ReadyPlanet.com


โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร


user image

เรื่องที่จะเล่าในกระทู้นี้เป็นเรื่องที่ต่อจาก ตอนที่แล้วที่มีชื่อว่า “โต๊ะช่างไม้ตัวแรกของผม”http://www.thaicarpenter.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=thaicarpentercom&thispage=2&No=1404776ซึ่งมีใจความเกี่ยวกับความเป็นมา สรรพคุณ และปัญหาอุปสรรคที่ได้ประสบจากการใช้งานโต๊ะช่างไม้ตัวแรกของผมมาตั้งแต่ปี 2518 จนปัจจุบันรวมเวลาแล้ว 3 รอบพอดี


ผมเป็นผู้ที่โชคดีมากที่มีโอกาสสร้างโต๊ะช่างไม้ถึงสองตัว โชคที่ว่านี้เกิดจากความประสงค์ของคุณชาญศิริ อักษรนันทน์ หรือ “พี่เติม” ที่อยากมีโต๊ะช่างไม้ที่มั่นคงถาวรไว้ใช้ ประกอบกับจังหวะชีวิตของผมช่วงต้นปีนี้ที่พอจะสรรหาเวลามามุ่งเน้นทำงานไม้อย่างจริงจัง  นอกจากผลงานที่ออกมาจะถูกใจทั้งพี่เติมผู้เป็นเจ้าของและผมแล้ว ผมก็ยังได้ผลพลอยได้จากการออกกำลังในห้องช่าง (Workshop) ของผมซึ่งทำให้น้ำหนักตัวของผมลดลงจาก 92 กิโลกรัมเหลือไม่ถึง 80 กิโลกรัมในเวลาไม่ถึง 4 เดือน :)


เรื่องของโต๊ะตัวช่างไม้ตัวที่สองนี้ผมตั้งชื่อเรื่องไว้ว่า “โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม” ด้วยเหตุที่ว่าโต๊ะตัวนี้ (ตามรูปที่ 1) มีสรรพคุณที่ผมปรารถนาครบและตอบโจทย์เรื่องปัญหา อุปสรรคจากโต๊ะตัวแรกได้ทุกข้อ  ผมไม่มีโอกาสรับเขาไว้ในอุปการะเพราะเขามีพี่เติมได้เป็นเจ้าของตัวจริง ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมผมไม่ต่อโต๊ะแบบนี้ไว้เองอีกสักตัวหนึ่ง?


คำตอบของผมคือ 1) ผมรักโต๊ะตัวแรกของผมมากและไม่อยากจะทิ้งเขาไว้เฉยๆ 2) ผมไม่มีที่จะวางโต๊ะอีกตัว และ 3) ผมคงจะหาเวลาทำโต๊ะช่างอีกตัวยากแล้ว เพราะมีใจจะทำงานไม้เรื่องอื่นอีกหลายโครงการ เช่น เปลี่ยนประตูบ้านและประตูห้องน้ำให้คุณพ่อ… ทำตู้เก็บเครื่องมือแบบติดผนังและแบบตั้งพื้น… ทำโต๊ะเร้าเตอร์ใหม่… ทำแท่นรองสว่าน… ทำแท่นรองเลื่อยองศาและเครื่องรีดไม้… บูรณะเครื่องมือเก่าที่สะสมไว้… ออกแบบและผลิตเครื่องมือช่างไม้… รวมถึงการจัดระเบียบ 5ส ในห้องช่างของผมซึ่งบางวันแทบเดินไม่ได้และบ่อยครั้งที่หาของไม่เจอ


สรุปแล้วผมก็คงได้แค่ฝันถึงโต๊ะของพี่เติมล่ะครับ แต่ถ้ามีโอกาสผมก็จะพยามหาเวลามาปรับปรุงโต๊ะช่างตัวแรกให้ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ ที่เล็งๆไว้ก็คืออยากจะ ไสปรับผิวโต๊ะให้เรียบสวย เพิ่มปากกาท้ายโต๊ะแบบ Wagon Vise และเพิ่มปากกาหัวโต๊ะแบบพวงมาลัยไม้หนีบ (Glide Leg Vise) ตาม Link นี้ครับhttp://www.youtube.com/watch?v=zWe32IDX-Ec
 



ผู้ตั้งกระทู้ เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-02 20:25:59


« 1 2 3 4 »

ความคิดเห็นที่ 101 (1445888)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

หางเหยี่ยวแบบที่ท่านเห็นนี้เป็นแบบที่ผมเรียกว่าหางเหยี่ยวข้างลิ้นชักหรือหางเหยี่ยวไม่ทะลุ (Half-blind Dovetail) วิธีทำก็เริ่มจากการกำหนดขนาดของหางเหยี่ยวตัวผู้ (Tail) และหางเหยี่ยวตัวเมีย (Pin) ตามสัดส่วนและมุมเอียงที่แสดงในรูปที่ 51 ครับผมก็ไม่ได้มีสูตรตายตัวอะไรนอกจากกะดูให้สมส่วนและดูแข็งแรง ส่วนมุมเอียง 10 องศาเป็นมุมเดียวกับที่ผมใช้กับหางเหยี่ยวบนโต๊ะช่างไม้ตัวแรก

จากนั้นก็ใช้เลื่อยตัดไม้เป็นรูปตัวผู้ตามรูป F และ G (ดูรูปด้านล่างก็ได้ครับไม่ต้องย้อนไปหน้าเดิม) ครับ ในภาพจะเห็นว่าโค้ชของผมกำลังให้กำลังใจอยู่ข้างๆ เลื่อยที่ใช้ตัดหางเหยี่ยวนี้เป็นเลื่อยญี่ปุ่นแบบไม่มีสันหลังครับ ใช้ดีจริงๆเลื่อยไม้ประดู่ที่แข็งๆได้สบายเบาแรงและเที่ยงดีมาก


เลื่อยญี่ปุ่นเป็นเลื่อยที่ตัดไม้ในขณะที่เราดึงเลื่อยเข้าหาตัว ดังนั้นขณะที่เลื่อยตัวใบเลื่อยจะอยู่ใต้แรงดึงครับซึ่งต่างกับเลื่อยลันดา เลื่อยปังตอ และเลื่อยรอซึ่งขณะเลื่อยใบเลื่อยจะอยู่ใต้แรงกด เหล็กที่ใช้ทำใบเลื่อยญี่ปุ่นจึงบางกว่าเลื่อยทั้งสามแบบมากเพราะไม่ต้องห่วงเรื่องใบเลื่อยจะโก่งงอใต้แรงกด ความบางนี้นอกจากจะทำให้น้ำหนักน้อยแล้วยังช่วยลดแรงขณะเลื่อยไปได้มากเพราะเมื่อใบบาง ฟันก็บาง และไม่ต้องเฉือนตัดไม้มากเท่ากับเลื่อยที่หนากว่า  ผมเพิ่งได้ใช้เลื่อยญี่ปุ่นมาสองปีเท่านั้นครับ ได้มาจากงานรวมพลฯปี 52 ครับ ถูกใจกับเลื่อยนี้มากทุกเรื่องยกเว้นเรื่องเดียวคือ หาตะไบแต่งคมไม่ได้ครับ แม้เนื้อเหล็กจะคมนานมากแต่วันหนึ่งก็คงต้องแต่งฟัน ใครทราบแหล่งขายตะไบที่ว่ากรุณาบอกกล่าวด้วยครับ ผมเคยเห็นคุณตั้มโคราชนำมาแบ่งขายครั้งหนึ่งก็เสียดายที่ไม่ได้ซื้อไว้


รูป H แสดงภาพที่ตัดไม้หางเหยี่ยวตัวผู้แล้วครับ
 

ขั้นตอนต่อไปไม่มีภาพครับ เป็นการใช้เราเตอร์กัดเดือยลิ้นตลอดความกว้างของหน้าโต๊ะครับทั้งด้านบนและด้านล่างครับ ก่อนจะใช้เราเตอร็ต้องไสไม้ทั้งสิงด้านให้ขนานกันครับ ไม่เช่นนั้นเราก็จะได้เดือยที่หนาไม่เสมอ


จากนั้นตามรูป I นำไม้ประกบซึ่งกัดร่องลิ้น (Dado) บนโต๊ะเราเตอร์ไว้แล้วมาครอบเดือยแล้วดึงมาด้านหน้าโต๊ะจนยันกับหางเหยี่ยวตัวผู้เพื่อทำการถ่ายลอกขอบหางเหยี่ยวลงบนสันไม้ตามเส้นดินสอที่เห็นในรูป J ครับ


เมื่อได้เส้นขอบหางเหยี่ยวตัวเมียตามรูป J แล้วก็ใช้ดอกขูดเจาะไม้ออกไปให้ใกล้เส้นดินสอให้มากที่สุด ตามรูป K ครับ


เสร็จแล้วก็ใช้สิ่วหน้ากว้างเจาะไม้ออกจนชิดเส้นดินสอ ตามรูป L ครับ


อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้คือการใช้เลื่อยเซาะร่องตามเส้นเอียงแล้วตามด้วยสิ่วครับ

เคล็ดในการเข้าไม้ของผมคือตัดทีละน้อยและวัดบ่อยๆครับ ผมเชื่อคำสอนที่ว่า Measure Twice Cut Once หรือ วัดสองครั้ง ตัดครั้งเดียว ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-15 23:12:22


ความคิดเห็นที่ 102 (1445889)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ผมนำภาพที่ 50 มาแสดงอีกครั้งครับ เพื่อให้ดูสะดวก

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-15 23:16:40


ความคิดเห็นที่ 103 (1445893)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ภาพที่ 52 M เป็นการประกอบไม้ประกบกับพื้นเพื่อทดลองความพอดีของหางเหยี่ยวครับ ระหว่างลองต้องใจเย็นครับ สังเกตดูรอยเงาบนไม้ที่สีกันเราก็จะทราบว่าจุดไหนที่แน่นเกินไป ทราบแล้วก็แต่งด้วยการถากตัวเมียออกด้วยสิ่วครับ ตัวผู้เราที่เราเลื่อยไว้ดีแล้วผมจะไม่แตะเลย


เมื่อเดือยหางเหยี่ยวสนิทถูกใจแล้วก็ดันเข้าที่ให้สุดแล้วกำหนดตำแหน่งเจาะรูเพลาและเซาะร่องเพื่อฝังเบ้ารับเพลาเกลียวที่เป็นสเตนเลสสี่เหลี่ยม มีภาพรอยเจาะให้ดูตามรูปที่ 53 ครับ จากนั้นก็ประกอบปากกาท้ายโต๊ะตามรูป 52 N แล้วทดลองการทำงานครับ


ขอกระโดดไปอธิบายตอนที่ติดกาวยึดน๊อตไม้ประกับเสร็จแล้วด้วยเลยนะครับ ตามรูป 52 N จะเห็นจากภาพว่าเราจะตัดไม้เกินไว้หน่อยให้ตัวเมียโผล่ออกมา


รูป 52 O พอกาวแห้งดีแล้วเราก็เล็มส่วนเกินออกแล้วใช้กบไสให้เรียบเสมอกับขอบโต๊ะด้านหน้าครับ


รูป 52 P เป็นภาพที่ไสสันไม้ประกบเรียบกับขอบโต๊ะด้านหน้าแล้ว ตามภาพผมใช้กบเหล็กเวอริทาสไสสันไม้ครับ ภายหลังขณะที่ไสสันไม้หัวโต๊ะกว้าง 71 ซม.นั้น ก็พบว่ากบผิวของธรรมศักดิ์ไสง่ายกว่าและเบาแรงกว่ามากครับ

ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่าขอโต๊ะบริเวณขวามือของเดือยตัวผู้มีรอยอุดตำหนิไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจางๆอยู่ครับ นี่คือสิ่งที่ต้องยอมรับถ้าจะใช้ไม้เก่าครับ ผมจะเล่าวิธีอุดพรางรอยตำหนิเหล่านี้อีกครั้งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-15 23:38:43


ความคิดเห็นที่ 104 (1445896)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 53 แสดงภาพรอยเจาะไม้เพื่อฝังเบ้ารับเพลาเกลียว

 

จบหัวข้อ 6.2) เรื่องการยึดไม้ประกับท้ายโต๊ะกับพื้นโต๊ะแล้วครับ ต่อไปก็จะเป็น หัวข้อ 6.3) เรื่องการติดตั้งปากกาแบบ Quick Release ที่หัวโต๊ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-15 23:55:39


ความคิดเห็นที่ 105 (1445898)
avatar
ธัญ ไม้ทัย

 งานหินจริงๆครับ บางทีเห็นภาพก็รู้สึกเหนื่อยแทนเหมือนกัน แต่ก็ได้ผลงานที่ทรงคูณค่าสมกับความอดทนและพยายาม ผมติดตามต่อเนื่องครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธัญ ไม้ทัย (thanpisist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 00:22:52


ความคิดเห็นที่ 106 (1445901)
avatar
poppy152

ชื่นชมในผลงานและความตั้งใจอย่างแท้จริงครับ อยากได้ wagon vise บ้างอะครับ ผมว่าทำขายน่าจะมีคนซื้ออย่างน้อยผมก็คนนึง เพราะลำพังจะไปชี้แจงให้ช่างกลึงทราบก็ไม่ใช่เรื่องที่ถนัด และกว่าจะได้ออกมาราคาก็คงไม่จบได้ง่ายๆ หวังว่าคุณเขมทัตจะรับเรื่องทำขายไว้พิจารณานะครับ หรือสั่งทำเผื่อผมซักอันก็ยังดี ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น poppy152 วันที่ตอบ 2011-09-16 02:12:01


ความคิดเห็นที่ 107 (1445916)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรียนคุณเอ๋ เพาะช่าง
คุณพ่อของคุณเอ๋ ชอบหรือทำงานช่างด้วยหรือเปล่าครับ?


เรียนคุณ ธัญ ไม้ทัย
ขอบคุณที่ติดตามมาโดยตลอดและมีคำชมให้อย่างเสมอมาครับ เรื่องหินหรือเหนื่อยนั้นผมลืมไปแล้วครับจำได้แต่ความสนุกขณะทำครับ

อีกประการหนึ่งการทำงานไม้ช่วยลดน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดีเลยครับ จำได้ว่า ต้นเดือนก.พ. 2554 ผมหนัก 92 กก.เศษ ในภาพที่ 54 จะเห็นต้นเดือน มิ.ย. 2554 น้ำหนักผมเหลือ 76 กก. เศษ ช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย.ก็ลดลงอย่างต่อเนื่องครับ

ผมใช้วิธีนี้ครับ
1) เหงื่อออกวันละ 2 ชั่วโมง หลักๆแล้วก็ทำงานไม้กับเดินออกกำลังเร็วๆครับ
2) หยุดกินเมื่อหายหิว
3) อยู่ให้ห่างของหวาน
4) มีเป้าหมายที่ชัดเจน และสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง ในกรณีของผมผมอยากลดน้ำหนักให้เหลือ 74 กก.ครับ พอดีมีเพื่อนสนิทที่อยากลดน้ำหนักเหมือนกันก็เลยมีติดปลายนวมกันนิดหน่อยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 09:32:25


ความคิดเห็นที่ 108 (1445918)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณ popy152


เรื่องทำ Wagon Vise ขายผมยังไม่เคยคิดเลยครับ ถ้ามีคนสนใจรวมกันซัก 10 อันผมยินดีที่จะคุยกับช่างสิทธื์ให้ครับ

ลองอ่านเรื่องปากกาตัวนี้ไปเรื่อยๆก่อนนะครับแล้วค่อยตัดสินใจ ต้นเหตุที่ทำให้โครงสร้างและราคาสูงคือการใช้พวงมาลัยเป็นตัวขันครับ พวงมาลัยใช้คล่องมากแต่ก็มีขนาดใหญ่ การที่จะวางตำแหน่งพวงมาลัยให้อยู่ต่ำกว่าผิวโต๊ะ (เพื่อไม่ให้กีดขวางชิ้นงาน) จึงต้องอาศัยโครงสร้างและการส่งกำลังที่แน่นหนาครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือความหนาของพื้นโต๊ะครับ ถ้าโต๊ะบางเกินไปก็จะเห็นปากกาห้อยมาด้านล่างและอาจดูแปลกๆครับ


ถ้าอยากได้ Wagon Vise ผมก็อยากให้พิจารณาแบบ Scandinavian Vise  Screw ตามรูปที่ 15-5  ด้วยครับ ทำง่าย ติดตั้งง่าย และราคาถูกกว่ามากแน่นอนครับ


เรื่องการผลิตเครื่องมืออยู่ในใจตลอดครับ 3-4 เดือนที่ผ่านมานี้ ผมก็ได้ใช้เวลาพัฒนาเครื่องมือช่างไม้ 2 อย่างซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่รักงานไม้ครับ ผมจะมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 09:35:19


ความคิดเห็นที่ 109 (1446053)
avatar
<สุทิน.คลองตัน>

 

image

ผม copy ภาพ นี้ มา จาก ความเห็น ที่ 61 ของ กระทู้ นี้ เอง !

ทำให้ นึก ถึง ... Clark Kent ...

... ตอน ที่ ยัง ไม่ ได้ แปลง ร่าง เป็น ... Superman ...

อย่างไร ก็ ตาม ... คุณ เขมทัต ...

... ก็ กลาย เป็น ... Hero ใน ดวงใจ งานไม้ ประณีต ไป แล้ว ... ครับ !

...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...

"แปลก ใจ มาก ๆ ! " ... ทั้ง ๆ ที่ มี ตั้ง หลาย ท่าน ...

ไม่ ว่า ... จะ เป็น ...

... คุณ เอ๋.เพาะช่าง [ ความเห็น ที่ 44 ] ...

... คุณ mosaic coffee [ ความเห็น ที่ 46 ] ...

... คุณ อัษฎาวุธ [ ความเห็น ที่ 47 ] ...

... คุณ พิพัฒน์  [ ความเห็น ที่ 48 ] ...

... ต่าง เรียก ร้อง ให้ ... "ปัก หมุด" ... กระทู้ ดี ๆ แบบ นี้ ...

... ให้ ผู้ ที่ มา ใหม่ ... ได้ เห็น เลย ว่า ... 

... web นี้ ... มี กระทู้ ดี ๆ ... ให้ ความรู้ ดี ๆ ... ! 

... แต่ ทาง thaicarpenter.com ... ก็ มิ ได้ ดำเนินการ ใด ๆ ...

