ReadyPlanet.com


โต๊ะช่างไม้จำเป็น
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน


user image

                                                                                                 โต๊ะช่างไม้จำเป็น

"เรื่องของเรื่อง"

          โต๊ะปฏิบัติงานไม้  เป็นโต๊ะทำงานของช่างไม้ซึ่งทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงาน  ช่วยอำนวยความสะดวกทุกอย่างเช่น งานไส, งานเลื่อย, งานเจาะ เป็นต้น  โดยมากช่างไม้จะมีไว้ใช้งานเกือบทุกคน  แต่อาตมากลับมองข้ามและปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านพ้นทุกครั้งตลอดมา   ทนทำแบบไม่สะดวกมาโดยตลอด  กล่าวคืออาตมาไม่ได้สร้างโต๊ะปฏิบัติงานไม้ไว้ใช้งานแต่ต้น  ทุกครั้งที่ทำงานก็อาศัย "โต๊ะทำงานแบบชั่วคราว " (ดังตัวอย่างในภาพที่ ๑)  จากภาพจะเห็นว่าอาตมาสร้างขึ้นแบบง่ายๆ  เพื่อใช้เป็นที่ทำงาน  ทั้งไส  ตัด เจาะ และอื่นๆ อีกหลายอย่างก็ใช้ตัวนี้  ก็พอช่วยบรรเทาได้ในระดับหนึ่ง (พอแก้ขัดได้) แต่จะลำบากมากๆ เมื่อใช้กบมือไสเพราะหัวและท้ายโต๊ะไม่มีปากกาสำหรับหนีบไม้ 

         จากอุปสรรค์ความไม่สะดวกในการทำงานดังกล่าวคร่าๆ ข้างต้น อาตมาจึงเริ่มทำการปรับปรุงโต๊ะตัวหนึ่งที่ได้ทำไว้เมื่อหลายปีก่อนเพื่อใช้เป็นที่ประกอบชิ้นงาน  ขณะนั้นเคยคิดไว้ว่าอนาคตจะหาปากกามาติดหัว-ท้ายโต๊ะเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น แต่ก็ติดปัญหาเรื่องปากกา (ช่วงนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้) บวกกับการไม่ค่อยได้เอาใจใส่มากนักก็เลยปล่อยเลยตามเลยเรื่อยมา  หลังจากทำเสร็จแล้วก็ยังช่วยอำนวยความสะดวกได้ไม่มากนักเพราะยังไม่มีปากกาเหมือนโต๊ะช่างไม้ชั่วคราวอยู่นั่นเอง  ต่างกันแค่หน้าโต๊ะเรียบและกว้างกว่าเท่านั้น  ก็ยังลำบากอีกต่อมาเหมือนเดิม  ระหว่างช่วงที่ทำเสร็จจนถึงปัจจุบัน (ก่อนปรับปรุง) โต๊ะตัวนี้ใช้งานสารพัดอย่างทั้งงานไม้ และงานอื่นๆ แม้กระทั้งใช้เป็นที่ล่ามเหล่าบางแก้ว (สุนัข) ก็ตัวใช้ตัวนี้ครับ จะสังเกตเห็นว่าที่โคนขาจะมีรอยสึกของไม้ทั้งสี่ขาอย่างชัดเจนครับ (ดังภาพที่วงกลมไว้และภาพขยายในภาพที่ ๒)  เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ปล่อยให้เป็นแบบนั้น  เป็นความประมาทและการไม่ค่อยดูแลของอาตมาเองเมื่อตอนนั้น (ระลึกไว้เป็นบทเรียนครับ)

          ระยะหลังอาตมามีโครงการที่จะสร้างงานไม้มากขึ้น และไม่ยากให้อุปสรรค์คร่าวๆ ข้างต้นมาขัดขวางมากนัก  จึงมีความคิดที่จะปรับปรุงโต๊ะตัวดังกล่าวเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น  ถือว่าเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน  เพราะตั้งแต่ต้นปีที่แล้วเป็นต้นมาอาตมามีโอกาสใช้กบมือทำงานบ่อยขึ้น ถัดจากนั้นก็ใช้ทุกวัน  ถ้ารอให้ทำโต๊ะปฏิบัติงานไม้อย่างสมบูรณ์ตามที่ฝันไว้ก็คงอีกนานไม่ทันการแน่  เมื่อปลายเดือนธันวาคม ปี ๕๕ ที่ผ่านมาจึงได้ลงมือปรับปรุงโต๊ะตัวนี้หลักๆ  ๕ รายการดังหัวข้อด้านล่าง  เพื่อหวังจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นครับ  อาตมาจะเล่ารายละเอียดทั้ง ๕ รายการนี้ตามลำดับหัวข้อให้ได้อ่านกันเล่นๆ นะครับ 


   
๑. เปลี่ยนพื้นไม้หน้าโต๊ะ 
    ๒ .ติดตั้งปากกาหัวและท้ายโต๊ะ 
    ๓. เจาะรูใส่เดือย
    ๔. การทำเดือยไม้ 
    ๕. สร้างและติดตั้งเสาประคองไม้ 

          ท้ายของ "เรื่องของเรื่อง" นี้อาตมาอนุโมทนาขอบคุณ อ.เขมทัต กรัยวิเชียร ที่เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจหลายๆ อย่างมาโดยตลอด  ทั้งกรุณาช่วยตั้งชื่อโต๊ะตัวนี้ให้ด้วยว่า "โต๊ะช่างไม้จำเป็น" อาตมาชอบชื่อนี้มากเพราะตรงกับจุดประสงค์จริงๆ   ขอบคุณทาง  www.thaicarpenter.com  ที่ให้โอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  เจริญพรติดตามได้เลยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2013-01-10 17:16:39


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2933589)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

นี่เป็นภาพโต๊ะทำงานชั่วคราวที่ได้กล่าวถึงแต่ต้นครับ  ทุกครั้งที่ทำงานก็ได้โต๊ะตัวนี้แหละครับเป็นที่พึ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:19:01


ความคิดเห็นที่ 2 (2933591)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ก่อนจะเริ่มหัวข้อที่ ๑ คือ การเปลี่ยนพื้นไม้หน้าโต๊ะ  ขอนำภาพที่ ๒ ซึ่งได้รวมภาพในมุมมองต่างๆ ไว้มาให้ได้ชมกันก่อน  สังเกตตามจุดที่วงกลมและภาพขยายดูจะเห็นเป็นรอยตำหนิซึ่งเกิดจากการนำสุนัขมาล่ามตามเสาโต๊ะ  ตอนนี้อาตมายังไม่แก้ไขอะไรเพิ่มเติมในส่วนนี้คงปล่อยไว้แบบนี้ไปก่อน  เก็บไว้ดูเล่นครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:22:23


ความคิดเห็นที่ 3 (2933594)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

๑. เปลี่ยนพื้นไม้หน้าโต๊ะ

          ก่อนจะเปลี่ยนพื้นใหม่อาตมาต้องปรับปรุงโครงเดิมให้ได้ฉากทุกมุมก่อน  โดยได้เพิ่มแผ่นไม้สามจุดคือ  หมายเลข ๑ หน้ากว้าง ๑๓ ซม.หนา ๒.๖ ซม.(ตามความหนาของไม้ที่มี) แผ่นนี้จะทำหน้าที่ช่วยบังคับให้แนวยาวด้านข้างโต๊ะตรง  ซึ่งเดิมทีแนวนี้จะโค้งกลางเหมือนคันธนู   หมายเลข ๒ และ ๓ ทั้งสองแนวนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงแล้ว  หน้าที่หลักอีกอย่างคือช่วยเพิ่มความหนาให้กับพื้นโต๊ะใหม่ซึ่งเป็นไม้อัดหนา ๒๐ มม. หากคิดรวมกับแผ่นไม้ทั้งสองนี้แล้วจะได้ความหนาของพื้นโต๊ะทั้งสองจุดนี้ที่ ๕.๕ ซม. ซึ่งเพียงพอสำหรับเจาะรูใส่เดือยเพื่อหนีบชิ้นงานได้ 

 สภาพเดิม

           โต๊ะตัวนี้ใช้ไม้สักทำเป็นโครงทั้งหมดส่วนพื้นโต๊ะใช้ไม้มะค่าครับ  (ขนาดของสัดส่วนต่างๆ ชมได้ในภาพที่ ๓ )  วิธีการประกอบขาและคานใช้การบากเข้าเดือยและร้อยขวางยึดเดือยด้วยตะปูทั้งหมด  การยึดพื้นโต๊ะก็ใช้ตะปูตอกติดกับตงตามธรรมดา แล้วส่งหัวตะปูให้จมเพื่อหลบไม่ให้โดนใบกบเสียหายเวลาไสปรับหน้าโต๊ะให้เรียบ หลังจากไสปรับแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างครับ 


เหตุที่ต้องเปลี่ยนพื้นใหม่  และการปูพื้นโต๊ะใหม่

          ทีแรกคิดว่าแค่นำไม้อัด ๒๐ มม. ๑ แผ่นมาติดซ้อนบนพื้นเดิมเพื่อเพิ่มความหนาและนำปากกาฯ มาติดตั้งก็ใช้ได้แล้วเพราะมีพื้นสมบูรณ์พร้อมใช้  แต่พอเอาเข้าจริงๆ ปรากกฎว่าที่มุมทั้งสี่ของโต๊ะไม่ได้ฉาก (บ้าเหลี่ยม) ทั้งสี่มุมเลย  (เกิดจากความผิดพลาดขณะยึดพื้นครั้งแรกไม่วัดให้ดี) ขืนติดไปคงขัดความรู้สึกตัวเองไปตลอดแน่  เลยตัดสินใจเรื้อพื้นเก่าซึ่งเป็นไม้มะค่าออกทั้งหมด  หลังจากนั้นก็วัดปรับมุมของโครงโต๊ะให้ได้ฉากทั้งสี่มุม  เปลี่ยนตงใหม่ และเสริมแผ่นไม้หมายเลข ๑,๒,๓ ดังในภาพที่ ๓ ตลอดแนวยาวคู่กับคานเพื่อช่วยบังคับให้คานตรงมากขึ้น  และเป็นตัวเสริมความหนาให้กับพื้นโต๊ะตรงจุดที่จะเจาะรูเพื่อใส่เดือยหนีบไม้ไปในตัว  เสร็จแล้วนำไม้อัดหนา ๒๐ มม. ๑ แผ่น ราคาแผ่นละ ๙๘๐ บาท มาปูทำเป็นพื้นแทน  ยึดด้วยเกลียวปล่อยขนาดความยาว ๒ นิ้ว ระยะห่างของการยึด ๗ นิ้ว  การเปลี่ยนพื้นหน้าโต๊ะก็เป็นอันเสร็จกระบวนการสร้างครับ
          เนื่องจากตอนที่รื้อเพื่อเปลี่ยนพื้นใหม่อาตมาไม่ได้ถ่ายภาพไว้  จึงใช้โปรแกรม Google Sketchup เขียนภาพมาแสดงแทน  พร้อมกับขนาดของสัดส่วนต่างๆ ซึ่งได้วัดจากขนาดจริงมาประกอบการเขียน  ลักษณะของโครงโต๊ะดังตัวอย่างในภาพครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:27:57


