปรับหน้าโต๊ะด้วยกบมือนี้ผมทำไม่ได้แน่ครับ ทักษะและความชำนาญเหล่านี่ต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ในการสั่งสม ดังนั้นทางออกของมือใหม่ที่มีทุนทรัพย์คือ การซื้อหรือจ้างคนอื่นทำ ส่วนผู้มีทุนน้อยก็ต้องเลิกคิดไป รวมทั้งการหาไม้เก่า อุปกรณ์เพลาะไม้ การเพลาะไม้แบบบิสกิต นี้มันเกินเอื้อมสำหรับมือใหม่ทั้งนั้นครับ

แต่สิ่งที่มือใหม่ยังไม่ทราบคือ โต๊ะงานไม้นั้นมีรูปแบบมากมาย ปากกางานไม้ก็มีหลายแบบ ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวในรายละเอียดนะครับ

กระทู้โต๊ะช่างไม้ใกล้เอื้อมที่คุณเขมคิดจะทำในอนาคตนั้นแหละครับ ที่จะตอบโจทย์ของมือใหม่ได้ ผมจะขอจบเรื่องโต๊ะงานไม้ไว้เพียงความเห็นนี้ครับ ถ้ามีคำถามอื่นใดผมจะไปถามในกระทู้ โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม

เชิญคุณเขมเดินกระทู้ต่อได้เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-18 11:47:27


ความคิดเห็นที่ 70 (1534660)
avatar
art เพาะช่าง

ตอบพี่ เขมทัต ข้อความที่60 ครับ ที่มาของชื่อ art เพาะช่าง

หนึ่งคือ ผมเป็นพี่น้องร่วมสถาบันเดียวกันกับ พี่เอ๋ เพาะช่าง ครับ 

สองคือ เนื่่องจากมีพี่ท่านหนึ่งมีชื่อเล่นเหมือนผม แล้วพี่เค้าใช้ไปแล้วเลยกลัวสัปสนกันครับ เลย

ถึอโอกาสนี้ขออนุญาต พี่เอ๋ อย่างเป็นทางการ ไปด้วยเลยนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น art เพาะช่าง วันที่ตอบ 2012-10-18 12:00:48


ความคิดเห็นที่ 71 (1534672)
avatar
paisal

ความเห็นที่ 68 ข้อความสุดท้าย ผมไม่แน่ใจว่าเป็น กินไม่ทัน หรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น paisal (paisalsung-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-18 13:20:54


ความคิดเห็นที่ 72 (1534799)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ถูกต้องตามที่คุณ paisal กล่าวมาครับ ผมแก้ไขข้อความตามนั้นแล้ว

ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-18 15:44:24


ความคิดเห็นที่ 73 (1535158)
avatar
ตัง LincolnWoodcraft
image

 ช่วยพี่เขมทัต วาดรูปไม้ม้า ครับ เป็นภาพคร่าวๆ จากมิติใน คห.ที่ 62 (แก้ไขให้ขาเอียง 8 องศาแล้วครับ)

ผู้แสดงความคิดเห็น ตัง LincolnWoodcraft ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-19 21:11:27


ความคิดเห็นที่ 74 (1535194)
avatar
เขมทัต

 ขอบคุณครับคุณตัง ผมทำได้แต่ร่างภาพสามมิติด้้วยมือ  ส่วนSketch Up  ยังไม่ได้หัดซักที

 

ภาพของคุณตังต่างจากแบบนิดหน่อยครับ ตามแบบปลายขาจะยื่นไปทางปลายม้าด้วยมุม 8 องศานะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต (Kematat_k-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-20 01:06:55


ความคิดเห็นที่ 75 (1535268)
avatar
อารี

 ขอบคุณครับสำหรับ ความรู้ที่ได้นำมาถ่ายทอดให้ เป็นประโยชน์กับมือใหม่อย่างผมมาก ติดตามผลงานมาตลอดครับ เสียดายว่ายังอยู่ในเฉพาะกลุ่ม คนรักงานไม้ด้วยกันเท่านั้น ผมว่าคุณเขม น่าจะออกเป็นหนังสือบ้างนะครับ ในเมืองไทยหาคนเขียน หนังสือแนวนี้ยาก เหลือเกิน 

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อารี (onvipa20-at-truemail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-20 10:08:35