...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ...  ... 

นาน วัน เข้า ... เกรง ว่า ...

... กระทู้ นี้ ... จะ ถูก ... "กลืน" ... หาย ไป กับ กาล เวลา ...

... ผม อยาก ให้ ... กระทู้ ที่ ทรง คุณค่า เช่น นี้ ...

... เป็น ... "อมตะ" ... ครับ !

image

ผู้แสดงความคิดเห็น <สุทิน.คลองตัน> ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 18:26:29


ความคิดเห็นที่ 110 (1446307)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรียน คุณสุทิน ที่เคารพ
ขอบคุณอย่างมากครับสำหรับคำนิยม

ระหว่างหารูปโต๊ะช่างไม้วันก่อนผมก็พบภาพคุณสุทิน และคุณเซี่ยง เมื่อครั้งที่มาเยี่ยมห้องทำงานไม้ของผม ขออนุญาตนำภาพนี้มาเผยแพร่นะครับ สำหรับสาวน้อยที่อยู่ในภาพก็คือคุณโอ๊ตภริยาผมครับ
 

ในภาพมีกระดานไสฉาก หรือ Shooting Board (ศรชี้)วางอยู่บนโต๊ะช่างไม้ตัวแรก ผมเคยรับปากหลายๆท่านว่าจะเขียนแบบและบอกวิธีสร้าง แต่ยังไม่ได้เล่าเสียที น่าจะเร็วๆนี้แหละครับที่ผมจะเขียนถึงอุปกรณ์ช่วยความประณีตและช่วยประหยัดเวลา และทำไม่ยากตัวนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-18 00:31:56


ความคิดเห็นที่ 111 (1446308)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.3) เรื่องการติดตั้งปากกาแบบ Quick Release ที่หัวโต๊ะ
 

ปากกาหัวโต๊ะที่ติดตั้งบน “โต๊ะช่างไม้ในฝันของผม” เป็นปากกาที่ทำขึ้นตามแบบต้นฉบับยี่ห้อ Record No. 52 ½ E ที่ติดตั้งอยู่บนโต๊ะช่างไม้ตัวแรกของผมครับ ดูภาพปากกาทั้งสองตัวตามรูปที่ 56 ประกอบนะครับ


ปากกาตัวใหม่นี้มีขนาดความกว้างของปาก 9 นิ้ว เปิดปากหนีบได้กว้างสุดประมาณ 9 นิ้ว (7 นิ้วหลังติดตั้งและใส่ฝาประกับ) ด้านหน้าของปากมีร่องใส่เดือยเหลี่ยมที่ขยับขึ้นลงได้ ปากกาตัวนี้จะมีความต่างจาก Record No. 52 ½ E ตรงที่ไม่มีฝาครอบกันฝุ่นเหนือเกลียว และฝีมือการผลิตที่หยาบกว่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-18 00:34:21


ความคิดเห็นที่ 112 (1446309)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ปากกา Record No. 52 ½ E เป็นปากกาเชื้อชาติอังกฤษที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับติดตั้งบนโต๊ะช่างไม้โดยเฉพาะ ตัวโครงและปากหนีบเป็นเหล็กหล่อ มีเพลาประคองปาก 2 เพลากระหนาบซ้ายและขวาของเพลาเกลียว

จุดเด่นของปากกาแบบนี้คือ ความแน่นหนา และความสะดวกในการปรับระยะช่องเปิดของปากซึ่งทำได้ทั้งแบบละเอียดโดยการหมุนด้ามเหมือนปากกาทั่วไป และแบบปรับเร็วโดยการบีบกระเดื่อง (ดูภาพ 57) ปลดล็อกเกลียวค้างไว้แล้วดึงหรือดันปากหนีบเข้าออกได้อย่างอิสระ เมื่อได้ช่องเปิดที่ใกล้เคียงกับงานที่จะหนีบก็ปล่อยกระเดื่องคืนสู่ตำแหน่งล็อกเกลียวตามปกติแล้วทำการขันแน่นด้วยการหมุนด้ามตามปกติ คุณสมบัติในการปรับเลื่อนปากเข้าออกนี้เป็นที่มาของคำว่า Quick Release หรือ Quick Action ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็จะตรงกับการ “ปลดเร็ว” ในความเห็นของผมถ้าแปลตามลักษณะการใช้งานก็น่าจะเป็น “ปรับเร็ว” ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-18 00:36:30


ความคิดเห็นที่ 113 (1446311)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

วิธีติดตั้งปากกาตัวนี้เข้ากับโต๊ะช่างไม้ทำได้หลายวิธี จะเลือกวิธีไหนขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโต๊ะครับ

รูปทั่ 58 แสดงรูปแบบการติดตั้งปากกา Record 4 วิธี ซึ่งผมถ่ายมาจากหนังสือ The Workbench Book ของ Scott Landis ครับ

จะสังเกตได้ว่าทุกวิธีจะแขวนปากกาไว้ใต้โต๊ะ ส่วนการวางตำแหน่งของปากด้านหลังซึ่งติดกับตัวโครงจะวางได้ทั้งแบบแนบข้างหน้าขอบโต๊ะ เสมอขอบโต๊ะ และหลังคานขอบโต๊ะ (พนัง)  ในทุกแบบที่เราเห็นเขาจะมีไม้ประกับปากทั้งสองเพื่อกันไม่ให้ชิ้นงานสัมผัสกับเนื้อเหล็กหล่อของปากหนีบโดยตรง

การยึดปากกากับพื้นโต๊ะเป็นหน้าที่ของน๊อตหรือเกลียวปล่อยขนาด ½ นิ้ว 4 ตัว ที่มีหน้าที่หนีบหน้าแปลนของปากกาเข้ากับใต้ท้องโต๊ะโดยผ่านไม้หมอน (Spacer) อีกทีหนึ่ง การติดตั้งก็จะทำโดยการ 1) เจาะรูร้อยน๊อตจากพื้นโต๊ะทะลุผ่านไม้หมอนไม้และหน้าแปลนรองแหวนอีแปะแล้วขันน๊อตตัวเมียล๊อกจากด้านล่างครับ หรือ 2) ร้อยน๊อตเกลียวปล่อยผ่านหน้าแปลน หมอนไม้ แล้วขันเกลียวเข้ากับใต้พื้นโต๊ะ

การติดตั้งแบบร้อยน๊อตจากผิวโต๊ะที่ว่านี้ขัดกับความต้องการของพี่เติมกับผมที่ไม่ต้องการเห็นน๊อตหรือรอยอุดพรางน๊อตบนผิวโต๊ะ ส่วนการใช้เกลียวปล่อยแม้จะใช้ได้แต่ก็ไม่รู้สึกถูกใจครับ ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีใหม่ขึ้นมาเองตามรูปที่ 60 ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-18 01:14:38


ความคิดเห็นที่ 114 (1446359)
avatar
poppy152

แบบ scandinavian vise scew เวลาหมุนออกตัวก้านหมุนและแกนเกลียวก็จะยื่นออกมาจากโต๊ะตามระยะทีหมุนออกมาใช่รึป่าวครับคุณเขมทัต ผมว่าประโยชน์ในการใช้งานไม่ต่างกัน อาจจะต่างกันที่ความสะดวกเวลาหมุน แต่ที่สำคัญผมว่ามันไม่เท่ห์เท่า wagon vise

ผู้แสดงความคิดเห็น poppy152 วันที่ตอบ 2011-09-18 15:13:34


ความคิดเห็นที่ 115 (1446367)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรียนคุณ poppy152

Scandinavian Vise ตามรูป15-5 มีลักษณะการทำงานตามที่คุณถามมา (เวลาหมุนออกตัวก้านหมุนและแกนเกลียวก็จะยื่นออกมาจากโต๊ะตามระยะทีหมุนออกมาใช่รึป่าว) ถูกต้องแล้วครับ

แต่เราก็สามารถทำให้ชุดก้านหมุนและเพลาเกลียวอยู่กับที่ได้เหมือนกัน ตามรูปที่ 59 โดยการยึดเพลาเกลียวให้หมุนอยู่กับที่แล้วให้แป้นเกลียวตัวเมียเคลื่อนไหวแทน ในกรณีที่ว่านี้ต้องทำเพลาเกลียวเป็นเกลียวซ้ายถ้าหากอยากให้หมุนก้านหมุนแบบ ตามเข็ม=กวดแน่น=เดินหน้า

จะมีอีกสองอย่างที่ต่างจาก Wagon Vise นะครับคือ

1) เดือยจะมีระยะเคลื่อนที่ขึ้นลง น้อยกว่า เพราะขาลงจะยันกับเพลาเกลียว

2) จะหนีบชิ้นงานในแนวดิ่งโดยสอดทะลุพื้นโด๊ะไม่ได้ เพราะชิ้นงานจะยันกับเพลาเกลียว

ถ้าอยากคุยรายละเอียดมากกว่านี้โทรหาผมได้ครับที่ 081 8241784

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-18 16:57:26


ความคิดเห็นที่ 116 (1446427)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

เตี่ยผมเป็นช่างเครื่องกลใหญ่ครับ สมัยก่อนทําเหมืองแร่ครับ
จําได้ว่าตอนเด็กๆ...เตี่ยเคยพูดถึงคุณพ่อพี่เขมทัตด้วย...(ประมาณนิยมชมชอบครับ)
พึ่งไปเบริด์เดย์เตี่ยมา 83 ขวบแล้วครับ.....
พี่ชายเป็นช่างแทรคเตอร์ของเมโทร แคทเตอร์พิลล่า
(สบายไปเลยครับเดือนละ8หมื่น คือทํามานานมาก)
น้องชายเป็นช่างซ่อมปืน ส่วนมากตํารวจจะมาใช้บริการบ่อย(ที่ประจวบ)


ผมก็เลยเอางานไม้ซะหน่อยเดี๋ยวไม่มีใครซ่อมบ้านให้
 

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-18 22:42:59


ความคิดเห็นที่ 117 (1446675)
avatar
jack

โต๊ะในฝันของผมเหมือนกันครับ  

คุณเขมทัตทำโต๊ะตัวแรกตอนอายุ สิบสี่ 

ตอนอายุเท่ากันผมยังเล่นดีดลูกหินอยู่เลย

กลับกันโต๊ะตัวแรกของผมมาทำตอน สี่สิบ 

ผู้แสดงความคิดเห็น jack วันที่ตอบ 2011-09-19 19:52:11


ความคิดเห็นที่ 118 (1446831)
avatar
ลพ

ผมว่าทำเป็นหนังสือผมจอง1เล่มเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลพ วันที่ตอบ 2011-09-20 15:04:16


ความคิดเห็นที่ 119 (1446888)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง
image

อืมม...ผมก็ว่าเหมือนคุณลพ  ทําหนังสือได้เล่มนึงเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-20 19:10:25


ความคิดเห็นที่ 120 (1446890)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง
image

.

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-20 19:31:45


ความคิดเห็นที่ 121 (1446897)
avatar
ณรงค์

อ่านแล้วคิดถึงคุณตาผมท่านก็ทำงานไม้ประณีตครับสุดยอดจริงๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณรงค์ วันที่ตอบ 2011-09-20 20:06:02


ความคิดเห็นที่ 122 (1446910)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณ ลพ

เรื่องนี้มีไว้อ่านเล่น สนุกๆครับ ผมยังไม่ได้คิดอะไรมากกว่านั้นครับ

เรียนคุณ เอ๋เพาะช่าง

ขอบคุณสำหรับแบบปกหนังสือครับ ผมชอบฝีมือด้านกราฟฟิกว์ ของคุณเอ๋ครับ อ่านดูความเกี่ยวพันกับงานช่างของครอบครัวคุณเอ๋ แล้วไม่แปลกใจเลยที่คุณเอ๋มีเรื่องงานช่างที่น่าอ่านน่ารู้มาเล่าให้พวกเราฟังอยู่เสมอๆ ขอบคุณมากครับ

เรียนคุณ Jack

ถ้าโต๊ะตัวที่ว่าเสร็จแล้ว ช่วยลงภาพให้ชมด้วยนะครับ ผมชอบศึกษาโต๊ะช่่างไม้แบบต่างๆมากครับ

เรียนคุณ ณรงค์

ถ้ามีภาพงานของคุณตา ก็ขอชมด้วยนะครับ

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-20 21:49:53


ความคิดเห็นที่ 123 (1446911)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามรูปที่ 59 วิธีที่พี่เติมและผมติดตั้งปากกาหัวโต๊ะ มีดังนี้ครับ:

1) เจาะรูขนาด ½ นิ้ว 8 รูให้ทะลุไม้หมอนเพื่อร้อยน๊อตขนาด ½ นิ้ว น๊อต 4 ตัวแรกใช้ยึดไม้หมอนกับปากกา ส่วน 4 ตัวที่เหลือใช้ยึดไม้หมอนกับพื้นโต๊ะ เราใช้สิ่วเจาะรูหกเหลี่ยมเพื่อฝังหัวน๊อตที่จะยึดปากกาเข้ากับไม้หมอน (สีดำตามรูป 59A)  สอดน๊อตสีดำทั้งสี่ตัวให้ทะลุไม้หมอนและหน้าแปลนของปากกา จากนั้นร้อยน๊อตตัวเมียเพื่อขันหนีบไม้หมอนอัดแน่นกับปากกา

2) ตามรูป 59A ดันไม้หมอนเข้าประกบกับใต้พื้นโดยให้เดือยเหลี่ยมที่หัวไม้หมอนสอดเข้าร่องสี่เหลี่ยมใต้โต๊ะที่เซาะร่องไว้ สอดกระบอกเกลียวเขียวขนาด 1 นิ้ว 2 กระบอกผ่านรูที่เจาะไว้ในพื้นโต๊ะ แล้วสอดน๊อตสีม่วงทั้ง 4 ตัวผ่านรูในไม้หมอนเพื่อขันแน่นกับกระบอกเกลียวเขียวทั้งสองกระบอก

3) ตามรูปที่ 59B สอดปากหลังของปากกาผ่านช่องสอดปากกาในไม้หมอนแล้วยันขึ้นในแนวดิ่งจนสุด แล้วขันน๊อตตัวเมีย (น๊อตดำ) ทั้ง 4 ตัวเพื่อยึดอัดปากกาให้แนบกับด้านใต้ของไม้หมอน จะสังเกตได้ว่าส่วนบนของปากหลังจะทะลุผ่านไม้หมอนเข้าไปล๊อกกับร่องที่เซาะไว้ใต้พื้นโต๊ะ

4) ตามรูปที่ 59C ติดตั้งไม้ประกับบนปากหน้าของปากกาโดยยึดด้วยน๊อต (สีชมพู)หัวจม 2 ตัว

5) รูปที่ 59D แสดงให้เห็นภาพจริงของปากกาที่ถ่ายจากใต้โต๊ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-20 21:52:14


ความคิดเห็นที่ 124 (1446913)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 60 แสดงการยึดปากกา และไม้หมอน เข้ากับพื้นโต๊ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-20 21:53:29


ความคิดเห็นที่ 125 (1446921)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 61A แสดงการกัดผิวด้านบนของไม้หมอนให้เป็นบ่าเดือยเหลี่ยมที่จะสอดเข้าไปในร้องบากใต้พื้นโต๊ะ วิธีการกัดบ่านี้ใช้เราเตอร์ยึดบนคานแคร่อะลูมิเนียมที่วิ่งบนรางของเครื่องไส(กัด)ไม้ที่ทำขึ้นเองครับ ผมจะเล่ารายละเอียดการทำงานของเครื่องไสไม้นี้ในหัวข้อที่ 8 เรื่อง “การใช้เร้าเตอร์ทำเป็นเครื่องไสไม้” นะครับ

รูปที่ 61B เป็นภาพด้านใต้ของพื้นโต๊ะที่ใช้เราเตอร์เซาะเป็นร่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อรับกับเดือยสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านบนของไม้หมอนครับ เดือยจะมีขนาดใหญ่กว่าร่องเล็กน้อย (ประมาณ 0.1 ถึง 0.2 มม.) เพราะเราต้องการให้เดือยติดแน่นในร่องขณะใช้งานเพื่อลดโอกาสที่จะคลอน ภาษาช่างกลจะเรียกการสรวมแน่นแบบนี้ว่าการ “สรวมอัด” (Interference Fit หรือ Press Fit) ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-20 22:30:53


ความคิดเห็นที่ 126 (1447029)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามรูปที่ 62 มีเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับการใช้งานปากกาแบบ Quick Release ดังนี้ครับ:

เมื่อเราขันปากกาให้ส่วนบนของปากมาแนบกันพอดีโดยไม่กวดแน่น เราจะเห็นว่าส่วนล่างของปากจะห่างจากกันประมาณ 2 ถึง 3 มม. ตามตำแหน่ง A ในรูปที่ 62 

เมื่อเราเพิ่มแรงขันด้ามปากาโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาไปประมาณ 100 องศา ช่องว่างด้านล่างจะค่อยๆลดลงจนปากทั้งสองของปากกาแนบสนิททั้งหน้า ตามตำแหน่ง B ในรูป 62 และ

ถ้าเราเพิ่มแรงอัดเข้าไปอีกปากส่วนบนจะเริ่มเผยอ ในขณะที่ปากส่วนล่างแนบกันสนิท ตามรูป 62 ตำแหน่ง C 
 

ดังนั้นเมื่อใช้งานปากกาประเภทนี้ผู้ใช้ควรตระหนักว่าต้องไม่หมุนอัดชิ้นงานแน่นเกินไป สำหรับปากกาตัวนี้ความแน่น “พอดี” จะเกิดขึ้นเมื่อเราหมุนด้ามปากกาให้แน่นประมาณ 100 องศา (ประมาณ ¼ รอบ) จากจุดที่ปากด้านบนสัมผัสกันครับ
 

เมื่อเราติดตั้งไม้ประกับเราก็ต้องรักษาระยะห่างด้านล่างของปากตามตำแหน่ง A ในรูปที่ 62 ไว้ด้วย ถ้าเราแต่งไม้ประกับให้สัมผัสกับขอบโต๊ะเต็มหน้าตั้งแต่ยังไม่ได้ออกแรงอัดเราจะเจอกับปัญหาปากกาจับไม่แน่นเพราะปากบนจะอ้าออกทันทีที่เพิ่มแรงอัดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 18:26:32