ความคิดเห็นที่ 4 (2933595)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

๒. การติดตั้งปากกาหัวและท้ายโต๊ะ

          จุดประสงค์หลักในการปรับปรุงโต๊ะตัวนี้คือต้องการติดตั้งปากกาหนีบงานไม้ที่หัวและท้ายของโต๊ะแบบประหยัด ใช้เวลาไม่มาก (แต่ต้องมีการไสไม้)  ปากกาดีๆ ราคาไกลมากครับ   อีกอย่างจะเป็นการเกินหน้าเกินตาของโต๊ะตัวนี้ไป  จึงได้ตกลงเลือกปากการ  Economic Wood Vise รุ่น  Eco  จากเว็บแห่งนี้ครับ  www.thaicarpenter.com  มาสองชุด (หัวและท้ายใช้เหมือนกัน)  หลังจากได้รับของแล้วก็ได้ลงมือเตรียมไม้ตามภาพหมายเลข ๒ ในภาพที่ ๔ ขนาดยาว ๕๕ ซม.กว้าง ๑๓ ซม. หนา ๕.๘ ซม. จำนวน ๒ ชิ้น  เพื่อทำเป็นตัวปากกาดังภาพรวมในตัวอย่างที่ ๔ ครับ  ส่วนวิธีติดตั้ง จะขอเล่าเป็นข้อๆ นะครับ

๑. หลังจากเตรียมไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วก็ทำการวัดเพื่อกำหนดระยะที่จะเจาะใส่เพลาทั้งคู่และเกลียวกลาง  โดยเริ่มจากการวัดแบ่งครึ่งของตัวปากกาก่อน  พอได้ระยะกึ่งกลางแล้วก็วัดออกด้านข้างด้านละ ๑๗.๕ ซม. เท่าๆ กัน

๒. กำหนดระยะต่างๆ เสร็จแล้วก็เริ่มทำเครื่องหมายที่กึ่งกลางของแต่ละตำแหน่งโดยใช้เหล็กมาร์คสปริ เป็นตัวนำก่อนเพื่อช่วยบังคับตำแหน่งดอกเจาะให้คงที่  หลังจากนั้นจึงใช้ดอกสว่านขนาด ๕ มม.เจาะทะลุทุกรูตามจุดที่กำหนดไว้จนครบ

๓. ต่อมาก็ใช้ดอกสว่านใบพายขนาด  ๒๕ มม. เจาะด้านในตัวปากกาความลึก ๖ มม. เพื่อเป็นที่ซ้อนของแหวนด้านใน

๔. ต่อด้วยการเจาะด้านนอกปากกาโดยใช้ดอกสว่านใบพายขนาด  ๓๐ มม. เพื่อทำเป็นที่ซ้อนแหวนและหัวน๊อตตัวเมีย (เวลาขันแน่นแล้วหัวน๊อตจะเสมอกับหน้าเรียบของตัวปากกาพอดี)

๕. และใช้ดอกสว่านใบพายขนาด  ๑๔ มม.  เจาะรู้เพลาทั้งสองข้างของตัวปากกาทั้งคู่ให้ทะลุ

๖. หลังจากนั้นก็ใช้กดอกสว่านใบพายขนาด  ๒๕ มม. เจาะตรงกลางของตัวปากกาเพื่อสอดติดตั้งเกลียวตัวกลาง

๗.ใช้ดอกสว่านขนาดเดิม (ตามข้อที่ ๖) เจาะที่ด้านข้างคานของโต๊ะตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่กึ่งกลางเพลาทั้งคู่พอดี
ทั้งสองจุดคือหัวและท้ายโต๊ะ

๘. เสร็จแล้วใช้ดอกสว่านใบพายขนาด ๑๖ มม. เจาะทะลุที่คานข้างโต๊ะให้ครบทั้งสี่จุด  เพื่อเป็นที่ใส่เพลาประคองทั้งสองคู่

๙. หลังจากเจาะครบทุกจุดแล้วก็เริ่มประกอบตัวเพลาทั้งคู่เข้ากับตัวปากกาก่อน  โดยรัดน๊อตพอตึงมือแล้วใช้ฉากจับวัดให้ได้ฉากแล้วขันให้แน่นอีกครั้ง

๑๐. นำตัวปากการที่ติดเพลาทั้งคู่แล้วไปวางตามตำแหน่งที่ต้องการ (หัวและท้ายโต๊ะ) ดันให้ด้านในปากกาแนบสนิทกับข้างโต๊ะหนีบด้วยปากกาตัวซีให้พอแน่น  แล้วสอดเกลียวกลางเข้าช่องกลาง  นำกระบอกเกลียวตัวเมียไปหมุนติดเข้าด้านในใต้โต๊ะใช้มือขันให้แน่น  ทำเครื่องหมายตรงจุดที่จะยึดติด (ด้านใน ๓ จุด ด้านนอก ๒ จุด) เสร็จแล้วใช้ดอกสว่านขนาด ๓ มม. เจาะนำ แล้วจึงใช้เกลียวปล่อยขันล็อคทั้งหมดให้แน่น  ปลดปากกาที่หนีบออกแล้วทดลองหมุนเข้า-ออกดู   ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการติดตั้งปากกาหัว-ท้ายโต๊ะครับ

          ทั้ง ๑๐ ข้อดังกล่าวมาเป็นวิธีที่อาตมาใช้ติดตั้งปากกากับโต๊ะตัวนี้  และต้องขออภัยที่ไม่มีภาพประกอบคำบรรยายให้ชมได้ครบทุกข้อ หากท่านใดสงสัยหรืออาตมาอธิบายส่วนไหนไม่ชัดเจนก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ  หรืออีกทางหนึ่งคือเข้าไปชมภาพและอ่านวิธีการติดตั้งอย่างละเอียดได้ที่นี่
ครับ คลิกเลย คุณอนุชิตได้อธิบายและมีภาพประกอบทุกขั้นตอนชัดเจนดีมากครับ   อาตมาก็ทำตามที่นี่เหมืนกัน แต่อาจจะมีนอกแบบไปบ้างก็ตามเรื่องครับ  ตามแต่ความถนัดและความเป็นไปได้ของเรา ตามสะดวกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:36:16


ความคิดเห็นที่ 5 (2933596)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ขออนุญาตคุณอนุชิตและทีมงานนำภาพจากเว็บแห่งนี้มาประกอบนะครับ

ข้อแนะนำเพิ่มเติมเรื่องปากการ

          ปากการุ่นนี้อาตมามีความเห็นว่าควรเพิ่มแหวนตรงเกลียวด้านในอีกหนึ่งตัวเพื่อช่วยให้การหมุนเข้า-ออกดีขึ้น  ที่แรกอาตมารองแค่ตัวด้านนอกตัวเดียว  เวลาหมุนปากการเข้า (หนีบ) ใช้ได้ไม่มีปัญหา  แต่ตอนหมุนออก (คลาย) รู้สึกฝืดมากๆ และมีเสียงไม่น่าฟัง  ก็เลยถอดแล้วนำแหวนมารองด้านใน (ตามตัวอย่างในภาพที่ ๕ ตรงศรเขียวชี้ครับ) แต่ต้องคว้านรูตรงจุดนั้นเพิ่มเพื่อซ้อนแหวนดังกล่าว  ไม่เช่นนั้นแป้นเหล็กที่ทำหน้าที่ประคองคอปากกาจะไม่สนิทกับตัวปากการครับ  แล้วประกอบลองดู  คราวนี้นิ่มสนิทดีกว่าเดิมมากครับเสียงก็หายไป

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:41:28


ความคิดเห็นที่ 6 (2933597)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๕.๑ นี้เป็นภาพรวมๆ ที่ถ่ายจากใต้โต๊ะครับ  หลังจากการติดตั้งปากกาเสร็จทั้งหมดแล้วก็ทำการวัดและตัดพื้นไม้อัดส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ได้ขนาดตามตัวอย่างในภาพสุดท้ายครับ  ต่อไปก็เป็นการเตรียมเจาะรูเพื่ใส่เดือยหนีบชิ้นงานบนหน้าโต๊ะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:43:02


ความคิดเห็นที่ 7 (2933598)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

๓. เจาะรู้ใส่เดือย

          หลังจากทำการติดตั้งปากกาเสร็จแล้ว  ขั้นต่อไปคือเจาะรู้เพื่อใส่เดือยสำหรับหนีบจับชิ้นงาน  เริ่มเลยนะครับ
๑. วัดระยะจากด้านข้างของขอบโต๊ะมาที่กึ่งกลางรู ๘ ซม. ระยะห่างระหว่างรู้แต่ละช่วง  ๑๑ ซม. ความโตของรู้ขนาด ๑๙ มม. (๖ หุน)
๒. ใช้เหล็กมาร์คสปริง   มาร์คตามจุดที่กำหนด
๓. ใช้ดอกสว่านใบพายขนาด ๑๙ มม. เจาะตามจุดที่กำหนดจนครบทุกจุด
๔. ใช้เราเตอร์ลมมุมด้านบนของรูให้เพ่มนทุกรู  เรื่องของการเจาะรูก็จบเป็นอันใช้ได้ครับ (ชมตัวอย่างในภาพที่ ๖ ครับ)

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:45:02


ความคิดเห็นที่ 8 (2933599)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

๔. การทำเดือยไม้

          ภาพที่ ๗ นี้เป็นการทำเดือยไม้เพื่อใช้สำหรับหนีบชิ้นงานขอเล่าตามภาพนะครับ
หมายเลข ๑ นำไม้ประดู่ไปผ่าให้ได้ขนาด ๒๒ มม.* ๒๒ มม. ยาว ๖ นิ้ว  แล้วไสให้เรียบทั้งสี่ด้าน 
หมายเลข ๒ จากนั้นก็ใช้กระดานไสฉากค่อยๆ ไสทีละมุมคือจากสี่เป็นแปด  จากแปดเป็นสิบหกเรื่อยไปจนกว่าจะกลม ไสไปวัดไปจนใกล้เคียงมากที่สุด  สุดท้ายจึงใช้กระดาษทรายขัดไม้ของ TOA เบอร์ ๖๐๐ ขัดแต่งให้กลมเรียบและได้ขนาดเท่ารูพอดี  จากนั้นก็บากข้างหนึ่งทิ้ง ๖ มม. ใช้สิ่วบากเพ่ส่วนโคนเพื่อทำเป็นที่ติดสปริง  แล้วใช้ไม้ทำเป็นตัวสปริงนำมายึดติดด้วยกาวร้อนและสกรูสองตัว  ใช้กกระดาษทรายเบอร์ ๒๔๐  ขัดไห้ได้รูปทรงและขนาดพอดีกับรูอีกครั้ง และเบอร์ ๖๐๐ เพื่อเก็บรายละเอียดครั้งสุดท้าย   บากหัวเดือยแล้วใช้เลื่อยรอตัดขวางสลับลายพอเป็นรอยตามภาพ
หมายเลข ๓ และ ๔ เป็นภาพตัวอย่างที่ทำเสร็จแล้ว
หมายเลข ๕ และ ๖ เป็นการทดลองหนีบชิ้นงาน

หลังจากทำเสร็จแล้วก็ทดลองใช้งานดู  ผลที่ได้คือดีเกินคาดครับหนีบไม้ได้แน่นดี  ก็เลยลงมือทำอันที่สอง  เดิมทีไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำเป็นจริงเป็นจัง  แค่ทำทดลองดูถ้าใช้ได้ก็ดีจะได้ไม่ต้องไปหาอย่างอื่นมาใช้  แต่ถ้าใช้ไม่ได้ก็แล้วไปยอมเสียไม้นิดหน่อยกับเวลาอีกชั่วโมงกว่า  ถือว่าคุ้มครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:48:16