ความคิดเห็นที่ 76 (1535280)
avatar
sornid

ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้งานไม้ประณีต สำหรับผมซึ่งออกจะเป็นคนทำงานไม่ประณีต คิดว่าเอาแค่ใช้ได้ก็พอแล้วเริ่มคิดได้ว่า ผมน่าจะลองทำงานไม้ให้ประณีตเสียที

ผมเคยได้ทำม้ารองเลื่อย 2 ตัว เอาไ้ว้รองตัดไม้ยาวๆ และเคยเอาไม้อัดมาวางตัด ปรากฎว่า เลื่อยวงเลื่อยกินม้ารองเลื่อยแหว่งเลย พอต่อมา คราวนี้ผ่ากลางม้ารองเลื่อยเลย ดูความไม่ระวังของผมซิ

ส่วนใหญ่ผมจะทำงานซ่อมแซม ทั้งงานไม้ งานปูน งานเหล็ก เอาหมด แต่ไม่ได้เรื่องซักอย่าง แค่พอซ่อมได้ เพราะต้องซ่อมบ่อยๆ แต่มาชอบงานไม้ แต่ได้ความรู้จากที่นี้เยอะมาก เลยอยากเรียนรู้งานไม้ให้เก่งกว่านี้่

งานไม้ประณีตนี่ น่าจะทำให้ผมเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับงานไม้มากกว่าเดิม แต่พอดีว่าผมเป็นคน ฉลาดน้อยไปนิด อาจต้องทำความเข้าใจยากกว่าทุกท่านในนี้ ยังก็ขอรายละเอียดเยอะหน่อยนะครับ

รอชมผลงานของท่านต่อไปด้วยความเคารพ ครับผม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น sornid (sorsarid-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-20 11:16:00


ความคิดเห็นที่ 77 (1535304)
avatar
ซ้ง

ต้องขอบคุณๆ  เขมทัต กรัยวิเชียร ความเห็นที่ 13 (1531488) ที่ให้แหล่งความรู้ ผมชอบลิ้งที่โชว์เครื่องมือทำเอง(เรียกว่าตัวช่วยดีกว่า) ที่ทำให้ความฝันของช่างไม้สมัครเล่นทำได้ แต่สิ่งที่ยากคือไม่มีที่จะมาใช้ทำ เช่น Timothy Wilmots"s tilting router lift เห็นแล้วชอบมาก ถ้ามีแบบและขนาดเอามาเขาเครื่อง CNC แป๊บเดียวได้ของดีมาใช้แล้ว เสียดายจริงๆ พอดีพึ่งเข้ามาดูกระทู้ ดูไปเรื่อยๆอาจจะมีรายละเอียดขนาดชิ้นส่วนให้ก๊อปแบบก็ได้

 

ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ซ้ง (psshmw-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-20 13:56:28


ความคิดเห็นที่ 78 (1535308)
avatar
ซ้ง

บางชิ้นงานเห็นสอนวิธีสร้างในนิตนสาร ShopNote พอมีเหมือนกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ซ้ง วันที่ตอบ 2012-10-20 14:25:53


ความคิดเห็นที่ 79 (1535309)
avatar
ศุภมิต

ไม่ทราบว่าคุณ เขมทัต อธิบายเรื่องเลื่อยจบไปแล้วหรือยังนะครับ ถ้ายังถามคำถามได้อยู่ ผมก็อยากถามแบบเดียวกับคุณ pakae ว่า เลื่อยลันดาขนาด 7 ฟันต่อนิ้ว ทำไมถึงเหมาะสมที่สุด  ถ้าฟันถี่หรือห่างกว่านี้จะส่งผลอย่างไรต่อชิ้นงาน จะเกี่ยวกับการออกแรงและบังคับแนวเลื่อยหรือไม่ครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-20 14:36:49


ความคิดเห็นที่ 80 (1535314)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณอารี คุณ sornid และ คุณซ้ง

ดีใจครับที่เรื่องนี้เป็นประโยชน์กับทั้งสามท่าน

สำหรับเรื่องการเขียนเป็นหนังสือ ผมอยากรอสักระยะหนึ่งให้เรื่องที่เขียนพัฒนาไปสู่องค์ความรู้ที่ ทั่วถึง กระชับ และรัดกุม กว่าที่เป็นอยู่ครับ