ความคิดเห็นที่ 127 (1447036)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรื่องสุดท้ายที่ผมจะเล่าเกี่ยวกับการการติดตั้งปากกาแบบ Quick Release ที่หัวโต๊ะคือเรื่องการเปลี่ยนด้ามของปากกาครับ บางท่านอาจจะสังเกตเห็นในรูปที่ 57 ว่าหัวของเพลาเกลียวที่อยู่ด้านหน้าของปากกาหัวโต๊ะมีรอยสนิมจับอย่างชัดเจนในขณะที่ด้ามหมุนปลอดสนิม
ด้ามที่เห็นเป็นด้ามที่ผมออกแบบให้ช่างสิทธิ์เชื่อมและกลึงขึ้นมาใหม่ครับ เพราะถ้าใช้ด้ามเหล็กเหนียวที่ติดมากับโรงงานสนิมขึ้นแน่นอนครับ

ตามรูปที่ 63A จะเห็นด้ามเดิมที่สนิมเริ่มขึ้นแล้วเทียบกับด้ามใหม่ และตามรูป 63B จะเห็นด้ามของปากกาบนโต๊ะช่างไม้ตัวแรกของผมที่สนิมจับจนเป็นขุมเลยครับ

 ด้ามปากกาจะเป็นส่วนที่สัมผัสกับมือและเหงื่อบนมือของเราบ่อยมากดังนั้นจึงเป็นสนิมง่ายมากครับ ถ้าด้ามเป็นสนิมมือเราก็จะมีฝุ่นสนิมติดเวลาขันปากกาและอาจไปเลอะชิ้นงานหรือเครื่องมือชิ้นอื่นได้ ท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่ทาน้ำมัน? ทาก็ได้ครับแต่ไม่สะดวกเลยเพราะถ้าไม่เช็ดน้ำมันออกก่อนใช้ มือก็จะเปรอะน้ำมันเวลาขันปากกา ถ้าเช็ดน้ำมันออกจนหมดสนิมก็จะขึ้นแทบจะทันทีที่มือเราไปสัมผัส บางท่านโชคดีที่เหงื่อไม่ “เค็ม” เหมือนผม ก็อาจใช้ด้ามเหล็กเหนียวของเดิมแล้วทาน้ำมันวันละครั้งก็พอครับ


เราเลือกใช้สเตนเลสทำด้ามใหม่ให้ปากกาหัวโต๊ะเพราะจะได้เข้ากับปากกาท้ายโต๊ะที่เป็นสเตนเลสและโครเมี่ยมครับ ลูกตุ้มที่ปลายด้านหนึ่งของด้ามเชื่อมติดตายส่วนที่ปลายอีกด้านหนึ่งเราใช้วิธีกลึงเกลียวแล้วล๊อกแน่นด้วยกาวและเกลียวหนอน (Set Screw) ตามรูปที่ 63C และ 63D ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 19:49:10


ความคิดเห็นที่ 128 (1447046)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.4) การติดตั้งปากกาแบบ Wagon Vise ที่ท้ายโต๊ะ ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ครับ:
 

6.4.1) การยึดเบ้ารับเพลาเกลียวเข้ากับไม้ประกับท้ายโต๊ะ
6.4.2) การเซาะร่องใต้พื้นโต๊ะเพื่อยึดรางประคองชุดเกลียวตัวเมีย
6.4.3) การเซาะร่องทะลุพื้นโต๊ะให้แป้นวิ่งไม้ประดู่
6.4.4) การติดตั้งแป้นวิ่งไม้ประดู่
6.4.5) การทำด้ามหมุนบนพวงมาลัย


6.4.1 การยึดเบ้ารับเพลาเกลียวเข้ากับไม้ประกบท้ายโต๊ะ
ขั้นตอนนี้ต้องทำก่อนที่จะยึดไม้ประกับเข้ากับพื้นโต๊ะครับ โดยเริ่มจากการกำหนดตำแหน่งเพลาเกลียวแล้วถ่ายแนวแกนกลางของเพลาเกลียวมาที่ไม้ประกับเพื่อกำหนดจุดศูนย์กลางของรูที่จะสอดเพลาเกลียว จากนั้นนำเบ้ารับเพลาเกลียวมาวางทาบกับไม้ประกับโดยให้รูกลมในเบ้าฯได้ศูนย์กับรูเพลาเกลียว เสร็จแล้วลากเส้นขอบที่จะเจาะฝังเบ้าฯทั้งสี่ด้าน

การเจาะรูสรวมเพลาใช้ดอกขูดที่ใหญ่กว่าเพลาเล็กน้อยเพื่อที่เพลาจะได้ไม่สัมผัสไม้ประกับเวลาเราหมุนพวงมาลัย

การฝังเบ้ารับเพลาเกลียวใช้แท่นสว่านและดอกขูดเจาะไม้ประกับให้ได้ความลึกเท่ากับความหนาของเบ้า เมื่อเจารูจนพรุนแล้วก็ใช้สิ่วหน้ากว้างแต่งขอบที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและแต่งผิวด้านล่างของร่องสี่เหลี่ยมให้เรียบ สอดเบ้าฯเข้าร่องที่เจาะไว้แล้วใช้สว่านมือเจาะรูน๊อตยึดเบ้า 2 รูผ่านรูบนเบ้าฯให้ทะลุไม้ประกับ ที่ปากรูทั้งสองด้านหลังไม้ประกับเจาะร่องหกเหลี่ยมเพื่อฝังน๊อตตัวเมียตามรูป 64B ผลก็จะออกมาตามรูปที่ 64C และ 64D ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 20:50:26


ความคิดเห็นที่ 129 (1447079)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.4.2) การเซาะร่องใต้พื้นโต๊ะเพื่อยึดรางประคองชุดเกลียวตัวเมีย

ตามรูปที่ 65 เมื่อกำหนดตำแหน่งเพลาเกลียว แล้วเราก็สามารถหาตำแหน่งของชุดเกลียวตัวเมีย รางประคองชุดเกลียว และร่องวิ่งของแป้นไม้ประดู่ได้ รางทั้งสองทำด้วยเหล็กที่กัดร่องลิ้นตลอดแนวยาวและมีรูยึดตะปูควงรางละ 3 รู

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 23:22:20


ความคิดเห็นที่ 130 (1447080)
avatar
shane guitarmaker

ขอบคุณสำหรับความรู้อันมากมายครับ ชอบมากครับ ได้รู้ที่มาที่ไปทุกอย่างของWork benchตัวนี้ หายสงสัยครับหลังจากได้ช่วยแบกขิ้นรถพี่เซียงหลังจบงานMeetingที่แผ่นมา หนักดีแท้ !!!  ผมทำโต๊ะงานไม้ตัวแรกตอนอายุประมาณ 30 แต่ตอนพี่เขมทัต ทำตัวแรกผมยังไม่เกิดเลยครับ   จะติดตามจนจบครับ

รบกวนไว้ขอความรู้เรื่อง infill planeด้วยนะครับ มีความฝันกับพี่ต้อมว่า ว่างๆจากงานทำกีต้าร์ จะทำ infill planeไว้ใช้กันครับ เคยได้ฟังที่พี่บรรยายในงานMeetingครั้งโน้น ชอบมาก แต่ซื้อไม้ไหวครับแพงจัง  ขอคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น shane guitarmaker วันที่ตอบ 2011-09-21 23:24:09


ความคิดเห็นที่ 131 (1447082)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ในการยึดรางประคองชุดเกลียวตัวเมีย เราใช้เราเตอร์เซาะร่องใต้พื้นโต๊ะให้ขนานกับขอบและพื้นโต๊ะ ระยะห่างของรางทั้งสองถูกกำหนดด้วยแผ่นสเตนเลสของชุดเกลียวตัวเมีย  เมื่อเซาะร่องเสร็จแล้วก็ทดลองประกอบรางกับชุดเกลียวตัวเมียให้แน่ใจว่าเลื่อนได้คล่อง  จากนั้นเจาะรูตะปูควงทั้ง 6 ตัวเพื่อยึดรางทั้งสอง ตามรูป 66A และ 66B


6.4.3) การเซาะร่องทะลุพื้นโต๊ะให้แป้นวิ่งไม้ประดู่

หลังเซาะร่องและเจาะรูยึดรางประคองฯแล้วก็ถอดรางเหล็กออกเพื่อเซาะร่องวิ่งให้แป้นไม้ประดู่จากด้านใต้โต๊ะตามรูปที่ 66C โดยให้มีขนาดแคบและสั้นกว่าร่องที่จะใช้จริง เหตุที่ต้องเริ่มเจาะจากด้านใต้โต๊ะเป็นเพราะดอกเราเตอร์มีความยาวของไม่พอที่จะเจาะทะลุพื้นโต๊ะที่หนา 70 มม. ครับจึงต้องเจาะจากทั้งสองข้างของพื้นโต๊ะ

จากนั้นกำหนดตำแหน่งร่องวิ่งของแป้นไม้ประดู่แล้วเซาะร่องจากด้านบนให้ทะลุร่องที่เจาะนำไว้จากด้านล่างด้วยเราเตอร์ให้ขนานกับขอบโต๊ะ  ถ้าเราเซาะร่องขนาดจริงก็อาจเกิดปัญหาขอบร่องฉีกขณะไสแต่งฝาโต๊ะให้เรียบได้ครับ

เมื่อเซาะร่องทะลุเรียบร้อยก็ทดลองประกอบแล้วทำแป้นไม้ประดู่ขนาดพอดีร่องที่เจาะไว้มาติดตั้งบนชุดเกลียวตัวเมีย ทดลองให้แน่ใจว่าทุกส่วนใช้งานได้คล่องตัวแล้วก็ทำการอุดร่องที่วิ่งที่เจาะไว้ด้วยเศษไม้ตามรูปที่ 66D การอุดร่องนี้จะช่วยรักษาขอบร่องไม่ให้ฉีกขณะไสผิวหน้าโต๊ะ เมื่อไสผิวเรียบร้อยแล้วเราจึงใช้เราเตอร์เซาะร่องตามแบบอีกครั้งซึ่งเศษไม้ที่อุดไว้ชั่วคราวก็จะถูกเซาะออกไปด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 23:34:57


ความคิดเห็นที่ 132 (1447084)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เมื่อสังเกตในรูปที่ 67 จะเห็นว่าปลายร่องด้านท้ายโต๊ะจะมีมุมโค้ง ส่วนปลายร่องด้านหัวโต๊ะจะเป็นขอบตรง ขอบตรงนี้ก็คือปากข้างหนึ่งของปากกาที่จะรับแรงอัดจากปากอีกข้างที่เป็นด้านหน้าของตัววิ่งไม้ประดู่ในขณะที่หนีบชิ้นงานในแนวดิ่งครับ
 

เพื่อความเรียบร้อยเราเจาะมุมร่องด้านท้ายโต๊ะด้วยดอกเราเตอร์แล้วใช้สิ่วเจาะส่วนที่เรียบตรง ส่วนด้านหน้าใช้สิ่วยาวแต่งให้เรียบตรงตลอดความกว้างของร่องวิ่ง ตามรูป 68 ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 23:47:24


ความคิดเห็นที่ 133 (1447085)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 68 ใช้ขอบไม้ที่ได้ฉากประคองสิ่วยาวขณะเจาะขอบไม้ในแนวดิ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-21 23:56:56


ความคิดเห็นที่ 134 (1447093)
avatar
marowana

สุดยอดมากๆเลยครับ ความรู้เยอะมาก เยอะจนแทบจะเป็นหนังสือดีๆได้เล่มนึงหรือหลายเล่มเลยทีเดียว
แถมเป็นความรู้ที่ผ่านการแก้ปัญหาต่างๆจากประสบการณ์อันยาวนาน ที่มือใหม่อย่างผมนึกไม่ถึงและก็ไม่มีใครสอนให้ด้วย
สุดยอดจริงๆ ครับผมขอขอบคุณจากใจเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น marowana วันที่ตอบ 2011-09-22 00:21:49


ความคิดเห็นที่ 135 (1447207)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง
image

ของจริง...ละเอียดยิบทุกกระบวนท่า
ฉุดไม่อยู่แล้วครับพี่ไปTime กันเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-22 17:35:57


ความคิดเห็นที่ 136 (1447261)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ขอบคุณ คุณ Shane Guitarmaker, คุณ marowana และคุณเอ๋ เพาะช่างสำหรับคำชมครับ

ถ้ามีส่วนใดอ่านแล้วไม่เข้าใจถามได้เลยนะครับ

ถ้าคิดจะทำหนังสือเกี่ยวกับงานไม้ก็คงต้องรบกวนคุณเอ๋เรื่องงานศิลป์อย่างแน่นอน มีจินตนาการดีจริงๆครับ

ผมดีใจครับที่คุณ Shane นำภาพโต๊ะช่างไม้มาให้พวกเราชม เป็นโต๊ะทรงยุโรปที่ดูมาตรฐานดีมาก น่าใช้ครับ ผมมั่นใจว่าอีกไม่นานน่าจะมีท่านอื่นๆทะยอยกันนำผลงานโต๊ะช่างไม้มาให้ชมกันอีกอย่างแน่นอนครับ

สำหรับเรื่อง Infill Plane หรือ กบเหล็กฝังไม้ ที่คุณ Shane เอ่ยถึง ผมก็กำลังศึกษาอยู่ครับ ผมได้ของเก่าของ Noris รุ่น A5 สภาพปานกลางมาตัวหนึ่งเมื่อต้นปีในราคาพอสมควรครับ ยังไม่มีโอกาสลองใช้เลยครับ ถ้ารู้และเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้วก็น่าจะมีโอกาสได้เขียนถึงพวกเขาครับ

ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับ กบเหล็กฝังไม้ ผมมีภาพมาให้ดู 3 แบบครับ คือ ยี่ห้อ Spier, Noris และ Hotley ตามรูปที่ 69 ครับกบไสไม้เหล็กเหล่านี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษครับ Spier และ Noris โด่งดังมากก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วน Hotley เป็นกบที่ทำขึ้นใหม่โดย Carl Hotley

กบ Hotley เป็นกบที่มีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันครับ ผมเข้าใจว่าถ้าแปลงเป็นเงินไทยก็ไม่ต่ำกว่าหกหลักครับ ถ้าสนใจจะชมเพิ่มก็ตามเว็ปนี้เลยครับ

http://www.holteyplanes.com/

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 02:14:56


ความคิดเห็นที่ 137 (1447263)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.4.4) การติดตั้งแป้นวิ่งไม้ประดู่

แป้นวิ่งที่ทำด้วยไม้ประดู่มีหน้าที่ถ่ายกำลังจากชุดเกลียวตัวเมียไปให้เดือยทองเหลืองกลมระหว่างการอัดหรือถ่างชิ้นงานที่อยู่บนพื้นโต๊ะ และทำหน้าที่อัดไม้ในแนวดิ่ง (ตามรูปที่ 17) การที่จะอธิบายเรื่องการติดตั้งแป้นวิ่งไม้ประดู่ผมคิดว่าน่าจะมีภาพร่างและภาพถ่ายประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ

รูปที่ 70 แสดงภาพร่างของชิ้นส่วนหลักๆในปากกาท้ายโต๊ะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 02:20:47


ความคิดเห็นที่ 138 (1447264)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ส่วนรูปที่ 71 เป็นภาพจริงของชุดเกลียวตัวเมียครับ

ขอให้ดูภาพ 70 และ 71 ประกอบคำอธิบายนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 02:23:31


ความคิดเห็นที่ 139 (1447347)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามรูปที่ 72 จะเห็นแป้นวิ่งซึ่งทำจากไม้ประดู่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 117 x 57 x 34 มม. ความกว้าง 34 มม.นี้ต้องทำให้พอดีกับความกว้างของร่องวิ่งครับ ถ้าหลวมไปก็จะกระเดิดเวลาอัด แน่นไปก็จะฝืดเวลาหมุน

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 13:58:50


ความคิดเห็นที่ 140 (1447349)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

การแต่งความหนาเริ่มด้วยการไสหน้ากว้าง 117 x 57 ให้เรียบด้านหนึ่ง จากนั้นตัดและแต่งสันทั้งสี่ให้ได้ฉากและได้ขนาดโดยใช้กระดานไสฉาก (Shooting Board) ตามรูปที่ 73 ตามด้วยการลากขอขีด (Marking Gauge) ให้ได้แนวที่กว้างพอดีกับร่องวิ่ง (34 มม.)