ความคิดเห็นที่ 9 (2933600)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

๕. สร้างและติดตั้งเสาประคองไม้ 

"เสริมไม้รองรับเสาประคองไม้ "

          โต๊ะตัวนี้ไม่ได้ออกแบบเผื่อไว้สำหรับติดตั้งเสาประคองไม้แต่ต้น (ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าเสาประคองไม้คืออะไร)  จึงต้องทำที่สำหรับรองรับเสียก่อนและเพื่อเพิ่มความแข็งแรงอีกทางหนึ่ง  วิธีก็ง่ายๆ ครับ (อาตมาใช้ไม้มะค่าวงกบประตูเก่า) นำไม้ความยาวเท่ากับโต๊ะมาปรับให้เรียบและเซาะทำเป็นลิ้น  แล้วใช้เกลียวปล่อยยึดติดคู่กับตัวเดิมตรงขาโต๊ะด้านล่าง  บากลิ้นทิ้งนิดหน่อยเพื่อไว้สำหรับถอดเสาฯ เข้า-ออก  ดังตัวอย่างในภาพครับ  ทำไม้อีกชิ้นหนึ่งบากทำเป็นบ่าข้างเดียว  แล้วยิงด้วยเกลียวปล่อยติดด้านในใต้คานบนเป็นที่รับหัวของเสาประคองไม้เช่นกัน

"เสาประคองไม้"

          นำไม้สักขนาดความยาว ๔๙ ซม.กว้าง ๑๔ ซม. หนา ๓ ซม. ๑  ท่อน  ไม้มะค่าขนาดความยาว ๑๘.๕ ซม. กว้าง ๘.๕ ซม. หนา ๔.๕ ซม. ๑ ท่อน และไม้ขนาดขนาดความยาว ๓๗ ซม.กว้าง ๑๑.๕ ซม. หนา ๔ ซม. (มะค่า) ๑ ท่อน  หลังจากนั้นก็นำทั้งสามชิ้นประกอบกันยึดติดให้เรียบร้อย  เซาะร่องไว้ด้านล่างเพื่อทำเป็นที่ล็อคและสไลด์ปรับระยะตามความยาวของไม่ที่จะประคอง  แล้ววัดกำหนดระยะเพื่อเจาะรูต่อไป
          หลังจากประกอบเรียบร้อยก็ใช้ดอกสว่านใบพายขนาด ๑๙ มม. เจาะให้ทะลุจนครบทุกตำแหน่ง   ใช้เราเตอร์ลบมุมปากรูให้เรียบร้อย  แล้วนำใส่เข้าที่ ทดลองเลื่อนดูผลคือทำงานได้น่าพอใจมากครับ  หลังจากนั้นก็ใช้กระดาษทรายขัดไม้ของ TOA เบอร์ ๓๖๐ ขัดลูบหน้าโต๊ะแล้วใช้น้ำยาทากันซึมสูตรน้ำของ "บอสนี่ วอเตอร์ซีล"  ทาสามรอบปล่อยให้แห้งสนิท  ก็เป็นอันจบกระบวนการสร้างโต๊ะตัวนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:51:45


ความคิดเห็นที่ 10 (2933601)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ท้ายสุด

            โต๊ะช่างไม้จำเป็นตัวนี้อาจจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรสักเท่าใด  แต่ก็พอช่วยให้ทำงานได้สะดวกกว่าเดิมมากขึ้นครับ  หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจเพื่อจะนำไปเป็นแนวคิดและประยุคต์ใช้ตามความเหมาะสมของตนเอง  อาตมารู้สึกตำหนิตัวเองที่ไม่ได้เก็บภาพขั้นตอนการทำให้ละเอียด  จึงได้แต่เพียงเล่าผ่านตัวอักษรให้ได้รับทราบกัน  เพราะขณะที่ทำนั้นมุ่งแต่งานอย่างเดียว  และทำคนเดียว หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ หวังว่าเพื่อนๆ  คงไม่ว่ากะไร  โต๊ะตัวนี้อาตมาปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิมหลักๆ  คือต้องการให้ใช้งานได้แบบเร่งด่วน   เรื่องความสวยงามและความประณีตอาจจะไม่ได้เน้นมากนัก   โต๊ะตัวนี้เสมือนเป็นตัวทดลอง  อ.เขมทัต กรัยวิเชียร กล่าวว่า "ให้ลองเต็มที่กับโต๊ะตัวนี้"  เพื่อจะได้รู้จุดที่ควรแก้ไขต่างๆ อย่างชัดเจน  แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับสร้างตัวต่อไปที่ดีกว่า  อาตมาชอบประโยคนี้มากเลย  ก็เลยจัดการจนเละตามที่เห็นครับ   ขอจบเรื่องของ "โต๊ะช่างไม้จำเป็น" แต่เท่านี้นะครับ  อนุโมทนาขอบคุณทุกท่านครับ  ยินดีที่ได้แบ่งปันประสบการณ์กัน  ขอให้สนุกกับงานไม้ทุท่านนะครับ

                                                                                                                                           เจริญพร

                                                                                                                     พระมหาวิชาญ  สุขวฑฺฒโน
                                                                                                                            
๑๐/๑/๒๔๔๖ /๑๘.๐๗ น.

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 17:56:02


ความคิดเห็นที่ 11 (2933606)
avatar
toon

 แม้ท่านจะบอกว่าไม่สมบูรณ์ แต่ผมว่าโต๊ะตัวนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนนะครับ ดูง่ายๆและน่าใช้ดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น toon (toon_u21-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2013-01-10 18:46:25


ความคิดเห็นที่ 12 (2933609)
avatar
pakae

ใหญ่ดีจังพระคุณท่าน

ผมชอบครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pakae (iampakae-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 19:19:07


ความคิดเห็นที่ 13 (2933613)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

โห....เด่วค่อยมาไล่อ่านใหม่....เยอะ...ฝีมือๆครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (a_houvthak-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 19:24:10


ความคิดเห็นที่ 14 (2933616)
avatar
ตัง LincolnWoodcraft

 ชอบครับ หลวงพี่วิชาญ

พื้นที่กว้างใหญ่ สามารถประกอบชิ้นงานบนโต๊ะได้ด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ตัง LincolnWoodcraft ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 19:54:48


ความคิดเห็นที่ 15 (2933632)
avatar
เซี่ยง ช่างไม้หน้าโหด

นี่ขนาดชั่วคราวนะ.....

แล้วแบบที่ฝันไว้จะขนาดไหน....

ตอนนี้คงเป็นโต๊ะสร้างงาน

ต่อไปคงเป็นโต๊ะสร้างโต๊ะ

จะรอดุูครับ...

 

ปล.

เครื่องมือที่หาไห้

เค้า ok   Hold ไว้ไห้ถึงวันเสาร์ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เซี่ยง ช่างไม้หน้าโหด วันที่ตอบ 2013-01-10 21:16:21


ความคิดเห็นที่ 16 (2933639)
avatar
yunlefty

นมัสการพระอาจารย์วิชาญครับ

โต๊ะทำงานไม้ของท่านพระอาจารย์กว้างใหญ่ถูกใจผมมากครับ  สามารถทำงานได้หลากหลายบนโต๊ะอย่างที่คุณตังว่า

โต๊ะของผมขนาด 120 x 120 ซ.ม. งานไม้เกือบทั้งหมดผมทำบนโต๊ะนี้ครับ แรกๆผมก็รู้สึกว่าใหญ่ดีแต่ใช้ไประยะนึงผมเริ่มรู้สึกว่าโต๊ะชักจะเล็กไปเสียแล้ว และมีบางจุดที่ต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ผมจึงคิดว่าจะสร้างโต๊ะตัวใหม่โดยแก้ไขจุดด้อยที่ได้เจอเวลาทำงาน และเพิ่มความยาวขึ้นอีก แต่คงเพิ่มไม่ได้มากนักความยาวคงได้อีกแค่  60 ซ.ม. เป็น 120 x 180 ซ.ม. เพราะมีพื้นที่จำกัดน่ะครับ  

แต่เพราะผมติดงานต้องทำส่งลูกค้า พองานซาหน่อยก็บิ้วท์อารมณ์ไม่ขึ้นซะอีก   วนเวียนกันไปมาหลายต่อหลายรอบจนลืมเลือนไปไม่ได้สร้างโต๊ะใหม่เสียที เห็นท่านพระอาจารย์ทำโต๊ะใหญ่ๆแบบนี้แล้ว ผมก็อยากสร้างโต๊ะใหม่ขึ้นอีกครั้งครับ

ปล.ผมชอบสปริงไม้ด้วยครับ ไอเดียเยี่ยมจริงๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น yunlefty (yunlefty-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 21:33:55


ความคิดเห็นที่ 17 (2933649)
avatar
tphen

นมัสการครับครับพระคุณเจ้า

ผมขอเรียกว่าโต๊ะช่างไม้ทำเป็นดีกว่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น tphen (tphen-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 22:02:32


ความคิดเห็นที่ 18 (2933659)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

กราบเรียนท่านวิชาญฯ

ขอคารวะในฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของท่านครับ

โต๊ะช่างไม้จำเป็นของท่าน เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับช่างไม้และผู้สนใจงานช่างไม้ ครับ เรียบง่าย ประหยัดและทำงานหลักๆได้ครบถ้วนดีแท้

กราบขอบพระคุณคำนิยมของท่านที่ให้กับผมครับ ผมเองก็มีแต่ความชื่นชมในความมานะอุตสาหะ ความมุ่งมั่น ความคิดริเริ่ม และฝีมืองานไม้ของท่านมาตลอด ทุกครั้งที่ได้สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และปัญหาเรื่องงานไม้กับท่านผมจะรู้สึกเพลิดเพลินและดีใจที่มีโอกาสได้รูจักยอดฝีมือผู้มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในงานที่ทำ

งานเขียนเรื่องนี้ของท่านกระชับ เข้าใจง่าย และมีเรื่องน่าสนใจมากหลายเรื่อง

ผมชอบเดือยไม้ประดู่ที่มีก้านสปริงที่ท่านทำขึ้นเอง เหมือนคุณยุ่นครับ ยอดเยี่ยมจริงๆที่สร้างผลงานแบบนี้ด้วยเครื่องมือง่ายๆไม่กี่ชิ้น

แท่นสว่านที่สร้างขึ้นก็ดูแข็งแรงน่าใช้มาก

ที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นแนวคิดที่สร้างโต๊ะช่างไม้ที่ใช้งานได้จริงในเวลาไม่กี่วันด้วยงบประมาณที่ประหยัดมาก

ผมคาดการณว่าโต๊ะช่างไม้จำเป็นตัวนี้น่าจะเป็น โต๊ะที่ใช้สร้างผลงานคุณภาพออกมาให้เราได้ชมได้ศึกษากันอีกหลายๆชิ้น และผมก็เห็นพ้องกับคุณเซี่ยงว่าหนึ่งในผลงานคุณภาพที่จะตามมาน่าจะเป็นโต๊ะช่างไม้ในฝันของท่านวิชาญฯอย่างแน่นอน

 

สุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณสำหรับเรื่องดีๆที่ท่านนำเสนอครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 23:09:19