ในความเห็นของผม หนังสือเป็นแหล่งความรู้ที่ค่อนข้างถาวรและจะอยู่กับผู้อ่านเป็นเวลานานๆ บ่อยครั้งที่หนังสือมีอายุยืนยาวกว่าทั้งเจ้าของหนังสือและผู้เขียน ดังนั้นผู้เขียนควรวางโครงเรื่องให้รัดกุมพร้อมปลูกผังแนวคิดพื้นฐานที่ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อช่วยให้ผู้อ่านนำความรู้ในหนังสือนั้นๆไปประยุกต์กับการเปลี่ยนแปลงของอนาคต

พร้อมเมื่อไหร่ผมเขียนแน่ครับ

 เรียนคุณศุภมิต

เรื่องเลื่อยยังไม่จบครับผมกำลังเรียบเรียงเรื่องเกี่ยวกับฟันเลื่อยอยู่ครับ เวลาเขียนก็ค่อนข้างน้อยเพราะติดงานด้านอื่นรวมถึงการเร่งทำม้าเลื่อยไม้กับตู้ใส่เครื่องมือที่จะนำไปแสดงในงานรวมพลฯในวันที่ 28 ต.ค.  55 ครับ

ทุกคำถามของคุณ pakae และคุณศุภมิต ผมตั้งใจที่จะตอบอยู่แล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-20 16:19:25


ความคิดเห็นที่ 81 (1535434)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

วันนี้ผมมีรูปม้าช่างไม้มาให้ชมตามสัญญาครับ ตั้งใจว่าจะทำให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนค่ำวันนี้แต่ก็สำเร็จไป 90%เท่านั้น เนื่องจากต้องแก้ไขงานบางส่วนดังที่จะเล่าให้ฟังภายหลังจึงเกิดความล่าช้า

ภาพที่ 5 เป็นม้าเลื่อยไม้ที่ผมออกแบบเอง ม้าตัวนี้ทำจากไม้สนที่รื้อจากลังส่งของจากต่างประเทศ งบประมาณค่าไม้ หัวน๊อต สะตัด (เส้นเกลียวตัวผู้) กาว รวมทั้งสิ้นไม่ถึง 1,000 บาท ครับ
อุปกรณ์ชิ้นนี้ทำขึ้นด้วยเครื่องมือพื้นฐานตามรายการที่แนะนำครับ จะมีการใช้อุปกรณ์นอกเหนือจากรายการก็เพียงโต๊ะช่างไม้ และประแจบ๊อกซ์ขันหัวน๊อต เท่านั้นครับ
ม้าเลื่อยไม้เป็นเครื่องมือที่ผู้เริ่มงานไม้ประณีตทุกท่านควรทำขึ้นเองเพื่อฝึกฝีมือ เมื่อทำเสร็จแล้วม้าตัวนี้ก็จะช่วยท่านเป็นอย่างมากในการทำงานไม้ชิ้นอื่นๆต่อไป
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-21 18:58:10


ความคิดเห็นที่ 82 (1535435)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ดังเช่นงานไม้ทุกงานที่ผมทำ ผมได้เชิญโค้ชมาเพื่อชมม้าเลื่อยไม้ตัวนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-21 19:01:40


ความคิดเห็นที่ 83 (1535436)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

โค้ชเห็นแวบแรกก็เอ่ยปากว่า "แหมดูมันแน่นหนาเหลือเกินนะ"

จากนั้นเราก็ลงรายละเอียด เรื่องการออกแบบ และ การสร้าง ผมก็ตอบคำถามของโค้ชไปหลายข้อครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-21 19:03:55


ความคิดเห็นที่ 84 (1535440)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เมื่อหมดคำถามที่จะตอบแล้ว ผมจึงเชิญให้โค้ชทดลองนั่งลงบนม้าเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้สร้าง

หลังจากที่ได้ตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าม้าตัวนี้แน่นหนาแข็งแรง โค้ชก็ทดลองนั่งตามภาพที่ 8 ครับ นั่งแล้วยิ้มออกผมก็ดีใจครับ

ผมถามโค้ชว่า ถ้าคะแนนเต็ม 10 จะให้ผมกี่คะแนน

โค้ชบอกว่า ถ้าจะให้คะแนนตอนนี้ (ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์) ก็ให้ 8 จาก 10