ได้แนวเส้นแล้วก็จับชิ้นงานในปากกาแล้วไสผิวให้เสมอกับแนวเส้นที่ขีดไว้ครับ อย่างที่เคยเล่าให้ฟังครับว่าจะแต่งไม้ให้พอดีต้องวัดบ่อยๆตามหลัก วัดสองครั้งตัดครั้งเดียว หรือ Measure Twice Cut Once ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 14:02:01


ความคิดเห็นที่ 141 (1447350)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เวลาติดตั้งเราจะสอดแป้นวิ่งลงไปในร่องวิ่งจากด้านบนของโต๊ะ จากนั้นสรวมแป้นวิ่งซึ่งมีรูขนาด 5/8 นิ้วลงบนเดือยเหล็กกลมที่ยื่นขึ้นมาจากแป้นเกลียวตัวเมียแล้วกดลงจนสุดยึดด้วยตะปูควงจากด้านใต้ 2 ตัว ตามรูปที่ 74

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 14:03:58


ความคิดเห็นที่ 142 (1447353)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เมื่อยึดตะปูควงจนแน่นแล้วก็จัดการแต่งผิวบนของแป้นวิ่งให้เรียบเสมอกับผิวโต๊ะแล้วถอดออกมาแต่งมุมโค้งด้านหลัง และหน้าสัมผัสตรงด้านหน้าให้รอยสัมผัสเรียบสนิทตามภาพที่มีศรสีเขียวในรูปที่ 73 ครับ การแต่งก็ใช้พระเอกรายเดิมของเราคือกบกับกระดานไสฉากนั่นเองครับ

กระดานไสฉากตามรูปที่ 75 คืออุปกรณ์ที่ต้องมีครับถ้ารักที่จะทำงานละเอียด เหมาะสำหรับการไสสันและขอบไม้ที่มีความกว้างหรือยาว ไม่เกิน 30 ซม. และความหฯาไม่เกิน 40 มม. ครับ ทำไม่ยากครับวันเดียวก็เสร็จ เมื่อเขียนเรื่องนี้เสร็จแล้วผมจะเขียนเล่าวิธีทำให้อ่านครับ

ท่านที่ติดตามงานของคุณต้อมคงจะเห็น กระดานไสฉาก ในเรื่อง "มาทำกีตาร์กันเถอะ" กันแล้วนะครับ เครื่องมือชิ้นนี้ช่วยในการเพลาะไม้ขนาดเล็กได้ดีมากครับมาก


เราก็ได้ติดตามเรื่อง การติดตั้งแป้นวิ่งไม้ประดู่ จนจบแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่อธิบายยากหน่อยครับเพราะส่วนประกอบหลายชิ้นมองไม่เห็น เรื่องต่อไปจะเป็นหัวข้อ 6.4.5) เรื่องการทำด้ามหมุนบนพวงมาลัย

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 14:19:00


ความคิดเห็นที่ 143 (1447356)
avatar
นายอภิรักษ์ ทวีศรี

 ขอบคุณครับสำหรับเนื้อหาที่ลงไว้ให้ศึกษา ผมอยากมีความรู้แบบพี่ๆ เป็นอย่างยิ่งแต่ไม่ได้เรียนด้านนี้มา 

ผู้แสดงความคิดเห็น นายอภิรักษ์ ทวีศรี (Apriluk-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2011-09-23 14:48:14


ความคิดเห็นที่ 144 (1447378)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

พี่เขมทัตใช้โปรแกรมอะไรทําภาพในการเสนองานครั้งนี้ครับ...สวยดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 17:19:58


ความคิดเห็นที่ 145 (1447379)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ผมใช้ PowerPoint ครับ คุณเอ๋ เป็นอยู่อย่างเดียวครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 17:22:24


ความคิดเห็นที่ 146 (1447384)
avatar
robinwood

ขอบคุณ คุณเขมทัต นะครับที่ตั้งใจทำบทความดีๆ เป็นอย่างมากมาเผยแพร่ให้

ชาวงานไม้ได้ศึกษาและเป็นแนวทางของช่างรุ่นใหม่ๆ ได้ทดลองฝึกทำกัน

นอกจากจะใช้เวลาและฝีมือในการทำงานแล้วยังต้องถ่ายรูปไปด้วยแล้วมา

เขียนเป็นบทความขึ้นมา แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอย่างแรงกล้าและใช้เวลา

หมดไปค่อนข้างมากจริงๆเพียงเพื่อให้ช่างรุ่นใหม่อย่างผมได้ศึกษา

ผมเชื่อว่าจะเป็นโต๊ะในฝันของใครหลายๆคน

ขออวยพรให้สุขภาพแข็งแรงไปพร้อมกับผลงานที่ทำนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น robinwood (robinwood9-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-09-23 17:36:36


ความคิดเห็นที่ 147 (1447392)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรียนคุณ Robinwood ยินดีและขอบคุณครับ ช่วงนี้ผมพอมีเวลาเขียนก็เลยเล่าได้ละเอียดหน่อย เสียดายที่เก็บภาบไว้ไม่ครบตอนที่ทำ โดยรวมแล้วผมสนุกกับการเขียนเรื่องนี้มากและหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคองานไม้ทุกท่านครับ

6.4.5) การทำด้ามหมุนบนพวงมาลัย

ตามรูปที่ 77 ท่านจะเห็นว่าบนพวงมาลัยที่ขับเพลาเกลียวจะมีด้ามจับที่ทำด้วยไม้ ในบรรดาอุปกรณ์ที่อยู่บนโต๊ะช่างไม้ตัวนี้ ด้ามไม้บนพวงมาลัยคือส่วนที่ถูกจับต้องมากที่สุดครับ เกือบทุกคนที่ได้เห็นโต๊ะจะต้องอยากหมุนหรือปั่นพวงมาลัยแล้วทุกท่านที่ว่าก็จะได้จับด้ามไม้อันนี้กันทั่วหน้า

ด้ามไม้จะช่วยให้เราหมุนพวงมาลัยเพื่อขยับเดือยทองเหลืองเดินหน้าถอยหลังอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องคลายมือคลายนิ้วครับ เมื่อเดือยสัมผัสกับชิ้นงานแล้วเราก็อัดแน่นโดยการจับและหมุนขอบพวงมาลัยแทนครับ

การที่จะทำด้ามหมุนแบบไม่ต้องคลายมือนั้นเราต้องทำให้ตัวด้ามหมุนสามารถหมุนฟรีรอบแกนน๊อตที่ยึดด้ามกับพวงมาลัยครับซึ่งก็เป็นกลไกพื้นฐานที่เราเห็นอยู่ทั่วๆไปครับ ตัวอย่างใกล้ตัวก็คือมือหมุนปิดเปิดบานเกล็ด มือจับสว่านมือ และคันหมุนเบ็ดตกปลา ครับ

ตอนที่ซื้อพวงมาลัยจากร้านที่คลองถมเขาก็มีด้ามขายครับแต่ราคาเกินพอดีไปมาก พวงมาลัยโครเมี่ยมราคา 600 กว่าบาทยังรับได้แต่ด้ามพลาสติกสีดำราคา 380 บาทนี่ไม่ไหวครับ ก็เลยทำใช้เองครับ หลังทำแล้วก็คิดเข้าข้างตัวเองว่าด้ามไม้ประดู่จะเข้ากับพวงมาลัยโครเมี่ยมมากกว่าด้ามพลาสติกด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 18:30:49


ความคิดเห็นที่ 148 (1447393)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

มาลองดูแบบร่างกันนะครับ โค้ชของผมย้ำนักย้ำหนาว่า ต้องทำออกมาให้สวยและหมุนคล่อง ผมไม่ห่วงเรื่องหมุนคล่องครับแต่ห่วงเรื่องสวยก็เลยขอความช่วยเหลือจากโค้ชให้ท่านช่วยร่างแบบให้

ตามรูปที่ 78 ซ้ายบน จะเห็นแบบร่างแบบแรกของโค้ชที่ออกมาเบี้ยวนิดหน่อย โค้ชก็เลยขอแก้มือเป็นแบบที่สองที่อยู่ซ้ายล่างครับ ส่วนภาพขวามือคือตัวจริงที่ทำเสร็จแล้ว ตัวจริงไม่เหมือนแบบร่างเสียทีเดียวแต่ก็ใกล้เคียงครับ พอโค้ชเห็นแล้วก็ถูกใจอยู่ครับ โชคดีทีทำครั้งเดียวแล้วใช้ได้เลย

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 18:33:01


ความคิดเห็นที่ 149 (1447394)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ส่วนประกอบของด้ามหมุนมี 4 ชิ้นคือ ตัวด้ามไม้ ท่อทองเหลือง แกนน๊อตหัวจมสเตนเลส และน๊อตหัวจม เราสอดท่อทองเหลืองไว้แกนด้ามเพื่อให้กันไม่ให้รูไม้สึกซึ่งจะตามด้วยอาการหลวมคลอน

 ตามรูปที่ 79 วิธีการทำด้ามเป็นดังนี้ครับ:

1) ซอยเศษไม้ประดู่ให้ใหญ่กว่าด้ามเล็กน้อยแล้วไสเหลี่ยมทั้งหกด้านให้ตั้งกันโดยใช้กระดานไสฉาก
2) หาศูนย์กลางของหัวไม้โดยการลากเส้นทแยงมุมตัดกัน
3) เจาะรูผ่านจุดศูนย์กลางให้ขนานกับแกนยาวและทะลุตลอด ขนาดรูหลวมพอดีกับด้านนอกของท่อทองเหลือง
4) คว้านบ่าให้หัวน๊อตหลบจากหัวไม้ด้วยดอกที่ใหญ่กว่าหัวน๊อต 1 ขนาด
5) ทดลองประกอบ
6) ตัดท่อทองเหลืองให้พอดี แต่งปลายให้ฉาก สอดเข้ารูในไม้ที่เจาไว้และหยอดกาวตราช้าง
7) ใช้กระดานไสฉากลบเหลี่ยม จาก 4 เหลี่ยม เป็น 8 เหลี่ยม
8) นำไปกลึงโดยจับท่อทองเหลืองไว้ในหัวจับ ขัดกระดาษทรายให้เรียบร้อย

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 18:35:05


ความคิดเห็นที่ 150 (1447395)
avatar
เอ๋ เพาะช่าง

โห...PowerPoint  ได้ขนาดนี้เจ๋งครับพี่
ผมว่าPowerPointยาก มันยากตรงที่เครื่องมือ และลูกเล่นต่างๆจํากัด
ถ้าจะเขียนขึ้นมาเลยต้องใช้ฝีมือ
ผมเคยดูคลิปเขาใช้PowerPoint เขียนภาพรถBMW เห็นแล้วมึนเลยเขียนไปได้ยังไง

ที่ลิงค์นี้ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=PglTBFn-4fM

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ๋ เพาะช่าง (hometist-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 18:35:18


ความคิดเห็นที่ 151 (1447396)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เวลาประกอบเราก็ตัดท่อทองเหลืองให้ยาวพอดีที่จะทำให้ท่อทองเหลืองและด้ามไม้ที่ติดกาวแล้วหมุนได้คล่องรอบแกนของน๊อตหัวจม (สีเขียวตามรูปที่ 80)

ขันหัวจมดันท่อทองเหลืองเข้ากับหน้าแปลนที่พวงมาลัยให้ตึงแล้วคลายออก 1 รอบ เสร็จแล้วล๊อกน๊อตหัวจมด้วยการขันเกลียวตัวหนอน (สีแดงตามรูปที่ 80) เข้ามาอัดจากด้านหลังครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 18:37:44


ความคิดเห็นที่ 152 (1447408)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

หัวข้อ 6.4) เรื่องการติดตั้งปากกาแบบ Wagon Vise ที่ท้ายโต๊ะและการทำงานของปากกาตัวนี้ผ่านไปแล้วนะครับ ถ้าสงสัยส่วนไหนถามย้อนหลังมาได้ตลอดเวลาครับ เรื่องต่อไปเป็นเรื่องที่คุณเอ๋ เพาะช่าง เคยถามถึงครับ


6.5) การเข้าไม้ยึดขาโต๊ะเข้ากับพนังและคานรองพื้นโต๊ะ

ผมอยากเปิดเรื่องด้วยการนำภาพร่างการเข้าเดือยสี่เหลี่ยมคู่ที่ทำหน้าที่ยึดพนังหน้าและข้างกับขาโต๊ะมาให้ชมครับ ผมชอบการร่างด้วยมือมากกว่าการใช้เครื่อง หรือเขียนบนกระดานเขียนแบบ ตามรูปที่ 81 เพราะเขียนด้วนมือทันใจกว่ากันเยอะครับ ก่อนเริ่มงานทุกครั้งก็นึกภาพว่าอยากให้งานออกมาหน้าตาแบบไหน มีทางเลือกอะไรบ้าง ถ้าไม่แน่ใจก็กลับไปอ่านหนังสือหรือเข้าเน็ตเว็ปช่างไม้

เมื่อเลือกแบบการเข้าไม้ได้แล้วก็จะคำนวณและกำหนดระยะ พร้อมเขียนสิ่งที่ต้องทำไปด้วย แบบร่างก็มักจะเละเทะและยับเยินเสมอครับ

โดยปกติผมชอบที่จะใช้การวัดเป็นมิลลิเมตร และเซ็นติเมตร แต่ก็มีบางครั้งที่ใช้หน่วยเป็นนิ้ว หุน หรือ หลี (4 หลี = 1 หุน) เพราะอาจถูกกำหนดด้วยขนาดของเครื่องมือหรืดวัสดุ ยกตัวอย่างเช่น สิ่ว และดอกสว่านส่วนใหญ่ของผมมีขนาดเป็นนิ้ว ไม้บางชิ้นมีขนาดใกล้นิ้วมากกว่าเซ็นติเมตร ผมโตมากับทั้งสองระบบครับ จึงคุ้นเคยที่จะใช้สลับไปมาเสมอ

ในกรณีงานละเอียดแล้วผมใช้มิลลิเมตรอย่างเดียวเลยครับ จะมีเวอร์เนียร์แคลิปเปอร์คู่ใจอยู่ตัวหนึ่ง ความละเอียดที่ใช้ในการเข้าไม้ก็คือ 0.1 หรือ 1 ใน 10 ของมิลลิเมตรครับ (หรือตามภาษาช่างของอาจารย์ชัชวาลย์ ลางดี แห่งเทคโนพระนครเหนือท่านเรียกว่า "หนึ่งมิลลิเมตรแบ่งสิบ")

ท่านอาจจะสงสัยว่าเครื่องมือแบบไหนทำงานละเอียดขนาดนี้ได้ ก็ต้องตอบว่าหลายอย่างครับ

กบไสไม้ที่สับได้ฉากและคมดีเราก็แต่งให้กินครั้งละ 0.05 หรือ 1 ใน 20 มม. อย่างสบายๆ ครับ เช่นเดีบวกับเราเตอร์ สิ่วก็ทำได้ครับถ้ารู้จักจังหวะและวิธีวัด วิธีตีเส้น และการบังคับสิ่ว ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังตอนหลังของเรื่องนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-23 19:57:38


ความคิดเห็นที่ 153 (1447417)
avatar
จอมโจรหมวกฟาง ลูฟี้

 สุดยอดมากเลยครับ จะขออ่าน หลายๆ รอบครับ 

ขอบพระคุณครับ ที่นำมาแบ่งปัน ให้ความรู้ สำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ แบบผม ได้เข้าใจ (ถึงจะมีบางครั้งที่ยังงงอยู่) แต่ก็จะอ่านอีกหลาย ๆ รอบครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น จอมโจรหมวกฟาง ลูฟี้ (kornar2010-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-09-23 20:16:45


ความคิดเห็นที่ 154 (1447471)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

เรื่องการเข้าไม้ยึดขาโต๊ะเข้ากับพนังและคานรองพื้นโต๊ะที่ผมจะเล่าให้ฟังจะมีหัวข้อย่อยดังนี้ครับ
6.5.1) ทำไมถึงเลือกใช้เดือยคู่
6.5.2) การยึดด้วยสตัดแบบซ่อนหัวน๊อต
6.5.3) การเตรียมไม้
6.5.4) การเจาะร่องเสียบเดือย
6.5.5) การทำเดือย


6.5.1) ทำไมถึงเลือกใช้เดือยคู่?

เนื่องจากด้านหน้าของโต๊ะตัวนี้ไม่มีพนัง (คาน) ด้านบน ภาระในการรับแรงโยกขณะไสไม้จึงตกกับพนังตัวเดียวที่อยู่ด้านล่างของโต๊ะ เราเลือกไม้ขนาด 8 x 2 นิ้วทำพนังเพราะต้องการความกว้าง 8 นิ้ว (ไสแล้วเหลือ 18 ซม.) ของสันพนังมาต้านทานแรงโยก
 

การเข้าเดือยยึดพนังกับขาโต๊ะเป็นวิธีมาตรฐานเพราะมั่นคงและดูเรียบร้อย ผิวหน้าของพนังของโต๊ะตัวนี้ต้องเสมอแนบกับหน้าเสาเพราะเราตั้งใจจะใช้พนังตัวนี้เป็นรางรองรับเสาประคองไม้ซึ่งต้องอยู่บนระนาบเดียวกันกับเสาหน้าโต๊ะด้วย

เมื่อหน้าไม้ด้านหนึ่งของพนังชิดกับหน้าเสาร่องเดือยสี่เหลี่ยมที่จะเจาะก็จะเยื้องมาอยู่ด้านหน้าด้วย ถ้าความกว้างของพนังไม่มากการเจาะยึดด้วยเดือยเดี่ยวก็น่าจะเหมาะสม แต่พนังของเรากว้างถึง 18 ซม. การที่จะเจาะร่องเดือยตลอดแนวกว้างเป็นช่องเดียวยาวตลอดจะทำให้เราต้องเจาะเนื้อไม้ทิ้งไปมาก ตามรูปที่ 82 และส่งผลให้ขอบหรือแก้มของร่องเดือยด้านบางเสียกำลัง

การเจาะร่องคู่จะทำให้มีแกนไม้ช่วงกลางที่เสริมความแข็งแรง แม้ว่าการเจาะร่องเดือยคู่จะยากกว่าก็จำเป็นต้องทำครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-24 00:04:57


ความคิดเห็นที่ 155 (1447477)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.5.2) การยึดด้วยสตัดแบบซ่อนหัวน๊อต

โต๊ะช่างไม้ต้องรับแรงดันแรงกระแทกทั้งจากด้านหน้าและด้านข้าง แรงทั้งหมดจะถูกส่งไปที่เดือยพนังและเดือยคาน การเข้าเดือยอย่างเดียวไม่สามารถจะทานแรงโยกได้ดังนั้นจึงต้องตรึงเดือยให้อยู่ในตำแหน่งที่ทำให้สันจองพนังแนบสนิทกับหน้าเสา

ในทางช่างไม้นิยมใช้หมุดหรือเดือยไม้กลมเจาะทะลุเสาและเดือยในพนัง หรือใช้สตัดร้อยผ่านเสาและปลายพนังเข้ามายึดกับน๊อตตัวเมียที่ฝังในพนังอีกทีหนึ่ง

เราเลือกการตรึงเดือยด้วยสตัดเพราะรู้สึกว่าแน่นหนากว่า ตามรูปที่ 83 จะเห็นว่าที่พนังด้านหน้าจะร้อยสตัดสองตัวบนและล่าง ส่วนพนังด้านข้างใช้สตัดตัวเดียวเพราะรับแรงน้อยกว่าประกอบกับไม่มีที่ให้สตัดบนและล่างอยู่เพราะจะไปชนกับสตัดที่อยู่ในพนังด้านหน้า

เวลาประกอบเราต้องร้อนน๊อตตัวเมียเข้าไปในช่องของมันก่อน จากนั้นสอดสตัดผ่านรูจนไปยันกับน๊อตตัวเมียแล้วจึงหมุนสตัดเข้าไปในน๊อตจนตึงมือ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-24 00:27:40


ความคิดเห็นที่ 156 (1447478)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามรูปที่ 84