ความคิดเห็นที่ 19 (2933660)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรทุกท่านเลยนะครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

โยม toon ครับจากการทดสอบใช้งานเบื้องต้นคุณสมบัติหลักๆ เช่นเรื่องความหนักก็ผ่านครับขณะไสนิ่งดีไม่โยก  ความเรียบของพื้นโต๊ะและด้านข้างเรียบตรงกว่าโต๊ะทำงานไม้คราวหลายเท่า ก็ถือว่าพอใจในระดับหนึ่งครับ แต่อาตมายังยืนยันว่า "ไม่ค่อยสมบูรณ์" เช่นเดิมนะครับ

 

โยม pakae อาตมาดีใจครับที่โยมชอบ  อีกสักระยะหากพอมีเวลาอาตมาอาจจะใช้ประโยชน์จากความใหญ่ของโต๊ะตัวนี้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่นอาจจะทำเป็นลิ้นชักใต้โต๊ะเพื่อใช้เป็นที่เก็บของด้วย ต้องลองให้เต็มที่กับโต๊ะตัวนี้ครับเละได้ 

 

โยม เอ๋  ขอบคุณนะครับ หากจะเทียบกับความเป็นผู้ให้อย่างเต็มใจมาโดยตลอดของโยมแล้ว  อาตมาว่ายังน้อยกว่าเยอะครับ อนุโมทนาด้วยนะครับ

 

โยม ตัง เจริญพร สวัสดีปีใหม่นะครับ ตอนทำทีแรกไม่ได้คิดว่าจะได้ใช้ไม้อัดมาทำเป็นพื้น  กะขนาดเอาคร่าวๆ พอตอนปรับปรุงวัดขนาดแผ่นไม้อัดมาเทียบดูได้พอดีตัดแค่ด้านยาวออกนิดน่อย ไม่ต้องทำอะไรมาก อนุโมทนาครับ

 

โยม เซี่ยง  ตัวนี้กว่าจะได้ลงมือปรับปรุงใช้เวลาตั้งหลายปี (เกินสามปีแน่นอน) โต๊ะในฝันยังไม่อยากนึกถึงเวลาเลยครับ  คงจะพอๆ กับการสร้างโบสถ์หลังหนึ่งแน่ๆ (ไปโน่น) แต่ไม่แน่นะครับ ได้ตัวนี้ช่วยทำงานแล้วอาจจะได้ชมเร็วขึ้นก็เป็นได้   ส่วนเรื่องเครื่องมือถ้าได้ความอย่างไรแแล้วจะแจ้งให้ทราบนะครับ

 

โยม ยุ่น  จากที่เล่ามาก็คล้ายๆ อาตมาครับ ปล่อยละเลยเสียตั้งหลายปี  หากพอมีเวลาก็ลองลงมือทำเลยครับ  แล้วจะพบกับความรู้สึกที่เช่นอาตมาที่บอกกับตัวเองว่า  น่าจะทำเสียแต่ทีแรก  อาตมาดีใจครับที่เรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อโยม เรื่องสปริงไม้ก็เช่นกันครับ อนุโมทนาครับ

 

โยม tphen เจริญพรและอนุโมทนาครับที่เข้ามาเยี่ยมชม สวัสดีปีใหม่ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-10 23:17:22


ความคิดเห็นที่ 20 (2933669)
avatar
เทอดศักดิ์(M)

 กราบเรียนหลวงพี่วิชาญ

ผมดูที่หลวงพี่ทำแล้วส่วนที่ชอบคือเดือยไม้ครับ มีทั้งไอเดียดีบวกกับความพยายาม แล้วโต๊ะก็กว้างใหญ่ดีครับ ทำเป็นโต๊ะประกอบงานได้เลยครับ เยี่ยมอีกแบบครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์(M) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-11 07:03:11


ความคิดเห็นที่ 21 (2933761)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับ อ.เขมทัต

หากโต๊ะตัวนี้สามารถเป็นต้นแบบหรือแรงบันดานใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจที่จะสร้างงานไม้แบบเบื้องต้น  คือสามารถสร้างขึ้นเองอย่างง่ายๆ และใช้งานได้  เป็นความตั้งใจที่อาตมาหวังไว้เช่นกับ อ.ครับ

การเขียนเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องแรกที่อาตมาได้ร่างและเขียนโครงเรื่องไว้จนเสร็จก่อนจะนำมาให้เพื่อๆ ได้อ่านกัน จึงดูต่างจากงานเขียนที่ผ่านๆ ซึ่งมีไม่กี่เรื่อง  โดยปกติอาตมาเป็นคนเล่าเรื่องไม่เก่งและไม่ค่อยรู้เรื่อง  จึงมีความตั้งใจว่าหากมีโอกาสเขียนจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น  หวังเพียงสื่อออกมาแล้วเป็นที่เข้าใจของผู้อ่านได้ในระดับหนึ่งก็ดีใจแล้วครับ 

อาตมาดีใจครับที่ อ.ชอบเดือยไม้  งานชิ้นนี้จะเป็นไปได้ยากมากหากอาตมาไม่รู้จักและไม่มีไว้ใช้งาน  ตรงกันข้ามหลังจากได้ทำไว้ใช้งานแล้วและเข้าใจกระบวนการทำงานของกระดานไสฉากแล้ว  ทำให้การสร้างงานชิ้นเล็กๆ เช่นนี้ง่ายขึ้นและใช้เวลาสร้างไม่มากนักอีกทั้งผลที่ได้รับคือดีเยื่อมเกินตัว  อนุโมทนาขอบคุณ อ.อีกครั้งครับที่ชี้ทางสว่างเรื่องกระดานไสฉากและทุกๆ เรื่องที่มอบให้ครับ

ส่วนเรื่องแท่นจับสว่านอาตมาตั้งใจว่าหากมีโอกาสจะเขียนเรื่องนี้ให้เพื่อนได้อ่านกันครับ วัสดุและกระบวนการสร้างไม่ยุ่งยากต้นทุนก็ไม่สูง  แต่ผลการใช้งานนั้นดีมากครับ  ช่วยให้งานออกมาตามที่หวังได้ดีเยี่ยมครับ

อนุโมทนาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-11 17:02:04


ความคิดเห็นที่ 22 (2933763)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับ โยม เทอดศักดิ์

อนุโมทนาขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชม  เรื่องเดือยไม้สร้างไม่ยากครับหากมีกระดานไสฉาก อาตมาใช้เวลาชั่วโมงกว่าในการสร้างอันแรก  อันที่สองใช้เวลาน้อยกว่าเพราะรู้ช่องทางแล้ว  หากท่านใดสนใจลองทำไว้ใช้งานเองอาตมาว่าดีครับ  ใช้ไม้อะไรก็ได้ที่เป็นประเภทไม้เนี้อแข็งที่สามารถรับแรงหนีบหนักๆ ได้ก็เป็นอันใช้ได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-11 17:12:10


ความคิดเห็นที่ 23 (2933790)
avatar
prescott

สวยมากครับ หลวงพี่ทำเสร็จไวจังครับ ของผมเป็นโครงการระยะยาวแล้วครับ ทำหน้าโต๊ะและขาเสร็จนานแล้ว แต่ยังไม่ว่างประกอบพิงข้างฝาไว้นาน 2 เดือนแล้วครับ โปรคเจคเก่ายังไม่เสร็จ เดินหน้าทำโปรเจคใหม่อีกซะงั้นเลยผม โปรเจคที่เคยเรียนหลวงพี่ว่าอยากจะทำเลื่อยสายพานไว้ใช้เมื่อหลายเดือนก่อน พึ่งมีโอกาสว่างทำ และเริ่มทำได้ 6 วัน จะพยายามเร่งทำให้เสร็จภายในอาทิตย์หน้า แล้วค่อยวนกลับไปทำโต๊ะงานไม้ ไม่งั้นคงจะเป็นโครงการเลื่อนลอยทั้ง 2 โปรเจค

โต๊ะหลวงพี่ ทำเดือยและปากกาและตัวรับไม้ได้สวยมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-11 23:13:59


ความคิดเห็นที่ 24 (2933796)
avatar
paisal

กราบเรียนท่านมหาวิชาญฯ

โต๊ะตัวนี้ถ้าทำลิ้นชักใส่เครื่องมือ จะกลายเป็นโต๊ะช่างไม้เอนกประสงค์ที่น่าใช้มาก ผมเกรงว่าโครงการโต๊ะช่างไม้ในฝันจะยืดยาวออกไปมากนะครับ...

ผู้แสดงความคิดเห็น paisal ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-11 23:41:22


ความคิดเห็นที่ 25 (2933803)
avatar
yunlefty

คุณ prescott

โครงสร้างเลื่อยสายพานดูเยี่ยมมากๆ ใช้เหล็กใช่ไม๊ แล้ววงล้อกี่นิ้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น yunlefty (yunlefty-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-12 06:48:18


ความคิดเห็นที่ 26 (2933891)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

โยม  prescott อย่างที่บอกครับเป็นฉบับเร่งด่วนเลยต้องรีบลงมือให้เร็วหากช้าเกรงจะไม่ทันการเอาแบบลวกๆ ให้ใช้ได้ไปก่อน เพราะงานอื่นยังมีอีกมากครับ  โครงเลื่อยสายพานดูสวยและน่าสนใจมากครับ  หากเสร็จแล้วนำผลงานมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันด้วยนะครับ  เรื่องเลื่อยสายพานนี้ก็อยู่ในโครงการต่อไปเหมือนกันครับ  ถ้าโอกาสเหมาะคงได้สร้างไว้ใช้งานสักตัว  ตอนนี้ขอเป็นผู้ชมไปก่อน

 

เจริญพรครับโยม  paisal

ขอบคุณครับสำหรับความเห็น  การทำลิ้นชักใต้โต๊ะอาตมาคิดไว้คงได้ทำแน่ๆ แต่ยังไม่ใช่ช่วงนี้ครับ ต้องให้งานที่สำคัญกว่าเสร็จเสียก่อนจึงค่อยลงมือครับ  ส่วนโครงการโต๊ะช่างไม้ในฝันนั้น ที่คิดไว้คือประมาณ ๒-๓ ปี ข้างหน้าครับ  แต่ถ้าโอกาสดีก็อาจจะเริ่มได้เร็วกว่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับ สรุปแล้วทั้งสองเรื่องก็ยังไม่ได้เริ่มในปัจจุปันนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-12 21:33:49


ความคิดเห็นที่ 27 (2934049)
avatar
BAHF

เรื่องความสูงของ work Bench ครับ

http://www.youtube.com/watch?v=JFVjTda6U0Q

ผู้แสดงความคิดเห็น BAHF วันที่ตอบ 2013-01-13 19:49:04


ความคิดเห็นที่ 28 (2934375)
avatar
i3ird

คำเดียวครับ....สุดยอดเลยอะ....