ผมก็ให้ตัวเองประมาณนั้นเหมือนกันครับ ดังจะอธิบายในรายละเอียดภายหลัง

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-21 19:08:45


ความคิดเห็นที่ 85 (1535465)
avatar
ณัฐ

โอ้โฮ้ ม้าเลื่อยไม้กิตติมศักดิ์ จริงๆครับ

ดูแข็งแรงทั้งม้าเลื่อยไม้ และท่านโค้ชเลยนะครับพี่

งานรวมพลพี่เอาไปด้วยใช่ไหมครับ

ผมขอเริ่มงานไม้ประณีตที่ม้าเลื่อยไม้ต้นแบบตัวนี้เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐ (nutt19-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-21 21:41:09


ความคิดเห็นที่ 86 (1535470)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

สวยและดูแข็งแรงดีมากครับบทเรียนสำหรับม้าเลื่อยไม้ต้วนี้จะขอบันทึกไว้ก่อน

อาตมาจะรอฝึกหัดทำในต้วต่อไปครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-21 22:17:53


ความคิดเห็นที่ 87 (1535478)
avatar
ศุภมิต

 รอฟังรายละเอียดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-21 23:14:26


ความคิดเห็นที่ 88 (1535495)
avatar
ไพบูลย์

 รู้สึก นิยมชมชอบ สไตล์การให้ความรู้ของครูเขมทัต มานานแล้ว รอบนี้ขออนุญาต เขียนคำนิยมซักนิดครับ

ครูเขมทัต เริ่มทำให้ผมรู้สึกถึงการทำงานไม้อย่างปราณีตขี้นมาได้อย่างดี แทนที่จะทำแค่พอใช้ได้ หรือทำผ่านๆไปอย่างงั้น ในเวปนี้ มีหลายท่านที่ทำงานปราณีตและไม่ปล่อยผ่านไปง่ายๆ ทำให้งานไม้มีมาตรฐานมากขี้น อย่างที่ครู เกริ่นไว้ แทนที่จะ ไม่ทันกิน จะกลายเป็น กินไม่ทัน ใครๆ ก็อยากได้ผลงานดีๆ ไว้ใช้ ทั้งทนทั้งดีทั้งสวย งานย่อมเข้ามาไม่ขาดแน่ครับ ขอแสดงความนับถือครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไพบูลย์ (homefashion-dot-decor-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-22 07:17:04


ความคิดเห็นที่ 89 (1535883)
avatar
johnnon

พี่ๆทุกท่านครับผมขอฝากตัวเป็นศิษย์ทุกท่านครับทั้งพี่เขม,พี่เอ๋,พี่อนุชิต,พี่เบิร์ด,พี่ไพศาล....ขอโทษครับเอ่ยชื่อไม่หมดแต่ผมขอเป็นศิษย์โดยความเคารพจากใจ

ผู้แสดงความคิดเห็น johnnon (jokim2552-at-live-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-22 20:59:03


ความคิดเห็นที่ 90 (1536160)
avatar
pop

 ดูจากรูปแข็งแรง คงทน และสวยงามครับครูเขม

ผู้แสดงความคิดเห็น pop (poppop297-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-23 20:36:03


ความคิดเห็นที่ 91 (1536223)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กราบขอบคุณ ท่านวิชาญฯ และขอขอบคุณ คุณณัฐ คุณไพบูลย์ คุณ Johnnon และคุณpop ครับ 

ท่านที่ไปร่วมงานรวมพลฯในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ได้เห็นม้าเลื่อยไม้ตัวนี้แน่ครับ ผมอยากให้ลองใช้กันด้วยนะครับ

วันนี้ผมเร่งทำตู้เก็บเครื่องมือทั้งวัน ได้แผลพองบนมือและนิ้วจากการไสไม้มาหลายแผลเลยครับ คิดว่าน่าจะทันเวลาพอดี

 

ผมขออธิบายเรื่องเลื่อยต่อจากความเห็นที่ 45 ดังนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-23 22:49:05


ความคิดเห็นที่ 92 (1536226)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เลื่อยผ่า (Rip Saw) ใช้ในงานผ่าไม้ โกรกไม้ ซอยไม้ ตามแนวยาวของไม้หรือตามแนวเสี้ยนนั่นเอง ส่วนเลื่อยตัดขวาง (Cross Cut Saw) ใช้ตัดขวางลายไม้หรือขวางเสี้ยนเป็นหลัก ความแตกต่างของเลื่อยสองประเภทนี้อยู่ที่ลักษณะฟันตามภาพที่ 9 ครับ