เวลาประกอบพนังหรือคานเข้ากับขาโต๊ะเราต้องสอดน๊อตตัวเมียเข้าไปในช่องของมันในขาโต๊ะก่อน จากนั้นสอดสตัดผ่านรูจนไปยันกับน๊อตตัวเมียแล้วจึงหมุนสตัดเข้าไปในน๊อตจนตึงมือ สรวมพนังหรือคานที่เจาะรูสตัดและร่องใส่น๊อตตัวเมียไว้แล้วครอบลงบนสตัด แล้วดันเดือยเข้าไปในขาจนปลายสตัดโผล่ในร่องน๊อตตัวเมีย จึงขันน๊อตที่ปลายสตัดที่โผล่ด้วยประแจปากตายจนปลายพนังสัมผัสแนบสนิทกับหน้าเสา

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-24 00:37:31


ความคิดเห็นที่ 157 (1447691)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 85 แสดงการเข้าไม้ยึดคานรองรับพื้นโต๊ะกับเสา

ขนาดหน้าตัดของคานคือ 15 x  7 ซม. ส่วนเสามีขนาด 11 x 11 ซม. ในกรณีนี้เราใช้เดือยเดี่ยวที่มีความหนา 5 ซม. และกว้าง (สูง) 9 ซม. ที่ใช้เดือยเดี่ยวเพราะเดือยไม่กว้างมากและตำแหน่งของเดือยอยู่กึ่งกลางเสาทำให้แก้มของขอบร่องเดือยมีเนื้อไม้หนาถึงข้างละ 3 ซม. ซึ่งแข็งแรงกว่ากรณีของพนังที่มีแก้มด้านหน้าเสาหนาเพียง 1 ซม.เท่านั้น

เนื่องจากคานและหัวเสาเรียบเสมอกันทำให้สันเดือยและขอบร่องเดือยด้านบนอยู่ใกล้ขอบไม้ เราเว้นระยะบ่าเดือยด้านบนถึง 5 ซม. เพื่อให้เนื้อไม้เหนือร่องเดือยมีกำลังพอที่จะรับแรงโยกได้

จากภาพจะสังเกตว่าเราเจาะรูยึดสตัดจากทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นสตัดสีเขียวส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นสตัดสีแดง และตำแหน่งของร่องไขหัวน๊อตก็เยื้องกันด้วยทำให้สตัดตัวล่าง (สีแดง) ยาวกว่าตัวบน (สีเขียว) ที่ออกแบบเช่นนี้เพื่อให้ร่องไขน๊อตทั้งสองอยู่ห่างกันจะได้กระจายกำลังของเนื้อไม้ครับ

การวางตำแหน่งสตัดทั้งสองละเอียดอ่อนพอควรเพราะเนื้อที่ค่อนข้างจำกัดแถมยังมีน๊อตที่ยึดคานกับพื้นโต๊ะวิ่งแทรกกลางสตัดทั้งสองอีก  การเจาะรูจึงต้องใช้จิ๊กบังคับความเที่ยงตรงซึ่งผมจะอธิบายในหัวข้อที่ 6.5.4) เรื่องการเจาะร่องเสียบเดือย ครับ

ในรูปที่ 85 จะเห็นภาพถ่ายจริงของการเข้าเดือยคานกับหัวเสาครับ ขอให้สังเกตหัวน๊อตทั้งสองตัวนะครับ ตัวซ้ายเป็นหัวน๊อตที่สอดฝังไว้ในเสาในร่องสี่เหลี่ยมที่เจาะไว้พอดีกับหน้าตัดด้านแคบของหกเหลี่ยม ร่องที่เจาะพอดีจะเป็นตัวบังคับไม่ให้หัวน็อตหมุนตามสตัดครับ ส่วนหัวน๊อตตัวขวาคือตัวที่เราหมุนร้อยเข้ากับเกลียวของปลายสตัดที่สอดผ่านมาจากปลายเดือยแล้วกวดอัดด้วยประแจปากตายเพื่อดึงคานกับเสาเข้าหากันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-25 22:22:50


ความคิดเห็นที่ 158 (1447695)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 86 แสดงภาพของเสา พนัง (หน้า ข้าง และหลัง) และ คานรองพื้นโต๊ะ ที่ประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ภาพนี้ถ่ายจากด้านปากกาหัวโต๊ะครับ ท่านจะเห็นร่องน๊อตยึดสตัดชัดเจนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-25 22:32:30


ความคิดเห็นที่ 159 (1447781)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.5.3) การเตรียมไม้

เมื่อได้ไม้แปรรูปมาเพื่อทำส่วนประกอบของงานไม้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไม้ เช่าทำ คาน พนัง หรือเสาโต๊ะ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการปรับผิวด้านกว้างของไม้ให้เรียบเป็นระนาบด้านหนึ่ง

จากนั้นก็ปรับผิวด้านกว้างอีกด้านหนึ่งให้ขนานกับด้านแรกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือทำให้ชิ้นงานหนาเท่ากันตลอดแผ่น

ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้สันหรือขอบไม้ด้านยาวเป็นเส้นตรงและได้ฉากกับหน้ากว้าง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการปรับสันไม้ด้านที่สองให้ตรง และขนานกับขอบแรก และได้ฉากกับผิวทั้งสองข้าง

ถ้าทำทั้งสี่ขั้นตอนได้เรียบร้อยเราก็จะได้ไม้ที่มีผิวเป็นระนาบแบน มีขอบเป็นเส้นตรงที่ขนานกัน  และมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งจะมีด้านตรงข้ามขนานกันและมีมุมทั้งสี่เป็นมุมฉากครับ ไม้ที่มีผิวเป็นระนาบแบนเวลาวางบนพื้นที่เรียบจะแนบสนิทกับพื้นโดยไม่มีอาการโก่ง แอ่น กระดกไม่ว่าจะคว่ำหรือจะหงายครับ


ถ้าไม้ไม่เรียบเป็นระนาบ ขอบไม่ตรง หรือสันไม่ได้ฉากจะทำให้การเข้าไม้ทำได้ยากเพราะการตัดชิ้นงานตามปกติจะตัดเป็นเส้นตรงและทำเป็นมุมฉาก อาการที่จะเห็นคือรอยต่อไม่สนิทหรือไม่ฉาก หรือสนิทด้านห่างด้าน ถ้าเราใช้แรงฝืนอัดให้รอยต่อสนิทก็อาจสร้างความเสียหายต่อชิ้นงานถึงขั้นฉีก แตก หรือหักได้ครับ

ตามรูปที่ 87 ไม้เสา (สีม่วง) ที่เราไสไว้มีอาการโก่ง เมื่อเรานำไม้พนัง (สีฟ้า) 2 ชิ้นที่มีขอบที่ได้ฉากมาเข้าเดือยเหลี่ยมที่หัวและท้ายของเสาแล้วดันเดือยเข้าร่องจนบ่าของพนังแนบสนิทกับหน้าเสา  เราก็จะพบว่าปลายพนังด้านบนจะถ่างออกและมีผลให้ระยะห่างระหว่างขอบเดือยสีเหลืองด้านบนกว้างกว่าระยะห่างระหว่างร่องสี่เหลี่ยมสีส้ม ถ้าเราฝืนอัดเดือยสีเหลืองเข้าไปในร่องสีส้มรอยต่อที่ผิวสัมผัสจะไม่สนิทและเดือยสีเหลืองอาจจะหักร้าวก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-26 11:57:25


ความคิดเห็นที่ 160 (1447785)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

บางท่านอาจมีความเห็นว่าถ้าเกิดกรณีโก่งหรือแอ่นเราก็ไปแก้ที่ไม้พนังสีฟ้าแทน ตามรูปที่ 88 โดยการปาดมุมบ่าล่างของพนังให้เอียงรับกับความเอียงของเสาได้พอดี ก็จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

วิธีดังกล่าวก็อาจจะทำให้ใส่เดือยเข้าหากันพอดีและทำให้รอยต่อสนิทขึ้นได้ครับ แต่สิ่งที่ท่านจะเสียไปคือเวลาของท่านครับ  สาเหตุของปัญหานี้เกิดมาจากการที่ผิวหน้าเสาสีม่วงโก่งนูนครับดังนั้นเราควรจัดการที่เหตุเพื่อกันไม่ให้ปัญหาเกิดไม่ใช่ปล่อยให้ปัญหาเกิดแล้วไปแก้ที่อาการครับ

เวลาที่เสียไปในการแก้อาการอาจมีมูลค่ามากกว่าที่ท่านคาดไว้ก็ได้และที่ค่อนข้างแน่คือเวลาแก้ปัญหาน่าจะมากกว่าเวลากันปัญหา หรือมองอีกมุมหนึ่งต้นทุนในการแก้ปัญหาจะสูงกว่าต้นทุนในการกันปัญหาครับ ปัญหาแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเรามีใส่ใจเรื่องคุณภาพและคิดเสมอว่า "ทำให้ถูกต้องเรีย[ร้อยแต่แรก" หรือภาษาคุณภาพเรียกว่า “Do it right the first time” ครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-26 12:02:14


ความคิดเห็นที่ 161 (1447806)
avatar
จ๊อด

เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียด ปราณีตและความอดทนอย่างมาก

ต้องขอบคุณ คุณเขมทัตอีกครั้ง เพราะเป็นแนวทางในการทำที่ดีทีเดียว 

อ่านไปผมก็เริ่มปาดเหงื่อตัวเอง แล้วคิดว่า....ถ้าเราทำจะไหวมั้ยเนี่ย ต้องใช้เวลานานแค่ไหนกันละเนี่ย ฮ่าๆๆ

ไม่ทราบตัวนี้ใช้เวลาทำนานขนาดไหนครับ?

ผู้แสดงความคิดเห็น จ๊อด วันที่ตอบ 2011-09-26 14:58:06


ความคิดเห็นที่ 162 (1447818)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนท่านประธาน จ๊อด

ถ้าตั้งใจแล้วทำได้แน่นอนครับ โต๊ะตัวนี้ใช้เวลาทำหลายเดือนครับถ้านับวันที่ทำจริงๆก็คงประมาณ 30 วันได้ครับ

ผมเขียนเล่าเรื่องการทำโต๊ะช่างไม้ตัวนี้ด้วยความตั้งใจที่จะเล่าให้ให้ผู้สนใจงานไม้เข้าใจอย่างละเอียดครับว่า คิดอะไรบ้างก่อนทำ ทำอะไรบ้าง? ทำอย่างไร? เพราะอะไร? และผมตระหนักดีว่าหลายท่านที่ชอบงานไม้อาจรู้สึกว่าทำยากและไกลเกินเอื้อมที่จะทำโต๊ะแบบนี้ แต่ผมไม่อยากให้มีใครสรุปว่าโต๊ะช่างไม้ที่ดีๆยากเกินที่จะทำ โต๊ะตัวนี้เป็นโต๊ะในฝันของผมนะครับก็เลยต้องตั้งใจทำหน่อย

โต๊ะช่างไม้ที่ใช้งานได้ดี ทำง่ายกว่านี้ และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่านี้มีอีกหลายแบบครับ ผมยังคิดอยู่เลยว่าอยากทำต้นแบบ "โต๊ะช่างไม้ใกล้เอื้อม" ซึ่งใช้งานได้ดี มั่นคงแข็งแรง แต่ประหยัดกว่าโต๊ะช่างไม้ในฝัน ขึ้นมาตัวหนึ่ง ถ้าความคิดนี้ตกผลึกผมก็จะเริ่มทำหลังจากที่ทำตู้เก็บเครื่องมือเสร็จแล้วครับ

สำหรับคุณจ๊อดเองนั้นในฐานะที่เป็นประธานชมรมคนรักงานไม้สมควรอย่างยิ่งที่จะทำโต๊ะช่างไม้ของตัวเองขึ้นมาเป็นอย่างยิ่งครับ (ฟังดูเหมือนยังไม่มี ถ้ามีแล้วขออภัยครับ) เพื่อจะได้สร้างขวัญและกำลังใจในหมู่สมาชิกว่าท่านผู้นำของเราทำเรื่องยากไกลตัวให้เป็นเรื่องง่ายที่ใครก็ทำได้ :) หรือคุณจ๊อดอยากเป็นผู้นำร่อง  "โต๊ะช่างไม้ใกล้เอื้อม" ก็ยินดีนะครับ

ผมเต็มใจที่จะช่วยคุณจ๊อดเรื่องแบบและให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้นจนจบครับ ถ้าสนใจก็โทรมาคุยกันได้ครับ 081 8241784

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-26 16:38:31


ความคิดเห็นที่ 163 (1447828)
avatar
จ๊อด

แหม คุณเขมทัต เรียกผมซะเต็มยศเลย

เรื่องโต๊ะงานไม้ ยังไม่มีเป็นของตัวเองครับ เพราะตอนนี้ผมใช้บ้านที่รังสิต เปิดเป็น shop ซึ่งก็มีคุณบังวู๊ดเข้าไปใช้งานเกือบทุกวัน โดยอาศัยโต๊ะงานไม้ของคุณปฐมนี่ละครับ เป็นที่ทำงาน ^^ ส่วนผมเขาไป เดือนละ 3-4 วันเท่านั้น จากบ้านไป shop ไป-กลับ ก็ 2 ชั่วโมงละ ^^"

สำหรับสาเหตุที่ไม่ได้ทำที่บ้าน (เจริญนคร) เพราะกลัวจะถูก ลูก และภรรยาไล่ออกจากบ้านซะก่อน ฮ่าๆๆ (อันนี้ล้อเล่น) เนื่องจาก ผมจะทำงานได้ก็เฉพาะวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันพักผ่อนของทุกคน เลยไม่อยากจะไปรบกวน ด้วยฝุ่น เสียง และกลิ่น ไว้มีโอกาสปรับปรุงบ้านใหม่ หรือซื้อบ้านใหม่ คงสามารถทำ shop ที่มิดชิด ที่สามารถทำให้สุขใจทั้งเรา และคนรอบๆ ข้าง ^^ ได้

สำหรับโต๊ะงานไม้ จริงๆ อยากทำแบบคุณเขมทัตนี่ละครับ เพราะสำหรับส่วนตัวผมแล้วคิดว่า อุปกรณ์หรือโต๊ะงานไม่เปรียบเหมือน ดาบหรือกระบี่ของจอมยุทธ์ ถ้ามีโอกาสก็น่าจะมีไว้ครอบครอง เห็นขั้นตอนที่คุณเขมทัต เอามาเล่าให้ฟังแล้ว ก็ทำให้ทราบแนวทางขึ้นเยอะ ทำให้ประหยัดเวลามือใหม่อย่างผมได้มากทีด้วย

ก็ต้องขอขอบคุณ คุณเขมทัต อีกครั้งนะครับ ที่ทำให้วงการไม้ของเราคึกคักและมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

บรรยากาศ shop งานไม้ของผมครับ ชมไปพร้อมๆ กับมือใหม่ลองทำเตียงนะครับ ^^"

http://www.woodworkingthai.com/webboard/index.php?topic=1360.0

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จ๊อด วันที่ตอบ 2011-09-26 17:58:14


ความคิดเห็นที่ 164 (1447834)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียนคุณจ๊อด

ขอบคุณที่่ส่งเรื่องดีๆมาให้ครับ

ผมเข้าไปอ่านเรื่องการทำเตียงนอนให้คุณแม่ของคุณจ๊อดแล้ว เตียงออกมาดูดีครับ คุณแม่คงจะน่าประทับใจมาก

ตามที่เห็นในภาพคุณจ๊อดและคุณบังวู๊ดมีเครื่องมือประเภททุ่นแรงในปกครองมากพอที่จะทำโต๊ะช่างไม้ที่ดีๆได้อย่างสบายเลยครับ จะรอชมผลงานนะครับ ถ้าอยากได้ความช่วยเหลืออะไรก็ติดต่อมาได้เลยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-26 18:34:20


ความคิดเห็นที่ 165 (1447858)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามที่ผมกล่าวนำไว้ก่อนหน้านี้ว่าสิ่งแรกที่ต้องทำในการปรับหน้าไม้คือ การปรับผิวด้านกว้างด้านหนึ่งของไม้ให้เรียบเป็นระนาบ นั้น ผมจะอธิบายก่อนว่า ระนาบคืออะไร? จากนั้้นจะอธิบายว่า การปรับผิวทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

เริ่มจากการรู้จักระนาบหรือ Plane ก่อนนะครับ  คำว่าระนาบในภาษาอังกฤษคือคำว่า Plane ครับและคำนี้ก็ใช้เรียก กบไสไม้ และ ที่ราบ ด้วยครับ คนอังกฤษเขาอาจตั้งชื่อเรียกกบไสไม้ตามหน้าที่ของมันซึ่งก็คือเครื่องทำระนาบก็ได้นะครับ และเขาก็คงเรียกที่ราบว่า Plane เพราะมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบนราบเรียบ ครับ

ระนาบคือผิวที่แบน ราบ และเรียบครับ ลองนึกถึงแผ่นหินอ่อนที่แบนเรียบนะครับ ถ้าเราทาบสันของไม้บรรทัดลงบนแผ่นหินอ่อนนี้แล้วขอบบรรทัดแนบสนิทกับผิวของแผ่นหินอ่อนไม่ว่าเราจะทาบสันบรรทัดในทิศใด เราก็เรียกผิวหินอ่อนนั้นว่าระนาบครับ ถ้าเราปรับสายตาให้มองเห็นระนาบแผ่นหินอ่อนแผ่นที่ว่านี้เป็นเส้น เส้นที่เห็นจะต้องเป็นเส้นตรงครับ

ผมจะขอพูดถึง 3 วิธีที่ผมใช้ปรับผิวไม้ให้เรียบเป็นระนาบระหว่างทำโต๊ะตัวนี้นะครับ 2 วิธีแรกเป็นวิธีมาตรฐาน ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีประยุกต์ครับ
 

วิธีที่ 1: คือการนำไม้ไปไสบนเครื่องไสไม้ที่เรียกว่าแท่นไสชิด (Jointer Planer หรือ Surface Planer) ครับ ตามรูปที่ 89 ถ้าเราป้อนไม้ที่ผิวไม่เรียบเข้าแท่นไสชิดโดยดันชิ้นงานอย่างปลอดภัย ผ่านแท่นป้อนงาน เข้าหาใบมีด แล้วกดไม้ที่ผ่านใบมีดแล้ว (ในระยะที่ปลอดภัย) ให้แนบชิดกับแท่นรับงาน เราก็จะได้ชิ้นงานที่เรียบชิดกับแท่นรับงาน ตามภาพล่างจะเห็นว่าผิวส่วนใหญ่เรียบชิดกับแท่นรับงานแล้วแต่ยังมีผิวไม้บางส่วนที่เว้าลึกเกินกว่าคมมีดจะกัดถึง ดังนั้นเราต้องไสอีกหนึ่งถึงสองรอบก่อนจะได้ชิ้นงานที่มีผิวด้านใต้เรียบชิดกับแท่นรับงาน
 