ผู้แสดงความคิดเห็น i3ird (bird-togo-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-15 16:06:17


ความคิดเห็นที่ 29 (2934430)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

อนุโมทนาครับ โยม BAHF  มีประโยชน์มากเลยครับ

 

เจริญพรครับ โยมเบิร์ดอนุโมทนาขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมนะครับ 

รอชมเครื่องมือช่างชิ้นโปรดของโยมเบิร์ดอย่างตั้งใจครับ  (ขออนุญาตข้ามกระทู้นิดนึง)

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-16 01:21:39


ความคิดเห็นที่ 30 (2934513)
avatar
ไผ่ตง

สวยมากครับ ขอบพระคุณครับหลวงพี่

ผู้แสดงความคิดเห็น ไผ่ตง (konbapa-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-01-16 14:02:24


ความคิดเห็นที่ 31 (2935293)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับโยมไผ่ตง อนุโมทนาขอบคุณเช่นกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:19:57


ความคิดเห็นที่ 32 (2935295)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๑. เป็นภาพของตัวยันกันหุบที่ทำเสร็จแล้วนำมาให้ชมเป็นภาพแรกของบทนี้ซึ่งเป็นบทพิเศษนิดหน่อยครับ 

ตัวยันหรือตัวกันหุบของปากกาท้ายโต๊ะ

         หลังจากมีโต๊ะช่างไม้จำเป็นไว้ใช้งานแล้วทำให้งานปรับไม้ของอาตมาสะดวกและง่ายขึ้นจากเดิมหลายเท่า แต่มีจุดที่จะต้องปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ จุดดังกล่าวนั้นก็คือ"ปากกาท้ายโต๊ะ"จากการใช้งานมา(ไม่ถึงเดือน) พบว่าปากการุ่นนี้เวลาหนีบชิ้นงานข้างเดียวมักหนีบได้ไม่ค่อยแน่น  เพราะด้านที่ไม่ถูกหนีบจะมีอาการหุบเข้ามากกว่าด้านที่ไม่หนีบ  จึงทำให้หนีบชิ้นงานไม่แน่น  วิธีง่ายๆ ที่สามารถแก้ไขจุดนี้ได้ก็คือเวลาจะหนีบชิ้นงานก็ให้หาเศษไม้ที่มีความหนาใกล้เคียงหรือเท่ากับกับชิ้นงานไปรองด้านที่ไม่ถูกหนีบแล้วค่อยขันหนีบ  วิธีนี้จะช่วยให้ปากกาหนีบงานได้สนิทและแน่นมากขึ้นครับ  แต่วิธีดังกล่าวยังไม่ค่อยถูกใจอาตมานัก อันที่จริงก็ดีนะครับทั้งง่ายและเร็วไม่ต้องเรื่องมาก  แต่อาตมากลับเลือกวิธีอื่นที่ยากและเรื่องมากกว่านี้ครับ เหตุเพราะอยากฝึกให้ยากๆ ไว้ ถ้าเรื่องยากๆ ผ่านเรื่องง่ายก็ง่ายครับ(เรื่องของเหตุผลพูดกันเล่นๆนะครับอย่าได้ถือเป็นสาระ) ไม่มีอะไรมากครับสำหรับเรื่องนี้อย่างเดียวคืออยากทำเท่านั้นเองครับ  หลังจากทำเสร็จแล้วก็ได้ทดลองใช้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับหมดปัญหาเรื่องหนีบแล้วหุบข้างเดียวไปได้ก็เลยนำมาบอกเล่าสู่กันอ่าน 
          เรื่องนี้อาตมาได้แนวคิดจากเรื่องของลูกเบี้ยวปลด-ล็อคเร็วและตัวปรับระยะของเครื่องเร้าเตอร์มากีต้าครับ  เราจะเห็นว่าตัวปรับระยะของเร้าเตอร์ปรับได้เร็วละเอียดและมั่นคงเป็นที่ถูกใจของอาตมาครับ  ก็เลยจัดการทำให้คล้ายโดยมีข้อแม้คือต้องทำเองและใช้วัสดุที่หาได้ในวัดมาทำ ซื้อเฉพาะบางชิ้นที่ทำเองไม่ได้  ทีแรกก็คิดถึงโรงกลึงเหมือนกัน  แต่พอนึกให้ดีอีกทีเกรงใจเวลาของโรงกลึงครับ  งานเล็กๆ น้อยๆ คงเป็นที่ลำบากใจของโรงกลึง  ก็เลยจับโน่นจับนี่มาประกอบกันให้ได้รูปตามที่คิดไว้  แล้วเชื่อมให้เป็นชิ้นเดียวกัน จากนั้นก็ขัด-เจียร์-แต่งให้เรียบร้อยด้วยตะใบดังตัวอย่างในภาพที่ ๒ ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:24:52


ความคิดเห็นที่ 33 (2935296)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๒. เป็นการเริ่มทำเกลียวครึ่งวงกลมซึ่งเป็นกลไกเอกของงานนี้ครับ
๑. เริ่มจากไปหาซื้อสตัดเกลียวตลอดขนาด ๖ หุน มาหนึ่งเส้นและหัวน๊อตตัวเมีย ๖ หุน สองตัว (ใช้แค่ตัวเดียวแต่เผื่อเสียหนึ่งตัว) ราคารวม ๑๐๐ บาท 
๒. นำท่อเหล็กขนาด ๑  ๑/๔ "  ตัดยาวประมาณ ๓ นิ้ว สองท่อนเท่ากัน
๓. นำท่อเหล็กที่ตัดแล้วมาวางให้อยู่แนวเดียวกันแล้วนำหัวน๊อตตัวเมียไว้ตรงกลาง  จากนั้นก็เชื่อทั้งสามชิ้นให้เป็นชินเดียวกัน
๔. นำไปเจียร์ด้วยเครื่องเจียร์และเก็บรายละเอียดด้วยตะใบจนได้รูปตามภาพที่ ๒ ด้านซ้ายครับ
. แล้วใช้ตะใบกลมค่อยขัดเกลียวด้านในของน๊อตตัวเมียออกด้านหนึ่ง ดังตัวอย่างในภาพที่ ๒ ด้านขวา เวลาขัดแต่งต้องใจเย็นๆ ค่อยๆขัดไปทีละน้อยระหว่างนั้นก็หมั่นนำสตัดเกลียวมาทดลองใส่ดูอยู่เป็นระยะๆ ทำไปจนกว่าสตัดเกลียวสอดเข้าได้โดยไม่ต้องหมุน  (หลักการของการทำงานก็คือถ้าเราบังคับสตัดเกลียวให้ชิดกับด้านที่เราขัดเกลียวออก ก็สามารถดึงเกลียวเข้า-ออกได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องหมุนเข้าเหมือนเกลียวทั่วไปซึ่งเป็นการปรับแบบเร็ว แต่ถ้าบังคับเกลียวให้ชิดติดกับด้านที่ไม่ได้ขัดเกลียวออก(ฝั่งตรงข้าม) ก็จะเป็นระบบหมุนเข้า-ออกเหมือนเกลียวทั่วไป ซึ่งเอาไว้ปรับแบบละเอียดได้   ถ้าสงสัยลองปรับตัวปรับระยะที่เร้าเตอร์ของท่านดูก็ได้นะครับ  หลักการเดียวกัน)  หลังจากขัดแต่งให้ได้ตามต้องการแล้วเรื่องงานเหล็กก็เสร็จ ต่อไปเข้าเรื่องของไม้บ้างครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:27:46


ความคิดเห็นที่ 34 (2935298)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๓. เตรียมไม้จำนวน ๓ชิ้นปรับแต่งและเจาะรูให้ได้ดังภาพซ้ายบน 
ภาพขวาบน  ทดลองนำเข้าประกอบกันดูแล้วลองดึงตัวท่อเข้าออกดู ให้พอดีไม่หลวมและไม่แน่นเกินไป
ภาพซ้ายล่าง  เป็นไม้ท่อนกลางและทำตัวควบคุมเพื่อกันไม่ให้เกลียวแน่นและหลวมเกินไปเวลาดึงเข้า-ออก
ภาพขวาล่าง  เป็นแผ่นเหล็กรองรับลูกเบี้ยวและเป็นตัวกันสึกไปในตัว วิธีทำก็ง่ายครับ หากแผ่นเหล็กมาตัดแต่งให้ได้ตามภาพโดยบากให้พอดีกับตัวท่อให้ดึงเข้า-ออกได้สะดวกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:29:16


ความคิดเห็นที่ 35 (2935299)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๔. 

ภาพซ้ายบน  เป็นภาพในขณะที่ทำการล็อคสตัดไม่ให้รูด (ล็อคเพื่อยันกันหุบ)
ภาพขวาบน  ลัษณะตรงกันข้ามคือปลดล็อคครับ
ภาพซ้ายล่าง  ตรงศรชี้ใต้แผ่นรองลูกเบี้ยวจะมีเกลียวปล่อยสำหรับปรับสูง-ต่ำได้  เผื่อไว้ใช้ไปนานๆ ตรงที่ลูกเบี้ยวสัมผัสอาจมีการสึกซึ่งจะส่งผลให้ล็อคไม่อยู่  เมื่อถึงตอนนั้นเราก็มาปรับตรงนี้ให้สูงขึ้นเพื่อให้ลูกเบี้ยวทำงานได้เหมือนเดิมครับ
(เผื่อไว้อนาคต)

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:30:52


ความคิดเห็นที่ 36 (2935301)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๕.  เป็นภาพตัวอย่างการทำแผ่นรองกันตัวปากกายุบเมื่อถูกหัวสตัดฯยันขณะใช้งานบ่อยๆ
ภาพซ้ายบน  จะเห็นอาตมาต๊าบเกลียวตรงกลางไว้ด้วยนี้ก็เพื่อไว้อีกเหมือนกันครับ  เผื่อต่อไปนึกอยากเปลี่ยนใจยึดตัวสตัดฯให้ติดกับตัวปากกาขึ้นมาก็ทำได้เลยไม่ต้อถอดมาแก้ไขมากภายหลังครับ
ภาพขวาบน  นำแผ่นฯมาฝังติดกับตัวปากกาตรงจุดที่หัวสตัดยันพอดี
ภาพซ้ายล่าง  จะเห็นหัวสตัดฯ ทำท่าพร้อมจะยัน

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:32:40


ความคิดเห็นที่ 37 (2935302)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๖. เป็นภาพถ่ายจากใต้โต๊ะครับ  ซึ่งเป็นภาพถ่ายขณะที่ติดตั้งเสร็จแล้ว
ภาพบน  เป็นการล็อคเพื่อยันปากกา
ภาพล่าง  ตรงกันข้ามครับ  ปลดเพื่อคลายให้ดึงเข้า-ออกได้อย่างอิสระ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:33:32


ความคิดเห็นที่ 38 (2935303)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๗.  หลังจากติดตั้งแล้วก็ลองทดสองผลดูครับ  ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า"พอใจกับผลที่ได้มากครับ"
ภาพบน  ลองหนีบชิ้นงานตอนที่ไม่ได้ใช้ตัวยันฯ จะเป็นว่าด้านที่ไม่ถูกหนีบ (ด้านขวา) จะหุบเข้าใกล้ท้ายโต๊ะมากกว่าด้านซ้าย ซึ่งทำให้การหนีบชิ้นงานไม่แน่นเท่าที่ควรครับ
ภาพล่าง  เป็นการใช้งานตัวยัน (ศรเหลือง) จะเห็นว่าแนวทั้งสองด้านเท่ากัน เวลาหนีบชิ้นงานก็หนีบได้อย่างแน่นสนิทเพราะหนีบอย่างไรด้านขวาก็ไม่หุบเข้าไปเนื่องจากมีสตัดฯ ยันไว้อยู่