ตามภาพที่ 9 จะเห็นว่าเลื่อยผ่ามีหน้าฟันที่ตั้งฉากกับแนวใบเลื่อย เวลาเราเลื่อยไม้ด้วยเลื่อยผ่าทุกจุดบนยอดคมฟันจะสัมผัสเนื้อไม้พร้อมกันในลักษณะคล้ายการลากจอบผ่านกองทราย การตัดเฉือนแบบนี้ทำให้เลื่อยไม้ตามแนวเสี้ยนได้รวดเร็ว แต่ฟันแบบนี้ก็จะทิ้งขอบคลองเลื่อยที่เป็นขุยเมื่อเลื่อยตามเสี้ยนไม้และจะทิ้งรอยฉีกเมื่อเลื่อยขวางเสี้ยน
ส่วนเลื่อยตัดขวางมีคมฟันที่ทำมุมแหลมกับแนวใบเลื่อย คมฟันที่แหลมคมของเลื่อยตัดขวางช่วยกรีดขอบร่องคลองเลื่อยและลดรอยฉีกขณะที่หน้าฟันเลื่อยตัดเฉือนเนื้อไม้ทำให้ได้รอยเลื่อยที่เรียบกว่าเลื่อยผ่า ถ้าเราใช้เลื่อยตัดขวางในการผ่าไม้เราก็จะได้รอยเลื่อยที่เรียบแต่จะว่าผ่าไม้ได้ช้ากว่าเลื่อยผ่า
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-23 22:58:05


ความคิดเห็นที่ 93 (1536227)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามภาพที่ 10 จะเห็นว่าส่วนหน้าของฟันเลื่อยผ่าซึ่งเห็นเป็นพื้นที่สีฟ้าจะโย้ไปด้านหน้าประมาณ 8 องศา ซึ่งเป็นมุมที่ตั้งชันกว่าฟันของเลื่อยตัดที่ตั้งไว้ประมาณ 15 องศาตามพื้นที่สีชมพูในภาพที่ 11

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-23 23:08:27


ความคิดเห็นที่ 94 (1536230)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

มุม 8 ในภาพที่ 10 และ มุม 15 องศาในภาพที่ 11 นี้ ฝรั่งเขาเรียกว่า Rake Angle ครับ มุมนี้คือมุมที่ฟันเลื่อยเข้ากระแทกและตัดเฉือนเนื้อไม้ จะเรียกว่ามุมจิก ก็ได้ครับ มุมจิกยิ่งชันก็ยิ่งทำให้ฟันกินเนื่อไม้ได้เร็วแต่ก็จะกินแรงเรามากขึ้นด้วย เลื่อยผ่ามีมุมจิกที่ชันถึง 8 องศาได้เพราะใช้เลื่อยตามเสี้ยนไม้แรงต้านจึงน้อย

ถ้าเราใช้เลื่อยผ่าเลื่อยขวางเสี้ยนจะรู้สึกว่าหนักแรงเพราะแรงต้านจากมุมจิกที่ชันกว่าประสานกับคลองเลื่อยที่กว้างกว่า นอกจากนี้ไม้รอบคลองเลื่อยจะฉีกขาดมากด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-23 23:44:36


ความคิดเห็นที่ 95 (1536232)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ผมได้ความรู้เรื่องเลื่อยลันดาหลายเรื่องจากเว็ปเลื่อยโบราณ http://www.vintagesaws.com ครับ จึงขอขอบคุณเจ้าของเว็ปมา ณ ที่นี้ด้วย ภาพและรายละเอียดเกี่ยวกับเลื่อยลันดาที่ผมเขียนก็มาจากเว็ปนี้ครับ 

ในเว็ป vintagesaws มีภาพการขูดเฉือนเนื้อไม้ของเลื่อยผ่าและเลื่อยตัดขวางที่ช่วยให้ความกระจ่างถึงหลักการทำงานของเลื่อยทั้งสองแบบ ผมจึงนำมาลงไว้ในภาพที่ 12 และ 13 ครับ
ตามภาพที่ 12 ระหว่างการเลื่อยด้วยเลื่อยผ่า หน้าฟันที่ตั้งฉากกับแนวเลื่อยจะขูดเนื้อไม้ คล้ายการทำงานของสิ่ว ในภาพจะเห็นการขูดเฉือนเนื้อไม้ของฟันซี่ที่คัดมาทางซ้าย เนื้อไม้ที่จะถูกขูดเฉือนโดยฟันซี่ถัดจะเป็นบริเวณเส้นประ
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-23 23:49:23