ข้อต้องระวัง: แท่นไสชิดเป็นเครื่องจักรมีคมที่มีอันตรายมาก ผู้ไม่ชำนาญไม่ควรใช้แท่นไสชิดอย่างเด็ดขาด ภาพที่ผมร่างมานี้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่ออธิบายหลักการทำงานของแท่นไสชิดเท่านั้น ก่อนที่ท่านจะใช้แท่นไสชิดขอให้ท่านศึกษาคู่มือการใช้งานให้เข้าใจดีโดยเฉพาะเรื่องการใช้งานอย่างปลอดภัย และถ้าเป็นไปได้ให้ขอคำแนะนำจากผู้ที่ชำนาญการใช้เครื่องไสชิดก่อนใช้เครื่องมือชนิดนี้ด้วยตนเองนะครับ
แม้ผิวของชิ้นงานไม้ที่ผ่านเครื่องไสชิดจะดูเรียบชิดกับแท่นรับงาน แต่ผิวทีว่านี้มักจะไม่ได้เรียบสนิทเหมือนผิวเหล็กของแท่นรับงาน หรือผิวหินอ่อนที่ผ่านการเจียรนัยมาแล้ว และบ่อยครั้งที่เราจะเห็นผิวไม้ที่ผ่านเครื่องไสชิดเป็นลูกคลื่นเล็กๆตามรูปที่ 90 ครับ การปรับผิวให้เรียบก็ทำได้โดยการไสด้วยกบผิวหรือขัดด้วยเครื่องขัดกระดาษทรายเพิ่มครับ ถ้าใช้เครื่องขัดแบบรถถัง (Belt Sander) ก็ต้องระวังไม้ดีเพราะกินเนื้อไม้เร็วถ้าประคองไม่ดีก็จะเว้าเป็นแอ่งครับ สำหรับผมชอบการปรับลบรอยลูกคลื่นที่ว่านี้ด้วยการไสด้วยกบผิวครับ เนื่องจากเครื่องชิดทำงานส่วนใหญ่มาแล้วการไสหรือการขัดจึงไม่ใช่งานใหญ่ที่กินเวลาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-26 20:31:09


ความคิดเห็นที่ 166 (1447859)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ไม้ที่ผ่านเครื่องไสชิดแล้วมักจะไม่ได้เรียบสนิทเหมือนผิวหินอ่อนและบ่อยครั้งที่เราจะเห็นผิวเป็นลูกคลื่นเล็กๆตามรูปที่ 90 ครับ การปรับผิวให้เรียบก็ทำได้โดยการไสด้วยกบผิวหรือขัดด้วยเครื่องขัดกระดาษทรายเพิ่มครับ ถ้าใช้เครื่องขัดแบบรถถัง (Belt Sander) ก็ต้องระวังไม้ดีเพราะกินเนื้อไม้เร็วถ้าประคองไม่ดีก็จะเว้าเป็นแอ่งครับ สำหรับผมเองชอบการปรับลบรอยลูกคลื่นที่ว่านี้ด้วยการไสด้วยกบผิวครับ เนื่องจากเครื่องชิดทำงานส่วนใหญ่มาแล้วการไสหรือการขัดจึงไม่ใช่งานใหญ่ที่กินเวลาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-26 20:49:26


ความคิดเห็นที่ 167 (1447898)
avatar
จ๊อด

ขอขอบคุณ คุณเขมทัตล่วงหน้าในความกรุณานะครับ

สำหรับเนื้อหาที่เอามาลง ผมเป็นมิตรรักแฟนเพลงประจำนะครับ ผมติดตามอ่านทุกตอน ^^

ผู้แสดงความคิดเห็น จ๊อด วันที่ตอบ 2011-09-27 08:37:23


ความคิดเห็นที่ 168 (1448130)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

วิธีที่ 2: คือการนำไม้ไปไสด้วยกบไสไม้มือหรือ Hand Plane ครับ 

 
ไม่ว่าจะเป็นกบไม้หรือกบเหล็กก็มีหลักเหมือนกันครับคือเริ่มจากการตรวจสอบระนาบของผิวชิ้นงานว่าจุดไหนสูงจุดไหนต่ำ ไม้โก่ง งอ หรือบิด ที่ไหน จากนั้นไสส่วนที่สูงออกจนเสมอกับส่วนที่ต่ำโดยพยามเสียเนื้อไม้ให้น้อยที่สุด


วิธีตรวจวัดเริ่มจากการเล็งด้วยสายตาแล้วตามด้วยการวัดละเอียดครับ ปีนี้ผมอายุ 51 แล้วครับ สายตาทั้งสั้นทั้งยาวและเชื่อไม่ได้ไม่เหมือนเมื่อตอนทำโต๊ะตัวแรกครับ ผมก็เลยชอบที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 01:19:51


ความคิดเห็นที่ 169 (1448131)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ในกรณีที่ชิ้นงานไม้ที่จะวัดมีขนาดไม่ใหญ่และไม่หนัก

ผมจะคว่ำผิวงานที่จะตรวจสอบลงกับระนาบอ้างอิง ซึ่งก็คือผิวที่เราตรวจแล้วว่าเรียบตรงเป็นระนาบเช่น แผ่นหินแกรนิต แผ่นกระจก หรือพื้นโต๊ะ หลังจากที่คว่ำลงแล้วก็ทำตามรูปที่ 91 นี้ครับ
 

1) ใช้มือกดที่มุมทั้งสี่ (A, B, C และ D) ทีละมุม

a. ถ้าไม้กระดกยุบลงได้ที่มุมด้านใดก็แสดงว่ามุมนั้นต่ำกว่าจุดอื่นบนผิวไม้เราก็ทำเครื่องหมายไว้ (กรณีที่ 1ในภาพ มุมB เป็นมุมเดียวที่ยุบลงเมื่อถูกกด ดังนั้นถ้าหงายไม้ขึ้นผิวไม้บริเวณมุมB จะต่ำกว่าส่วนอื่น)
b. ถ้ากระดกที่มุมที่ทะแยงกันก็แสดงว่าไม้บิดเราก็ทำเครื่องหมายไว้ ว่ามุมคู่ไหนต่ำคู่ไหนสูง
(กรณีที่ 2ในภาพ มุมB และ มุมC เป็นมุมที่ยุบลงเมื่อถูกกด ดังนั้นถ้าหงายไม้ขึ้นผิวไม้บริเวณมุมB และมุมC จะต่ำกว่าส่วนอื่น)
c. ถ้ากระดกที่มุมสองด้านที่อยู่ใกล้กัน หรือกระดกทุกมุมก็แสดงว่าไม้โก่ง เราก็ทำเครื่องหมายไว้ ว่าจุดที่โก่งหรือสูงคือจุดที่สัมผัสพื้น (กรณีที่ 3 ในภาพ ทั้งสี่มุมยุบลงเมื่อถูกกด ดังนั้นเป็นกรณีไม้โก่ง ถ้าหงายไม้ขึ้นผิวไม้บริเวณมุม A, B,C และมุมD จะต่ำกว่าส่วนแนวกลางของชิ้นงาน)
d. ถ้ากดตามมุมแล้วไม้ไม่ขยับเลยก็อย่าเพิ่งสรุปว่าไม้เรียบเป็นระนาบนะครับ เพราะไม้โก่งที่มีจุดสัมผัสตามมุมพอดีก็จะไม่ขยับตัวเช่นกันครับ (กรณีที่ 4 ในภาพ ไม่มีมุมใดยุบลงเมื่อถูกกด อาจเกิดจากไม้เรียบเป็นระนาบตามกรณีที่ 4A หรือไม้แอ่นกลางตามกรณีที่ 4B ก็ได้) ในกรณีที่ 4 นี้เราต้องทำตามข้อ 2 ต่อครับ

2) ก้มตัวลงให้สายตาอยู่ระดับของระนาบอ้างอิง มองจุดสัมผัสระหว่างไม้กับระนาบอ้างอิง โดยให้แสงอยู่ด้านหลังชิ้นงาน จุดไหนที่แสงลอดได้ก็แสดงว่าจุดนั้นต่ำเราก็ทำเครื่องหมายไว้

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 01:22:04


ความคิดเห็นที่ 170 (1448132)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ในกรณีที่ไม้มีขนาดใหญ่หรือหนัก

ผมก็จะวางชิ้นงานบนพื้นราบโดยหงายผิวที่จะตรวจวัดขึ้น แล้วทาบสันที่เรียบตรงของไม้บรรทัดที่ไม่อ่อนตัวและไม่แอ่นลงบนโดยให้แสงเข้ามาจากด้านหลังไม้บรรทัดครับ ตรงไหนที่มีแสงลอดก็แสดงว่าต่ำเมื่อเทียบกับบริเวณรอบๆเราก็ทำเครื่องหมายไว้  ใช้ไม้บรรทัดทาบทั้งในแนวขนานกับขอบ ฉากกับขอบ และทำมุมกับขอบตามรูปที่ 92 ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 01:23:28


ความคิดเห็นที่ 171 (1448133)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ส่วนการตรวจสอบชิ้นงานขนาดใหญ่ๆเช่น หน้ากระดาน หน้าโต๊ะว่าไม้บิดหรือไม่ผมใช้วิธีที่เรียนมาจากช่างฝรั่งซึ่งก็คล้ายกับหลักการใช้ลูกดิ่งตั้งเสาครับ ผมจะใช้อุปกรณ์ที่ฝรั่งเรียกว่า Winding Sticks ตามรูปที่ 93 ครับ เนื่องจากผมไม่เคยเห็นช่างไทยใช้อุปกรณ์นี้และไม่ทราบว่ามีชื่อไทยหรือไม่ผมขอเรียกเป็นไทยว่าไม้เล็งระนาบ (ไม้เล็งฯ)นะครับ  ถ้าท่านผู้อ่านทราบชื่อไทยของเขาก็กรุณาบอกกล่าวให้ทราบจะขอบคุณมากครับ ผมจะได้เรียกให้ถูกต้อง

ไม้เล็งฯของผมตามภาพด้านบนในรูปที่ 93 มี 2 ชิ้นครับ ทั้งสองชิ้นทำด้วยท่อนอะลูมิเนียมแบนที่ยาวประมาณ 100 ซม. กว้างประมาณ 32 มม. มีสันหนาประมาณพอที่จะตั้งบนสันโดยไม่ล้มคือประมาณ  12 มม. และมีขอบตรงเรียบขนานกันตลอดความยาว จะเห็นว่าที่ไม้เล็งอันหนึ่งผมทาสีน้ำเงินไว้บนสันและบางส่วนของด้านหน้า สีน้ำเงินจะช่วยให้เราหาขอบของไม้เล็งทั้งสองง่ายขึ้นเวลาเล็งครับเพราะสีน้ำเงินตัดสับสีอะลูมิเนียมล้วนบนไม้เล็งอีกอันหนึ่ง

ผมมีความตั้งใจที่จะทำไม้เล็งระนาบจากไม้ประดู่หรือชิงชันในอนาคตครับเพราะดูน่าใช้กว่าแท่งอะลูมิเนียมที่ใช้อยู่มาก ในภาพล่างของรูปที่ 93 จะเห็นไม้เล็งระนาบที่ Rob Cosman ทำมาขายครับ ถ้าสนใจรายละเอียดก็ดูได้ที่ http://www.robcosman.com/tools_winding.php  ครับ เขาเลือกใช้ไม้สีเข้มเพราะมองง่าย สังเกตที่มุมของไม้ชิ้นหนึ่งเขาจะฝังวัสดุสีขางไว้เพื่อให้สีตัดกับสีไม้เวลาเล็งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 01:26:19


ความคิดเห็นที่ 172 (1448136)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

วิธีใช้ไม้เล็งฯทำตามรูปที่ 94 ดังนี้ครับ

นำชิ้นงานมาวางบนพื้นราบให้ด้านที่จะตรวจวัดความเรียบอยู่ข้างบน จากนั้นทาบด้านสันของไม้เล็งฯแต่ละอันลงบนผิวชิ้นงานที่ปลายของด้านยาวแต่ละข้าง โดยให้กึ่งกลางของไม้เล็งฯทับบริเวณกึ่งกลางชิ้นงานและแนวยาวของไม้เล็งฯตั้งฉาก (โดยประมาณ) กับแนวยาวของชิ้นงาน หลังวางไม้เล็งฯในตำแหน่งที่ว่าแล้วไม้เล็งฯทั้งคู่จะขนานกันตามภาพซ้ายบนในรูปที่ 94 ครับ ผมวางไม้เล็งที่มีสีน้ำเงินบนสันไว้ใกล้ตัวครับ ถ้าวางไม้เล็งฯแล้วกระดกก็ใช้กบล้างไสส่วนนูนของชิ้นงานออก เพื่อความรวดเร็วให้ไสเนื้อไม้ที่นูนในแนวตั้งฉากกับขอบด้านยาวของชิ้นงาน และไสเฉพาะบริเวณที่จะวางไม้เล็งฯเท่านั้น

เมื่อวางไม้เล็งฯทั้งคู่ได้มั่นคง ให้ก้มตัวลงนั่งที่ปลายสันไม้ด้านหนึ่งของชิ้นงาน ประคองศีรษะให้นิ่งแล้วมองแนวเส้นตรงขอบบนของไม้เล็งฯทั้งสองอันว่าขนานกันหรือไม่ (คล้ายกับการที่เราจับแนวดิ่งของเสาแล้วเราเล็งแนวเอ็นว่าขนานกับขอบเสาหรือไม่นั่นแหละครับ) ถ้าเล็งแล้วไม่ขนานก็ให้ปรับแนวสายตาจนเห็นเส้นขอบบนของไม้เล็งฯด้านหนึ่ง (ด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้) สัมผัสกันพอดีโดยที่มองเห็นอีกข้างยังห่างกันอยู่ เราก็จะทราบว่ามุมใดของชิ้นงานบิดไปด้านใด

ยกตัวอย่างตามภาพซ้ายบนที่เห็นศรสีเหลืองชี้ จะเห็นว่าผมหนุนเศษไม้ใต้ชิ้นงานโดยเจตนาให้มุม X สูงกว่าจุดอื่นเพื่อจะถ่ายภาพสาธิตให้เห็นชัดเจน

ตามรูปขวาบน เมื่อเราเข้าเล็งแนวของไม้เล็งฯทั้งคู่แล้วปรับสายตาให้เส้นขอบบนด้านซ้ายของไม้เล็งฯทั้งสองสัมผัสกันพอดีแล้วเราเห็นยอดสันทางขวาของไม้เล็งฯอันไกลโผล่ขึ้นเหนือยอดสันทางขวาของไม้เล็งฯอันใกล้ตัว (ดูภาพขยาย 2 ภาพล่างในรูแที่ 94 ประกอบครับ) เราก็จะทราบว่าเนื้อไม้ของชิ้นงานที่มุมขวาด้านไกลตัว (มุม x) สูงกว่ามุมซ้ายด้านไกลตัว และ/หรือ เนื้อไม้ของชิ้นงานที่มุมซ้ายด้านไกล้ตัวสูงกว่ามุมขวาด้านไกล้ตัว เมื่อเราตรวจสอบความโก่งของแนวยาวประกอบก็จะทราบว่าเราต้องไสไม้บริเวณที่สูงออกทั้งสองจุดหรือจุดเดียว

ไม้เล็งระนาบเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากและทำไม่ยากไม่แพงครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 01:35:17


ความคิดเห็นที่ 173 (1448203)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

นอกจากเราจะใช้ไม้เล็งระนาบdกับไม้หน้ากว้างๆแล้วเราก็สามารถใช้อุปกรณ์นี้กับชิ้นงานที่เล็กลงมาได้ด้วยครับ เช่น ใช้วัดระนาบของหน้าพนัง หน้าคาน หรือหน้าเสา

เมื่อใช้ไม้เล็งฯกับชิ้นงานที่เล็กมันจะทำหน้าที่ขยายความต่างระดับของปลายไม้ให้เราเห็นชัดเจนมากขึ้นครับ ตามรูปที่ 95 ภาพด้านบนเป็นกรณีที่ผิวไม้บิดตัวทำมุมกัน 1 องศา ถ้ามองด้วยตาเปล่าเราจะเห็นการบิดตัวนี้ยากมากครับเพราะมุมที่บิดไม่มากและสีที่ผิวหน้าไม้จะกลืนกันจนมองแทบไม่ออก แต่เมื่อเราใช้ไม้เล็งเข้าช่วยตามภาพล่าง จะเห็นว่าด้วยมุม  1 องศาเท่าเดิมเราจะมองเห็นความเหลื่อมที่ปลายขวาของไม้เล็งได้อย่างชัดเจนเพราะความเหลื่อมถูกขยายด้วยความยาวของไม้เล็งฯ และ ขอบบนของไม้เล็งฯมีสีตัดกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 13:31:34


ความคิดเห็นที่ 174 (1448228)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

การใช้กบไสไม้มือปรับหน้าไม้
 

เมื่อทราบตำแหน่งสูงต่ำของผิวไม้และทำเครื่องหมายแล้วเราก็ใช้กบไสไม้มือทำการไสส่วนที่สูงออกครับ ผมจะเริ่มด้วยการใช้กบล้างสั้นก่อนครับแล้วต่อด้วย กบล้างยาว กบบรรทัด กบผิว ตามลำดับ รูปที่ 96 แสดงภาพของกบทั้งสี่แบบ ด้านบนเป็นกบไม้ธรรมศักดิ์ ส่วนด้านล่างเป็นกบเหล็กของ Stanley No. 4, 5 และ 7 ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 16:38:54


ความคิดเห็นที่ 175 (1448229)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