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:34:37


ความคิดเห็นที่ 39 (2935304)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๘. ถือว่าเป็นของแถมสำหรับเรื่องนี้ครับ  ใช้กบตัวโปรดลองไสดูผ่านครับ  อาตมาคิดว่าเกินคุ้มกับเวลาหนึ่งวันครึ่งที่ใช้ไปกับเรื่องนี้เพราะสามารถแก้จุดบอดตรงนี้ได้  หากท่านใดสนใจนำไปลองทำใช้ดู  อาตมายินดีครับ  และหากชมภาพแล้วยังไม่ชัดเจนก็สามารถสอบถามอาตมาได้ที่หมายเลยโทรศัพท์นี้ครับ ๐๘ ๖๗๒๙  ๗๑๔๑  หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจได้พอสมควรนะครับ  บางอย่างอาจจะคิดว่ายากเมื่อยังไม่ได้ลงมือทำ  แต่หากได้ลงมือแล้วอาจจะไม่ยากอย่างที่คิดก็ได้  (สำหรับบางเรื่อง)


เจริญพรทุกท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:36:36


ความคิดเห็นที่ 40 (2935307)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

นับถือความคิด การประยุกต์ และ ฝีมือของท่านวิชาญมากครับ ยอดเยี่ยมจริงๆ

กลไกลูกเบี้ยวล็อคตำแหน่งเพลาเกลียวที่ท่านสร้างขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับงานกำหนดตำแหน่งรั้วยันชิ้นงานของเครื่องมืออีกหลายแบบเลยครับ

 

ขอบพระคุณมากครับที่นำมาให้พวกเราได้อ่านกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 21:54:05


ความคิดเห็นที่ 41 (2935326)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เช่นเดียวกันครับ อ.ขอบคุณครับ  อาตมามีประสบการณ์น้อยมากกับการใช้งานโต๊ะปฏิบัติงานไม้  ดีที่คิดทำตัวนี้ใช้งานก่อน ได้ทดลองแก้สิ่งต่างๆ จากปัญหาที่เกิดขึ้นจากโต๊ะตัวนี้  อย่างที่ อ.ว่าครับให้ลองกับโต๊ะตัวนี้ให้เต็มที่  ประโยคนี้ยังคงประทับใจอาตมามากครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-21 23:51:03


ความคิดเห็นที่ 42 (2935330)
avatar
yunlefty

ไอเดียดัดแปลงการล็อคเกลียวด้วยลูกเบี้ยวกับการขัดเกลียวออกบางส่วนเพื่อยันปากกามันเยี่ยมมากๆครับพระอาจารย์ ต้นทุนต่ำด้วย ชอบมากครับ ^_^ นับถือ นับถือ ขอบพระคุณครับท่าน

ผู้แสดงความคิดเห็น yunlefty (yunlefty-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-22 00:52:40


ความคิดเห็นที่ 43 (2935356)
avatar
tphen

ยอดเยี่ยมมากครับท่านวิชาญ ในการคิดแก้ปัญหายากๆ ไม่ใช่แค่ใช้ได้ก็พอแล้ว

ผมว่าท่านเป็นนักประดิษฐ์เลยแหละ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น tphen (tphen-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-22 09:26:27


ความคิดเห็นที่ 44 (2936064)
avatar
prescott

ทำชุดกันปากกาเป๋ได้สวยมากเลยครับหลวงพี่ แถมไอเดียสุดยอดไปเลยครับ ผมก็ไม่ค่อยว่างเข้าเวปมาดูเท่าไหร่ โปรเจคที่จะทำเยอะครับ แต่ตามดูกระทู้ของหลวงพี่อยู่ครับ เพราะผมก็คิดแล้วว่าปากกาตัวนี้มันตอบสนองหลวงพี่ไม่ได้แน่นอนครับ จากรูป ความเห็นที่ 8เห็นหลวงพี่เจาะรู้เดือยตรงปาก ปากกาไว้ ผมคาดไว้แล้วว่าหากหนีบไม้ จากปากกาตัวนี้อีกด้านจะเป๋แน่นอนเลยครับ เพราะแกนช่วยพยุงมันจิ๋วมากเลย ยิ่งถ้าเจาะรูแบบไม่พอดียิ่งจะเอียงได้ง่าย ผมก็รอชมว่าหลวงพี่จะแก้ไขยังไง หลวงพี่ทำได้ดีเกินที่คาดไว้ครับ

ที่ผมเคยเรียนกับหลวงพี่นานแล้วว่าถ้าทำโต๊ะงานไม้ผมก็จะทำปากกาเอง เพราะหากซื้อที่มีขายบ้านเราก็จะต้องเจอปัญหานี้เหมือนกัน ไหนๆหากซื้อแบบสำเร็จมาแล้วต้องมาโมดิฟายอยู่ดี ถ้างั้นทำเองทั้งหมดเลยจะดีกว่า ประหยัดเงินแถมได้อย่างที่เราต้องการด้วย

โปรเจคเลื่อยสายพานที่ทำก็เสร็จ 95% แล้วครับ แต่ช้ากว่าที่ตั้งใจไว้ว่าจะให้เสร็จเมื่ออาทิตย์ที่แล้วแต่ก็ไม่ทันตามกำหนดเพราะมีเวลาทำแค่วันละ 2 ชม บางวันก็ไม่ได้ทำเพราะต้องแบ่งเวลาไปทำโปรเจคอื่นด้วย เลยเหลือทำฝาครอบเครื่อง เพราะยังเลือกความเร็วรอบมอเตอร์ที่เหมาะสมไม่ได้ เลยยังทำฝาครอปไม่ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-27 01:12:54


ความคิดเห็นที่ 45 (2936065)
avatar
prescott

ผมลองเอามอเตอร์จากโปรเจค Drum sander ที่เคยทำไว้ก่อนนี้เอามาลองใส่ดู เพื่อทดสอบว่ารอบ 322 รอบตัดจะเป็นไง ปรากฎว่าใช้ได้ดี ตัดผลงานOKครับ แต่ความเร็วมันยังไม่ซะใจ เพราะมอเตอร์ความเร็วรอบต่ำไป เมื่อทดบูเล่ย์แล้วได้รอบเพียง 322 รอบเอง  แต่จากที่ลองตัดไม้ในภาพขนาดความยาว 3.5 นิ้ว ใช้เวลาตัด  5 วิ ซึ่งผมคิดว่าควรจะ 3 วิกำลังดี ผมเลยจะเอาแถวๆ 700-800 รอบก็เหลือๆแล้วสำหรับงานที่ผมทำ คงจะใช้มอเตอร์ 1/4 หรือ 1/2  แต่ต้องดูราคาและความเหมาะสมของขนาดว่าเข้าแท่นได้มั๊ย ถ้าเสร็จแบบ 100% จะส่งให้หลวงพี่ดูทาง E-mail อีกทีครับ เห็นหลวงพี่สนใจจะทำใช้เหมือนกัน เผื่อจะได้รับใช้และศึกษาข้อมูลได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-27 01:24:20


ความคิดเห็นที่ 46 (2936276)
avatar
prescott

อัพเดทความผิดพลาดครับ ข้างบนที่บอกรอบ 322 จริงๆเป็น 182 รอบครับ เพราะผมใส่พูลเลย์ผิดตัว ใส่ขนาด 1 นิ้วเป็นของ Drum sander ตัวเลื่อยต้องเป็น 2 นิ้ว ลืมเปลี่ยนพูลเลย์ก่อนนำมาใส่เลื่อยสานพาน  ตอนคำนวนนำค่า 2 นิ้วไปคำนวน แต่ตอนใส่ใส่ผิดตัวรอบมันเลยต่ำตัดไม่เร็วซะใจ รอบนี้เป็น 322 รอบแท้ๆ ผลที่ตัดดีขึ้นเยอะแบบไม่ต้องเปลี่ยนมอเตอร์หรืออะไรแล้ว รอบแค่ 322 ก็เกินพอแล้ว

เบ็ดเสร็จใช้งบไป 9xx บาท ไม่รวมมอเตอร์ และไม้ยางพาราที่ทำเป็นฐาน

คลิปแก้มือครับหลวงพี่  http://www.youtube.com/watch?v=_qLJYpmEyaY

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-28 15:50:09


ความคิดเห็นที่ 47 (2936359)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับ โยม prescott ได้รับอีเมลแล้วนะครับ

เลื่อยสายพานเสร็จเร็วมากครับสวยน่าจะทำง่ายและแข็งแรงดี  น่าสนใจมากครับเห็นแล้วทำให้อยากทำไว้ใช้งานมากเลยแต่ไม่รู้จะถึงคิวเมื่่อไหร่  ใช้เหล็กทำเป็นโครงเรื่องความแข็งแรงคงหายห่วงก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง  อาตมาคิดมานานครับเรื่องโคงระหว่างไม้กับเหล็ก แต่ใจหนักไปทางไม้มากกว่าที่เล็งๆ ไว้แล้วคือประดู่และชิงชันซึ่งพอมีอยู่นิดน่อยถ้าต้องใช้จริงๆ น่าจะพอ ถึงคราวอาตมาคงต้องรบกวนปรึกษาโยมด้วยนะครับ

โยมถ่ายภาพได้เหมือนนั่งดูของจริงต่อหน้าเลยครับชัดเจนดีมาก  อนุโมทนาครับที่นำมาให้ได้ชมกันครับ

 

 อนุโมทนาครับโยมยุ่น และโยม tphen

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-28 23:54:41


ความคิดเห็นที่ 48 (2936363)
avatar
prescott
image

หลวงพี่ทำโครงจากไม้จะไม่ทำยากเหรอครับ เพราะถ้าจะให้แข็งแรง ทนแรงดึงจากสายพานและแรงเหวี่ยงต้องทำแบบของ Matthias Wandel แค่ผมเห็นก็ท้อแล้ว หรือถ้าจะทำแบบของ John Heisz ทำจากเหล็กแต่โครงสร้างก็ซับซ้อนเกินความจำเป็น แถมทำโครงเสร็จ ของทั้ง 2 ท่าน วงล้อต้องกลึงอีก กลึงแล้วยังไม่พอต้องตั้งศูนย์ถ่วงล้อให้มันได้สมดุลด้วย หากไม่ได้สมดุลตอนเดินเครื่อง เครื่องจะสั่นเดินไปจ่ายตลาดได้เลย และระบบตรึงใบเลื่อยของทั้ง 2 ท่านนี้ทำยากเกินความจำเป็นด้วยครับ ผมมีวิธีทำวงล้อแบบไม่ต้องกลึงและตั้งศูนย์ด้วย และชุดตรึงใบแบบง่ายๆ จริงๆเรื่องนี้ไม่น่าห่วงสำหรับหลวงพี่เลยครับ เพราะหลวงพี่เป็นนักประดิษฐ คงจะทำได้สบายอยู่แล้ว แค่ชุดยันปากกา ผมเห็นยังทึ่งในความชาญฉลาดในการดัดแปลง ทำแล้วหลวงพี่จะไม่ผิดหวังครับ มันจะช่วยให้งานง่ายขึ้นในสิ่งที่วงเดือน และจิ๊กซอทำไม่ได้ ที่เห็นๆก็เรื่องงานตัดไม้หนาๆเกินใบของวงเดือน  band saw ตัดได้สูง 1 ฟุตขึ้นไป ของผมใบเส้นรอบวงสั้นตัดได้ 1 ฟุต สำหรับผมมันเหลือๆเลยครับ และการตัดโค้งหรือซิกแซกบนไม้หนาๆที่จิ๊กซอทำไมได้ แล้วเป็นสิ้งที่ผมต้องได้ใช้ด้วย แค่นี้ผมก็มองว่ามันคุ้มค่าที่ผมจะทำแล้วครับ ถ้าเมื่อไหร่หลวงพี่พร้อมยินดีรับใช้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น prescott (bbmax00-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-29 03:34:17