ความคิดเห็นที่ 96 (1536233)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

สำหรับเลื่อยตัดขวางจะมีหลักการทำงานที่ซับซ้อนกว่าเลื่อยผ่าดังจะเห็นตามภาพที่ 13

ขณะที่เราเลื่อยไม้ด้วยเลื่อยตัดขวาง ส่วนแรกของฟันที่จะสัมผัสเนื่อไม้จะเป็นมุมฟันที่ปลายแหลม มุมนี้จะมีความคมมากและจะกรีดเนื้อไม้เป็นร่องสองร่องตามภาพ จากนั้นหน้าฟันส่วนทีอยู่ต่ำลงมาจะทำหน้าที่ขูดเนื้อไม้ระหว่างร่องทั้งสอง
การกรีดร่องสองร่องนี้เองที่ทำให้คลองเลื่อยของเลื่อยตัดขวางมีขอบที่คมและฉีกน้อนกว่าคลองเลื่อยผ่า
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-23 23:50:15


ความคิดเห็นที่ 97 (1536237)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เลื่อย Bahco รุ่น X-97 ตามภาพที่ 14 ที่ผมแนะนำเป็นเลื่อยตัดขวางที่มีขนาดฟัน 7 ฟันต่อนิ้วและยาว 24 นิ้ว มีสันหลังเป็นเส้นตรงด้ามเป็นพลาสติกมีขอบทำมุม 90 และ 45 องศากับสันหลังของเลื่อย