กบล้างสั้นหรือ Scrub Plane เป็นกบที่มีน้ำหนักเบาความยาว 9 นิ้ว ใบกว้าง 1 ¾ นิ้ว ตามรูปที่ 97A จะเห็นว่าช่องเปิดหน้าใบกบกว้าง เมื่อช่องเปิดกว้างเราขี้กบที่หนาๆก็ลอดผ่านช่องนี้ได้สะดวกทำให้เราตั้งใบกบให้กินไม้ลึกๆได้ ความที่น้ำหนักของกบล้างสั้นน้อยก็ทำให้เบาแรงเราครับ กบนี้จึงเหมาะสำหรับการไสเนื้อไม้ออกอย่างรวดเร็ว ผมชอบที่จะลับปลายใบกบให้เป็นเส้นโค้งนูนตามรูปที่ 97B ครับ ที่ลับคมให้นูนกลางก็เพราะเวลาที่เราไสล้างเราจะปรับใบให้กินเนื้อไม้ลึก ถ้าเราลับปลายใบให้ตรงเป็นฉากเวลาไสใบกบก็จะทิ้งรอยไม้ฉีกตามแนวที่มุมใบกบวิ่งผ่านครับ ใบที่นูนโค้งจะไสง่ายกว่าและไม่ทิ้งรอยขอบใบครับ เราจะได้รอยไสที่เว้ากลางแทน แต่รอยเว้านี้แก้ได้สะดวกด้วยกบล้างยาวและกบบรรทัดครับ

ระหว่างการไสเราต้องวัดระนาบไม่ควบคู่ไปด้วยตลอดเวลาครับ เมื่อเห็นว่าผิวเริ่มราบตรงแล้วก็เปลี่ยนมาใช้กบล้างยาวถ้าชิ้นงานไม่ยาวนักหรือใช้กบบรรทัดถ้าชิ้นงานยาวมากครับ กบทั้งสองแบบนี้จะปรับผิวที่กบล้างสั้นไสไว้หยาบๆให้เป็นผิวที่ตรงครับ ความยาวของกบทั้งสองจะทำให้ใบกบกินผิวไม้ส่วนที่สูงก่อน การไสด้วยกบล้างและกบบรรทัดนี้ผมจะไสทั้งในแนวตามลายไม้อย่างเดียวถ้าหน้าไม้แคบกว่า 15 ซม. ถ้าไม้กว้างกว่านี้ผมจะไสในแนวทะแยงกับลายไม้ด้วยครับเพื่อที่จะคุมระดับทั้งในแนวยาวและแนวขวาง เหตุที่ไม่ไสขวางหรือฉากกับลายไม้เป็นเพราะใบกบจะทิ้งรอยฉีกที่ลึกไว้ในเนื้อไม้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 16:40:45


ความคิดเห็นที่ 176 (1448230)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

การไสกับการตรวจวัดระดับจะต้องทำคู่กันไปตลอดเวลาอย่างที่กล่าวไว้นะครับ เมื่อได้ผิวไม้ที่ตรงไม่โก่งไม่แอ่นแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นการเก็บผิวที่ตรงแล้วให้เรียบโดยใช้กบผิวครับ

กบผิวมีช่องเปิดที่ปลายใบกบแคบมาก ตามรูปที่ 98A จะเห็นช่องเปิดหน้าใบกบของกบผิวเทียบกับกบล้าง และตามรูปที่ 98B จะสังเกตได้ว่ากบผิวมีมุมใบที่ตั้งชันกว่ากบล้าง ถ้าเป็นกบล้างธรรมศักดิ์มุมใบจะอยู่ที่ประมาณ 50 องศา ส่วนกบผิวธรรมศักดิ์มุมใบ (มุมที่ใบกบทำกับท้องกบหรือชิ้นงาน) จะอยู่ที่ประมาณ 60 องศาครับ มุมใบที่ชันกว่าและช่องเปิดที่แคบกว่าทำให้กบผิวไสปรับหน้าไม้ได้เรียบกว่ากบล้างมากโดยเฉพาะกรณีที่มีลายไม้ย้อน ผมใช้คำว่าเรียบกว่านะครับไม่ใช่เรียบสนิท ช่องเปิดที่แคบกับมุมใบกบที่ตั้งชันทำให้ไม้ฉีกน้อย กบผิวกินไม้ครั้งละน้อยมากครับเพราะช่องเปิดที่แคบไม้สามารถผ่านขี้กบหนาๆได้ครับ

สำหรับการไสผิวด้วยกบเหล็กจะต่างกับกบไม้ครับเพราะเราจะปรับความกว้างของช่องเปิดที่ปลายใบได้ กบเหล็กมาตรฐานจะมีมุมใบ 45 องศา มุมใบที่สูงชันกว่านี้จะพบในกบราคาแพงเท่านั้นเช่น Lie-Nielsen (ทำกบแบบ 45, 50 และ 55 องศา มาให้เลือก) และกบประเภท Infill Plane หรือ กบเหล็กฝังไม้ ที่คุณเชนพูดถึงในความเห็นที่ 130 ครับ

มุมใบกบที่ชันกว่าของกบผิวไม้ทำให้ได้เปรียบกบเหล็กมาตรฐานครับ ส่วนกบเหล็กก็สะดวกกว่าตรงที่ปรับช่องเปิดให้กว้างได้เท่าที่ต้องการ ถ้าช่องเปิดเท่ากันกบไม้ได้เปรียบครับเพราะมุมใบกบชันกว่า ท้องกบที่เป็นไม้ก็ลื่นกว่ามากเวลาไส เมื่อพิจารณาเรื่องราคาด้วยแล้ว ก็ทำให้กบไม้เป็นทางเลือกที่เหนือกว่าสำหรับ การเป็นกบตัวแรก ตามที่ผมเคยให้ความเห็นไว้ก่อนหน้านี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 16:42:18


ความคิดเห็นที่ 177 (1448232)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

คนเขียนยังสนุกอยู่นะครับไม่ทราบว่าผู้อ่านเบื่อกันหรือยังครับ รายละเอียดค่อนข้างมาก อยากฟังความเห็นท่านผู้อ่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 16:50:43


ความคิดเห็นที่ 178 (1448256)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.5.4) การเจาะร่องเสียบเดือยพนังและเดือยคานเข้ากับขาโต๊ะ

เมื่อปรับหน้าไม้ของเสา พนังและคานได้เรียบเป็นระนาบแล้ว เราก็พร้อมที่จะเข้าเดือยเลี่ยมคู่ยึดพนังเข้ากับขา (ตามรูปที่ 82) และเดือยเดี่ยวยึดคานเข้ากับหัวเสา (ตามรูปที่ 85) ครับ

พี่เติมกับผมปรึกษากันว่าเราควรจะทำอะไรก่อนดีระหว่างทำเดือยให้เสร็จแล้วทำร่อง หรือทำร่องให้เสร็จแล้วทำเดือย? เราเลือกการทำร่องเหลี่ยมแล้วตามด้วยการทำเดือยครับเพราะร่องเป็นหลุมลงไปเจาะตัดเนื้อไม้ยากกว่าเดือยและวัดขนาดยากกว่าเดือย ถ้าผิดพลาดระหว่างทำร่องการแก้ที่เดือยน่าจะง่ายกว่ากรณีพลาดที่เดือยแล้วแก้ที่ร่องครับ

เราเริ่มทำร่องเหลี่ยมด้วยการลากเส้นดินสอกำหนดตำแหน่งร่องเดือยเหลี่ยม จากนั้นเป็นเรื่องของการเจาะรูที่ขาและที่หัวพนัง หัวคานเพื่อร้อยสตัดครับ การเจาะรูสตัดจากหน้าไม้ที่ยังมีเนื้อไม้เต็มง่ายกว่าเจารูเข้าไปในร่องเหลี่ยมหรือเจาะรูบนเดือยมากครับ

ท่านจะสังเกตจากรูปที่ 82 และ 85 ได้ว่ารูสตัดทั้งหมดซ่อนอยู่ในขา พนังและคาน การเจาะรูร้อยชิ้นงานทั้งขาและพนังสองชิ้นในคราวเดียวจึงทำไม่ได้ เราต้องเจาะรูสองครั้งครับ ที่หน้าเสาครั้งหนึ่ง หน้าคานอีกครั้งหนึ่งซึ่ง ปัญหาที่เราพบคือจะเจาะอย่างไรให้รูตรงเป็นแนวเดียวกันพอดี  เราไม่เชื่อว่าการลากเส้นดินสอกำหนดตำแหน่งแล้วเจาะรูจะตอบโจทย์นี้เพราะในขณะที่เราใช้แท่นสว่านเจาะรูที่หน้าเสาได้นั้น เราต้องใช้สว่านมือเจาะหัวพนังและหัวคานเพราะชิ้นงานทั้งสองยาวเกินกว่าจะเจาะด้วยแท่นสว่านได้ครับ

เราเลือกที่จะสร้างจิ๊กที่คล้ายจิ๊กเจาะรูใส่เดือยกลมหรือ Dowelling Jig ขึ้นเองเพื่อใช้กำหนดตำแหน่งการเจาะรูสตัดตามรูปที่ 99 ครับ จิ๊กของเราทำจากเศษแผ่นอะครีลิคใสหนา 10 มม. กว้าง 11 ซม. ยาว 22 ซม. ที่ยึดเข้ากับเศษไม้เต็งขนาด 5 x 5 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ครับ กลางแผ่นอะครีลิคเราจะใช้มีดคัตเตอร์กรีดเส้นตรงให้เป็นแนวเพื่อใช้เล็งกับเส้นบนพนังและเสา  เราไสปรับสันไม้เต็งให้ได้ฉากแล้วเจาะรูขนาด ½ นิ้ว 3 รูให้ห่างขอบ เท่ากับระยะจากหน้าพนังถึงกลางรูสตัด ระยะระหว่างรูก็เท่าระยะระหว่างสตัด ยึดแผ่นอะครีลิคเข้ากับไม้เต็งด้วยตะปูควง 2 ตัวก็เป็นอันพร้อมใช้งานครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 19:54:58


ความคิดเห็นที่ 179 (1448258)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ตามรูปที่ 100 เวลาใช้งานจิ๊กเจารูสตัดเราก็ทาบแผ่นอะครีลิคกับหน้าพนังทางฝั่งที่มีตัว L แล้วดันหน้าไม้เข้าไปประกบกับหัวพนัง ปรับเส้นเล็งบนจิ๊กให้ทับเส้นดินสอที่ขีดไว้ในแนวกึ่งกลางพนัง ยึดจิ๊กกับพนังด้วย F แคล้มป็สองตัวแล้วสอดดอกสว่านเข้าไปในรูจิ๊ก เดินเครื่องเจาะรูทั้งสองรูสำหรับพนังหน้า ส่วนพนังข้างเจารูกลางรูเดียว

จากนั้นถอดแคล้มป์ออกแล้วทาบจิ๊กฝั่งที่มีตัว R เข้ากับเสา ปรับเส้นเล็ง ยึดแคล้มป์แล้วเจาะรูบนแท่นสว่าน

ผลการเจาะรูด้วยแท่นออกมาเที่ยงตรงดีมากครับ ในขณะที่รูที่เจาะเข้าทางหัวของพนังด้วยสว่านมือเจาะยากมาก สว่านสะบัดจนหยุดบ่อยมากเนื่องจากเราคุมแรงกดให้สม่ำเสมอไม่ค่อยได้ รูในพนังก็ตรงบ้างเยื้องบ้างครับต้องมีการคว้านรูแก้ไขกันหลายรู ถ้าต้องเจาะรูด้วยสว่านมือเข้าหัวไม้ในลักษณะนี้อีกครั้งพี่เติมกับผมเห็นตรงกันว่าเราน่าจะทำจิ๊กที่ยึดสว่านให้อยู่กับที่แล้วเดินชิ้นงานเข้าหาดอกสว่านครับซึ่งวิธีที่ว่านี้ก็มีหลักการคล้ายเครื่องเจาะตามแนวนอนของคุณอนุชิตนั่นเองครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 19:57:46


ความคิดเห็นที่ 180 (1448261)
avatar
หนุ่มm100

ผมยังติดตามตลอดครับคุณเขมทัต ยังไม่เบื่อ ความรู้ทั้งนั้น ผมว่าหายากนะครับที่จะมีฅนมาเขียนมาเล่าให้ฟังขนาดนี้ ผมว่าหลายๆฅนก็คงคิดเหมือนผม สำหรับผมเองก็เอาแนวคิดแนวทางบางอย่างไปปรับใช้กับโต๊ะตัวเก่าของผม หลังๆมานี้ผมเข้ามาอ่านอย่างเดียวครับ ยังแอบนิยมชมชอบฅนอื่นๆอีกหลายฅนที่ให้ความรู้ เช่น คุณเอ๋ คุณสุทิน ช่างเชน ช่างต้อม ช่างธง พัทยา คุณjackและที่ยังไม่เอ่ยชื่ออีกหลายฅน หวังว่าคุณเขมทัตคงเขียนต่อะนครับ ผมยังรออ่านอยู่เช่นเดิม ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่มm100 (m10017-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 20:17:27


ความคิดเห็นที่ 181 (1448263)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับคุณหนุ่มm100 ถ้ามีโอกาสนำรูปโต๊ะช่างของคุณหนุ่มมาให้ชมกันบ้างนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 20:20:43


ความคิดเห็นที่ 182 (1448281)
avatar
ปราโมทย์ พิดโลก

 ตามอ่านอยู่ตลอดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปราโมทย์ พิดโลก (motepits6-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 21:38:29


ความคิดเห็นที่ 183 (1448286)
avatar
kornar

 ขอเรียกว่าคุณอา ละ่กันนะครับ 

คุณอาหล่อมากเลยครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น kornar (kornar2010-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-28 22:13:28


ความคิดเห็นที่ 184 (1448376)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

หลังจากเจาะรูสตัดแล้วก็เป็นเรื่องของการเจาะร่องเดือยเหลี่ยมที่ขาโต๊ะซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ครับ:

1) ใช้ขอขีด (Marking Gauge) ลากแนวขอบร่องที่จะกัดด้วยเราเตอร์ ตามรูปที่ 101A
2) ติดดอกเจาะตรงขนาด ½ นิ้วเข้ากับเราเตอร์ ตั้งระยะรั้วของเราเตอร์ให้เซาะร่อง ตามรูปที่ 101B  ห่างจากขอบประมาณ 1 มม. แล้วเซาะร่องที่ 1 ให้ลึก 11 มม.ซึ่งลึกกว่าบ่าของโคนเดือย 1 มม. ปรับความลึกตามขั้นบันไดของเราเตอร์ซึ่งแต่ละขั้นห่างกันประมาณ 3 มม. เดินเราเตอร์ช้าๆเพราะเราไม่ทราบว่าจะมีตะปูค้างอยู่ในเนื้อไม้หรือไม่ เมื่อกัดร่องจนได้ความลึกที่ต้องการคือ 11 มม. ก็ขยับรั้วเพื่อขยายร่องให้ชิดแนวขอขีดที่ลากไว้ตอนแรก
3) กัดร่องเดือยคู่ร่องแรกด้วยวิธีเดียวกัน เสร็จแล้วกัดร่องที่สอง ร่องทั้งคู่นี้ลึก 61 มม.ครับ ตามรูปที่ 101C  
4) ขยับเราเตอร์เพื่อเซาะร่องให้กว้าง 20 มม.พอดี ตามวิธีข้างต้นเราก็จะได้รูเดือยขอบโค้งตามดอกเราเตอร์ตามรูปที่ 101D

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 16:02:11


ความคิดเห็นที่ 185 (1448377)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

5) ใช้สิ่วเจาะขอบโค้งหัวและท้ายร่องให้ได้ขนาดร่องเหลี่ยมตามแบบ ตามรูปที่ 102A สิ่วที่ผมใช้ในรูปที่ 102A และ 102B เป็นสิ่วตราเท้า Footprint ขนาด ¾ นิ้ว หน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชื่อภาษาฝรั่งว่า Firmer Chisel ครับ ผมใช้สิ่วอันนี้เพราะแข็งแรงที่สุด ถ้ามีสิ้วน่องขนาดเดียวกันผมจะใช้สิ่งน่องครับแต่ผมมีสิ่วน่องหน้ากว้างเพียง ½ นิ้วซึ่งแคบกว่าร่องมากก็เลยไม่อยากเจาะสองครั้ง

6) จากนั้นก็ใช้สิ่วเก็บความเรียบร้อยของร่องเหลี่ยม และวัดทุกอย่างด้วยเวอร์เนียร์ จนมั่นใจว่าได้ขนาดแล้ว ตามรูปที่ 102C ก็สอดด้วยเดือยทดสอบที่มีขนาดเท่าเดือยจริง ตามรูปที่ 102D ภาษาช่างเรียกเครื่องมือลักษณะนี้ว่า Go-NoGo Gauge ครับ ถ้าร่องคับเดือยก็สอดเข้าไปไม่ได้ ถ้าหลวมก็จะควาก ความแน่นที่ต้องการคือแน่นขนาดใช้มือสอดเดือยทดสอบและดึงออกได้โดยไม่ต้องออกแรงมาก ถ้าเราจะใส่กาว เราต้องมีที่ว่างให้กาวอยู่ครับ ที่ต้องใช้เดือยสมมุตินี้เพราะร่องเหลี่ยมที่เจาะลึกมากครับเครื่องมือวัดไม่สามารถวัดขนาดบริเวณก้นร่องได้เลย ถ้ามีอะไรผิดพลาดเราจะได้รู้และแก้แต่เนิ่นๆครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 16:03:49


ความคิดเห็นที่ 186 (1448379)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูปที่ 103 ขยายความขั้นตอนการเซาะร่องเดือยเหลี่ยมโดยละเอียดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 16:08:47


ความคิดเห็นที่ 187 (1448381)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

รูป 104 จะอธิบายการใช้รั้วของเราเตอร์คู่กับการใช้หลักไม้หัวและท้ายเพื่อคุมตำแหน่งร่องที่เราจะเซาะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 16:09:40


ความคิดเห็นที่ 188 (1448452)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.5.5) การทำเดือย

เมื่อกัดร่องของเดือยเหลี่ยมเสร็จแล้วต่อไปก็เป็นการตัดเดือยเหลี่ยมคู่ซึ่งมีวิธีดังนี้ครับ:

1) ลากเส้นแนวบ่าบนพนังตั้งฉากกับขอบด้านยาวให้ห่างจากปลายไม้มากกว่าความยาวเดือย 10 มม. การลากเส้นนี้ผมใช้มีดกรีดแทนการลากด้วยดินสอซึ่งผมจะอธิบายเหตุผลอีกครั้งครับ