ความคิดเห็นที่ 49 (2936366)
avatar
00001

ทำใบพัดฮ.ได้ไหมครับขนาด หนา1" กว้าง 8" ยาว 2.20 เมตร (แอร์ฟลอย)

ผู้แสดงความคิดเห็น 00001 วันที่ตอบ 2013-01-29 07:03:53


ความคิดเห็นที่ 50 (2936522)
avatar
จักรยุทธ

ความคิดสรัางสรรค์ดีมาก ทั้งหลวงพี่และคุณprescott ผมสนใจอยากทำเครื่องเลื่อยสายพานบ้าง ผมขออนุญาตขอลายละเอียดเพิ่มเติมนะครับ

jakkayut@gmail.com ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น จักรยุทธ (jakkayut-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-01-29 23:12:45


ความคิดเห็นที่ 51 (2940496)
avatar
ธวัช

กราบนมัสกาท่านมหาวิชาญ เป็นอย่างสูง

       ผมพึ่งเข้ามาดูครั้งแรก ยังชอบฝีมือท่านมากเลย

              ขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน

ผู้แสดงความคิดเห็น ธวัช (tawat yasang-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-02-22 11:49:41


ความคิดเห็นที่ 52 (2940615)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับโยมธวัช ยินดีต้อนรับสู่  www.thaicarpenter.com
 

อนุโมทนาครับ  มีอะไรสงสังตรงไหนสามารถสอบถามได้นะครับ ด้วยความยินดี

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-02-22 23:00:11


ความคิดเห็นที่ 53 (2941941)
avatar
ฝีมือมากๆ

เห็นแล้วได้แต่ อึ้ง

ผู้แสดงความคิดเห็น ฝีมือมากๆ วันที่ตอบ 2013-03-01 20:44:36


ความคิดเห็นที่ 54 (2947596)
avatar
kornar

 สวดยอด ไม่มีคำอธิบายเลย อึ้งครับ หลวงพี่

ผู้แสดงความคิดเห็น kornar (kornar2010-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-04-01 11:14:22


ความคิดเห็นที่ 55 (2968842)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

อนุโมทนาครับโยม ฝีมือมากๆ และโยม kornar  ที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันนี้อาตมามีเรื่องมาเล่าต่อติดตามได้ในความเห็นต่อไปนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:02:55


ความคิดเห็นที่ 56 (2968845)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ปากกาขาโต๊ะ


          วันนี้อาตมามีเรื่องของ "โต๊ะช่างไม้จำเป็น" จะมาเล่าเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย  นั่นก็คือเรื่องของ "ปากกาหัวและท้ายโต๊ะ" ครับ  เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังสร้างโต๊ะปฏิบัติงานไม้ไว้ใช้  โดยเฉพาะท่านที่มีหรือกำลังจะมีปากการุ่นประหยัด  ที่อาจารย์เขมทัต กรัยวิเชียร ได้ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้กับ "โต๊ะช่างไม้ใกล้เอื้อม"  เรื่องของปากการุ่นนี้อาตมาได้ทราบข่าวและติดตามมาโดยลำดับทั้งจากการบอกเล่าของ อ.เขมทัต เอง และเพื่อนๆ อีกหลายๆ ท่าน  ถึงคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมของปากการรุ่นนี้ครับ  เมื่องานคุยจ้อฯ ครั้งที่ ๒ ที่ผ่านมา  อาตมามีโอกาสได้ทดลองด้วยตัวเอง (มีภาพเป็นพยานครับ) ยิ่งทำให้มั่นใจและถูกใจเป็นอย่างมากครับ  แนะนำว่าทั้งมือใหม่และมือเก่าหากยังไม่มีปากกาสำหรับใช้กับโต๊ะงานไม้ อย่าลืมนึกถึงปากการุ่นนี้นะครับ

          ขออนุโมทนาขอบคุณ อาจารย์เขมทัต กรัยวิเชียร มากครับที่นำส่งถวายปากการุ่นนี้ทั้งชุดให้อาตมาเพื่อไว้ใช้งานขออนุโมทนาขอบคุณครับ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:09:02


ความคิดเห็นที่ 57 (2968846)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๑.
เริ่มด้วยเรื่องของปากกาหัวโต๊ะแบบที่มีแป้นหนีบในแนวดิ่ง ที่ฝรั่งเรียกว่า Leg Vise หรือปากกาขาโต๊ะ ก่อนนะครับ  (อาตมาขอเรียกว่า "ปากการขาโต๊ะ" นะครับ) 
ท่านที่สนใจดูข้อมูลเพื่มเติมได้จากที่นี่่ครับ ขอบคุณอาจารย์สำหรับข้อมูลครับ คลิกเลย

ภาพที่ ๑. นี้เป็นมุมมองต่างๆ ของปากกาขาโต๊ะที่ทำการติดตั้งเสร็จแล้วครับ
อาตมาได้นำปากกาขาโต๊ะมาติดตั้งที่โต๊ะช่างไม้จะเป็นเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับโต๊ะตัวนี้ครับ  ซึ่งมีมุมโต๊ะที่ว่างให้สองมุมพอดี 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:14:26


ความคิดเห็นที่ 58 (2968847)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๒.
          อาตมาใช้ไม้สักขนาดกว้าง ๑๑ ซม.หนา ๕ ซม.ยาว ๖๑ ซม. ซึ่งเป็นท่อนไม้เก่าที่อาตมาได้เก็บมาไสเก็บไว้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ไม้เดิมมีรูปเหมือนรูปบนคือเป็นไม้ที่ถูกตัดลักษณะเป็น ๔๕ ด้านหนึ่งอยู่แล้ว  ด้วยความเสียดายอาตมาจึงยังคงเก็บรูปแบบเดิมของไม้เอาไว้ แต่ได้เพิ่มลายโค้งๆ งอๆ ตรงส่วนปลาย (รอยดัดเดิม) เพื่อให้ดูแปลกตาและดูดีกว่าเดิมนิดหน่อยตามรอยเส้นที่เห็นครับ  จากนั้นก็ใช้เร้าเตอร์เดิมตามเส้นเพื่อให้ได้ตามรูปที่ต้องการรูใหญ่ด้านซ้ายภาพบน  เป็นที่อยู่ของเพลาเกลียวตัวเอกของปากกาขาโต๊ะครับ  วัดจากปลายสุดของหัวปากกาถึงจุดศูนย์กลางของรูเพลาเกลียวประมาณ ๗ นิ้ว รูเล็กขวาสุดภาพบนเป็นรูสำหรับติดตั้งตัวยันกันหุบครับ ดังตัวอย่างภาพสมบูรณ์ในภาพที่ ๑ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:16:02


ความคิดเห็นที่ 59 (2968848)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๓
ปากกาที่ติดตั้งแล้วทั้งด้านนอกและด้านใน  จะมีลักษณะดังภาพทั้งสองครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:16:52


ความคิดเห็นที่ 60 (2968849)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๔.
เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้วก็ถึงเวลาทดลองใช้งานครับ  ที่เห็นเป็นภาพขณะที่อาตมไสปรับไม้เรียบร้อยแล้ว ถ่ายในมุมต่างๆ มาให้ชมครับ  หนีบสนิทมากทั้งไม้บางและหนาไม่มีปัญหาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:17:49


ความคิดเห็นที่ 61 (2968850)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาที่ ๕
จะเห็นภาพของการใช้ตัวล็อคยันกันหุบ  เราสามารถปรับระยะให้ได้ขนาดตามความหนาของไม้ที่เราจะหนีบได้โดยการเสียบเหล็กตามรูที่เจาะไว้ ซึ่งมีสองแถวและแต่ละรูจะเยื้องกันเล็กน้อย เพื่อสำหรับปรับให้ได้ขนาดที่ใกล้เคียงกับความหนาของชิ้นงานที่เราจะหนีบในกรณีที่หาตำแหน่งรูพอดีกับชิ้นงานไม่ได้ เราก็ใช้รูที่ใกล้เคียงที่สุดแทน

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:18:59


ความคิดเห็นที่ 62 (2968851)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๖
          หลังจากทำปากกาขาโต๊ะแล้ว ก็ได้ทำเสาประคองไม้เพิ่มอีกหนึ่งอันครับ เดิมทีอาตมาทำไว้แล้วแต่อยู่อีกด้านของโต๊ะด้วยความที่ไม่ยากย้ายไปย้ายมา ก็เลยทำขึ้นอีกอัน เท่ากับว่าโต๊ะตัวนี้มีเสาประคองไม้ทั้งสองด้านของโต๊ะครับ  ส่วนวิธีการทำเหมือนอันแรกครับผู้สนใจสามารถชมรายละเอียดได้ในหน้าต้นๆ ของกระทู้ครับ


          เรื่องของปากการหัวโต๊ะหรือปากกาขาโต๊ะที่อาตมาทำการติดตั้งจะสังเกตเห็นว่าวัสดุบ้างชิ้น เช่นไม้ที่นำมาทำเป็นตัวปากกาอาตมาจะไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วนต่างๆ อย่างละเอียดมากนัก เหตุเพราะอาตมาจะยึดตามขนาดของไม้เดิมที่มีอยู่เป็นหลัก เพียงแค่ปรับแต่งให้ตรงและได้มุมฉากเท่านั้น และกะเอาตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ออกมาตามที่เห็นครับ  แต่ปากกาก็ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมเกินตัวครับ

 

วันต่อไปจะมาเล่าเรื่อง "ปากกาท้ายโต๊ะ" ต่อครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-15 21:20:41


ความคิดเห็นที่ 63 (2969274)
avatar
อินจำปา

ท่านอาจาร์ยครับ เกินคำบรรยายครับ ขอรับไว้ด้วยใจครับ เป็นบุญเป็นกุศล ที่อาจาร์ยได้ถ่ายทอดให้ได้ชมกันครับ เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยมเลยครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น อินจำปา (settachai-at-kanoksin-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-18 09:41:56


ความคิดเห็นที่ 64 (2969353)
avatar
เชษฐา

สุดยอดเลยครับพระอาจารย์

ผู้แสดงความคิดเห็น เชษฐา (maew-ched-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-06-18 16:11:31


ความคิดเห็นที่ 65 (2969761)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับโยม อินจำปา และโยม ชษฐา ขอบคุณนะครับที่เข้ามาเยี่ยมชม ด้วยความยินดีครับ

ผ่านมาสามสี่วันแล้วอาตมายังไม่มีโอกาสได้เขียนต่อให้จบเรื่องนี้เลย  ยังค้างเรื่องของปากกาท้ายโต๊ะอีกเรื่องครับ  (ความจริงเขียนไว้แล้วแต่ยังไม่ได้นำมาลงในกระทู้ครับ มีเรื่องให้ทำหลายอย่างเลยหมุนๆ ไปหน่อยแต่ก็สนุกดีครับ)  ไว้จะมาเล่าให้จบในครั้งต่อไปนะครับ 

เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ ขอให้มีความสุขกับงานครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-20 09:04:15