แม้ว่าด้านข้างใบจะมีรอยหมึกพิมพ์ว่า Made in Sweden หรือทำในประเทศสวีเดน ผมก็ยังไม่สนิทใจว่าเป็นของแท้จากสวีเดนเพราะสังเกตว่ารอยพิมพ์อยู่บนสีใสที่เคลือบผิวใบเลื่อยแทนที่จะอยู่บนเนื้อเหล็กเหมือนเลื่อยชั้นดีที่เคยเห็น นอกจากนี้ราคา 700 บาทที่ผมซื้อมานั้นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำสำหรับเครื่องมือจากสวีเดน ถ้าค้นหาในเว็ป Trekkingthai.com จะเห็นว่าราคาซื้อขายที่ถูกกว่านี้ก็มีนะครับ
เมื่อมีข้อสงสัยว่าเครื่องมือช่างที่เห็นทำบ้านเราแล้วสร้าง/สรวมยี่ห้อหรือทำจากต่างประเทศจริง ผมมักจะลองค้นหาเครื่องมือนั้นในเว็ป ถ้าเป็นเครื่องมือที่เป็นของใหม่แล้วผมไม่พบในเว็ปของผู้ผลิตในต่างประเทศ ผมจะสันนิษฐานว่าทำในนี้หรือประเทศใกล้เคียง  ด้วยเหตุที่ว่าการโฆษณาสินค้าเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตและจำหน่ายทำผ่านเว็ปกันทั้งนั้น การที่หาจากเว็ปต่างประเทศไม่พบเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา สำหรับเลื่อย Bahco X-97 ปื้นนี้ผมพบไม่พบในเว็ปของ Bahco แต่พบในเว็ปของมาเลเซียและเวียดนามครับ
ผมคาดว่าเลื่อยปื้นนี้ไม่ได้ทำขึ้นในบ้านเราเพราะมีขายในมาเลเซียและเวียดนาม แปลกใจที่ไม่พบเลื่อยปื้นนี้ในแคตาล็อกของ Bahco แต่ก็ยังไม่มีเหตุให้สรุปว่าปลอมจากนอกประเทศเพราะถ้าปลอมผู้ขายไม่น่ากล้าหาญโฆษณาผ่านเว็ปเป็นภาษาอังกฤษในมาเลเซียร่วมกับสินค้า Bahco อีกหลายรายการ โดยสรุปผมไม่ทราบจริงๆว่าแท้หรือเทียมแต่กล้าที่จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยและซื้อมาทดลองใช้ เวลาเท่านั้นที่จะพิสูจน์คุณภาพของเลื่อยปื้นนี้
ผมแนะนำเลื่อยรุ่นนี้แพราะใช้แล้วรู้สึกเหมาะมือ ราคาไม่แพง น่าใช้กว่ายี่ห้ออื่นที่รู้จัก อีกประการหนึ่งฟันของเบื่อยรุ่นนี้ไม่ได้เป็นฟันประเภทชุบแข็งที่ใช้ตะไบแต่งไม่ได้ ผมไม่ชอบเครื่องมือประเภทใช้แล้วทิ้งเลยครับ เลื่อยควรจะอยู่กับเรานานๆดังนั้นเราควรเลือกฟเลื่อยที่มีฟันที่เราจะตะไบแต่งฟันให้คมอยูเสมอด้วยเครื่องมือธรรมดาอย่างตะไปสามเหลี่ยม
ฟันแบบตัดขวาง 7 ฟันต่อนิ้วใช้งานทั่วไปได้ดีครับ แม้ว่าจะเหมาะสำหรับตัดขวางแต่ถ้าจำเป็นเราก็ใช้ผ่าไม้ได้เหมือนกัน อาจกินเวลามาหน่อยเพราะฟันเล็กและมุมจิกไม่ชันเท่าเลื่อยผ่า
เลื่อยลันดาใหม่ยี่ห้ออื่นที่น่าใช้ก็คงจะมีนะครับ เพียงแต่ผมยังไม่เจอ ถ้าสงสัยก็โทรมาถามเลยนะครับที่ 081 8241784 ผมไม่อยากวิจารณ์สินค้าในข้อเขียนนี้ครับ
ส่วนท่านช่างไม้มือใหม่ที่สนใจเลื่อยเก่าผมอยากให้ชั่งน้ำหนักให้ดีเรื่องงบประมาณ ราคาเลื่อยเก่าที่ขายกันตามเว็ปล้วนแต่หลักพัน ถ้าท่านมีกำลังทรัพย์และชอบรูปร่าง หรืออยากซื้อไว้เพื่อลงทุน ผมก็ขอแนะนำให้เลือกเลื่อยที่ใบเลื่อยตรงเผง ตัวใบปลอดสนิม ฟันครบทุกซี่ ด้ามต้องสมบูรณ์ หัวน๊อตต้องเป็นของเดิม ครบ ไม่เยิน และยอดฟันเรียงเป็นเส้นตรง
ใบที่แอ่น โก่ง นั้นดัดไม่ง่ายนะครับ ตัวเลื่อยที่เป็นสนิมมักจะเสียดสีกับร่องไม้มากกว่าเลื่อยปลอดสนิมทำให้หนักแรง
ผมจะหยุดเรื่องของเลื่อยลันดาเพียงเท่านี้นะครับ ถ้ามีคำถามเพิ่ม ก็เชิญถามมาได้เลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-24 00:13:26


ความคิดเห็นที่ 98 (1536239)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ขอตอบคำถามคุณศุภมิต แบะ คุณ pakae ที่ถามว่า

"ผมก็อยากถามแบบเดียวกับคุณ pakae ว่า เลื่อยลันดาขนาด 7 ฟันต่อนิ้ว ทำไมถึงเหมาะสมที่สุด ถ้าฟันถี่หรือห่างกว่านี้จะส่งผลอย่างไรต่อชิ้นงาน จะเกี่ยวกับการออกแรงและบังคับแนวเลื่อยหรือไม่ครับ"

ที่แนะนำเลื่อย Bahco X97 ยาว 24 นิ้ว ขนาดฟัน 7 ฟันต่อนิ้วเป็นเพราะ ใช้ง่ายมากและคุณภาพคุ้มเงินครับ

ขนาดฟันอื่นในบ้านเราหายากมากครับ ถึงมีขายผมก็ไม่แนะนำเพราะถ้างบจำกัดซื้อเลื่อยเอนกประสงค์ขนาดนี้คุ้มกว่าครับ

ถ้าจะทำงานละเอียดก็ต้องใช้ฟันถี่กว่านี้หรือคลองเลื่อยแคบกว่านี้ซึ่งผมแนะนำเป็นเลื่อยญี่ปุ่นหรือเลื่อยปังตอ รายละเอียดจะเขียนตามลำดับของเขาในรายการเครื่องมือพื้นฐานครับ