2) ใช้เลื่อยฟันละเอียดเลื่อยไม้พนังโดยรอบให้ขนานกับเส้นบ่าที่ลากไว้ให้ขอบของคลองเลื่อยห่างจากเส้นบ่าประมาณ 1 มม. และลึกประมาณ 5 มม. คลองเลื่อยนี้จะเป็นตัวป้องกันผิวไม้ด้านในเส้นไม่ให้ฉีกขณะดอกเราเตอร์กัดเซาะร่องไม้ ส่วนเนื้อไม้ที่เผื่อไว้ 1 มม.นั้นเราจะแต่งขอบบ่าด้วยสิ่วตามที่ผมจะอธิบายภายหลังครับ ตามรูปที่ 105 จะเห็น เส้นบ่าเดือยที่กรีดเป็นเส้นสีเหลือง คลองเลื่อยเป็นเส้นสีเขียว และ ขอบร่องเราเตอร์เป็นเส้นสีฟ้าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 23:33:37


ความคิดเห็นที่ 189 (1448453)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

3) ตามรูป 106 A, B และ C เดินเราเตอร์เซาะไม้ระหว่างคลองเลื่อยกับปลายไม้โดยเว้นเนื้อไม้ 5 มม. จากปลายไม้ไว้เป็นไม้รองแผ่นฐานของเราเตอร์ ค่อยๆปรับความลึกของดอกแล้ววัดผลด้วยเวอร์เนียร์จนได้บ่าที่ห่างจากผิวไม้ตามแบบ

4) กลับหน้าไม้พนังแล้วใช้เราเตอร์กัดแก้มเดือยอีกด้านหนึ่งด้วยวิธีเดียวกันใช้เวอร์เนียร์วัดบ่อยๆ เรากลับหน้าและเดินเราเตอร์บนผิวอีกด้านของพนังได้เลยเพราะระหว่างการเตรียมไม้เราปรับผิวทั้งสองด้านให้ขนานกันดีแล้วครับ

5) ตัดปลายพนังที่เผื่อความยาวไว้ให้เดือยยาวพอดีตามแบบ

6) ใช้ขอขีดลากเส้นขอบสันเดือยทั้งสี่เส้นแล้วใช้เลื่อยฟันละเอียดเลื่อยแนวสันเดือยให้พอดีขนาด

7) ใช้เลื่อยฉลุตัดไม้ระหว่างเดือยคู่ออกตามรูปที่ 106D เสร็จแล้วเก็บขอบไม้ระหว่างเดือยคู่ด้วยสิ่ว

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 23:40:36


ความคิดเห็นที่ 190 (1448454)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

8) ใช้สิ่วหน้ากว้างเล็มเนื้อไม้ 1 มม. ตามเส้นบ่าที่ลากไว้แต่แรกตามศรสีเหลืองชี้ในรูป 106D ใช้สิ่วตัดเศษไม้แนวบ่าทั้งสี้ด้านของพนัง ตามรูปที่ 106E และ F  จะเห็นผมกำลังใช้สิ่วหน้ากว้างเล็มบ่าของพนังตามแนวรอยมีดที่กรีดไว้ครับ

ข้อดีของการกรีดด้วยมีดคือเวลาลงสิ่วจะแม่นยำกว่าและเร็วกว่าดินสอเพราะรอยมีดแคบกว่ารอยดินสอมากและที่สำคัญใบสิ่วจะเข้าไป “ล๊อกตัว”อยู่ในร่องที่กรีดได้อย่างง่ายดาย จากประสบการณ์ของผมการเล็มหรือแต่งขอบขวางลายไม้ไม้เนื้อแข็งอย่างไม้ประดู่ด้วยสิ่วแบบนี้จะเรียบกว่าการตัดด้วยเลื่อยหรือเราเตอร์ครับ แต่ถ้าเป็นตามลายไม้เราเตอร์จะเรียบกว่าครับ ตอนที่เล็มขอบไม้ท้ายโต๊ะที่กว้าง 71 ซม.ที่ยันกับไม้ประกับผมก็ใช้วิธีนี้

ผลออกมาเรียบสนิทตลอดแนวครับ ในรูปที่ 107A ท่านจะเห็นความเรียบของบ่าที่เล็มด้วยสิ่วครับ

เคล็ดของวิธีการเล็มด้วยขอบบ่าด้วยสิ่วแบบนี้คือ เส้นที่กรีดต้องคมบางตรง สิ่วหน้าต้องกว้างและต้องคม และเมื่อวางสิ่วลงบนเส้นที่กรีดต้องเหลือไม้ที่จะเฉือนออกให้บางที่สุดซึ่งไม่ควรหนาเกิน 1 มม. ถ้าเราวางสิ่วบนเส้นแล้วพยามที่จะตอกสิ่วเพื่อตัดเฉือนไม้ที่หนาๆแล้วก็อาจเห็นอาการที่สิ่วจะถูกไม้ดันเข้าหาเส้นขณะที่แรกตอกท้ายสิ่วเพราะเนื้อไม้ที่ถูกอัดแน่นไม่มีช่องทางระบายออกเหมือนการเฉือนไม้บางๆ ผลก็คือจะได้รอยตัดที่กินลึกเข้าไปในเส้นและแนวตัดจะไม่เรียบตรงครับ

อีกวิธีที่ใช้เล็มบ่าและผมยังไม่ได้ลองคือการใช้กบกระดี่หรือ Shoulder Plane ครับ ได้ผลอย่างไรจะเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ

9) ลบมุมตามเหลี่ยมของเดือยทั้งคู่ด้วยตะไบ ผลที่ได้อยู่ในรูป 107B ครับ เดือยคู่อันนี้คืออันแรกที่ทดลองทำแล้วไม่ถูกใจครับ พบโดยบังเอิญในกองเศษไม้ก็เลยนำมาใช้เป็นนายแบบจำเป็น

10) ทดลองสรวมเดือยเข้าร่องเหลี่ยม ถ้ามีจุดไหนที่แน่นเกินไปเราจะเห็นรอยไม้สีกันเป็นเงา เราก็จัดการเล็มไม้บริเวณที่เงานั้นออกทีละน้อยด้วยสิ่วคมๆ ก่อนและหลังเล็มก็วัดขนาดด้วยเวอร์เนียร์ครับ เราจะไม่แตะร่องเหลี่ยมอีกแล้วนะครับเพราะทุกร่องผ่านการวัดด้วยเดือยจำลอง หรือ Go-NoGo Gauge มาแล้วครับ

สำหรับเดือยคู่ที่ยึดพนังกับขาเข้าด้วยกันทั้งแปดจุด พี่เติมกับผมใช้เวลาประมาณ 3 วันเต็มในการทำครับ นอกจากเดือยแรกที่ไม่ถูกใจแล้วงานที่เหลือทั้งหมดก็ทำครั้งเดียวแล้วถูกใจเลยครับ

สำหรับการเข้าไม้คานรองพื้นโต๊ะกับหัวเสาก็มีวิธีการทีเหมือนกับการเข้าไม้พนังกับขาโต๊ะตามที่ผมได้แล่ามาแล้ว ดังนั้นผมจะขอข้ามไปเล่าเรื่องถัดไปซึ่งจะเป็นเรื่องของการทำเสาพยุง หรือเสาประคองไม้ (Sliding Deadman) นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-29 23:47:47


ความคิดเห็นที่ 191 (1448457)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

เรียน คุณเอ๋ เพาะช่าง

ผมหวังว่ากระบวนการเข้าไม้พนังกับขาโต๊ะที่เล่ามานี้จะตอบคำถามของคุณเอ๋ในความเห็นที่ 21 แล้วนะครับ ถ้ายังมีประเด็นใดที่ยังไม่ชัดเจนก็แจ้งมาเลยนะครับ ขอขอบคุณ คุณเอ๋ที่ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 00:02:40


ความคิดเห็นที่ 192 (1448484)
avatar
จ๊อด

อธิบายพร้อมภาพประกอบได้ละเอียดมากครับ เข้าขั้นเปิดสอนได้เลยนะครับเนี่ย

เพราะตามความเห็นผม คนที่จะเป็นอาจารย์ได้นอกจากเก่งแล้ว ต้องถ่ายถอดออกมาได้อย่างละเอียดให้ผู้ฟังเข้าใจได้แบบนี้ละ

สำหรับคุณเขมทัตเรื่องนี้เต็ม 10 ครับ สำหรับเรื่องความตั้งใจ ให้เกิน 100% ครับ ^^

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จ๊อด วันที่ตอบ 2011-09-30 08:21:04


ความคิดเห็นที่ 193 (1448566)
avatar
poppy152

 ยังต้องเข้ามาดูกระทู้นี้อย่างน้อยวันละครั้ง แม้ใกล้จะสอบเต็มที ขอบคุณอีกครั้งที่นำความรู้ดีๆมานำเสนอคนรักงานไม้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคนได้สร้างงานไม้แบบปราณีตดังความตั้งใจของคุณเขมทัต 

ในส่วนที่เคยถามเรื่อง wagon vise แล้วคุณเขมทัตได้ให้เบอร์ติดต่อไว้ต้องขอบคุณเป็นอย่างมากที่จะแนะนำความรู้ที่มีอย่างสุดความสามารถ แต่ช่วงนี้คงยังไม่มีโอกาสได้โทรไปรบกวน ในส่วนตัวแล้วที่บ้านผมทำโรงเลื่อยไม้แปรรูปอยู่ที่บางโพหากคุณเขมทัตมีอะไรให้ช่วยในเรื่องไม้ก็บอกกันได้นะครับยินดีช่วยเต็มความสามารถ

ผู้แสดงความคิดเห็น poppy152 วันที่ตอบ 2011-09-30 15:14:43


ความคิดเห็นที่ 194 (1448574)
avatar
จ๊อด

ไม่ทราบบ้านคุณ poppy152 ขายไม้ประเภทไหนบางครับ เผื่อมีโอกาสจะได้ไปอุดหนุน 

ผู้แสดงความคิดเห็น จ๊อด วันที่ตอบ 2011-09-30 15:21:35


ความคิดเห็นที่ 195 (1448578)
avatar
poppy152

ขายไม้แปรรูปทุกชนิดครับสัก มะค่า แดง เต็ง ยาง เนื้อแข็ง เบญจพรรณ ไม้อัด ไม้โครง ปรตู วงกบ(ในแบบหรือนอกแบบ) ปาร์เกต์ ไม้พื้นรางลิ้น ไม้ฝา ฯลฯ ประมาณนี้แหละครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น poppy152 วันที่ตอบ 2011-09-30 15:41:45


ความคิดเห็นที่ 196 (1448613)
avatar
nnuumm

ถึงวันนี้ผมเพิ่งอ่านถึงการเข้าเดือยหางเหยี่ยว  อยู่เลย  แต่ละขั้นตอนผมต้องอ่านซ้ำหลายรอบเลย เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริง  

คงอีกหลายวันกว่าจะอ่านจบ  และอีกหลายรอบถึงจะเข้าใจ เป็นอะไรที่ประทับใจมากครับ

ผมขออนุญาต เซพแล้วพิมพ์เก็บไว้ให้ลูกหลานผมได้อ่านในวันข้างหน้าด้วยน่ะครับ ผมอ่านที่ไรหัวใจพองโตทุกทีครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น nnuumm (0n0u0m0-at-Gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 20:20:44


ความคิดเห็นที่ 197 (1448628)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

6.6) การทำเสาประคอง (Sliding Deadman)


ตามรูปที่ 108 ชุดเสาประคองไม้ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก 5 ชิ้นคือ
1) รางไม้รูปตัว V คว่ำที่ยึดอยู่บนสันของพนังหน้าโต๊ะ สูง 20 มม. ยาว 106 ซม.
2) เสาไม้ประคองที่ทำจากไม้ประดู่ กว้าง 18 ซม. หนา 40 มม. และสูง 45 ซม. ที่หน้าเสามีรูสอดเดือยทองเหลือง 16 รู
3) เดือยทองเหลืองเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. ยาว 11 ซม.
4) ลิ้นไม้อัดยึดหัวเสาไม้ประคองกว้าง  44 มม. ยาว 19 ซม. หนา 14 มม.
5) ร่องลิ้นหน้าตัดสี่เหลี่ยมใต้ท้องโต๊ะกว้าง ½ นิ้ว ลึก 12 มม.
 

ในการออกแบบโต๊ะตัวเราต้องการให้ขอบโต๊ะ ขา พนัง และเสาประคองอยู่บนระนาบเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจับยึดชิ้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-01 00:35:15


ความคิดเห็นที่ 198 (1448629)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

การทำเสาชุดเสาไม้ประคองเริ่มด้วยการเซาะร่องลิ้นขนาด ½ นิ้ว ลึก 12 มม.ที่ใต้พื้นโต๊ะตามรูปที่ 109 โดยขนานและห่างจากขอบหน้าโต๊ะ 15 มม. เราเซาะร่องนี้ด้วยเราเตอร์ให้ยาวตลอดช่วงในของขาหน้าทั้งสองโดยใช้ดอกกัดตรงขนาด ½ นิ้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-01 00:43:54


ความคิดเห็นที่ 199 (1448631)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร

จากนั้นก็เป็นการทำลิ้นไม้อัดตามที่เห็นเป็นหมายเลข 4 ในรูปที่ 108-4 ลิ้นตัวนี้ทำหน้าที่เป็นสลักยึดเสาประคองให้วิ่งอยู่ในระนาบเดียวกับหน้าโต๊ะ หน้าขา และหน้าพนัง ลิ้นตัวนี้จะวิ่งไปมาในร่องลิ้นใต้โต๊ะได้อย่างหลวมๆแต่จะสอดเข้าในร่องลิ้นที่หัวเสาไม้ประคองแบบฟิตแน่นครับ เนื่องจากลิ้นและร่องลิ้นใต้โต๊ะจะเสียดสีกันระหว่างใช้งานเราคาดการว่าจะเกิดการสึกหรอขึ้น ดังนั้นเราจึงออกแบบให้ลิ้นเป็นตัวที่สึกหรอมากกว่าเพราะการเปลี่ยนลิ้นง่ายกว่าการซ่อมร่องลิ้นใต้โต๊ะครับ

เมื่ออธิบายเรื่องนี้ให้โค้ชฟังโค้ชท่านก็บอกว่าฟังดูมีเหตุผลดีเพราะแนวคิดเหมือนการเลือกชนิดของเหล็กทำลูกล้อรถไฟให้อ่อนกว่าเหล็กทำรางรถไฟด้วยเหตุผลที่ว่าเปลี่ยนล้อรถไฟถูก เร็ว และง่ายกว่าเปลี่ยนรางรถไฟครับ

ไม้ที่เราเลือกทำลิ้นเป็นไม้สักครับเพราะไม้สักอ่อนกว่าไม้ประดู่ และไม้สัก หด ขยาย บิดตัวน้อย ไม้สักที่เราทำลิ้นเป็นไม้อัดสามชั้นเพื่อความแข็งแรง การทำไม้อัดก็ต้องออกแรงเลื่อยไม้เล็กน้อยครับ ตามด้วยการไสผิวให้เรียบแล้วอัดกาว เมื่อกาวแห้งแล้วก็เลื่อยลิ้นไม้อัดให้ได้ขนาดใกล้เคียงแบบแล้วใช้กระดานไสฉากปรับขนาดทั้งหกด้านของลิ้นให้พอดี

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-01 00:46:36


ความคิดเห็นที่ 200 (1448632)
avatar
เขมทัต กรัยวิเชียร
image

ถัดไปเป็นการทำเสาประคองไม้ซึ่งเริ่มจากการไสผิวทั้งสี่ด้านให้ขนานและได้ฉาก จากนั้นเลื่อยปลายด้านล่างแล้วแต่งให้ฉากด้วยกบและกระดานไสฉาก ที่เริ่มทำด้านล่างก่อนเพราะร่องตัว V ทำยากกว่าร่องตรงที่ส่วนหัวครับ ถ้าเกิดผิดพลาดก็ยังตัดไม้ทำใหม่ได้ การทำร่องตัว V ก็ลากเส้นด้วยดินสอแล้วใช้เลื่อยญี่ปุ่นตัดขอบตัว V ทั้งสองด้าน ตามรูปที่ 110A จะเห็นเศษไม้ที่ได้จากการเลื่อยร่องตัว V นี้ ผมอยากชมเลื่อยญี่ปุ่นอีกครั้งว่าเลื่อยได้แม่ยำและเบาแรงจริงๆครับ

จากนั้นเราก็แต่งร่องตัว V ให้เรียบและได้ขนาดตามแบบด้วยกบกระดี่ของฝรั่งหรือ Shoulder Plane ตามรูปที่ 110B กบตัวนี้เป็นยี่ห้อ Record No. 073 ครับ ใช้ง่ายกว่ากบ Stanley No. 92 ซึ่งเป็นกบกระดี่เหมือนกัน มากครับ คงจะเป็นเพราะมีน้ำหนักมากกว่าและยาวกว่าจึงไสสันไม้ประดู่ได้สะดวก ระหว่างไสก็หมั่นวัดมุมฉากที่ฐานของเสา มุม 45 องศาที่ขอบร่อง และปรับแนวกลางร่องตัว V ให้ห่างจากขอบไม้ด้านหน้าให้พอดี ผลออกมาดีครับ สอบผ่านในครั้งเดียว

ได้ร่องตัว V แล้วก็วัดระยะความสูง ตัดไม้ด้านบนเสาประคอง แล้วใช้กบกับกระดานไสฉากแต่งสันให้ได้ฉากและแต่งความยาวให้พอดี จากนั้นก็คว่ำสันไม้ด้านบนของเสาประคองลงบนโต๊ะเราเตอร์ ปรับรั้วให้พอดีแล้วเซาะร่องให้ลิ้นไม้อัดฟิตแบบสรวมแน่นครับ นี่ก็เป็นอีกครั้งที่ต้องใจเย็นๆและวัดบ่อยๆครับ

จากนั้นก็เจาะรูเดือยกลมครับ รูที่จะใช้บ่อยที่สุดคือรูที่อยู่ในแนวเพลาของปากกาหัวโต๊ะครับเพราะวางไม้สะดวกที่สุด เราก็ใช้ตำแหน่งนี้เป็นจุดเริ่มแล้วขยับระยะเป็นขั้นบันไดตามรูปที่ 108  โดยให้แต่ละรูห่างกัน 5 ซม. ในแนวนอนและ 2 ซม.ในแนวดิ่ง การเจาะใช้สว่านแท่นกับดอกขูด Forstner Bit ขนาด ¾ นิ้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เขมทัต กรัยวิเชียร (kematat_k-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-01 01:03:06



« 1 2 3 4 »


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.