ความคิดเห็นที่ 66 (2971311)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ปากกาท้ายโต๊ะ
มาต่อกันที่ ปากกาท้ายโต๊ะบ้างนะครับ
ภาพที่ ๑. เป็นมุมมองต่างๆ ขณะที่ติดตั้งเสร็จแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-25 17:56:52


ความคิดเห็นที่ 67 (2971312)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๒ นี้เป็นภาพมุมด้านบนและด้านใต้โต๊ะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-25 17:57:39


ความคิดเห็นที่ 68 (2971313)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๓
ชุดแป้นอลูมิเนียมและแป้นไม้ประคองเดือยทองเหลือง
แป้นอลูมิเนียมนี้จะถูกติดตั้งไว้ใต้โต๊ะพร้อมกับรางทองเหลืองทั้งคู่ (ดังตัวอย่างภาพที่ ๒ ล่าง) ซึ่งทำหน้าที่ประคองแป้นอลูมิเนียมให้วิ่งตามแนวที่กำหนด
ส่วนแป้นไม้ประคองเดือย ทำจากไม้ประดู่ใช้ยึดติดบนแป้นอลูมิเนียมอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นตัวประคองเดือยทองเหลือง (ดังภาพตัวอย่างที่ ๑ ครับ)

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-25 17:58:37


ความคิดเห็นที่ 69 (2971314)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ภาพที่ ๔
หลังจากติดตั้งเสร็จก็ทำการทดลองหนีบชิ้นงานดู  หนีบได้แนบสนิทมาก อาตมาชอบปากกาชุดนี้มากครับ
ต่อไปหากได้สร้างโต๊ะปฏิบัติงานไม้ตัวจริงเมื่อไร อาตมาจะใช้ปากกาชุดนี้ทั้งชุดครับ แต่อาจมีการปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับโต๊ะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-25 17:59:38


ความคิดเห็นที่ 70 (2971323)
avatar
เทอดศักดิ์(M)

 หลวงพี่พระมหาวิชาญ

         ผมชอบปากกาขาโต๊ะ กับตัวกันหุบมากเลย ความคิดสร้างสรรค์ดีเยี่ยม ผมก็ศึกษาไปเรื่อยๆ และกะว่าจะทำโต๊ะงานไม้แบบ Ruobo ที่ใช้ปากกาขาโต๊ะสักตัวเหมือนกันครับ เมื่อทำช็อปงานไม้ในฝันเสร็จแล้วครับ รอวันนั้นเหมือนกัน 

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์(M) (tsrisap-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-25 18:47:31


ความคิดเห็นที่ 71 (2971549)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน
image

ครับคุณ M อาตมาก็ชอบโต๊ะงานไม้แบบ Ruobo เหมือนกัน  ตั้งใจว่าอีกสักปีหรือสองปีข้างหน้าจะลงมือทำโต๊ะงานไม้ในฝัน ระหว่างนี้ก็ค่อยๆ หาเลือกเก็บวัสดุที่จะใช้ทำเอาไว้ เดิมทีอาตมาตั้งใจว่าจะใช้ไม้ประดู่ทำ  แต่ไม้ประดู่แถวนี้หายาก เมื่ออาทิตย์ก่อนเดินไปเห็นเสาไม้สัก ๖" x ๖" ยาวประมาณ ๒.๔๐ ม. สี่ต้น ที่อาตมาไสปรับเตรียมไว้เพื่อทำศาลาหลังน้อยๆ เมื่อสามปีก่อน ยังกองไว้ที่โรงไม้เหมือนเดิม สรุปแล้วศาลาน้อยหลังนั้นไม่ได้ทำแล้วครับ  ก็เลยคิดว่าจะเอาเสาทั้งสี่นั่นแหละมาทำเป็นโต๊ะปฏิบัติงานไม้ ไม่ต้องไปหาที่ไหนอีก  ไม้สักอาจจะเนี้ออ่อนกว่าประดู่ แต่โดยรวมแล้วก็ ok ครับ  และเมื่อเห็นแล้วก็นึกอยากจะเลื่อนเวลาที่ตั้งไว้ดังกล่าวขยับเข้ามาให้ใกล้อีกหน่อย คืออาจจะได้ลงมือทำในเร็วๆ นี้ครับ  เพราะไม้ก็พร้อม เหลือแต่เรื่องของเวลาที่จะลงมือทำแล้วครับว่าจะมีให้มากแค่ไหน หากได้ทำเมื่อไรจะมาเล่าให้ฟังครับ

แนบภาพแบบที่คิดจะทำมาให้ชมพลางๆ ไปก่อนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-27 10:53:17


ความคิดเห็นที่ 72 (2971904)
avatar
ป้อม

อยากทราบวิธีทำ จิ๊กสว่าน อย่างละเอียดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ป้อม (sirirat1220-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2013-06-29 21:28:54


ความคิดเห็นที่ 73 (2971980)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรครับ โยมป้อม

เรื่องของจิ๊กจับสว่านเป็นอีกเรื่องหนึ่งเรื่องในสามเรื่องที่อาตมาตั้งใจจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอย่างแน่นอนครับ (อีกสองเรื่องคือ "เตียง และ จิ๊กหนีบกระดาษทราย" ) เพียงแต่ยังติดขัดเรื่องเวลาที่จะเขียนอีกเล็กน้อย คาดว่าหลังเข้าพรรษาคงจะได้ลงมือทยอยเขียนให้ได้อ่านกันนะครับ  และหากถึงเวลาดังกว่าอาตมาจะเริ่มขัวหัวใหม่หรือตั้งกระทู้ให้เป็นเรื่องๆ ไป เพื่อสะดวกต่อการค้นหา รออีกสักระยะนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2013-06-30 21:16:39


ความคิดเห็นที่ 74 (2975272)
avatar
จ่ากร ช.พัน.๔ร้อย.๑

สมกับที่ ในหลวงทรงรับสั่งให้อนุรักษืวิชาช่างไม้ไว้กับชาติไทย  งามจริงๆๆครับ ทรงพระเจริญ

ผู้แสดงความคิดเห็น จ่ากร ช.พัน.๔ร้อย.๑ วันที่ตอบ 2013-07-30 21:43:39


ความคิดเห็นที่ 75 (3001050)
avatar
จรินทร์ (สาต์น)

 หลวงพี่พระมหาวิชาญ

ผมได้ทำโต๊ะตามแบบของหลวงพี่แป๊ะๆเลยครับ รอทำเสาประคองไม้อีก 1 ชิ้นครับ

 

 

 

 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น จรินทร์ (สาต์น) (mrjarint-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-25 23:01:44


ความคิดเห็นที่ 76 (3001051)
avatar
จรินทร์ (สาต์น)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จรินทร์ (สาต์น) (mrjarint-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-25 23:02:39


ความคิดเห็นที่ 77 (3001101)
avatar
เทอดศักดิ์(M)

 ตุณจรินทร์มาแอบซุ่มทำโต๊ะงานไม้อยู่นี่เอง 

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์(M) (tsrisap-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-04-26 19:02:11


ความคิดเห็นที่ 78 (3001102)
avatar
เทอดศักดิ์(M)
image

กราบนมัสการหลวงพี่พระมาหาวิชาญ

       ทำโต๊ะเร้าเตอร์ไปถึงไหนแล้วครับ ผมมี Miter Slot แบบ Combo ที่มีทั้งราง Miter และ T Slot อยู่ในตัวขนาดยาว 32 นิ้วของ Benchdog อยู่ที่เพิ่งจะหาเจอ ผมจะส่งให้หลวงพี่เอาไปใช้ประโยชน์ต่อนะครับ ขอที่อยู่ให้ด้วยครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์(M) (tsrisap-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-04-26 19:08:42


ความคิดเห็นที่ 79 (3001129)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

เจริญพรยามเช้าครับโยมจรินทร์ และโยมเทอดศักดิ์

             โต๊ะปฏิบัติงานไม้ของโยมจรินทร์ที่สร้างขึ้น  อาตมามั่นใจว่าจะช่วยให้การทำงานง่ายสะดวกและแม่นยำมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ  จากการที่อาตมาได้สร้างและใช้งานมาตลอดเป็นเครื่องยืนยันได้ครับ โยมจรินทร์สร้างได้บึกบึนมั่นคงดีมาก จากในภาพเดาว่าเสาทั้งสี่คงใช้ไม้หน้า ๔"x๔" ทำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้ยิ่งขึ้น ดีมากครับ

 

            โต๊ะเร้าเตอร์เพิ่งจะได้ประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเองครับโยมเทอดศักดิ์  ผิดที่คาดไว้ไปเยอะครับ พอดีทางวัดมีงานสำคัญ เลยต้องหยุดเรื่องของโต๊ะเร้าเตอร์ไว้ก่อนตั้งแต่ต้นเดือนแล้วครับ มีเวลาก็แอบไปทำได้บ้างวันละ ๑-๒ ชั่วโมง จะพยายามทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ 

อนุโมทนาขอบคุณมากครับสำหรับ Miter Slot ที่อยู่ตามนี่เลยครับ  พระมาวิชาญ  สุขวฑฺฒโน  วัดสวนลำไย ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน ๕๑๐๐๐

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2014-04-27 06:29:18


ความคิดเห็นที่ 80 (3001170)
avatar
จรินทร์ (สาต์น)

 กราบนมัสการหลวงพี่พระมาหาวิชาญ

 

โต๊ะงานที่ได้แบบตามหลวงพี่ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพของโต๊ะงานไม้มากครับ ทำงานต่างๆได้สะดวก สบายกว่าเก่าเยอะมากครับหลวงพี่

 

 

พี่เอ็มครับ ผมต้องรีบโต๊ะเพราะต้องประกอบอาชีพด้านนี้อย่างจริงจังแล้วนะครับ อิอิ บุญเก่าจะหมดละคร้าบบบบ ต้องสร้างใหม่ แต่แอบไปดูสินค้าพี่เอ็มตลอดครับ อิอิ

ผู้แสดงความคิดเห็น จรินทร์ (สาต์น) (mrjarint-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-27 21:40:24


ความคิดเห็นที่ 81 (4067229)
avatar
jo

 พระอาจารย์อยู่วัดไหนครับ อยากไปศึกษาดูงาน 

ผู้แสดงความคิดเห็น jo (jirayut79-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-07-21 22:38:54


ความคิดเห็นที่ 82 (4067902)
avatar
พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน

อยู่วัดรัชมังคลาราม (สวนลำไย) ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน ครับ

มีโอกาสก็เจริญพรได้นะครับ ยินดีต้อนรับ หรือถ้าสะดวกติดต่อทางโทรศัพท์ก่อนก็ได้ 09 5613 8373

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พระมหาวิชาญ สุขวฑฺฒโน (pramahavichan-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2017-07-25 16:47:19


ความคิดเห็นที่ 83 (4217998)
avatar
Whan

 ละเอียดมากๆเลยครับ ขอบคุณสำหรับรายละเอียดการทำโต๊ะทำงานไม้ดีๆแบบนี้ ราคาโต๊ะน่าจะประหยัดกว่าสั่งซื้อแพงๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น Whan วันที่ตอบ 2021-02-07 03:11:06


ความคิดเห็นที่ 84 (4372442)
avatar
safetoto

 It"s the same topic  , but I was quite surprised to see the opinions I didn"t think of. My blog also has articles on these topics, so I look forward to your visit. safetoto

 
ผู้แสดงความคิดเห็น safetoto (slotcasino-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2022-09-09 09:51:15



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.