ส่วนฟันห่างเหมาะสำหรับผ่าไม้ ตามที่ได้อธิบายอย่างละเอียดไปแล้วนะครับ ผมเคยมีอยู่ปื้นหนึ่งเป็นของ Stanley ด้ามพลาสติกสีเทาดำ ขนาดฟัน 5 ฟันต่อนิ้ว อยากได้เลื่อยผ่ามาแทนตัวเดิมที่หายไปเหมือนกันครับ

สำหรับเรื่องการบังคับเลื่อยนั้น เลื่อยขนาดเล็กซึ่งมักจะมีฟันถี่ มีน้ำหนักเบา แรงต้านน้อย ก็จะบังคับง่ายกว่าเลื่อยใหญ่ ฟันห่าง ครับ เลื่อยลันดาตัวที่แนะนำนี้เลื่อยง่ายครับแม้จะไม่ง่ายเท่าเลื่อยลันดา 26 นิ้วหน้ากว้าง ราคาแพงอย่าง Disston ก็ตาม

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-24 00:36:41


ความคิดเห็นที่ 99 (1536375)
avatar
ศุภมิต

 ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ ขอถามคำถามเพิ่มเติมดังนี้ครับ

เวลาใช้งานเลื่อยลันดาและเลื่อยรอ ควรวางแนวใบเลื่อยทำมุมประมาณกี่องศากับเนื้อไม้จึงจะไม่กินแรงและได้ประสิทธิภาพที่สุดครับ 

วิธีคัดคลองเลื่อยและตะไบลับคมนี้ พอจะมีการแนะนำไหมครับว่าทำอย่างไร ผมเคยอ่านผ่านมาว่าในการลับคมเลื่อยลันดา จะต้องใช้ตะไบที่ใช้เพื่อการนี้โดยเฉพาะซึ่งตัวตะไปจะมีหน้าตัดเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่แบนมากๆ(ให้นึกถึงหลังคาหน้าจั่วที่มีมุมชันประมาณ 20 องศานะครับ) จึงจะแต่งคมเลื่อยลันดาให้มีมุมเท่ากับ 15/45 องศาได้   แต่ถ้าใช้ตะไบสามเหลี่ยมทั่วไปแต่งคมจะได้คมเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าตามรูปตะไบ คือมุมจะเพี้ยนไปเลย และตะไบสามเหลี่ยมแบนแบบที่ว่านี้ผมยังไม่เคยเห็นมีขายที่ไหนเลยครับ ผมเคยเซฟรูปตะไบสามเหลี่ยมแบนนี้เก็บไว้ แต่ลงรูปไม่เป็นครับ เรื่องนี้จริงๆแล้วเป็นแบบที่ผมสงสัยรึเปล่าครับ

ส่วนวิธีคัดคลองเลื่อยนี้ผมไม่มีความรู้เลยครับว่าต้องคัดเป็นมุมเท่าไร เมื่อไรถึงต้องคัดและเขามีขั้นตอนการทำอย่างไรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภมิต (supamit_ou-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-24 08:45:29


ความคิดเห็นที่ 100 (1536391)
avatar
tphen

อ่านข้อเขียนที่คุณเขมทัตจัดมาเมื่อไหร่ ทำให้ผมได้รับความรู้เพิ่มสิ่งมี่ไม่รู้และขยายความรู้เดิม

ที่เคยรู้อยู่บ้างเพราะตำราในเมืองไทยไม่ได้เขียนไว้ละเอียดขนาดนี้ คุณเขมทัตเป็นท่านหนึ่งที่

ทำให้ผมยังยึดแนวทางการทำงานไม้แนวนี้ ส่วนเรื่องฝีมือไม่ต้องพูดถึง 55.. ผมก็มีเลื่อยอยู่บ้าง

ปัจจุบันไม่ทราบว่าเลื่อยที่แขวนขายอยู่ในร้านคุณภาพเป็นอย่างไรบ้างครับ ซื้อมาใช้กับงานไม้ประณีตไ้ด้ไหม

เพราะ้เห็นเหล่าคนทำงานไม้ทั้งหลายหาเลื่อยรุ่นเก่าๆ มาใช้กัน ส่วนที่แขวนขาย ณ ปัจจุบัน

เป็นช่างไม้ก่อสร้างซื้อไปใช้กันมากกว่า รอชมและอ่านเรื่องราวต่อไป ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น tphen (tphen-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-10-24 09:36:23



1 2 3 4 5 »


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.